Intel Core i7 : The Comparison Review

/ บทความโดย: admin , 03/11/2008 10:38, 5,227 views / view in EnglishEN
«»
Share

Simultaneous Multi-Threading (SMT)

SMT คือการส่ง Thread หรือ งานจำนวน 2 งานให้กับคอร์แต่ล่ะคอร์ของซีพียูได้พร้อมๆกัน ทำให้ซีพียูสามารถประมวลผลแบบ Multi-Threading ได้ดีขึ้นครับ ด้วยความสามารถของ SMT นี้เองจึงทำให้ Intel Core i7 ที่เดิมทีมีเพียงแค่ 4 คอร์ สามารถทำงานได้เสมือนกับว่ามันเป็นซีพียู 8 คอร์เลยครับ



จะว่าไปแล้ว หลักการทำงานของ SMT ก็เหมือนๆกับ Hyper Threading ที่ทาง Intel เคยใช้กับซีพียูตระกูล Pentium 4 ในสถาปัตยกรรม NetBurst มาก่อน แต่ว่า SMT ในซีพียู Intel Core i7 จะมีประสิทธิภาพมากว่าเดิมครับ



 



Power Management ที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น


โดยปกติในซีพียูรุ่นก่อนจะมีปัญหากระแสลั่วไหล (Leakage Current)ซึ่งจะทำให้ซีพียูสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังทำให้ตัวซีพียูร้อนขึ้นอีกด้วย ทางอินเทลได้แก้ไขปัญหาโดยการนำตัวควบคุมพลังงาน (Power Control Unit) เข้าไปติดตั้งอยู่ในตัวซีพียู Core i7 เลยครับ ทำให้ลดการลั่วไหลของกระแส (Leakage Current) และสามารถปรับให้ซีพียูทำงานใน Turbo Mode ได้ด้วย


ซีพียู Core i7 ถูกออกแบบมาให้แต่ล่ะคอร์สามารถทำงานที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกา(Clock Speed) ที่แตกต่างกันได้ตามความต้องการของแต่ล่ะคอร์ และนอกจากนี้ตัวควบคุมพลังงานที่อยู่ในซีพียูยังสามารถที่จะจ่ายพลังงานให้คอร์แต่ล่ะในปริมาณที่คอร์แต่ล่ะต้องการได้อีกด้วย


การที่ Intel Core i7 สามารถทำให้แต่ล่ะคอร์ใช้ความเร็ว และพลังงานที่แต่ต่างกันได้ตามความเหมาะสมนี้ ทำให้ Core i7 ประหยัดพลังงานมากกว่าซีพียูรุ่นก่อนๆ และประสิทธิภาพของ Core i7 ยังเหนือกว่าอีกด้วยครับ



 


 



ภาพแสดง Power Control Unit ภายในซีพียู Core i7


 


 


Turbo Mode


หากซีพียู Core i7 ทำงานในลักษณะที่ไม่ใช้การทำงานครบทั้ง4core 8thread ซึ่งก็เป็นปรกติโดยส่วนมากในการใช้งานทั่วๆไปอยู่แล้ว AIในตัวCPUมันจะตัดการทำงานเข้าสู่ Turbo Mode หรือการโอเวอร์คล็อกตัวเองในทันที กล่าวคือ จะทำการเพิ่มmultipleหรือตัวคูณสัญญาณนาฬิกาของของซีพียู1ใน4coreที่กำลังทำงาน ขึ้นมาอีก1step เช่นใน Core i7 965 ปรกติจะทำงานที่ความเร็ว 24X133.33MHz = 3,200MHz ทั้ง4Core แต่พอเราเปิดโหมดการทำงานแบบTurboนี้ขึ้นมา เมื่อมีการทำงานในลักษณะSingleThreadขึ้นมา AIของซีพียูก็จะเพิ่มMultipleของCore1 จากเดิม24 เป็น25 ก็จะทำให้ได้ความเร็วขณะทำงานแบบSingleThread เพิ่มขึ้นมาเป็น25X133.33MHz = 3,333MHz โดยที่ความร้อนไม่ได้เพิ่มขึ้นแถมยังประหยัดพลังงานลงกว่าการทำงานแบบ3,200MHz 4Coreเต็มๆเพื่อทำงานเพียงงานเดียวอีกต่างหาก โดยท่านสามารถปิดหรือเปิดการทำงานของ Turbo Mode นี้ได้ใน Bios ครับ



ตัวอย่างการเปิดการทำงาน Turbo Mode ใน Bios ของเมนบอร์ด Intel Desktop DX58SO ครับ



Feature อื่นๆใน Intel Core i7


 



 


 


ชุดคำสั่ง SEE 4.2


ในซีพียู Core i7 ได้เพิ่มชุดคำสั่ง SEE 4.2 เข้าไป ซึ่งส่วนที่เพิ่มเข้ามาในชุดคำสั่ง SSE 4.2 นี้จะช่วยทำให้ ซีพียู Core i7 สามารถทำงานต่างๆได้ดีขึ้น เช่น




  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเกี่ยวกับโค้ด XML ได้ดีขึ้น


  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานกับ Software ที่สนับสนุนอุปกรณ์ประเภท SCSI ได้ดีขึ้น


  • เพิ่มประสิทธิภาพในการงานกับระบบ Network ได้ดีขึ้น


  • เพิ่มประสิทธิภาพในการ Search หาข้อมูลได้ดีขึ้น


  • และอื่นๆอีกมากมายครับ

 


 


เพิ่มขนาดของ Translation Look-aside Buffer (TLB)


Core i7 ได้เพิ่มขนาดของ TLB เขาไปอีก 512 entry ซึ่งจะทำให้สามารถเปลี่ยน Virtual address ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลบน Virtual Memory ไปเป็น Physical address ได้เร็วขึ้น นั้นหมายความว่าซีพียูสามารถนำข้อมูลจาก Virtual Memory มาประมวลผลได้เร็วขึ้นครับ


 


เพิ่มขนาดของ Branch Target Buffer (BTB)


Core i7 เพิ่มขนาดของ BTB ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ Branch Prediction หรือ การคาดการณ์ล่วงหน้าว่าซีพียูจะประมวลผลคำสั่งอะไรเป็นคำสั่งต่อไป ซึ่งคำสั่งที่ถูกคาดการณ์ไว้จะถูกนำมาเก็บไว้ใน BTB ซึ่งหาก BTB มีขนาดมากขึ้น ก็จะทำให้ซีพียูทำงานได้เร็วขึ้น


 


เอาล่ะครับ ท่านผู้อ่านทั้งหลายครับ ถึงตรงนี้เราคงทราบกันดีแล้วว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้ซีพียู Intel Core i7 เป็นได้ทั้งซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูง และประหยัดพลังงานไปพร้อมๆกันแล้ว ต่อไปเราไปดูกันต่อดีกว่าเมนบอร์ดที่จะนำมาใช้กับซีพียู Core i7 หน้าตามันจะเป็นยังไงกันบ้างนะ 


 


















































































Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»