คำศัพท์ที่ควรรู้ เกี่ยวกับ Core i7
ก่อนที่เราจะกล่าวถึงซีพยู Intel Core i7 เราควรจะมารู้จักคำศัพท์ที่สำคัญๆ สักเล็กน้อยกันก่อนนะครับ
Nehalem คือ ชื่อที่ใช้เรียกซีพียู ที่ใช้สถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ใหม่ ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีกว่าสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture เดิม ที่เคยใช้ในซีพียูตระกูล Core 2 ครับ ดังนั้นเพื่อป้องกันการสับสน ผมจะขอเรียก สถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ใหม่ ว่า สถาปัตยกรรม Nehalem ก็แล้วกันนะครับ
Core i7 คือซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม Nehalem หรือสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ใหม่ นั่นเองครับ
Bloomfield คือ ชื่อที่ใช้เรียกซีพียูกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในตระกูล Core i7 ครับ
ซึ่งซีพียูในตระกูล Core i7 นี้ จะมีกลุ่มซีพียูย่อยๆลงไปอีกเช่น Bloomfield, Lynfield, Havendale และ อื่นๆอีกมากมายครับ (สำหรับซีพียูที่เว็บเรานำมาทดสอบให้ชมกันในครั้งนี้คือ Bloomfield)
สาเหตุที่ต้องแบ่งซีพียูตระกูล Core i7 เป็นกลุ่มย่อยๆนั้นก็เพราะ ผู้ใช้งานจะได้สามารถเลือกซื้อซีพียูให้เหมาะสมกับขนาดของงานที่ตนเองต้องการใช้นั้นเองครับ
สีของโลโก้ Intel Core i7
สีฟ้า หมายถึง ซีพียู Core i7 รุ่นปกติ
สีดำ หมายถึง ซีพียู Core i7 รุ่น Xtreme Edition หรือ ที่ภาษานักโอเวอร์คล๊อคเรียกกันว่า “ซีพียูระดับเทพ” นั้นเองครับ
สำหรับ Core i7 ที่ทางเว็บ Vmodtech ได้รับมามี 2 ตัว คือ
- Intel Core i7 965 Extreme Edition ใช้โลโก้ สีดำครับ
- Intel Core i7 920 ใช้โลโก้ สีฟ้าครับ
เลขบอกประสิทธิภาพ คือตัวเลขที่บอกประสิทธิภาพการทำงานของซีพียูครับ ซึ่งตัวเลขยิ่งมากก็หมายความว่า ประสิทธิภาพของซีพียูก็จะมากขึ้นตามตัวเลขครับ
เช่น Intel Core i7 965 จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า Intel Core i7 920 ครับ แต่จะแตกต่างกันขนาดไหน เดี๋ยวทางเว็บเราจะทดสอบให้ดูภายในบทความนี้ล่ะครับ
สิ่งใหม่ๆที่เพิ่มเข้ามาในซีพียู Core i7
- ตัวความคุมหน่วยความจำ (RAM) ชนิด Tri-channels DDR3 ซึ่งเป็นแบบอินทิเกรตเข้าไปไว้ในdieเดียวกับซีพียู(Integrate Memory Controller)
- QuickPath Interconnect(QPI) เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบัส
- หน่วยความจำ แคช(Cache) ระดับ 3 ขนาด 8 MB
- Simultaneous Multi-Threading (SMT)
- Loop Stream Detector ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นให้ดีกว่าของเดิม ที่เคยใช้อยู่ในซีพียูตระกูล Core 2
- ชุดคำสั่ง SSE 4.2
- ปรับปรุงคุณภาพของ Branch Target Buffer ให้ดีขึ้น
- ปรับปรุงคุณภาพของ Translation Look-aside Buffer (TLB)
- ใช้ตัวควบคุมการใช้พลังงานซีพียู(Power Control unit)แบบใหม่
- ใช้เทคโนโลยีการผลิต 45 นาโนเมตร
Tick Tock Development Model
Tick Tock Development Model คือ แบบจำลองที่ทางอินเทลใช้สำหรับวางแผนในการพัฒนาซีพียูครับ รูปแบบของแบบจำลอง Tick Tock คือการสลับกันระหว่าง การพัฒนาสถาปัตยกรรมของซีพียู และการลดเทคโนโลยีการผลิตของซีพียูครับ
ที่มาของคำว่า Tick Tock มาจากเสียงของนาฬิกาเดินครับ เมื่อนาฬิกาเดินจะมีเสียง ติ๊ก(Tick) สลับกับเสียงต๊อก(Tock)ครับ
ตัวอย่างเช่น
ในปี 2006 (หรือปี Tock) มีการพัฒนาสถาปัตยกรรม Intel Core Microarchitecture ที่ใช้ในซีพียูตระกูล Core 2 ขึ้นมา แต่ยังคงใช้ใช้เทคโนโลยีการผลิต 65 nm เหมือนใน Pentium D โดย Core 2 รุ่น 65 nm ใช้ Code Name ชื่อ Conroe
ในปี 2007 (หรือปี Tick) ได้มีการลดเทคโนโลยีการผลิตของซีพียู Intel Core 2 ลงมาจาก 65 nm มาเป็น 45 nm และได้ใช้ Code Name เรียกซีพียู Core 2 ในรุ่นนี้ว่า Penryn ครับ แม้ว่า Penryn จะโดนลดเทคโนโลยีการผลิตลงแต่ยังคงใช้สถาบัตยกรรม Intel Core Microarchitecture เหมือนกับที่ใช้อยู่ใน Conroe ครับ การลดเทคโนโลยีการผลิตให้เล็กลงมีข้อดีคือ ลดปริมาณความร้อน, ลดอัตราการใช้พลังงาน และ ลดอัตราการหน่วงเวลาในการเดินของกระแสไฟฟ้าทำให้ซีพียูทำงานได้เร็วขึ้น แถมยังเพิ่มขนาดL2Cacheให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมอีก50%ด้วยอีกต่างหาก
ในปี 2008 (หรือปี Tock) ยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิต 45 nm เท่าเดิม แต่มีพัฒนาปรับปรุงสถาปัตยกรรม Intel Core Microarchitecture ให้ดีขึ้นและได้ใช้ชื่อว่าสถาปัตยกรรมนี้ว่า Nehelem ครับ และสถาปัตยกรรม Nehalem นี้ก็ได้มาอยู่ในซีพียู Intel Core i7 แล้วครับ
สรุป คือ ปี Tock จะเป็นปีสำหรับการพัฒนาพัฒนาสถาปัตยกรรม ส่วนปี Tick คือปีสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และก็จะสลับกันพัฒนาเป็นปี Tick ปี Tock แบบนี้ไปเรื่อยๆครับ
ข้อดี การพัฒนาในรูปแบบ TickTock Development Model จะทำให้การพัฒนาซีพียูของอินเทลเป็นไปอย่างรวดเร็วครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นการลดเทคโนโลยีการผลิต หรือการเปลี่ยนสถาปัตยกรรม ทั้งคู่ต่างก็มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของซีพียูด้วยกันครับ
เอาล่ะครับเราคงนึกภาพ TickTock Development Model ออกกันแล้วนะครับ ไปต่อกัน
————————————————–
ตัวควบคุมหน่วยความจำภายในซีพียู (Integrate Memory Controller Unit)
โดยปกติซีพียูจะทำการติดต่อกับหน่วยความจำบนเมนบอร์ด หรือที่เราเรียกสั่นๆกันว่าแรม (RAM) ผ่านตัวควบคุมหน่วยความจำที่อยู่ในชิพเซ็ตนอร์ทบริดจ์(NorthBridge) บนเมนบอร์ด ซึ่งทำให้เสียเวลาในการที่ซีพียูจะนำข้อมูลจากแรมมาประมวลผล เพราะข้อมูลต้องวิงผ่านชิพเซตก่อนที่จะมาถึงซีพียูครับ
การนำตัวควบคุมหน่วยความจำมาไว้ในตัวซีพียูจะทำให้ซีพียูสามารถนำข้อมูลจากหน่วยความจำมาประมวลผลได้เร็วขึ้น เพราะข้อมูลจากแรมไม่ต้องวิ่งผ่านชิพเซต แต่เข้าถึงซีพียูโดยตรงเลยครับ
Intel QuickPath Interconnect
QuickPath Interconnect คือ เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความกว้าง และลดการหน่วงเวลาของระบบบัสที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆเช่น ชีพียู และ I/O HUb ครับ
ภาพแสดงการรับส่งข้อมูลแบบ 2 ทางของ เทคโนโลยี QuickPath
จุดเด่นของ QuickPath Interconnect
1. เทคโลยี QuickPath มีการแยกเส้นทาง(Lanes) สำหรับการใช้ส่งข้อมูล(Trasfer Data) และเส้นทางที่ใช้สำหรับรับข้อมูล (receive Data) ออกจากกัน เป็น 2 เส้นทาง ทำให้การรับ และการส่งข้อมูลสะดวกรวดเร็วขึ้นเพราะ สามารถรับและส่งข้อมูลได้พร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน เป็นการช่วยลดปัญหาขอขวดที่เกิดขึ้น จากการส่งข้อมูลระหว่าง I/O Hub และซีพียู
ข้างบนแสดงการเชื่อมต่อระหว่างซีพียู และ I/O Hub แบบ Point to Point
2. QuickPath ได้นำการเชื่อมต่อแบบ Point-to-Point มาใช้ ทำให้ซีพียูแต่ล่ะตัวสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง การเชื่อมต่อกันโดยตรงของซีพียูนั้น ทำให้ซีพียูสามารถทำงานร่วมกันได้เร็วขึ้น และยังทำให้ I/O Hub สามารถทำการรับส่งข้อมูลกับซีพียูได้เร็วขึ้นด้วยครับ
ภาพแสดงการทำงานของ NUMA
3. NUMA (Non Uniform Memory Access)
เมื่อมีการเชื่อมต่อแบบ Point-To-Point ก็จะสามารถทำให้ซีพียูแต่ละตัวทำการค้นหาข้อมูลที่ตัวเองต้องการนำมาประมวลได้จาก แรมของตัวเองและจากแรมของซีพียูตัวอื่นๆที่อยู่บนบอร์ดเดียวกันได้ด้วย
ตัวอย่างเช่น (กรุณาดูภาพประกอบที่อยู่ข้างล่าง)
CPU0 ไม่มีข้อมูลที่ต้องการประมวลอยู่ในหน่วยความจำแคชของมันเลย ซึ่ง CPU0 สามารถหาข้อมูลที่ตัวเองต้องการได้ดังนี้
Step ที่ 1(กระบวนการต่อไปนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน)
- CPU0 ทำการค้นหาข้อมูลจาก RAM ในส่วนตัวเอง
- CPU0 ข้อให้ CPU1 ทำการตรวจสอบว่าใน Ram ของ CPU1 มีข้อมูลที่ CPU 0 ต้องการหรือไม่
Step ที่ 2 (กระบวนการต่อไปนี้จะเกิดขึ้นตามลำดับ)
- CPU 0 ไม่พบข้อมูลในข้อมูลในแรมของตัวเอง
- CPU 0 ข้อให้ CPU 1 ส่งข้อมูลที่ CPU 0 ต้องการ และ CPU 1 มีอยู่ใน RAM มาให้
จากขั้นตอนข้างบนเราจะเห็นว่าหาก CPU0 ไม่เจอข้อมูลในแรมของตัวเอง ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องไปหาข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทอื่นๆที่ช้ากว่าแรมก็ได้ เพราะว่า ข้อมูลที่ CPU0 ต้องการอาจจะอยู่ในแรมของ CPU1 ก็ได้ ซึ่งการดึงข้อมูลจาก RAM ของซีพียูข้างเขียงมาใช้ จะใช้เวลาน้อยกว่า การดึงข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทอื่นๆที่ช้ากว่าแรม
สรุป การที่ซีพียูสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรงนั้น สามารถทำให้ซีพียูมีโอกาสที่จะได้ข้อมูลที่จะนำมาประมวลได้เร็วขึ้นครับ แต่ผมคิดว่า NUMA นี้คงจะเป็นประโยชน์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Workstation และ Server ที่มีการใช้ซีพียูหลายๆตัวมากเครื่อง PC ที่ส่วนใหญ่ใช่ซีพียูเพียงตัวเดียวครับ
————————————————–
หน่วยความจำแคช (Cache)
ก่อนที่เราจะไปดูลักษณะของหน่วยความจำแคชในซีพียู Core i7 หรือ Nehalem ผมจะพาท่านไปรู้จักกับรูปแบบของ Cache ในซีพียูมัลติคอร์ (Multicore)รุ่นต่างก่อนที่จะมาถึง Core i7 กันก่อนนะครับ
1) Pentium D
เป็นซีพียูมัลติคอร์รุ่นแรกที่อินเทลทำออกมาสำหรับตลาด PC ครับ ซึ่ง Pentium D เกิดจากการนำ Pentium 4 จำนวน 2 ตัว หรือ 2 Die มาติดตั้งบนแผงวงจรตัวเดียวกัน จึงทำให้ได้ซีพียู 2 คอร์(Core)ขึ้นมาครับ ดังนั้นหน่วยความจำแคชที่ในแต่ล่ะคอร์ของซีพียูจึงเป็นแบบของใครของมัน ใช้ด้วยกันไมได้ครับ เพราะคอร์แต่ละคอร์ใน Pentium D ถือว่าเป็นซีพียู 1 ตัวครับ
ข้างบน ภาพแสดงลักษณะของหน่วยความจำแคช ที่อยู่ในซีพียู Pentium D ซึ่งใช้แยกกันครับ
ภาพข้างบนแสดงให้เห็นว่า Pentium D เกิดจากการนำ Pentium 4 จำนวน 2 ตัว หรือ 2 Die มาติดตั้งไว้บนแผงวงจรเดียวกัน
2. Intel Core Duo และ Intel Core 2 Duo
Intel Core Duo และ Intel Core 2 Duo ซีพียู 2 ตัวนี้เรียกได้ว่าเป็นซีพียู 2 คอร์โดยแท้มาตั้งแต่กำเนิดครับ ซีพียูมี Die เพียงตัวเดียวแต่มี 2 คอร์ หรือ 2 แกนประมวลนั้นเอง และทั้ง 2 คอร์ ต่างก็ใช้หน่วยความจำแคชระดับ 2 ร่วมกันครับ
* Intel Core Duo และ Intel Core 2 Duo มี 1 Die 2 Core
* Pentium D มี 2 Die 2 Core
ข้อดีของการใช้แคชร่วมกัน
ในกรณีของ Core Duo และ Core 2 Duo นั้นคอร์แต่ละคอร์จะใช้แคชระดับ 2 ร่วมกัน และใช้คุณสมบัติ Intel Smart Cache ช่วยในการจัดสรรปริมาณการใช้แคชตามความต้องการของแต่ล่ะคอร์
แต่ในกรณีของ Pentium D ที่ต่างคอร์ต่างมีแคชเป็นของตัวเอง หากเกิดเหตุการที่คอร์ที่ 1 ใช้แคชน้อยและมีแคชเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันคอร์ที่ 2 มีการใช้แคชเป็นจำนวนมาก และแคชของคอร์ที่ 2 ไม่พอใช้ คอร์ที่ 2 จะไม่สามารถยืมแคชจาก คอร์ ที่ 1 ได้เลย เพราะต่างคนต่างมีแคชเป็นของใครของตัวเองครับ
ข้างบน ภาพแสดงลักษณะการใช้แคชของ Core Duo และ Core 2 Duo
ข้างบนภาพแสดงให้เห็นว่า Intel Core 2 Duo เป็นซีพียู 2 คอร์บน Die เดียว
3. Core 2 Quad
สำหรับ Core 2 Quad ก็ไม่มีอะไรมากครับ เพราะมันคือการนำ Core 2 Duo จำนวน 2 ตัว หรือ 2 Die มาติดตั้งบนแผงวงจรเดียวกันครับ ส่วนคอร์ที่อยู่บน Die เดียวกันก็จะสามารถใช้แคชร่วมกันได้ครับ และ คอร์ที่อยู่ต่าง Die จะต้องใช้แคชบน Die ที่คอร์นั้นอยู่เท่านั้นครับ
ข้างบนภาพแสดงลักษณะการใช้แคชของ Core 2 Quad และ Core 2 Extreme QX
ภาพแสดงโคงสร้างภายในของซีพียู Core 2 Quad ที่เกิดจากการนำซีพียู Core 2 Duo จำนวน 2 Die มาติดตั้งบนแผงวงจรเดียวกัน
4. Core i7
และแล้วก็มาถึงพระเอกของเรากันแล้ว นั้นก็คือซีพียู Core i7 สำหรับรุ่นที่ออกมาในขณะนี้ เป็นซีพียู 4 Core ใช้โค้ดเนม Boomfield โดยแต่ละคอมีหน่วยความจำแคชระดับ 1 และระดับ 2 แยกเป็นของตัวเอง และใช้แคชระดับ 3 ร่วมกันครับ
แคชระดับ 1
- 32 Kb สำหรับเก็บข้อมูล ต่อ 1 คอร์
- 32 kb สำหรับเก็บชุดคำสั่ง ต่อ 1 คอร์
แคชระดับ 2
- 256 kb ต่อ 1 คอร์
แคชระดับ 3
- 8 MB ใช้งานร่วมกัน 4 คอร์
ภาพข้างบน แสดงลักษณะการใช้งานแคชของ Intel Core i7 (Nahalem)
ภาพข้างบนแสดง การทำงานของ Inclusive Cache ที่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นในสถาปัตยกรรม Neharem จากรูปแสดงให้เราเห็นว่า หาก Core 0 ไม่พบข้อมูลที่มันต้องการในแคชระดับ 1 ,2 และ 3 แล้ว มันสามาถไปขอข้อมูลที่มันต้องการจากแคชระดับ1 หรือ 2 จากคอร์ที่มีข้อมูลที่มันต้องการได้เช่นCore 0 ไปขอใช้ข้อมูลในแคชของ Core 2 เป็นต้น
ภาพแสดงให้เห็นว่า Intel Core i7 เป็นซีพียู 4 คอร์บน Die เดียว
————————————————–
Loop Stream Detector ที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น
โดยปกติแล้วขั้นตอนการประมวลของ ซีพียูจะมี 3 ขั้นตอนดังนี้
1. Fetch คือ การไปอ่านข้อมูล(Data) หรือคำสั่ง(Instructions)มาเพื่อที่จะนำไปใช้งานต่อไป
2. Decode คือ การถอดรหัสข้อมูล หรือคำสั่งที่ได้จากการ Fetch ออกเป็นภาษาของซีพียู(Micro-op)
3. Execute คือ การประมวลผลข้อมูล หรือคำสั่งที่ได้จากการ Decode แล้ว
ภาพข้างบนแสดงขั้นการทำงานของซีพียูทั่วๆไป
ทางอินเทลได้หาทางที่จะลดขั้นตอนการทำงานของ เพื่อที่ซีพียูจะได้ใช้เวลาในการประมวลผลข้อมูลน้อยลง ดังนั้นอินเทลจึงได้สร้าง Loop Stream Detector ในระดับฮาร์ดแวร์ขึ้นไว้ในซีพียูครับ
1. Loop Stream Detector ของซีพียูในตระกูล Intel Core 2
- ซีพียูทำการ Fetch คำสั่งเข้า
- Loop Stream Detector จะทำการเก็บคำสั่งที่ได้จากการ Fetch โดย Loop Stream Detector สามารถเก็บคำสั่งได้ถึง 18 คำสั่ง
- นำข้อมูลในรูป Loop Stream Detector ไปทำการ Decode
- ทำการ Execute
- หากซีพียูต้องการใช้คำสั่งต่อไป เพื่อมาใช้ในการประมวลผลในครั้งต่อไป และซีพียูจะเข้าไปตรวจสอบคำสั่งที่ถูกเก็บไว้ใน Loop Stream Detector หากพบคำสั่งที่ต้องการอยู่ใน Loop Stream Detector ซีพียูก็จะนำคำสั่งนั้นไปทำการ Decode และ Execute ได้เลย โดยไม่ต้องทำการ Fetch ใหม่
ข้อดี ของการใช้ Loop Stream Detector คือ การลดขั้นตอนการทำงานของซีพียูลง สำหรับ Loop Stream Detector ในซีพียูตระกูล Core 2 ช่วยลดโอกาสที่จะทำให้ซีพียู Fetch ข้อมูลใหม่ลดลง
*หมายเหตุ
- Loop Stream Detector จะเก็บเฉพาะคำสั่งที่เคย Fetch มาแล้ว
- หากซีพียูตรวจสอบดูใน Loop Stream Detector ไม่พบคำสั่งที่ซีพียูต้องการ ซีพียูก็ต้องทำการ Fetch เข้ามาใหม่
แสดงการทำงานของ Loop Stream Detector ในซีพียูตระกูล Core 2
2. Loop Stream Detector ในซีพียูตระกูล Core i7
ในซีพียูตระกูล Core i7 อินเทลได้ทำย้ายตำแหน่งของ Loop Stream Detector ใหม่ เพื่อมาเก็บข้อมูลที่ได้จากการ Decode แล้ว ทำให้สามารถลดขั้นตอนการทำงานของซีพียูลงได้อีก 2 ขั้นตอนครับ เพราะหากซีพียูทำการ Excecute เสร็จ ซีพียูต้องการทำคำสั่งต่อไป ซีพียูก็มาเอาคำสั่งที่ถูก Decode เรียบร้อยซึ่งถูกเก็บอยู่ใน Loop Stream Detector ไป Execute ได้เลยครับ ไม่ต้อง Decode และ Fetch ใหม่ นอกเสียจากว่าคำสั่งนั้นๆจะไม่อยู่ใน Loop Stream Detector ครับ
นอกจากนี้ อินเทลยังได้เพิ่มขนาดของ Loop Stream Detector ให้สามารถเก็บคำสั่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยเก็บได้เพียง 18 คำสั่ง มาเป็น 28 คำสั่งครับ
ภาพแสดงการทำงานของ Loop Stream Detector ในซีพียู Intel Core i7
————————————————–
Simultaneous Multi-Threading (SMT)
SMT คือการส่ง Thread หรือ งานจำนวน 2 งานให้กับคอร์แต่ล่ะคอร์ของซีพียูได้พร้อมๆกัน ทำให้ซีพียูสามารถประมวลผลแบบ Multi-Threading ได้ดีขึ้นครับ ด้วยความสามารถของ SMT นี้เองจึงทำให้ Intel Core i7 ที่เดิมทีมีเพียงแค่ 4 คอร์ สามารถทำงานได้เสมือนกับว่ามันเป็นซีพียู 8 คอร์เลยครับ
จะว่าไปแล้ว หลักการทำงานของ SMT ก็เหมือนๆกับ Hyper Threading ที่ทาง Intel เคยใช้กับซีพียูตระกูล Pentium 4 ในสถาปัตยกรรม NetBurst มาก่อน แต่ว่า SMT ในซีพียู Intel Core i7 จะมีประสิทธิภาพมากว่าเดิมครับ
Power Management ที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น
โดยปกติในซีพียูรุ่นก่อนจะมีปัญหากระแสลั่วไหล (Leakage Current)ซึ่งจะทำให้ซีพียูสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังทำให้ตัวซีพียูร้อนขึ้นอีกด้วย ทางอินเทลได้แก้ไขปัญหาโดยการนำตัวควบคุมพลังงาน (Power Control Unit) เข้าไปติดตั้งอยู่ในตัวซีพียู Core i7 เลยครับ ทำให้ลดการลั่วไหลของกระแส (Leakage Current) และสามารถปรับให้ซีพียูทำงานใน Turbo Mode ได้ด้วย
ซีพียู Core i7 ถูกออกแบบมาให้แต่ล่ะคอร์สามารถทำงานที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกา(Clock Speed) ที่แตกต่างกันได้ตามความต้องการของแต่ล่ะคอร์ และนอกจากนี้ตัวควบคุมพลังงานที่อยู่ในซีพียูยังสามารถที่จะจ่ายพลังงานให้คอร์แต่ล่ะในปริมาณที่คอร์แต่ล่ะต้องการได้อีกด้วย
การที่ Intel Core i7 สามารถทำให้แต่ล่ะคอร์ใช้ความเร็ว และพลังงานที่แต่ต่างกันได้ตามความเหมาะสมนี้ ทำให้ Core i7 ประหยัดพลังงานมากกว่าซีพียูรุ่นก่อนๆ และประสิทธิภาพของ Core i7 ยังเหนือกว่าอีกด้วยครับ
ภาพแสดง Power Control Unit ภายในซีพียู Core i7
Turbo Mode
หากซีพียู Core i7 ทำงานในลักษณะที่ไม่ใช้การทำงานครบทั้ง4core 8thread ซึ่งก็เป็นปรกติโดยส่วนมากในการใช้งานทั่วๆไปอยู่แล้ว AIในตัวCPUมันจะตัดการทำงานเข้าสู่ Turbo Mode หรือการโอเวอร์คล็อกตัวเองในทันที กล่าวคือ จะทำการเพิ่มmultipleหรือตัวคูณสัญญาณนาฬิกาของของซีพียู1ใน4coreที่กำลังทำงาน ขึ้นมาอีก1step เช่นใน Core i7 965 ปรกติจะทำงานที่ความเร็ว 24X133.33MHz = 3,200MHz ทั้ง4Core แต่พอเราเปิดโหมดการทำงานแบบTurboนี้ขึ้นมา เมื่อมีการทำงานในลักษณะSingleThreadขึ้นมา AIของซีพียูก็จะเพิ่มMultipleของCore1 จากเดิม24 เป็น25 ก็จะทำให้ได้ความเร็วขณะทำงานแบบSingleThread เพิ่มขึ้นมาเป็น25X133.33MHz = 3,333MHz โดยที่ความร้อนไม่ได้เพิ่มขึ้นแถมยังประหยัดพลังงานลงกว่าการทำงานแบบ3,200MHz 4Coreเต็มๆเพื่อทำงานเพียงงานเดียวอีกต่างหาก โดยท่านสามารถปิดหรือเปิดการทำงานของ Turbo Mode นี้ได้ใน Bios ครับ
ตัวอย่างการเปิดการทำงาน Turbo Mode ใน Bios ของเมนบอร์ด Intel Desktop DX58SO ครับ
Feature อื่นๆใน Intel Core i7
ชุดคำสั่ง SEE 4.2
ในซีพียู Core i7 ได้เพิ่มชุดคำสั่ง SEE 4.2 เข้าไป ซึ่งส่วนที่เพิ่มเข้ามาในชุดคำสั่ง SSE 4.2 นี้จะช่วยทำให้ ซีพียู Core i7 สามารถทำงานต่างๆได้ดีขึ้น เช่น
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเกี่ยวกับโค้ด XML ได้ดีขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานกับ Software ที่สนับสนุนอุปกรณ์ประเภท SCSI ได้ดีขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพในการงานกับระบบ Network ได้ดีขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพในการ Search หาข้อมูลได้ดีขึ้น
และอื่นๆอีกมากมายครับ
เพิ่มขนาดของ Translation Look-aside Buffer (TLB)
Core i7 ได้เพิ่มขนาดของ TLB เขาไปอีก 512 entry ซึ่งจะทำให้สามารถเปลี่ยน Virtual address ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลบน Virtual Memory ไปเป็น Physical address ได้เร็วขึ้น นั้นหมายความว่าซีพียูสามารถนำข้อมูลจาก Virtual Memory มาประมวลผลได้เร็วขึ้นครับ
เพิ่มขนาดของ Branch Target Buffer (BTB)
Core i7 เพิ่มขนาดของ BTB ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ Branch Prediction หรือ การคาดการณ์ล่วงหน้าว่าซีพียูจะประมวลผลคำสั่งอะไรเป็นคำสั่งต่อไป ซึ่งคำสั่งที่ถูกคาดการณ์ไว้จะถูกนำมาเก็บไว้ใน BTB ซึ่งหาก BTB มีขนาดมากขึ้น ก็จะทำให้ซีพียูทำงานได้เร็วขึ้น
เอาล่ะครับ ท่านผู้อ่านทั้งหลายครับ ถึงตรงนี้เราคงทราบกันดีแล้วว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้ซีพียู Intel Core i7 เป็นได้ทั้งซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูง และประหยัดพลังงานไปพร้อมๆกันแล้ว ต่อไปเราไปดูกันต่อดีกว่าเมนบอร์ดที่จะนำมาใช้กับซีพียู Core i7 หน้าตามันจะเป็นยังไงกันบ้างนะ
————————————————–
Intel Extreme Motherboard DX58SO
สำหรับซีพียู Intel Core i7 ในรุ่นที่ใช้ Code Name : Bloomfield ใช้การเชื่อมต่อแบบ LGA 1366 ดังนั้นก็ต้องมีเมนบอร์ดที่สนับสนุนการเชื่อมต่อ Socket LGA 1366 จึงจะสามารถที่ใช้ประโยชน์จาก ซีพียู Intel Core i7 ได้ครับ ว่าแล้วเราก็มาดูหน้าตาเมนบอร์ดตัวแรก ที่ทางอินเทลทำออกมาเพื่อใช้งานกับเจ้าซีพียู Intel Core i7
ภาพเมนบอร์ด Intel Extreame DX58SO หรืออีกชื่อหนึ่งคือ SmarkOver ซึ่งใช้การเชื่อมต่อแบบ LGA 1366 สนับสนุนการทำงานของซีพียู Core i7
เปรียบเทียบความแตกต่างของ LGA 1366 (ซ้าย) และ LGA 775 (ขวา)
หงายหน้าให้ดูกันแบบเต็มๆครับ
|
CPU |
LGA 1366 Support Intel Core i7 Extream Edition and Intel Core i7 |
Chipset |
X58 Epress Chipset with Intel Quick Path interconnection
ICH10 |
FSB |
133.33 MHz |
Memmory |
4 x DIMM, 8 GB, Tri-Channel DDR3 1600/1333/1066 |
Expansion Slot |
- Dual PCI Express 2.0 X16 Graphics Connectors Support CrossFire
PCI and PCI Express Connector For peripheral card expasion |
Storage |
6 SATA Port, include Two eSATA (3.0 GB/s)
Two eSATA BackPort
Intel Matrix Storage Technology |
LAN |
Intel Pro 10/100/1000 NetWork Connection |
Audio |
7.1 Surround Sound with Dollby Home Theater (Intel Hi-Deffinition Audio) |
IEEE 1394 |
Two port IEEE 1394 |
USB |
USB 2.0 (8 Back Port) |
Back Panel I/O |
8 x USB 2.0 Port
2 x IEEE 1394 Port
2 x eSATA Port
1 x LAN Port
7.1 Channel Audio I/O |
BIOS |
Exclusive Intel Fualt-Tolerrant Bios virtually Eliminate down time due to corrupted Bios |
Power Connection |
2 x 12 MainPower Connection
2 x 4 Secondary Processor Power Connection |
ภาพ DX58SO Block Diagram
เอาละครับก่อนที่เราจะไปดูผลการทดสอบกัน ผมขอคลายข้อสงสัยในเรื่องของ RAM ที่จะใช้บนเมนบอร์ดนี้ก่อนนะครับ หากเราสังเกตุดีเราจะพบว่ามีสล็อตสำหรับใส่แรมอยู่ 4 Slot แต่ถว่าเมนบอร์ดตัวนี้กับสนับสนุนแรมแบบ Tri-Channel หลายคนคงจะสงสัยว่ามันทำงานยังไงกัน
ก่อนอื่นผมอยากให้ท่านดูภาพข้างบน ซึ่งเป็นภาพที่แสดง Diagram ของ เมนบอร์ด Intel Extreame DX58SO ก่อนน่ะครับ เราจะพบว่า
เมนบอร์ตัวนี้ประกอบไปด้วยสล็อตแรมจำนวน 4 สล็อต ซึ่งประกอบด้วย
แต่มี Channel สำหรับส่งข้อมูลเพียง 3 Channel (โดยส่งข้อมูล Channel ล่ะ 64 Bit เมื่อทำการต่อ Tri-Channel ก็จะทำการส่งข้อที่ 192 Bit (64 + 64 +64) ดังนี้
- Channel A
- Channel B
- Channel C
เราสามารถอธิบายได้ดังนี้ ครับ
Channel A จะทำการแชร์การส่งข้อระหว่าง DIMM0 และ DIMM1 ดังนั้น ท่านจะเสียบแรมตัวเดียว หรือ 2 ตัวลงในสองสล็อตนี้ ท่านก็จะได้ความกว้างในการส่งข้อมูล 64 Bit เท่ากันทั้งสองกรณี
Channel B สำหรับ DIMM2 (ส่งข้อมูล 64 Bitเติมๆ)
Channel C สำหรับ DIMM3 (ส่งข้อมูล 64 Bitเติมๆ)
การต่อแรม Tri-Channel ทำได้ 2 แบบ
- ใส่แรม 3 ตัวลงไปในสล็อตสีฟ้า 3 สล็อต เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถเปิดโหมดการทำงานของ Tri-Channel ได้แล้วครับ
-ใส่แรม 4 ตัวให้ครบทั้ง 4 สล็อต ท่านยังคงได้สามารถเปิดโหมด Tri-Channel ได้เช่นกันครับ
สรุป สล็อตสีดำถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มปริมาณหน่วยจำได้ครับ แต่ไม่ได้ช่วยเพิ่มความกว้างในการส่งข้อมูลครับ เพราะสล็อตสีดำทำการแชร์เส้นทางในการส่งข้อมูลร่วมกับสล็อตสีฟ้าตัวที่อยู่ข้างๆติดๆกับสล็อตสีดำนั้นเองครับ
————————————————–
System Test
ไปดูส่วนประกอบของระบบในส่วนต่างๆกันก่อนทำการทดสอบเลยนะครับ คราวนี้อินเทลส่งชุดใหญ่กันมาเลยครับ ไปชมกันเลยครับ
รายละเอียดต่างๆข้างกล่องชุดkitครับ
หน้าตาของCPU Socket1366 ที่จะใช้ในการทดสอบนี้ครับ ซึ่งทั้งตัวCore i7 Extreme 965 และ Core i7 920 จะหน้าตาเหมือนกันทุกอย่าง แตกต่างกันแค่รหัสต่างๆที่สลักอยู่บนIntegrated Heat Spreader(IHS)เท่านั้น
จับจับCPUหงายขึ้นมา ก็จะพบขาทองเหลือง เรียงรายอยู่เป็นจำนวน1366ขา สังเกตดีๆนะครับ จากขาเดิมที่เป็นวงกลม ทางอินเทลเปลี่ยนเป็นวงรีแล้วครับ
ไปดูหน้าตาเมนบอร์ดกันต่อครับ เมนบอร์ดของอินเทลแท้ๆครับ หน้าตาเรียบง่าย สวยงาม ดุดันจริงๆครับ
เจาะลึกดูส่วนแรกที่บริเวณซอคเกตเลยนะครับ
วิธีการเปิดก็เหมือนกับSocket775เดิมครับ
วิธีใส่ก็เหมือนเดิมอีกเช่นกันครับ แต่ต้องระวังนิดนึงตอนถอดซีพียูออกนะครับ เพราะถ้าเราเอาขาล๊อคออกจากสลักในขณะที่ใส่ซีพียูอยู่แล้วปล่อยเลยทันที ขาล๊อคซีพียูจะดีดแรงมาก ถ้ามือเราอยู่บริเวณใกล้ๆ อาจได้รับบาดเจ็บฟกช้ำได้ครับ
————————————————–
ตัวสลอตPCI-E 16Xจะมี2ช่อง 1Xมี2ช่อง และ4Xมี1ช่อง ซึ่งสามารถใส่การ์ดจอที่เป็นPCI-E 16Xได้ด้วย โดยมีตัวล๊อคหลังสลอตให้เสร็จบริเวณด้านหลังสลอตตามภาพเลยครับ
ซิงค์ในส่วนของnorthbridge จะอยู่ในบริเวณด้านข้างCPU แปลกตาไปอีกแบบหนึ่งครับ
มีพัดลมติดตั้งมาให้บนตัวซิงค์ของnorthbridgeด้วยนะครับ แถมมีไฟสีฟ้าอีกต่างหาก
หน้าตาชิปX58ครับ คราวนี้จะไม่มีIntegrated Heat Spreader(IHS) แบบชิปX38 X48เดิมนะครับ
แต่ชิปsouthbridge ยังคงเป็นICH10R เหมือนเดิมครับ
ชิปไบออสถูกออกแบบมาในลักษณะช่วยให้ถอดง่าย ไม่ต้องเป่าออกแบบที่แล้วๆมาแล้วครับ
————————————————–
หน้าตาHeatsinkใหม่ของทางอินเทล(ขวา) เทียบขนาดกับHeatsinkสำหรับSocket775เดิมโดยตัวกลางเป็นแบบหนา และตัวซ้ายสุดเป็นแบบบางครับ
ภาพHeatsinkขณะหงายท้อง ตัวซ้ายสุดคือตัวใหม่นะครับ ฐานทองแดงถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง เหมือนเป็นการบอกใบ้ถึงความร้อนแรง
ภาพCloseup แบบใกล้ๆครับ
ฮีตซิงค์อีกตัวที่ทางอินเทลใส่เข้ามาด้วยในกล่อง คาดว่าให้เอามาใช้ดับความร้อนแรงให้ตัวCore i7 Extreme 965 ซึ่งมีค่าTDPสูงสุดที่130Wนะครับ ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับว่าตัวRetailจริง จะมีแถมซิงค์ตัวนี้มาให้ด้วยหรือเปล่า
พัดลมที่แถมมาพร้อมกับซิงค์ รอบที่ได้น่าจะตกที่ประมาณ1,000กว่ารอบต้นๆครับ ลมแรงไม่สะใจชาวVmodtechแน่นอนครับ แต่จะได้ความเงียบสบายหูมาแทนที่มากกว่า
Memory kit ที่แถมมาในกล่องเป็นแรมที่ใช้ชิปของ Qimonda DDR3-1066 7-7-7-20 1T ครับ
ปิดท้ายความแรงของชุดคิตของทางอินเทลด้วย Hard Disk แบบ Solid Stage หรือ SSD ขนาด80GB ที่มีความเร็วในการอ่านที่250MB/S และความเร็วในการเขียนอยู่ที่70MB/S แรงดีไม่ใช่เล่นเลยครับตัวนี้ แต่ในบทความนี้เราไม่ได้นำมาใช้นะครับ เราจะเอามาใช้ในบทความตอนOC อีกที
เมื่อมีมหกรรมความแรงกันขนาดนี้ที่Vmodtech ทางGigabyteทราบข่าว ก็ส่งmainboard Engineer Sample ล่าสุดมาให้ทดลองเล่นกันเลย ซึ่งมาในรุ่น GA-EX58 UD5 ซึ่งบทความนี้จะเป็นการเทสต์แบบเดิมๆวอร์มอัพกันไปก่อนนะครับกับCPU Core i7 920 ตัวสุดคุ้มเข้าคู่กับเมนบอร์ดตัวนี้พอดีครับ
ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้ชิปX48ที่เราจะใช้เทสต์กับซีพียู Core2Extreme 9770 เพื่อเป็นคู่เปรียบกับ Core i7 ทางเราขอใช้เมนบอร์ดพลังเสือโคร่งของทางabit ในชื่อรุ่น abit IX48-GT3 ครับ
————————————————–
BenchMark&Hardwaretest
มาถึงในช่วงของการทดสอบประสิทธิภาพของ Intel Core i7 ในบทความนี้ก็คงมีเพียงผลการทดสอบที่ความเร็วเดิมเพื่อเทียบดูประสิทธิภาพของCore i7กับซีพียูที่ถือว่าแรงที่สุดในสายพันธุ์Core 2 Quad LGA775อย่าง Yorkfield ในรหัสQX9770 มาให้ชมกันก่อนนะครับ ส่วนเรื่องผลการโอเวอร์คล๊อคจะตามมาในภายหลังอีก2บทความ ทั้งตัว Core i7 Etreme 965 และตัว Core i7 920 เลยครับ
ที่เทสต์กันแบบเดิมๆDefault ก็เพื่อเทียบกันให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เปลี่ยนไปของซีพียูสายพันธุ์ใหม่กับCPUตัวที่แรงสุดยอดของสายพันธุ์เดิมอย่างQX9770นั่นเองครับ ซึ่งการเทสต์คราวนี้จะเป็นการเทสต์แบบเทียบกันใหม่หมด ทั้งOSและโปรแกรมต่างๆไม่มีการเอาผลเทสต์เก่าๆของQX9770มาปะปน เพื่อให้ผลที่ได้ เป็นไปอย่างถูกต้องมากที่สุดนั่นเองครับ ส่วนรุ่นTopของ Core2Duo อย่างE8600 ที่มีความเร็ว3.33GHz FSB1333MHz ขอไม่นำมาร่วมในการทดสอบในแบบDefaultแบบนี้นะครับ เพราะแค่อ่านSpecก็แพ้กันตั้งแต่ในมุ้งแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องนำมาร่วมเป็นBase ให้พวกรุ่นใหญ่ได้ย่ำยีกันแต่อย่างใดครับ
SYSTEMS |
CPU |
Intel Core i7 Extreme 965
Intel Core i7 920
Intel Core2Extreme QX9770 |
MAINBOARD |
Intel Extreme DX58SO for Intel Core i7 Extreme 965
Gigabyte GA-EX58 UD5 for Intel Core i7 920 (supported by Gigabyte Thecnology)
abit IX48-GT3 for Intel Core2Extreme QX9770 (supported by Savewaytech.) |
MEMORY |
Qimonda triple chanel kit 1024MB*3 ,GEIL DDR3 1024MB*2 (support by Savewaytech.) |
VGA |
XFX nVidia Geforce GTX280 (support by ARC) |
PSU |
IKONIK VULCAN 1200W (supported by IKONIK) ,SILENCER Crossfire Edition 750W (supported by ARC) |
HDD |
SEAGATE 500GB/WD 320GB |
CPU Cooler |
STOCK FAN Sink |
SOFTWARE |
OS Microsoft windows vista Ultimate x64 |
CPU-Z |
HyperPI0.99b |
Everest Ultimate v4.60.1540 Beta |
Sisoft Sandra Pro Business 2009 |
Futuremark PCMark05 |
Futuremark 3DMark03 |
Futuremark 3DMark05 |
Futuremark 3DMark06 |
Futuremark 3DMark Vantage |
Fritz Chess Benchmark |
wPrime 200 |
Cinebench Release10(64bit) |
POV Ray3.7 |
AutoMKV Multimedia encoding |
AdobePhotoshop CS4 |
Autodesk 3ds Max2008 |
CPUZ. Intel Core i7 Extreme 965
CPUZ. Intel Core i7 920
CPUZ. Intel Core 2 Extreme QX9770
————————————————–
Hyper PI 0.99b : Intel Core i7 Extreme 965 8Thereads
Hyper PI 0.99b : Intel Core i7 920 8Thereads
Hyper PI 0.99b : Intel Core 2 Extreme QX9770 4Thereads
ในการทดสอบนี้ทำการทดสอบให้เห็นว่าซีพียู4คอร์เหมือนกันกับ QX9770 แต่เจ้า Intel Core i7 ยังมี Hyper Threading เพิ่มขึ้นมาเป็นคอร์เสมือนอีก4คอร์ หนำซ้ำยังทดสอบมากThread กว่าแต่ยังสามารถทำเวลาในการทดสอบได้ดีจนน่าพอใจอีกด้วย
————————————————–
Sisoftware Sandra Pro Business 2009
ดูจะเหนือกว่าสุดยอดของสถาปัตยกรรมเดิมในทุกๆด้านไม่ว่ารุ่นเล็กรุ่นใหญ่
Everest Ultimate v4.60.1540 Beta : Intel Core i7 Extreme 965
Everest Ultimate v4.60.1540 Beta : Intel Core i7 920
Everest Ultimate v4.60.1540 Beta : Intel Core 2 Extreme QX9770
ไม่เสียหน้ากับการนำMemory Controller มารวมในdieเดียวกับซีพียูจริงๆครับ Bandwidthของmemory Core i7 เขากระฉูดถึงใจดีจริงๆครับ และใครที่กลัวว่าL3 Cache หรือแคชระดับที่3 ของซีพียู Core i7 ที่ถึงแม้จะมีขนาดใหญ่ถึง8MBนั้น จะมีความเร็วที่ต่ำและช้า ลองดูกันเอาเองนะครับ Core i7 965 ที่มีความเร็วพอๆกันกับ QX9770 ความเร็วของL3CacheของCore i7 ยังเร็วกว่าL2Cache ของQX9770เลยครับ ซึ่งไม่ต้องพูดถึงกันเลยนะครับว่าความเร็วของL2CacheของCore i7 จะมีความเร็วกระฉูดไปถึงไหน ดูกันเองได้เลยครับ
————————————————–
สำหรับPCMark05 ซีพียูที่มีเธรดมากกว่าย่อมได้เปรียบมากกว่าเป็นธรรมดา ทิ้งห่างกันอย่างเหนือชั้นตามกราฟเลยครับ hdd ยังเลือกsata2แบบจานหมุนธรรมดามาใช้ในการทดสอบนี้อยู่นะครับ
ในส่วนของFritz Chess Benchmark ผลที่ออกมาก็ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ PCMark05ครับ
เห็นว่ามีเวอร์ชั่นใหม่เลยเอามาใช้ทดสอบผลก็เป็นตามที่เห็นครับ Core i7 มันเร็วกว่าอีกแล้วครับ
ทดสอบกันบนวิสต้า64bit ก็เลยทดสอบที่64bitเช่นกันถ้าหัวเดียวตัวเล็กยังเป็นรองเพราะMHzต่ำกว่านั่นเอง
CONTENT CREATION BENCHMARK
เทสต์นี้ก็เรนเดอร์เหมือนเจ้าcinebench เธรดใครเยอะกว่าย่อมแรงกว่าครับ
มาลองencodingกันบ้าง ด้วยไฟล์.aviขนาดเท่าๆกัน ผลก็ตามคาดครับ
ทดสอบโดยการใส่เอฟเฟคต์โหดให้ภาพขนาดเท่าๆกันที่20MB ซึ่งCore i7 965 ก็ยังสามารถทำงานได้เร็วขึ้นสมคำร่ำลือจริงๆ งานขนาด20MBยังประหยัดเวลาเท่านี้ ถ้างานขนาดใหญ่กว่านี้ก็ยิ่งประหยัดได้มากขึ้นไปกันใหญ่ ส่วนCore i7 920 ถึงแม้จะแพ้QX9770ที่เป็นสถาปัตยกรรมเก่าไปถึง15วินาที แต่เทียบความเร็วMHzที่ต่ำกว่ามาก รวมทั้งราคาที่ถูกกว่าถึง4เท่าตัว อันนี้เป็นใครก็น่าจะให้อภัยนะครับ
อันนี้ก็เรนเดอร์เป็นการทดสอบพลังโปรเซสเซอร์โดยเลือกoutputเป็น HDTV 1920×1080 เฮ้อ..เร็วกว่าอีกแล้ว แสดงให้เห็นกันไปครบหมดแล้วครับในหมวด Content Creation กับโปรแกรมที่เราใช้งานจริงๆในปัจจุบันว่า Core i7 เร็วขึ้นและแรงขึ้นกว่าเดิมขนาดไหน
————————————————–
FutureMark 3DBenckmark
แต่พอมา3DMark03 เอ๊ะ QX9770 กลับมาผงาดนำตามราคาที่แพงกว่าไปจนได้
ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาในตัวCPUมีผลกับเบนซ์มาร์คตัวนี้มากเลยนะครับเนี่ย
หลายเธรดการทำงานย่อมได้เปรียบครับ สำหรับ3DMark06
สี่คอร์แปดเธรดนี่มันแรงดีจริงๆครับสำหรับ3DMark Vantage
The Final though&Conclusions
สรุปว่าแรงจริงๆสมกับที่เป็นเทคโนโลยีใหม่จากอินเทลเลยครับ ออกมาขายวันแรกเมื่อไหร่ ให้รีบออกไปรอซื้อหน้าร้านกันได้แต่ห้างเปิดเลยนะครับ อ่ะ ไม่ช่าย ล้อเล่นครับ เรื่องความแรงนั้นจากผลการทดสอบที่ทางเราได้ทดสอบให้ชมกันก็ไม่ต้องมีข้อสงสัยแล้วนะครับว่าแรงกว่าเดิมกันขนาดไหน เรามาดูกันเรื่องราคาที่ทางอินเทลเปิดตัวกันดีกว่าครับ
-ราคาต่อการซื้อ 1,000 ชิ้น (ไม่ใช่ราคาขายปลีก)
$999 สำหรับ Core i7 Extreme 965 (24X133MHz=3.20MHz)
$562 สำหรับ Core i7 940 (22X133MHz=2.93MHz)
$284 สำหรับ Core i7 920 (20X133MHz=2.67MHz)
จะเห็นได้ว่าราคาไม่ได้เปลี่ยนขึ้นมาจากCore2Quadเดิมตอนเปิดตัวเลยครับ แถมตัวCore i7 965 ที่เป็นตัวTop of the line ยังมีราคาถูกกว่า QX9770 ที่ราคาขายต่อ1,000ชิ้นเปิดตัวมาที่ $1,399 อยู่มากพอสมควรอีกต่างหาก ใครกลัวว่าเทคโนโลยีใหม่จะมาพร้อมกับราคาที่แรงมาก ก็คงจะเบาใจขึ้นมาส่วนหนึ่งนะครับ แต่ราคาขายปลีกถ้าความต้องการตลาดตอนเปิดตัวสูงมากๆก็อาจจะสูงกว่าราคาขายส่งต่อ1,000ชิ้นอยู่มากพอสมควร ซึ่งเราก็มีวิธีแก้คือรอจนของเต็มตลาดซัก1-2เดือนถัดจากวันเปิดขายจริง ราคาก็จะถูกลงมาใกล้เคียงกับราคาขายส่งตามกลไกตลาดเองครับ จะเหลือก็ที่ราคาของเมนบอร์ดและMemory DDR3 แบบ Triple Channel ที่ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าออกมาใหม่ๆจะโดนโก่งราคาสูงขึ้นถึงขนาดไหนเท่านั้น ซึ่งก็ไม่แน่ อาจจะเปิดตัวมาแบบไม่แพงมากก็ได้นะครับ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อนเพียงเท่านี้ เตรียมพบกับความแรงของแท้ในแบบOverclock แบบไม่หมกเม็ดตามแบบฉบับของVmodtech.com ทั้งตัว Core i7 965 และ 920ได้ในคราวหน้า สวัสดีครับ