บททดสอบIntel X25-M SSD Mainstreme ใหม่จากอินเทล
Share | Tweet |
สวัสดี กันอีกครั้ง อิอิ พักนี้อาจจะพบกับผมแบบรัวๆกันสักหน่อยนะครับ เพราะว่าใกล้ช่วงเวลาไปพักร้อนวันหยุดช่วงเวลาปิดเทอมของผมแล้ว ต้องรีบเคลียร์ของให้เสร็จ อิอิ สำหรับวันนี้ เราก็มีของดอง เอ้ย ผลิตภัณฑ์ใหม่จาก Intel Corp. มานำเสนอกัน นั้นก็คือ Intel X25-M Solid state harddrive นั้นเองครับ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า เจ้า SSD Harddrive เนี่ย มันมีข้อแตกต่างจากฮาร์ดไดร์ฟทั่วๆไปอย่างไร วันนี้ ผมก็มีคำตอบที่จะมาไขข้อข้องใจได้เช่นกันครับ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Intel X25-M และผองเพื่อนกันก่อน Intel X25-M เป็นฮาร์ดไดร์ฟแบบ Solid state (ไม่มีกลไกทางแมคคานิกส์) รุ่น Mainstreme จากอินเทล ขนาด 2.5 นิ้ว โดยที่มีรุ่น 1.8 นิ้วอีกรุ่นหนึ่งเป็น Intel X18-M โดยจะแตกต่างจากรุ่น X25-E รุ่นก่อนหน้านี้คือ X25 E นั้นจะเป็น SSD ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับตลาด Enterprise ส่วนในรุ่นที่มี ตัว M ลงท้ายอย่าง X25-M X18-M จะเป็นสำหรับตลาดกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป โดยในรุ่น X25-E นั้นจะมีความจุ 32 และ 64 GB ส่วน X25/X18 นั้นจะมีความจุให้เลือกใช้ตั้งแต่ 80gb และ 160gb นั้นเองครับ
SSD ทำงานอย่างไร ?
คำตอบ สั้นๆง่ายๆ สไตล์ Vmodtech อ้างอิงจากเว็บไซต์ anandtech.com (ขอดึงรูปมาใช้ ละเมิดสิทธิ์นิดนึง เพื่อความง่ายต่อการเข้าใจ)
จากรูปด้านบน คือเซลล์ของ SSD 1 เซลล์ โดยในการเขียน เซลล์ข้อมูลเหล่านี้ ตัวฮาร์ดไดร์ฟ จะทำการจ่ายกระแสไฟฟ้า ลงไปในระบบ ผ่าน Control Gate เมื่อระบบ มีกระแสไฟฟ้า (โวลเตจ) มากในระดับหนึ่งแล้ว จะเกิดการเหนี่ยวนำทำให้เกิดสนามไฟฟ้า ให้อิเล็กตรอนสามารถทะลุผ่านไปยัง Floating Gate ได้ เป็นอันเสร็จสิ้นการเขียนข้อมูลใน Cell ข้อมูลเหล่านี้ โดยที่ Cell ข้อมูลใน SSD แบบ Single Level Cell นั้นจะมี 2 สถานะ คือ สถานะที่เรียกว่า 0 และ 1 (เปิด กับ ปิด) แต่ในขณะที่ Cell ของ Multi level Cell จะสามารถมีสถานะได้ถึง 4 สถานะ นั้นหมายถึง ใน 1 Cell ของ Multi level cell นั้นจะสามารถเก็บ บิตข้อมูลได้ถึง 4 บิต นั้นคือ สถานะ 00 01 10 11
Intel X25-M เป็น SSD แบบ MLC (Multi Level Cell) ในขณะที่ Intel X25-E นั้นจะเป็นแบบ SLC (Single level cell) ข้อแตกต่างระหว่าง NAND Flash สองประเภทนี้คือ Single Level Cell จะสามารถเก็บข้อมูลใน 1 เซลล์ได้เพียง 2 บิต แต่สำหรับ Multi level Cell นั้นจะสามารถเก็บข้อมูล ได้ถึง 4 บิต (ดังที่ได้กล่าวไปในย่อหน้าที่แล้ว) แต่ในขณะเดียวกัน SLC จะได้เปรียบ MLC ในแง่ของประสิทธิภาพก็ตรงที่ SLC เก็บข้อมูลต่อ 1 เซลล์น้อยกว่า จึงทำให้ไม่ต้องมีการกระตุ้น (สั่งเซลล์) ด้วยกระแสไฟฟ้ามากครั้ง เพื่อที่จะทำให้ Cell นั้นเปลี่ยนสถานะ ไม่เหมือนกับ MLC ที่หากต้องการเปลี่ยนสถานะ ก็จะมีให้เลือกเปลี่ยนถึง 4 สถานะ คือ 00 01 10 11 ดังนั้น โดยหลักการแล้ว MLC จะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า SLC และ MLC นั้น ก็จะให้ความเร็วในการเขียนข้อมูล ต่ำกว่า SLC ถึง 8 เท่า และ ความสามารถในการอ่านข้อมูลต่ำกว่า SLC ถึง 4 เท่าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมอินเทลถึงให้ X25-M ที่เป็น MLC นั้น ลงมาอยู่ในคลาสของ Mainstreme
Intel X25-M SSD “The Review”
เสป็คจาก Data Sheet จากเว็บไซต์ Intel.com
รูปร่างหน้าตากล่องของ X25-M สำหรับในวันนี้เราได้รุ่น 80GB มาทำการทดสอบนะครับ
กล่องสวยงาม
กล่องภายในมีโฟมกันกระแทกอย่างดี
เป็นไดร์ฟแบบ 2.5 นิ้วนั้นเองครับ ดีไซน์ดำ ตัดกับสีขาวของฉลาก ดูสวยงามจริงๆ แต่เวลาใช้งานจริงๆก็คงยัดใส่โน๊ตบุ๊กกันอยู่ดี อิอิ
รูร้อยน็อต รองรับการ Mount ลงโน๊ตบุ๊ก พร้อมกับอินเตอร์เฟสแบบ SATA 2 มาตรฐาน ซึ่งสามารถเสียบใช้งานกับเครื่องเดสก์ทอพได้เช่นกัน
บททดสอบ
CPU | Intel Core 2 Duo E6600 |
RAM | DDR2-800mhz 1024×2mb |
M/B | DFI Infinity Dark P965-S |
HDD | Western Digital WD6400AAKS |
On Test. | Intel X25-M Solid State Harddrive |
VGA | ATi Radeon X1650 |
PSU | DELTA 460watt |
HDTach 3.0.4
สังเกตกราฟของเจ้า X25-M ถึงแม้จะเป็นแบบ MLC ก็ยังให้ความเสถียรในการอ่านข้อมูลดีมากๆเลยครับ เมื่อเทียบกับกราฟของ ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนสุดแรงสุดคุ้มแห่งยุค “WD6400AAKS”
HD Tune Pro.
กราฟยังคงออกมาในแนวทางเดียวกัน คือ อัตตราการอ่านทั้ง “สูง และ นิ่ง” รวมไปถึง Access time ที่ต่ำกว่า 0.1ms เมื่อเทียบกับกราฟของ สุดยอด HDD แบบจานหมุนแห่งยุค WD6400AAKS
Write Performance
เนื่องจากหัวข้อนี้ จะต้องทำการฟอแมตฮาร์ดดิสก์ใหม่ทั้งลูก ผมจึงไม่สามารถนำ WD6400AAKS มาร่วมทำการทดสอบได้ครับ
HD Tune Random Write
กราฟของการเขียนข้อมูลแบบสุ่ม ยังคงติดดินอย่างน่าใจหาย (มันหมายความว่า เร็วมากๆครับ) นั้นคือหมายความว่า อัตตราการเขียนข้อมูลแบบสุ่มนั้น ใช้เวลาน้อยมาก (ตามกราฟ จุดๆ)
HD Tune Random Write
ก็จบกันไปแล้วสำหรับการทดสอบ ฮาร์ดไดร์ฟสุดแรงจาก Intel ถือได้ว่า เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เรียกได้ว่า อาจจะเป็นสิ่งที่ออกมา พลิกโฉมวงการ Storage เลยทีเดียว เพราะที่ผ่านๆมา Storage แบบ Solid ประเภทนี้ จุดแข็งที่สำคัญมาตลอดคือ Access Time ที่ต่ำ แต่อัตตราการอ่าน/เขียนข้อมูลต่อเนื่องยังสูงอยู่มาก แต่ในวันนี้ อินเทลสามารถตีโจทย์ได้แตก คือสามารถทำลายกำแพงเดิมๆ เอาชนะประสิทธิภาพในการเขียน/อ่าน ต่อเนื่อง ต่อฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนเดิมๆ ณ ชั่วโมงนี้ จะติดอยู่เรื่องเดียวก็คงจะเป็นเรื่องของราคา ที่ต้นทุน และราคาที่ขาย ยังคงจะสูงอยู่บ้างสไตล์เทคโนโลยีใหม่ๆ
และด้วยเหตุนี้เอง เนื่องจาก Intel X25M ถือเป็น SSD Harddrive ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง รวมไปถึงเป็นเจ้าแรกๆ ที่ทำออกมาวางจำหน่ายในตลาด ทางผู้ทดสอบ ก็จึงขอมอบรางวัล Good Performance และ Good Innovation ให้กับ Intel X25M ครับ
สำหรับวันนี้ก็คงต้องลากันไปแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ
ขอขอบคุณคุณจิ๊บ ร้าน Anfield สำหรับรูปถ่ายสวยๆครับ