Intel® Xeon® Processor E5620 smashed 4 Gold Cup with Water Cooling!
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ สำหรับเสาร์สบายๆแบบนี้มาพบกับบทความ “Saturday very Special more than kack” กันดีกว่าครับ อิอิกำ ซึ่งในวันนี้ผมก็มี CPU สำหรับ Server ที่เน้นความเสถียรเป็นหลัก แต่ผมกลับนำมาเสนอในรูปแบบของการโอเวอร์คล็อคทำสถิติโลกในบทความนี้ซะอย่างนั้นนะครับ โดย CPU ที่ว่า มีชื่อทางการค้าอย่างเป็นทางการว่า Intel® Xeon® Processor E5620 ไปชมสเป็คกันก่อนครับว่า CPU ตัวนี้สเป็คมันมีดีอะไรบ้าง
.
Intel® Xeon® Processor E5620
(12M Cache, 2.40 GHz, 5.86 GT/s Intel® QPI)
More Informations >>Click<<
…ใช่เลยครับ CPU ตัวนี้ มีกระบวนการผลิตที่ 32nm แบบเดียวกันกับ Core i7 980X ที่มี 6Cores 12Threads กันเลยทีเดียว แต่ได้ถูกตัด Cores ออก 2Cores 4Threads เหลืออยู่ 4Cores 8Threads เท่ากับ Core i7 ที่มีการผลิตแบบ 45nm เลยครับ แต่ขนาดของ L3Cache ก็ยังคงมากันเต็มๆถึง 12MB ไม่ได้ถูกตัดออกแต่อย่างใด และสุดท้ายที่โดนจำกัดไว้ก็คือ Multiple หรือตัวคูณ จะโดนจำกัดไว้แค่ที่ 18X-20X(Turbo Mode) เพียงเท่านั้น แต่ในเมื่อมีการลดสเป็คบางอย่างลงแล้ว ก็ต้องมีการลดราคาลงมาด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งล่าสุดเท่าที่ได้ข่าวมา CPU รุ่นนี้จะมีราคาจำหน่ายในบ้านเราอยู่ที่ประมาณ 14,XXXบาท ผมว่าราคาแบบนี้ค่อยเป็น CPU 32nm สำหรับ Socket LGA1366 ที่น่าเล่นขึ้นมาหน่อยครับ ซึ่งนักโอเวอร์คล็อคหลายๆท่านคงเริ่มกดเครื่องคิดเลขคำนวณกันแล้วใช่มั้ยครับ ว่าจะลากกันไปสุดๆได้เท่าไหร่ กับตัวคูณที่มีจำกัดเช่นนี้ ไม่ต้องกดกันครับ สำหรับบทความนี้ผมจะจัดให้ชมกันอย่างแน่นอน แต่ก่อนอื่นเราไปชมหน้าตาของตัวผลิตภัณฑ์โดยรวมในหน้าถัดไปกันก่อนนะครับ
Product Appearance
Package & Bundle
…ตัวกล่องของ CPU จะมากันแบบเล็กๆ บางเฉียบ ซึ่งพอเห็นกล่องแล้ว ก็น่าจะพอเดากันได้ครับว่า จะไม่มีการแถมฮีตซิงค์ระบายความร้อนมาให้นะครับสำหรับ CPU รุ่นนี้
เทียบขนาดกล่องกับ Core i7 980X เล็กกว่ากันเยอะเลยครับ
มาดูฉลากข้างกล่องกันชัดๆครับ
อุปกรณ์ที่แถมมาในกล่อง จะมีแค่คู่มือเพียงฉบับเดียวที่มีสติกเกอร์สำหรับติดหน้าเคสติดมาด้วยเพียงเท่านั้น
Processor Appearance
…มาดูที่ตัว CPU กันต่อครับ ตัวที่ผมได้รับมาทำการทดสอบนี้ จะเป็นตัว Retail ที่จำหน่ายจริงเลยนะครับ ซึ่งข้อความต่างๆบน Heatspeader ก็จะมีลักษณะตามภาพเลยครับ
…มาชมด้านใต้ CPU กัน LGA1366 แน่นอนครับ แบบนี้น่าจะใช้กับบอร์ดที่ใช้ชิป X58 ได้หมดแน่ แต่ผิดคาดครับ ณ ขณะวันที่ผู้ทดสอบได้ทำการทดสอบนี้ มาเธอร์บอร์ดของทาง GIGABYTE ที่ผู้ทดสอบใช้อยู่เป็นประจำอย่าง GA-X58A-UD7 และบอร์ดที่ยืมมาอย่าง GA-X58A-UD9 จะเปิดกับ CPU ตัวนี้ไม่ติดเลยนะครับ รอ BIOS Update ตัวล่าสุดยังไงก็ยังใช้ไม่ได้ แจ้งไปทาง Technical Support ก็เงียบ ไม่เป็นไรครับ ไปยืมของ ASUS มาเล่นดีกว่า แค่มาเธอร์บอร์ดรุ่นเก่าอย่าง ASUS RAMPAGE II Extreme ก็เปิดติดอัดกันฉลุยแล้วครับ แบบนี้อย่ารอช้า ไปเริ่มกระชากความแรงของ CPU ที่เกิดมาเพื่องาน Server กันที่หน้าถัดๆไปเลยดีกว่าครับ
Test Setup
.SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel® Xeon® Processor E5620 |
.Motherboard | ..ASUS RAMPAGE II Extreme |
.Memory | ..G.Skill Trident PC12800 CL6D-6GBTD 2GB*3 Triple Channel |
.Graphic Card | ..MSI N480GTX GeForce GTX 480 1536MB DDR5 |
.Harddisk | ..WD1002FAEX SATA3 64MB Cache 1TB |
.CPU Cooler | ..Water Cooling @ Ambient 25C |
.Power Supply | ..antec TPQ-1200 Overclocking Version 1200W |
.Operation System | ..Windows 7 Ultimate 32-bit |
วางเซตกันง่ายๆ ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 25องศาเซลเซียส แล้วแบบนี้จะทุบสถิติโลกกันได้เหรอเนี่ย
CPU-Z Validate Overclocking Result
(Click ScreenShot to Validate Link)
…ลากกันเลยดีกว่าครับ หลังจากที่ได้ทำการทดสอบแล้ว ปรากฏว่ามาเธอร์บอร์ดรุ่นนี้ก็ยังคงไม่ค่อยรู้จัก CPU ตัวนี้ดีพอครับ เพราะว่าตัวคูณที่ 20 ได้หายไป ไม่ว่าจะเซต Default ยังไง ค่าตัวคูณที่ 20 ก็ไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น มีแค่ 19 เท่านั้นที่มีให้เลือกปรับ ซึ่งเท่าที่ไปดูฝรั่งเขาเล่นกันมา จะมีมาเธอร์บอร์ด ASUS P6TSE ที่สามารถเอาตัวคูณ 20 ออกมาใช้ได้ และถ้ายังมีโอกาสผมก็จะหามาลองกับ CPU ตัวนี้อีกทีในภายหลังนะครับ
…แต่ก็ยังดีนะครับที่มาเธอร์บอร์ดรุ่นที่นำมาร่วมทำการทดสอบนี้ สามารถล็อคตัวคูณไว้ที่ 19 ได้อย่างแน่นสนิท ไม่มีมีแอบลดลงมาเป็น 18 ตอน FullLoad แต่อย่างใด ซึ่งแม้ตัวคูณที่เหลือจะน้อยเพียงใด Vmodtech.com เราก็ไม่ท้อแท้ครับ ลาก BClk ทะลุกันไปที่ 242.4MHz อัดกันไปจนความเร็วทะลุ 4.6GHz ไปจนได้ ลองเอาผลไป Submit ที่ HWBOT.ORG กันดีกว่าครับว่าเราจะอยู่ที่อันดับเท่าไหร่ของ CPU รุ่นนี้
Submission in HWBOT.ORG
(Click ScreenShot to Submission Link)
…โอ้ จัดกันไปที่ อันดับ 1 ถ้วยทองเลยครับ เพราะว่า CPU รุ่นนี้มีคนส่งผลมา Submit แค่เพียง 5รายเท่านั้น อิอิกำ แต่พวกที่ตามหลังเรานี่บัสสูงสุดที่เห็นก็แค่ 220กว่าๆเพียงเท่านั้น ยังตามหลังเราอีกไกลครับ ไปเล่นหัวข้ออื่นกันต่อดีกว่า ว่าจะมีอะไรติดอันดับโลกกันอีกบ้าง
SuperPI 1M Result
ที่ความเร็ว 4.6GHz เหมือนเดิม ลองกด SuperPI 1M กันต่อดีกว่า 8.870วินาที มันจะเร็วพอสำหรับอันดับโลกไหมเนี่ย
Submission in HWBOT.ORG
(Click ScreenShot to Submission Link)
…โอ้ จัดกันไปที่ อันดับ 1 ถ้วยทองกันอีกแล้วครับ และก็เช่นเดิมครับ เพราะว่า CPU รุ่นนี้มีคนส่งผลมา Submit แค่เพียง 4รายเท่านั้น อิอิกำ ไปต่อกันที่ SuperPI 32M กันดีกว่าครับ ว่าจะแรงพอสำหรับอันดับ 1ของโลกอีกหรือไม่
SuperPI 32M Result
ที่ความเร็ว 4.6GHz เหมือนเดิม ลองกด SuperPI 32M ก็ยังผ่านครับที่เวลา 8นาที 3.170วินาที ไปซับมิตกันเลยครับ
Submission in HWBOT.ORG
(Click ScreenShot to Submission Link)
…อันดับ 1 ถ้วยทองกันอีกแล้วครับท่านผู้ชม และก็เช่นเดิมอีกแล้วครับ ที่ CPU รุ่นนี้มีคนส่งผลมา Submit แค่เพียง 4รายเท่านั้น อิอิกำ และสุดท้ายไปต่อกันที่ HEXUS PiFast Benchmark แขกขายพัดลมนิยมกันต่อเลยครับ
HEXUS PiFast Result
…ที่ความเร็ว 4.6GHz เหมือนเดิม ลองกดดูก็ยังผ่านกันแบบหมูๆด้วยเวลา 18.30วินาที ตกลงมันเร็วหรือช้าเนี่ย เพราะไม่เคยเล่น Benchmark แขกขายพัดลมนิยมตัวนี้เลย ไปซับมิตผลดูกันเลยดีกว่าครับ
Submission in HWBOT.ORG
(Click ScreenShot to Submission Link)
…โอ่ยยยย อันดับ 1 ถ้วยทองกันอีกแล้วครับท่านผู้ชม เลิกดีกว่าครับ เล่นกันอยู่แค่ 4-5คน แวนเทจมั้ยสาดดดกับน้าเชนยังมันส์กว่านี้เยอะเลยครับ อิอิกำ
Conclusion
…ก็มาถึงบทสรุปของบทความนี้กันแล้วครับ ผลสรุปก็ออกมาว่า CPU Intel® Xeon® Processor E5620 ตัวนี้ สามารถทำผลงานการเร่งความถี่สัญญาณนาฬิกาออกมาได้แรงแบบไม่เสียชื่อ CPU ที่อยู่ในสายการผลิต 32nm แต่อย่างใด แต่จะติดปัญหาใหญ่อยู่ตรงเรื่องตัวคูณที่ให้มาค่อนข้างจำกัด จึงทำให้ต้องออกแรงเหนื่อยกันหน่อยในการลาก BClk เพื่อให้ได้ MHz ทันเท่ากับความสามารถจริงๆที่ซ่อนอยู่ภายในตัวมัน ซึ่งในการลากของผมครั้งนี้ เพื่อให้ได้ความถี่สัญญาณนาฬิกาที่สูงที่สุดในการทำสถิติ ก็เลยจำเป็นต้องลดความเร็วของ QPI ลงมาที่ Slow Mode ซึ่งก็จะทำให้สูญเสียประสิทธิภาพบางอย่างไป ซึ่งผมจะขอกล่าวกันอีกทีในบทความรีวิว CPU รุ่นนี้แบบเต็มๆอย่างเป็นทางการในคราวหน้านะครับ แต่ถ้าจะเอาแบบประสิทธิภาพเต็มๆจริงๆที่ BClk 220MHz @ 4.18GHz กับตัวคูณ 19 นี่สบายครับ แรงแน่นอนกับขนาด L3Cache ขนาดมหึมา 12MB และก็เย็นแน่นอนกับเทคโนโลยีการผลิต 32nm ที่นอกจากจะมีความร้อนที่ต่ำกว่า 45nm ที่ไฟเลี้ยงเท่าๆกันแล้ว ยังช่วยให้กินไฟ VCore ต่ำกว่า 45nm ที่ความเร็วเท่าๆกันด้วยอีกต่างหาก ซึ่งถ้าใครไม่เน้นบ้าพลังอะไรมากมาย ก็น่าหามาเล่นพอสมควรเลยครับสำหรับ CPU รุ่นนี้ และสำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้ ไว้รอชมรีวิวเต็มๆของ CPU รุ่นนี้กันอีกทีในคราวหน้านะครับ สวัสดีครับ
.
ขอขอบคุณ