Leadtek NVIDIA Quadro K620
Share | Tweet |
สวัสดีครับ ทุกๆท่านที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ Vmodtech.com วันนี้เราก็มีกราฟฟิกการ์ดตัวแรงในค่าย Nvidia มาแบบต่อเนื่องกันเลยครับ ซึ่งยังอยู่กับแบรนด์ Leadtek กันครับโดยคราวที่แล้วผมรีวิวซีรี่ย์ GTX 970, 980 ที่เป็นกราฟฟิกการ์ดที่เป็นการ์ดจอใช้งานกับบรรดากราฟฟิกทั่วไปในด้านความบันเทิงนั่นเองครับ มากันในวันนี้เรามาชมกราฟฟิกการ์ดในงาน Workstation กันบ้างครับหรือที่เรารู้จักกันในงานออกแบบนั่นเองครับ ซึ่ง Leadtek นั้นก็มีสายการผลิตการ์ดจอในการทำงานด้าน Workstation อยู่มากมายเช่นกันครับหรือที่เรารู้จักกันดีในซีรี่ย์ Quadro นั่นเองครับ หนึ่งในนั้นก็คือกราฟฟิกการ์ดรุ่นใหม่ล่าสุดมากันในชื่อรุ่น Leadtek NVIDIA Quadro K620 ซึ่งทำการเปิดตัวพร้อมๆกัน 5กลุ่มด้วยกันได้แก่ Quadro K5200, Quadro K4200, Quadro K2200, Quadro K620 และ Quadro K420 นั่นเองครับ โดยในกลุ่มนี้จะเป็นรุ่นเล็กสุดครับหรือ Entry Level นั่นเอง จะมีอยู่ด้วยกันสองรุ่นคือ Quadro K620 และ Quadro K420 ครับ สเปกต่างๆก็จะแตกต่างกันตรงที่ Quadro K620 นั้นมีจำนวน Cuda อยู่ที่ 384ยูนิต มีหน่วยความจำ DDR3 ขนาด 2GB 128-bit ส่วน Quadro K420 นั้น มีจำนวน Cuda อยู่ที่ 192ยูนิต มีหน่วยความจำ DDR3 ขนาด 1GB 128-bit นั่นเองครับ ส่วนบรรดาฟีเจอร์ต่างๆนั้นก็เหมือนกันทุกประการครับไม่ว่าจะเป็น NVIDIA CUDA Architecture , NVIDIA Parallel DataCache , Remote Workstation Application Acceleration , GPU Tessellation เป็นต้น เอาเป็นว่าเราไปชมผลทดสอบกันเลยครับว่ากราฟฟิกการ์ดในรุ่นเล็กๆราคาไม่แพงมากจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ก่อนไปชมผลทดสอบเราไปชมรายละเอียดจากทางเว็บไซต์กันก่อนครับ
INTRODUCTION
More Information >>Click<<
เราไปชมรูปร่างหน้าตาของตัวการ์ดกันต่อเลยครับ
.
The Card Appearance
มากันในกล่องสวยงามโลโก้ Leadtek NVIDIA Quadro K620 กล่องเหมือนกับบรรดาการ์ด Nvidia ทั่วไปเลยครับ
ด้านหลังกล่องบอกฟีเจอร์การทำงานต่างๆ
อุปกรณ์ต่างๆมีคู่มือ แผ่นไดร์เวอร์ สายแปลง 1ชุด หัวแปลง DVI to VGA
ตัวการ์ดนั้นออกแบบมาในขนาดไม่ใหญ่ครับ กระทัดรัด เรียบง่าย โดย PCB นั้นเป็นสีเขียวพร้อมกับกรอบฮีตซิงค์สีดำระบายความร้อน GPU
เป็นการ์ดจอขนาดเล็กที่ไม่ต้องต่อไฟเลี้ยงเพิ่มนะครับกินไฟแค่ 45W เท่านั้นครับ ประหยัดมากๆ และกินพื้นที่แค่ 1สล๊อต (ช่อง) เท่านั้น
ตัวการ์ด ขนาด 2.713” H x 6.3” L รองรับการทำงาน PCI Express 2.0 x16
พัดลมระบายความร้อนมี 1ใบ ขนาดเล็กครับในการระบายความร้อน
ฮีตซิงค์ก็เป็นอลูมิเนียมธรรมดาครับ
PCB ด้านหลังเป็นสีเขียวล้วน
อินเตอร์เฟสด้านหลังประกอบด้วย DVI-I (1), DP 1.2 (1) ให้มาสองช่องตามลำดับ
เราไปชมรายละเอียดในการทดสอบกันต่อเลยครับ
Test Setup
SYSTEMS | |
.CPU |
..AMD FX-9590 Supported by AMD Thailand |
.Thermal Grease | ..GELID GC-ETREME |
.Motherboard | . CROSSHAIR V FORMULA-Z |
.Memory | ..Team XAtreem LV Series 2133 CL9-11-11-24 1.5V |
.Graphic Card | . Leadtek NVIDIA Quadro K620 |
.Harddisk | ..Samsung 840 PRO 120GB , WD1002FAEX SATA3 64MB Cache 1TB , WD Green 1TB |
.CPU Cooler | ..Water Cooling @ Ambient 32C |
.Power Supply | ..Thermaltake 1500W |
.Operation System | ..Windows 8.1 Pro 64-bit |
รายละเอียดต่างๆของระบบที่ใช้ทดสอบกันในวันนี้ครับ ซีพียูยังเป็น AMD FX-9590 ตัวแรงครับ Supported by AMD Thailand ครับผม…
บรรยากาศขณะทดสอบในห้องอุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส
CPU-Z
วันนี้ ทดสอบที่ความเร็ว 5.2hz ไฟ Vcore 1.572V ส่วนค่า HT-Link กดเต็มๆ 3381Mhz NB Frequency 2600Mhz บัสแรม 2426Mhz CL 9-11-11-24-40 1T 1.6V ตลอดการทดสอบแบบเต็มๆเหมือนเช่นเคยครับ
GPUZ
Leadtek NVIDIA Quadro K620
ความเร็วเดิมๆของ Leadtek NVIDIA Quadro K620 ครับ Baseclock Core 1059Mhz Memory 900Mhz Boost 1124Mhz ส่วน GPU Boost นั้นจะไม่มีนะครับครับเพราะเป็นกราฟฟิกการ์ด Workstation นั่นเอง
Specifications
Details from AIDA64
เราไปชมผลทดสอบด้านกราฟฟิกต่อเลยครับ
Furmark Test
สำหรับชุดทดสอบ Furmark ทดสอบค่าอุณหภูมิของตัวการ์ด โดยอุณหภูมิในสถานะเดิมๆฟูลโหลดอยู่ที่ 65องศาฯเท่านั้น ถือว่าเย็นมากๆครับ ในรอบพัดลมทำงานในระบบ Auto ครับ โดยอุณภูมิห้องราวๆ 28-30องศาฯ ส่วนเรื่องเสียงรบกวนเงียบมากครับด้วยระบบ Ultra-Quiet Design นั่นเองครับ
Power Consumption
Leadtek NVIDIA Quadro K620
Idle
Fulload
อัตราการ บริโภคไฟก็ถือว่าต่ำมากๆครับโดยไม่ต้องต่อไฟเลี้ยงเพิ่ม ด้วยในสถานะเดิมๆกินไฟที่ Idle 119วัตต์ ส่วนสถานะฟูลโหลดกินไฟแค่ 180วัตต์ในการเทส Furmark โดยระบบที่ใช้ทดสอบด้วยซีพียู FX-9590 ที่มีค่า TDP 220W และยังอัดกันไปที่ 5.2Ghz ถือว่าประหยัดมากๆครับ
SPECviewperf 12
สำหรับชุดทดสอบ SPECviewperf 12 ที่เป็นชุดทดสอบงานด้าน Workstation ล้วนๆทั้งในด้านการออกแบบ กราฟฟิก การคำนวณต่างๆก็ทำได้ดีครับ ลื่นไหลดีในระดับนึงเลยทีเดียว จะมีค่าทดสอบในอันที่สองที่มีปัญหาอาจจะเป็นกับซอฟแวร์ของตัวผมเองก็ได้ อันนี้ก็ขออภัยด้วยครับ ส่วนการทดสอบในจุดอื่นๆก็ผ่านไปได้ครับไม่มีปัญหาแรงดีลื่นไหลมาก
SOLIDWORKS 2014
SolidWork 2014 โปรแกรมทดสอบด้าน WorkStation อีกอันที่เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ 3D งานเขียนแบบ CAD ในงานด้านอุตสาหกรรมที่บรรดาโรงงานชั้นนำเลือกใช้ ก็ทำประสิทธิภาพได้ดีมากครับ ลื่นไหลดีมากๆ คุ้มค่าครับกับการ์ดที่ราคาไม่แพงมากแต่ใช้งานได้ดีเลยทีเดียว
PerformanceTest 7.0
PerformanceTest 7.0 ก็แรงใช้ได้ครับกับประสิทธิภาพโดยรวม
LuxMark v2.0
Luxmark โปรแกรมเทสด้าน CL อาจจะไม่ค่อยเข้าพวกเท่าไหร่ในงานด้าน CL ดูเป็นแนวทางกันครับ
CINEBENCH R10
CINEBENCH R11.5
CINEBENCH R15
Cinebench ก็แรงกันทุกเวอร์ชั่นครับกับงานด้าน Open GL เรนเดอร์กันได้แรงเยี่ยม
3DMark Vantage
3DMark 11
3DMark Fire Strike
ชุดทดสอบด้าน 3D บรรดาชุดทดสอบ 3DMark ก็แรงกันได้ระดับหนึ่ง ก็คงดูไว้เป็นแนวทางครับเพราะการ์ดจอ Leadtek NVIDIA Quadro K620 ที่เป็นการ์ดจอซีรี่ย์ Quadro ในงานด้าน Workstation นั้นไม่เหมาะสำหรับการนำมาเล่นเกมส์นะครับ แต่ถ้าจะเล่นมันก็สามารถเล่นกันได้บ้างครับ แต่ควรจะนำไปทำงานด้านการออกแบบหรือเขียนแบบคำนวณจะดีกว่าครับ
เราไปชมผลสรุปในช่วงท้ายกันเลยครับ
Concluions
ก็มาถึงช่วงท้ายกันครับสำหรับการทดสอบ Leadtek NVIDIA Quadro K620 ที่วันนี้ทำประสิทธิภาพความแรงได้ดีในระดับนึงเลยทีเดียว แม้จะเป็นกราฟฟิกการ์ดในรุ่นเล็กในงาน Workstation ก็สามารถใช้งานกันได้ดีครับลื่นไหลดีครับ ไม่ว่าจะเป็นชุดทดสอบในงานด้าน 3D การเขียนแบบออกแบบต่างๆทั้ง SPECviewperf 12 , SolidWork 2014 ก็ทำประสิทธิภาพได้ดีครับใช้งานกันได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุดกันให้เห็น ถือเป็นกราฟฟิกการ์ดในงาน Workstation ในรุ่นเล็กที่ประสิทธิภาพดีในระดับนึงและที่สำคัญราคาไม่แพงมากครับเหมาะสำหรับองค์กรหรือโรงงานที่เน้นการออกแบบด้าน 3D เขียนแบบต่างๆ Leadtek NVIDIA Quadro K620 นั้นเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน โดยราคาวางจำหน่ายในไทยก็ตกอยู่อยู่ราวๆ 9XXXบาทครับ สำหรับในวันนี้กระผมก็ขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่เร็วๆนี้กับรีวิวอุปกรณ์ใหม่ๆจัดเต็มทุกการทดสอบที่ Vmodtech.com สวัสดีครับ
.
.
.
Special Thanks.
Leadtek