Leadtek Winfast 7600GS Review
Share | Tweet |
สวัสดีชาว vmodtech สวัสดีชาวโลก ครับท่านผู้ชม แฮ่ๆ ไม่รู้จะพูดว่าไรอ่ะ เอาเป็นว่า Review 7600GS สั้นๆง่ายๆครับ
Geforce 7600 series เป็นการ์ดในกลุ่ม mainstreme ครับ คือระดับกลางๆ ส่วน 7600GS นั้นคือตัวไม่ทอป (เข้าใจมะ) คือตัวรองครับ ตัวทอปชื่อว่า Geforce 7600GT นอกจากนี้ ในกลุ่มคาบ mainstreme กับ กลุ่ม Value ก็ยังมี 7300GT มาขั้นครับ เสป็คเปรียบเทียบก็ตามนี้เลยครับ
Geforce 7600GS | Geforce 7600GT | Geforce 7300GT | |
Core Code | G73 | G73 | G73 |
Process Technology | 90nm TSMC | 90nm TSMC | 90nm TSMC |
No. of Transistors | 177M | 177M | 177M |
Core Clock | 400 | 560 | 350 |
Memory Clock | 800MHz | 1400MHz | 667MHz |
Pixel Shader | 12 | 12 | 8 |
Vertex Shader | 5 | 5 | 4 |
ROPs | 8 | 8 | 8 |
ALU | 24 | 24 | 16 |
Memory Interface | 128Bit | 128Bit | 128Bit |
Memory Type | GDDR2 | GDDR3 | GDDR3 |
พอจะทราบกันแล้วนะครับ (ขอก๊อปตารางของ Hkepc.com มานะครับ) ขี้เกียจพูดมากแหละ ไปดูตัวการ์ดกันต่อ
กล่องบรรจุ ก็สไตล์วินฟาสครับ สีสันสดใส แสดงชื่อรุ่นชัดเจน เป็นกล่องกระดาษแข็ง ดูแล้วเรียบร้อยสวยงามครับ ถือไปไหนก็ไม่อายใคร สบายใจได้เลยว่าจะไม่มีใครถามว่า “กุงเกงลิงใครอ่ะ” ส่วนซอฟแวร์ที่ Bundle มา เป็นดีวีดีนะครับ ยกเว้นไดร์เวอร์ที่แถมมาเท่านั้น คู่มือก็บอกรายละเอียดคร่าวๆในการติดตั้งดีครับ
หน้าตาการ์ดก็ดูดีมีราคาแบบคนไม่มีแฟนครับ ตัวการ์ด ถูกปกคลุมไปด้วย ฮีทซิ้งค์แบบ Passive Coolling ครับ ซึ่งไม่มีพัดลม แต่จริงๆแล้ว PX7600GS จะมีอีกรุ่นนึงที่เป็นฮีทซิ่งค์พัดลมด้วยนะครับ แต่ทาง Com7 ไม่ได้นำเข้ามาขาย
ฮีทซิ้งค์เก็บรายละเอียดได้ค่อนข้างดีครับลูบๆคลำๆแล้วก็เนียนแบบหัวสกินเฮดดีครับ ไม่ถึงกับผมร่วงผมบางนะครับ เพราะยังสากๆอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เกรียนเหมือน 6200 ของผมครับ อันนั้นเกรียนแบบลับมีดได้เลย ป้ายชื่อรุ่นที่ยึดกับตัวซิ้งค์ก็เนียนดีครับ ส่วนเรื่องความร้อนเนี่ย ก็ยังอยู่ในเกณดีเลยทีเดียวสำหรับฮีทซิ้งแบบไร้พัดลมแบบนี้
แผ่นหลังเนียนเรียบ ไม่มีเม็ดแรมโผล่ออกมาให้เห็นครับ จะสังเกตได้ว่า การ์ดรุ่นนี้ รองรับการทำงานแบบ SLI แบบใช้ Bridge ด้วยนะครับ ไม่เหมือนกับการ์ด ในซีรียส์6 ในราคาระดับนี้อย่าง Geforce 6600 ที่ไม่รองรับการทำงานแบบ SLI โดยใช้ Bridge
ชัดเจนดีมั้ยครับ ^^
การ์ดตัวนี้เป็น Dual DVI น่ะครับ อิอิ แล้วก็มี TVout มาให้ตามมาตรฐานการ์ดสมัยนี้
ภาคจ่ายไฟก็ทำออกมาเรียบร้อยดีครับ ตามสไตล์วินฟาส อ้อ วินฟาสเนี่ย ตามที่เขียนหน้ากล่อง เห็นว่าใช้ เห็นว่าเป็น Authorized Board Partner เชียวนะเออ เพราะฉะนั้น ผมก็นั่งเทียนมั่วเอาว่านี่น่าจะเป็น PCB Refrence จาก nvidia ครับ ส่วนความร้อนขณะทำงาน ก็สบายใจได้ครับ บริเวณภาคจ่ายไฟผมลองจับๆตอนรัน 3d แล้วไม่น่าเป็นห่วงสักเท่าไหร่
ฮีทซิ้งค์ก็ถอดไม่ยากครับ เหมาะสำหรับการถอดเปลี่ยนเวลาทำ Vmod เป็นอย่างยิ่ง^^ มีน็อตสี่ตัวยึดอยู่ด้านหลังการ์ดแค่นั้นเองครับ ไขๆออก ก็ยกขึ้นได้เลยไม่ต้องกลัวคอร์บิ่นครับ เพราะบริเวณใต้ฮีทซิ้งค์ มีที่รองอยู่บริเวณมุมซิ้งค์แล้วครับ ใส่ลงไปก็จะตรงกับคอร์พอดี ส่วนใต้ฮีทซิ้งค์ที่เราเห็น ก็จะเป็นฐานทองแดง และท่อฮีทไปป์ครับ ซึ่งได้ทำการ Lapping มาอย่างดี เงาเนียนดีมากไม่มีเกรียนเลยครับ
โฉมหน้าชิป G73 ครับ
เม็ดแรมแบบ BGA เป็น DDR2 128bit ชิปยี่ห้อ Infeneon ความเร็ว 2.2ns ครับ
ชมผลการทดสอบหน้าต่อไปเลยครับ
บรรยากาศขณะทำการทดสอบ
System ที่ใช้ในการทดสอบ มีรายละเอียดดังนี้ครับ
CPU | AMD Athlon 64 3000+ At 2700Mhz (300*9) |
Ram | Rox Hynix DT-D43 At 270mhz 1T 2.5-3-3-8 |
M/B | DFI Lanparty UT nF4-D SLI Modded |
VGA | Winfast PX7600GS TDH |
HDD | WD Caviar 80Gb pATA-100 |
PSU | Delta 460Watt ATX 2.0 |
Colling | Thai Waterblock , Zalman VF700cu(in oc stage) |
Software ที่ใช้ในการทดสอบมีดังนี้ครับ
- 3Dmark01se
- 3Dmark03
- 3Dmark05
- 3Dmark06
- Aquamark3
Driver : nVIDIA Forceware WHQL 91.28
OS : Windows XP with servicepack 2
Default Stage
ใน stage นี้ ผมจะทำการทดสอบการ์ดความเร็วเดิมๆ กับซีพียูที่ OC ไป 2.7ghz เนื่องจากว่า ซีพียู Athlon 64 3000+ เดิมๆ ไม่น่าจะทำให้การ์ดแสดงพลังออกมาได้เต็มที่นัก ผมจึงทำการ OC ไป ทำให้ประสิทธิภาพพอเทียบชั้นได้กับซีพียูรุ่นที่มีราคาแพงกว่าครับ โดยที่กราฟฟิคการ์ดยังใช้ค่า Default จากโรงงาน วัตถุประสงค์ก็เพื่อ ทดสอบประสิทธิภาพการ์ดเดิมๆ
Core/Mem = 400/400(800DDR)
3Dmark01SE
3Dmark03
3Dmark05
3Dmark06
Aquamark3
เป็นอันเสร็จสิ้นครับ ต่อไปก็จะเป็น Overclock Stage คลิ้กหน้าถัดไปเลยครับ
————————————————–
Overclock Stage
ใน Stage นี้ จะทำการ Overclock กราฟฟิคการ์ดจนสุดความสามารถของการ์ดเดิมๆที่ไม่ได้มีการทการ Vmod แต่อย่างใด โดยใช้ความเร็วซีพียูเท่ากับที่ใช้ใน Default Stage ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อ แสดงความสามารถในการ Overclock โดยคร่าวๆ แสดงความแตกต่างของความเร็วเดิมกับความเร็วที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการแสดงประสิทธิภาพของระบบระบายความร้อนเดิมๆที่มีมาให้ว่าจะสามารถพาการ์ดไปได้ถึงจุดไหน และประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่มิต้องมีการดัดแปลงตัวการ์ดให้ผิดไปจากสภาพเดิมแต่อย่างใด
การทดสอบใน Stage นี้ จะแบ่งเป็นสองอย่างย่อยๆ คือ ทดสอบโดย ใช้พัดลม 80MM เป่าฮีทซิ้งค์เดิม และ ใช้ฮีทซิ้งค์ Zalman VF700-CU ในการทดสอบ และทำการ Overclock ไปถึงระดับที่การ์ดยังพอที่จะทำงานได้โดยเสถียรภาพ
โดยผมได้ทำการ Overclock การ์ด จากเดิมๆ 400/400 ด้วย Heatsink เดิม + พัดลม 80mm ไปที่ 500/500 และ 520/500 ด้วย Zalman VF700-CU
ขณะที่รัน 520/500 ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้จับภาพขณะที่รัน 500/500 มา ตอนนี้การ์ดไม่ได้อยู่กับผมแล้ว (ยื้มเขามาว่างั้น)
3Dmark01SE
500/500
520/500
3Dmark03
500/500
520/500
3Dmark05
500/500
520/500
3Dmark06
500/500
520/500
Aquamark 3
500/500
520/500
เป็นอันเสร็จสิ้นครับสำหรับ PX7600GS จากความเห็นส่วนตัวของผมนะ ผมคิดว่า มันน่าจะลากไปได้ไกลกว่านี้อีกครับ แต่คาดว่า ไฟคงไม่พอ คงต้อง vmod กันแล้วล่ะ แต่ท่าทางเจ้าของการ์ดเขาจะเก้ๆกังๆ ผมก็เลยปล่อยๆไว้ก่อน ถ้ายังไง ผมขอมา vmod ได้แล้ว จะเอามาโชว์กันอีกรอบก็แล้วกัน อิอิ โดยเฉพาะ แรม Infineon เนี่ย เห็นเขาว่ากันว่า อัดไฟเยอะๆแล้วไปไกล ผมเองก็อยากจะลองเหมือนกันครับ จะได้รีดพลังมาสู้กะ 7600GT ไปเลย หุหุหุ
วันนี้ก็ขอจบไว้แค่นี้ก็แล้วกัน ไว้พบกันคราวหน้าถ้าผมจิ้กการ์ดตัวนี้มาได้นะครับ หุหุ ^^
***ความสามารถในการ Overclock ของการ์ดแต่ละตัว มีไม่เท่ากันเสมอไป***
ร่วมวิจารณ์บทความนี้ คลิกที่นี่ ครับ