ความหมายศัพท์ต่างๆในระบบNetwork

/ บทความโดย: admin , 10/03/2005 20:22, 3,777 views / view in EnglishEN
Share

ต่อกันเลยนะครับ คราวนี้ออกบทความมาใกล้ๆ กันหวังว่าคงไม่เบื่อ หุหุ


วันนี้เราจะมาดูความหมายของ Repeater, Hub , Switch, Bridge, (Network) Router, Gateway, Firewall, DSL modem, DSL router กันนะครับ โดยจะมีการยกตัวอย่างประกอบอย่างง่ายๆ ให้ชมกันครับ ไม่เข้าใจยังไงก็สอบถามกันมาได้เลยนะครับ

Repeater : มีใครเคยได้ยินคำๆ นี้ไหมเนี่ย Repeater คืออุปกรณ์เพิ่มกำลังสัญญาณให้อุปกรณ์ network กระทำการได้ในระยะไกลขึ้น เปรียบเหมือน Amplifier นั่นเอง


Hub : หรืออีกชื่อหนึ่ง Multiport-repeater คืออุปกรณ์ทวนสัญญาณเหมือนกัน แต่มีหลาย port ใช้ Back-bone หรือกระดูกสันหลัง (กำปั้นทุบดินจัง) อันเดียวกัน Back bone คืออะไรล่ะ


Back bone คือ แกนของการส่งข้อมูล เป็นจุดร่วมในการส่งข้อมูล บางครั้งเราเรียกว่า Bus (อ่าเข้าเค้าบ้างไหมเนี่ย) เหมือนเวลาเราตั้งใจจะไปที่ไหนซักแห่งวิธีที่ประหยัดที่สุดคือไปเป็นปลากระป๋องบนรถคันเดียวกับคนอื่น หุหุ ถ้าจำนวน Bus มาก โอกาสที่คนเดินทางไปแต่ละจุด ก็เร็วขึ้น ถ้า Bus น้อยๆ ก็อืดลงแค่นั้นแหละ


Switch หรือ Network Switch : ถ้า Hub มี Backbone อันเดียว Switch ก็มี Backbone หลายอัน อ่างั้นก็แปลว่า Switch เร็วกว่าดิ ใช่แล้วครับ แล้วมันเยอะน้อยต่างกันมากขนาดไหนอ่ะ


ไม่รู้ครับ ไปอ่าน Spec กันเอาเอง แต่ที่แน่ๆ Backbone เยอะๆ ก็แพงกว่าน้อยๆ แน่ ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ไปดูแบบที่เขียนว่า ทุก port มี Backbone ของตัวเอง (ตัวถูกๆ นี่ระวัง มีแค่ 2 port แล้วบอกเป็น Switch นะครับ ถูกจริงครับ แต่น้ำตาเช็ดหัวเข่า) อ้อบอกอีกอย่าง ถ้าราคาต่างกันไม่มากซื้อ Switch ดีกว่าซื้อ Hub นะจ้ะ (เอตอนนี้ Switch 8 port นี่มัน พันกว่าๆ ไม่ถูกอีกเหรอ)



เปรียบเทียบ ระหว่าง Hub กับ Switch 4 ports: Hub ก็เหมือน อุปกรณ์ที่มี Back bone 1 เส้น ในขณะที่ Switch มี 4 เส้น


Bridge : สะพานนั่นแหละครับ แปลถูกแล้ว ทั้ง 3 ตัวบน (Repeater Hub และ Switch) ทำงานอยู่บน Layer 1 ของ OSI Model หรือ Physical Layer (แปลง่ายๆ ว่าอ่านสัญญาณ ไฟฟ้าเสร็จก็ส่งต่อ) ไม่ทำการเช็คข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น ข้อมูลจะถูกจะผิดชั้นก็ส่งต่อ ในขณะที่ Bridge จะทำงานที่ Data Link Layer หรือ Layer 2 ซึ่งจะทำการอ่านสัญญาณ และเช็คในระดับ Layer 2 (เอาง่ายๆ ส่งไปถูกที่ถูกทางหรือเปล่า) ปัญหาก็คือ ระดับ Layer 2 มีความแม่นยำแค่ไหน การทำงาน แบบ Bridge ต้องอาศัย Software เข้าช่วยเป็นอันมาก


 มีคนบอกว่างั้นก็ช้าดิ ครับ ช้าก็ช้า แต่อย่าลืม ว่าช้ายังดีกว่าส่งไปผิด  สมมติว่าเราส่งข้อมูลไปเร็วกว่ากัน 10 เท่า แต่ส่งข้อมูลผิดทุกครั้ง มันก็ไม่ไหวนา



ตัวอย่างเปรียบเทียบ การที่ต้องมี สะพานเนื่องจากมีอุปสรรคในการต่อเชื่อม ถ้าไม่มีสะพานรถจะไม่สามารถข้ามฟากได้ เช่นเดียวกันในกรณีที่ไม่สามารถต่อเชื่อมตามปกติ (เช่นท่านเล่น ADSL usb modem แล้วจะเล่นแชร์ทั้งวง) วิธีที่ง่ายที่สุดคือ Set Computer ของท่านให้เป็น Network Bridge (ใน Windows XP เลือก 2 Connection แล้วก็ Create Network Bridge)


Network Router : กรุณาอย่าเอาไปปนกับ ADSL router นะครับ ไม่เหมือนกัน Router ใช้ในการเชื่อมเนทเวิร์ก 2 อันเข้าหากัน หลายท่านคงถามว่า เชื่อมเนทเวิร์กทำไม ถ้าจะแบ่ง แล้วมาแบ่งมาเชื่อมเนี่ยไม่ปวดหัวตายเหรอ



มองอย่างนี้ครับสมมติว่า กรุงเทพมีถนนอยู่สายเดียว ไม่มีทางย่อยไม่มีทางตัดไม่มีไฟแดง บ้านทุกบ้านติดถนน ดีไหมครับ เอดีดิ จะได้มาตั้งของหน้าบ้านขายได้ เอแล้วจะมีถนนกี่เลนดีล่ะ


2 เลนสำหรับรถวิ่งออกมาจากบ้าน 3 เลนสำหรับกลับรถ 8  เลนสำหรับทางด่วน พอไหมเอ่ย แล้วจากหัวถนนไปท้ายถนนมันไกลขนาดไหนเนี่ย แล้วที่ว่างๆ จะเอาไปทำอะไรล่ะ


เปรียบเทียบกับด้านขวามือ ถนนยาวเท่ากันท่านสามารถวางจำนวนบ้านได้มากกว่า บางท่านบอกว่าถนนไม่เหมือน เนตเวิร์ก ลองมองภาพตามนะครับ ถ้าถนนไม่ใช่ความยาวเท่านี้ มีบ้านมากกว่านี้ซัก 800 หลัง บ้านหลังแรกไปหาบ้านหลังที่ 800 ทำไงครับ


กรณีที่มีรถต้องการวิ่งไปหาบ้านใกล้กัน เขาก็ต้องวิ่งบนถนนใหญ่ทำให้พื้นผิวจราจรไป แล้วรถที่ต้องการเดินทางไกลก็ไม่สามารถทำความเร็วได้


มองกลับไปครับ เนทเวิร์กย่อยๆ ก็เหมือนซอย ในขณะที่ Router เหมือนถนนใหญ่ เราไม่ต้องวิ่งไปแบบไม่มีจุดหมาย กรณีที่ท่านต้องการไปมาระหว่างบ้านใกล้ๆ กันท่านสามารถใช้ถนนในซอยได้ ในขณะที่ถนนใหญ่ก็เหมาะสำหรับรถที่ต้องการเดินทางข้ามซอยเท่านั้น


ระบบเนทเวิร์กก็เช่นกัน ตัว Router เหมือนถนนใหญ่ที่ใช้เชื่อมซอยต่างๆ เฉพาะข้อมูลที่ต้องการผ่านข้ามไปเนทเวิร์กอื่น ตัวเนทเวิร์กเองก็ไม่เกิดการจราจรคับคั่ง ภายในกลุ่มเนทเวิร์กแต่ละกลุ่มก็ใช้ทรัพยากรได้อย่างรวดเร็วด้วย


จริงๆ มีเรื่องละเอียดยิบย่อยถึงประสิทธิ แล้วก็การป้องกันปัญหาอีกหลายอย่าง ไว้เรามาลงลึกเรื่องนี้กันทีหลังดีกว่า


Gateway : เอาล่ะสิอธิบายไงดีอ่ะ ท่านเคยดูใน Windows XP ไหมครับที่มันมี IP address, Subnet mask แล้วก็ Gateway ในความหมายนั้นหมายถึง ช่องทางที่ติดต่อกับเนตเวิร์กอื่น หรือ ถ้าอ่านมาแต่แรกก็คือทางไปหา Router นั่นแหละครับ (บอกว่าปากทางออกจากซอยอยู่ไหน 5555) ความหมายที่ 2 อุปกรณ์ที่กรองข้อมูลภายใน (คล้ายๆ Bridge และครับ กลับไปอ่าน Bridge ก่อนนะจ้ะ) มันจะทำการกรองข้อมูลว่าอะไรควรส่งออก อะไรไม่ควรส่งออก แต่ลักษณะการกรองฉลาดกว่า Bridge เยอะ เหมือนยามเฝ้าประตู ที่จะอนุญาตให้ออกหรือเข้าประตู


Firewall : ถ้า Gateway กรองข้อมูล Firewall ก็กรอง Program (Protocol) ที่จะผ่านเข้าออกจากประตู ปัจจุบัน Firewall ส่วนใหญ่เป็น Gateway ด้วยในตัวแล้ว เพียงแต่ว่าจะกรองได้ในระดับไหนเท่านั้นเอง


ทั้ง Gateway และ Fireware มีแบบ Hardware และ Software


ข้อดีของ Hardware คือทำงานได้เร็วกว่า แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถ Update ได้แบบ Software ที่ทำงานบน Computer (ที่ทำงานเป็น Bridge ในNetwork) จึงมี Hardware Firewall ที่สามารถ Update ได้และ Flexible กว่าเก่าออกมาขาย (แพงกว่าด้วย) ใครอยากได้อะไรก็ไปเลือกเอาเองนะครับ


DSL Modem


โดยปกติหมายถึง USB DSL Modem คือ Modem ที่ต่อ DSL โดยใช้ USB  เกือบทุกคนบอกว่ามันถูกกว่า DSL router แต่ที่ถูกเนื่องจากมันตัดส่วนที่เรียกว่าการแปลคำสั่งแบบ Realtime นั่นคือมันผลักภาระนั้นมาให้ CPU ทำ นั่นคือทุกครั้งที่มีการอ่านข้อมูลเข้ามา Driver จะต้องทำการแปลและกรองข้อมูลที่เสียทิ้ง ทำให้ประสิทธิภาพที่ได้ ค่อนข้างต่ำ การทำงานขึ้นอยู่กับ Driver เป็นส่วนใหญ่ ข้อดี ถูก ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถ้าเปลี่ยน Driver


DSL Router


ไม่ใช่ Network Router อย่าสับสน DSL router มีความหมายใกล้เคียงเพียงข้อเดียวคือทำการป้องกันไม่ให้ข้อมูลไหลเข้าออกจาก network เราโดยไม่จำเป็น แต่ผมว่าเหมือน Bridge มากกว่า


DSL router = DHCP server + DSL Modem + CODEC set + (Firewall) 


ไม่เข้าใจอะไรมาวิจารณ์ได้นะครับ


ท่านผู้รู้ทั้งหลายขอเชิญเพิ่มเติมนะครับ


 

สุดท้ายนี้ ขอเชิญเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ร่วมวิจารณ์บทความนี้โดยการ คลิกที่นี่ ครับ

Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza