New Intel Core i5 “Westmere” CPU integrated graphics platform
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ สำหรับวันนี้ก็ถือได้ว่าเป็นฤกษ์งามยามดี ของการก้าวสู่อนาคตกับเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ใหม่ที่เป็นผลผลิตจากทางอินเทล หลังจากที่ได้มีการเปิดตัวโครงสร้าง Nehalem และแพลตฟอร์ม Core i7/i5 ภายใต้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตรไปเรียบร้อยแล้ว ก็เรียกได้ว่า ต้องเป็นไปตามเสต็ปการพัฒนาแบบ “Tick tock” ที่จะได้เริ่มมีการ Refresh ไลน์ผลิตภัณฑ์ของซีพียูใน Generation นี้กัน กับเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรภายใต้โค้ดเนมการพัฒนา Westmere
…สำหรับวันนี้ ผมขอบอกได้เลยครับว่าเนื้อหาของเราที่จะนำมาเสนอกันกับท่านผู้อ่าน พร้อมทั้งผลการทดสอบแบบไม่ธรรมดากันแน่นอนแต่ก่อนอื่นก่อนใด เรามาดู Product Brief ที่ทางเราได้รับข้อมูลมาจากทาง Intel กันก่อนเลยดีกว่าครับ
…ซีพียูที่ทางอินเทล ได้ทำการเปิดตัวพร้อมกันทั่วโลกในวันนี้ คือซีพียู Next-Gen ของอินเทล Codename ว่า Clarkdale ที่กำลังจะเข้ามาแทนที่ตระกูล Core 2 เดิม ที่ใกล้ที่จะหมดอายุการตลาดลงเต็มทน นั้นก็คือ Core i5 เลขรุ่น 6xx และ Core i3 เลขรุ่น 5xx รวมไปถึงจะมีการเปิดตัว Pentium G6xxx โดยที่ซีพียูทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมาที่ทำการเปิดตัวในวันนี้ จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 32 นาโนเมตร รวมไปถึงที่เด็ดและสำคัญที่สุดนั้นก็คือการที่ตัวซีพียูนั้น นอกจากจะรวมเอาชิป Memory controller หรือชิป MCH (Northbridge) ที่จะควบคุมระบบบัสความเร็วสูงจำพวก PCIE x16 ไว้ในตัวซีพียูแล้ว ยังผนวกรวมเอา “กราฟฟิคอินตริเกรต” หรือที่พวกเรามักจะเรียกกันว่า กราฟฟิคออนบอร์ด ไว้ในตัวชิปซีพียูตัวเดียวครับ
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
…จากภาพ DIE ของซีพียู เราจะเห็นได้ว่า ตัวชิปซีพียู ในแพคเกจแบบใหม่ของ Core i5/i3 Clarkdale นั้น จะมีการแยก DIE ออกเป็นสองก้อนด้วยกันครับ คือด้านซ้ายมือนั้น จะเป็นก้อนที่ทำหน้าที่ คล้ายกับชิปเซ็ต MCH หรือ Northbridge แบบเก่า คือควบคุมเมมโมรี บัสความเร็วสูง และผนวกรวมเอาตัวประมวลผลกราฟฟิคเข้าไปไว้ในตัวด้วย ส่วนทางด้านขวามือนั้นก็จะเป็น DIE ในส่วนที่เป็นตัวแกนประมวลผลจริงๆ ซึ่งจะมี สองแกน ( Core 0 และ 1) เชื่อมต่อกับ L3 cache ขนาด 4mb ซึ่งดูเหมือนว่าจะถูกหั่นออกจากรุ่นพี่ i5/i7 รุ่นที่ถูกวางไว้ในตลาดระดับที่สูงกว่าอยู่ครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว และในขณะเดียวกัน ซีพียูรุ่นพี่อย่าง i5/i7 Lynfield ก็ยังไม่มีการแยกชิปควบคุมที่ทำงานคล้าย Northbridge แยก DIE ออกมาแบบนี้ด้วยครับ
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
…หน้าตาของตัวชิป Clarkdale ขณะไม่ใส่ Heat spreader (รูปซ้ายมือ) จะเห็นได้ว่ามี DIE สองชุด อยู่บนเพคเกจของซีพียูหนึ่งตัว ส่วนรูปภาพขวามือคือภาพของชิปเซ็ต PCH (Platform Controller Hub) ซึ่งจะเป็นลักษณะชิปเซ็ตที่ใช้งานกับแพลตฟอร์ม 2 chip คือมีซีพียู และชิปเซ็ต แทนที่จะเป็นแพลตฟอร์มแบบ 3 chip ที่ซึ่งจะมี CPU MCH และ ICH อยู่ใน 1 ระบบ อย่างที่เราคุ้นเคยกันนั้นเอง
…ความลับอีกอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรครับ คือตัว DIE ที่แยกออกมาเป็น IGP ในตัวซีพียูนั้น ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยี 45 นาโนเมตร !
*slide show จากเอกสาร press release ใน pressroom ของ intel.com
…ณ วันนี้ อินเทลให้ข้อมูลไว้ว่า จะมีซีพียูที่กำลังจะทยอยเปิดตัว รวมไปถึง chipset และ platform ใหม่ๆ รวมไปถึงโมบายซีพียูที่จะยืนพื้นอยู่บนโค้ดเนท Westmere ทั้งหมด (ที่มีกราฟฟิคอินตริเกรต) เราจะมาโฟกัสกันตรงที่ i5 และ i3 กันนะครับสำหรับวันนี้
Intel Core i5 6xx & 6x1 series
*ภาพจากเอกสาร Product Brief Intel Core i5
…มาเริ่มต้นกันที่ Core i5 ที่จะมาในรุ่น 6xx และ 6×1 โดยสองรุ่นนี้ จะยังคงเป็นซีพียูในแพคเกจแบบ LGA1156 แต่จะมาในรูปแบบของซีพียู Dualcore ที่ผนวกกับเทคโนโลยี Hyper Threading จึงทำให้มีแกนประมวลผลเสมือน ถึง 4 แกน ด้วยกัน พร้อมกับ Level 3 Cache ขนาด 4mb และที่สำคัญ ทั้งสองรุ่นนั้นเป็นซีพียูที่มี Memory Controller และ Integrated Graphic ในตัว ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มชิปเซ็ต Intel 5 series (ตระกูล P55) โดยที่ซีพียูที่มี Processor Number ลงท้ายด้วยเลขกลมๆ (6xx) นั้นจะหมายถึงรุ่นที่มีความเร็วของ Graphic core มาตรฐาน คือ 733 Mhz ส่วนรุ่นที่ลงท้ายด้วยเลข 1 เช่น 6×1 ก็จะมีความเร็ว Graphic core มาให้ที่ 900Mhz แต่ว่าในรุ่น 6×1 นั้น จะไม่รองรับเทคโนโลยี VT-d ซึ่งเป็นการทำ Virtualization ขั้นสูงที่จะมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ไม่รอบรับกับมาตรฐาน Intel TXT (Trusted execution technology) ดัง chart ด้านบนนั้นเองครับ
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
Intel Core i3 5xx series
*ภาพจากเอกสาร Product Brief Intel Core i3
…ในส่วนของ Core i3 นั้นรายละเอียดยิบย่อยส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกับ Core i5 ที่ผมได้กล่าวมาเมื่อสักครู่ครับ L3 ก็จะยังไม่ถูกตัดไป (4mb เหมือนเดิม) แต่จะถูกตัดฟีเจอร์บางประการที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ระดับเริ่มต้น อย่างเช่น VT-d รวมไปถึงจะไม่มีฟีเจอร์ Turbo boost ใน Core i3 ด้วยนั้นเอง แต่ความเร็วของกราฟฟิคนั้นจะยังคงอยู่ที่ 733mhz เท่าเดิมครับ
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
Intel Pentium G6xxx
*ภาพจากเอกสาร Product Brief Intel Core i3
…Pentium G6xxx series นั้น เป็นอีกหนึ่งผลผลิตจากโครงสร้าง Nehalem รุ่นเล็กสุดท้อง ใช้แพคเกจแบบ LGA1156 เช่นเดียวกับ Core i3 และ i5 รวมไปถึงเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร และมีเมมโมรีคอนโทรลเลอร์ในตัว (รองรับแค่ DDR3 1066mhz เท่านั้น) รายละเอียดที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ใน Nehalem เวอร์ชั่นที่ขายในชื่อของ Pentium นี้ จะถูกตัด L3 cache ลงเหลือเพียงแค่ 3mb และจะไม่มีเทคโนโลยี Turbo boost และ Hyper threading แต่ที่แน่ๆก็คือ สามารถทำงานร่วมกับชิปเซ็ตตระกูล 5 ได้อย่างแน่นอนครับ
ตารางด้านล่างนี้ เป็นตารางสรุปเบื้องต้น จากข้อมูลที่ผมมีอยู่ทั้งหมด มาให้ท่านผู้อ่านได้ลองเปรียบเทียบ ซีพียูระดับ Mainstreme และ Entry level ที่กำลังจะเข้ามาเขย่าวงการ ในวันข้างหน้าครับ
Clock (Ghz) | GPU clock (Mhz) | Turbo Mode | TDP(Watt) | Memory Support | L3 Cache | Core/Threads | |
Core i5 670 | 3.46 Ghz | 733 | Yes | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i5 661 | 3.33 Ghz | 900 | Yes | 87 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i5 660 | 3.33 Ghz | 733 | Yes | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i5 650 | 3.2 Ghz | 733 | Yes | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i3 540 | 3.06Ghz | 733 | No | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i3 530 | 2.93Ghz | 733 | No | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Pentium G6950 | 2.8 Ghz | 533 | No | 73 | x2 DDR3 -1066 | 3 | 2/2 |