New Intel Core i5 “Westmere” CPU integrated graphics platform
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ สำหรับวันนี้ก็ถือได้ว่าเป็นฤกษ์งามยามดี ของการก้าวสู่อนาคตกับเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ใหม่ที่เป็นผลผลิตจากทางอินเทล หลังจากที่ได้มีการเปิดตัวโครงสร้าง Nehalem และแพลตฟอร์ม Core i7/i5 ภายใต้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตรไปเรียบร้อยแล้ว ก็เรียกได้ว่า ต้องเป็นไปตามเสต็ปการพัฒนาแบบ “Tick tock” ที่จะได้เริ่มมีการ Refresh ไลน์ผลิตภัณฑ์ของซีพียูใน Generation นี้กัน กับเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรภายใต้โค้ดเนมการพัฒนา Westmere
…สำหรับวันนี้ ผมขอบอกได้เลยครับว่าเนื้อหาของเราที่จะนำมาเสนอกันกับท่านผู้อ่าน พร้อมทั้งผลการทดสอบแบบไม่ธรรมดากันแน่นอนแต่ก่อนอื่นก่อนใด เรามาดู Product Brief ที่ทางเราได้รับข้อมูลมาจากทาง Intel กันก่อนเลยดีกว่าครับ
…ซีพียูที่ทางอินเทล ได้ทำการเปิดตัวพร้อมกันทั่วโลกในวันนี้ คือซีพียู Next-Gen ของอินเทล Codename ว่า Clarkdale ที่กำลังจะเข้ามาแทนที่ตระกูล Core 2 เดิม ที่ใกล้ที่จะหมดอายุการตลาดลงเต็มทน นั้นก็คือ Core i5 เลขรุ่น 6xx และ Core i3 เลขรุ่น 5xx รวมไปถึงจะมีการเปิดตัว Pentium G6xxx โดยที่ซีพียูทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมาที่ทำการเปิดตัวในวันนี้ จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 32 นาโนเมตร รวมไปถึงที่เด็ดและสำคัญที่สุดนั้นก็คือการที่ตัวซีพียูนั้น นอกจากจะรวมเอาชิป Memory controller หรือชิป MCH (Northbridge) ที่จะควบคุมระบบบัสความเร็วสูงจำพวก PCIE x16 ไว้ในตัวซีพียูแล้ว ยังผนวกรวมเอา “กราฟฟิคอินตริเกรต” หรือที่พวกเรามักจะเรียกกันว่า กราฟฟิคออนบอร์ด ไว้ในตัวชิปซีพียูตัวเดียวครับ
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
…จากภาพ DIE ของซีพียู เราจะเห็นได้ว่า ตัวชิปซีพียู ในแพคเกจแบบใหม่ของ Core i5/i3 Clarkdale นั้น จะมีการแยก DIE ออกเป็นสองก้อนด้วยกันครับ คือด้านซ้ายมือนั้น จะเป็นก้อนที่ทำหน้าที่ คล้ายกับชิปเซ็ต MCH หรือ Northbridge แบบเก่า คือควบคุมเมมโมรี บัสความเร็วสูง และผนวกรวมเอาตัวประมวลผลกราฟฟิคเข้าไปไว้ในตัวด้วย ส่วนทางด้านขวามือนั้นก็จะเป็น DIE ในส่วนที่เป็นตัวแกนประมวลผลจริงๆ ซึ่งจะมี สองแกน ( Core 0 และ 1) เชื่อมต่อกับ L3 cache ขนาด 4mb ซึ่งดูเหมือนว่าจะถูกหั่นออกจากรุ่นพี่ i5/i7 รุ่นที่ถูกวางไว้ในตลาดระดับที่สูงกว่าอยู่ครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว และในขณะเดียวกัน ซีพียูรุ่นพี่อย่าง i5/i7 Lynfield ก็ยังไม่มีการแยกชิปควบคุมที่ทำงานคล้าย Northbridge แยก DIE ออกมาแบบนี้ด้วยครับ
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
…หน้าตาของตัวชิป Clarkdale ขณะไม่ใส่ Heat spreader (รูปซ้ายมือ) จะเห็นได้ว่ามี DIE สองชุด อยู่บนเพคเกจของซีพียูหนึ่งตัว ส่วนรูปภาพขวามือคือภาพของชิปเซ็ต PCH (Platform Controller Hub) ซึ่งจะเป็นลักษณะชิปเซ็ตที่ใช้งานกับแพลตฟอร์ม 2 chip คือมีซีพียู และชิปเซ็ต แทนที่จะเป็นแพลตฟอร์มแบบ 3 chip ที่ซึ่งจะมี CPU MCH และ ICH อยู่ใน 1 ระบบ อย่างที่เราคุ้นเคยกันนั้นเอง
…ความลับอีกอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรครับ คือตัว DIE ที่แยกออกมาเป็น IGP ในตัวซีพียูนั้น ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยี 45 นาโนเมตร !
*slide show จากเอกสาร press release ใน pressroom ของ intel.com
…ณ วันนี้ อินเทลให้ข้อมูลไว้ว่า จะมีซีพียูที่กำลังจะทยอยเปิดตัว รวมไปถึง chipset และ platform ใหม่ๆ รวมไปถึงโมบายซีพียูที่จะยืนพื้นอยู่บนโค้ดเนท Westmere ทั้งหมด (ที่มีกราฟฟิคอินตริเกรต) เราจะมาโฟกัสกันตรงที่ i5 และ i3 กันนะครับสำหรับวันนี้
Intel Core i5 6xx & 6x1 series
*ภาพจากเอกสาร Product Brief Intel Core i5
…มาเริ่มต้นกันที่ Core i5 ที่จะมาในรุ่น 6xx และ 6×1 โดยสองรุ่นนี้ จะยังคงเป็นซีพียูในแพคเกจแบบ LGA1156 แต่จะมาในรูปแบบของซีพียู Dualcore ที่ผนวกกับเทคโนโลยี Hyper Threading จึงทำให้มีแกนประมวลผลเสมือน ถึง 4 แกน ด้วยกัน พร้อมกับ Level 3 Cache ขนาด 4mb และที่สำคัญ ทั้งสองรุ่นนั้นเป็นซีพียูที่มี Memory Controller และ Integrated Graphic ในตัว ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มชิปเซ็ต Intel 5 series (ตระกูล P55) โดยที่ซีพียูที่มี Processor Number ลงท้ายด้วยเลขกลมๆ (6xx) นั้นจะหมายถึงรุ่นที่มีความเร็วของ Graphic core มาตรฐาน คือ 733 Mhz ส่วนรุ่นที่ลงท้ายด้วยเลข 1 เช่น 6×1 ก็จะมีความเร็ว Graphic core มาให้ที่ 900Mhz แต่ว่าในรุ่น 6×1 นั้น จะไม่รองรับเทคโนโลยี VT-d ซึ่งเป็นการทำ Virtualization ขั้นสูงที่จะมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ไม่รอบรับกับมาตรฐาน Intel TXT (Trusted execution technology) ดัง chart ด้านบนนั้นเองครับ
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
Intel Core i3 5xx series
*ภาพจากเอกสาร Product Brief Intel Core i3
…ในส่วนของ Core i3 นั้นรายละเอียดยิบย่อยส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกับ Core i5 ที่ผมได้กล่าวมาเมื่อสักครู่ครับ L3 ก็จะยังไม่ถูกตัดไป (4mb เหมือนเดิม) แต่จะถูกตัดฟีเจอร์บางประการที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ระดับเริ่มต้น อย่างเช่น VT-d รวมไปถึงจะไม่มีฟีเจอร์ Turbo boost ใน Core i3 ด้วยนั้นเอง แต่ความเร็วของกราฟฟิคนั้นจะยังคงอยู่ที่ 733mhz เท่าเดิมครับ
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
Intel Pentium G6xxx
*ภาพจากเอกสาร Product Brief Intel Core i3
…Pentium G6xxx series นั้น เป็นอีกหนึ่งผลผลิตจากโครงสร้าง Nehalem รุ่นเล็กสุดท้อง ใช้แพคเกจแบบ LGA1156 เช่นเดียวกับ Core i3 และ i5 รวมไปถึงเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร และมีเมมโมรีคอนโทรลเลอร์ในตัว (รองรับแค่ DDR3 1066mhz เท่านั้น) รายละเอียดที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ใน Nehalem เวอร์ชั่นที่ขายในชื่อของ Pentium นี้ จะถูกตัด L3 cache ลงเหลือเพียงแค่ 3mb และจะไม่มีเทคโนโลยี Turbo boost และ Hyper threading แต่ที่แน่ๆก็คือ สามารถทำงานร่วมกับชิปเซ็ตตระกูล 5 ได้อย่างแน่นอนครับ
ตารางด้านล่างนี้ เป็นตารางสรุปเบื้องต้น จากข้อมูลที่ผมมีอยู่ทั้งหมด มาให้ท่านผู้อ่านได้ลองเปรียบเทียบ ซีพียูระดับ Mainstreme และ Entry level ที่กำลังจะเข้ามาเขย่าวงการ ในวันข้างหน้าครับ
Clock (Ghz) | GPU clock (Mhz) | Turbo Mode | TDP(Watt) | Memory Support | L3 Cache | Core/Threads | |
Core i5 670 | 3.46 Ghz | 733 | Yes | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i5 661 | 3.33 Ghz | 900 | Yes | 87 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i5 660 | 3.33 Ghz | 733 | Yes | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i5 650 | 3.2 Ghz | 733 | Yes | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i3 540 | 3.06Ghz | 733 | No | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Core i3 530 | 2.93Ghz | 733 | No | 73 | x2 DDR3 -1333 | 4 | 2/4 |
Pentium G6950 | 2.8 Ghz | 533 | No | 73 | x2 DDR3 -1066 | 3 | 2/2 |
Intel DH55TC ‘Tom Cove’ Board
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
…เมนบอร์ดอีกรุ่นหนึ่งสำหรับ Socket 1156 ชิปเซ็ต “H55″ ที่ซึ่งจะสามารถทำงานร่วมกับซีพียู Core i5/i3 รุ่นใหม่ที่มีกราฟฟิคอินตริเกตได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดูแล้วน่าสนใจเลยทีเดียวครับ มีพอร์ตครบครันตั้งแต่ VGA DVI ไปจนถึง HDMI เลยทีเดียว
ภาพจากเอกสาร News Resource ใน Press room ของ intel.com
…Block diagram ของชิป H55 ใหม่จากทางอินเทล จะเห็นได้ว่า ชิปเซ็ต PCH นั้นจะทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ส่วนควบคุมระบบบัสความเร็วต่ำ และพอร์ตเชื่อมต่อ I/O กับมัลติมีเดียต่างๆเพียงเท่านั้น โดยที่ภาระหนักๆอย่างเช่น PCIE 16x หรือ Memorycontroller จะถูกโยนลงไปรวมกับแพคเกจของซีพียูหมดแล้ว
รูปร่างหน้าตา ตัวจริงของเจ้า Tom Cove ครับ
รูปชุดนี้ เป็นรูปผลิตภัณฑฺ์จริงที่ทางเราได้รับมาทำการทดสอบ
เมนบอร์ดมาในแนวของ Micro ATX มีสลอตมาให้อย่างเพียงพอเท่านั้น ไม่มีลูกเล่นหวือหวามากนัก
ภาคจ่ายไฟก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่อะลังการอะไร แต่นี่แหละครับ คือเคล็ดลับของความประหยัดไฟสุดขั้วของเมนบอร์ดออริจินัลจาก Intel
ซอกเก็ตเดิมๆที่คุ้นเคย LGA1156
…Slot PCI-e 16x เพียงสลอตเดียว เพราะเนื่องมาจากตัวคอนโทรลเลอร์ PCIE นั้นถูกบรรจุอยู่ในตัวซีพียู ซึ่งจะสามารถควบคุม PCIE 16x ได้เพียง 1 ช่องเท่านั้น ซึ่งถ้าหากจะมีความเป็นไปได้ว่าจะใส่ PCIE 16x เพิ่มอีก ทางผู้ผลิต M/B ก็อาจจะหาชิปควบคุมอย่างอื่น มาใส่เพิ่มกันเข้าไปครับ (รายละเอียดเหล่านี้ศึกษาได้จาก Block diagram ด้านบน)
…กล่าวคือ ตัวชิปเซ็ต H55 ก็จะทำหน้าที่เพียง ควบคุมเรื่องของพอร์ต I/O หรือ Storage ทั้งหลาย รวมไปถึงบัสความเร็วต่ำทั้ง PCIE 1x และ PCI มาตรฐาน จึงทำให้มันทำหน้าที่ คล้าย Southbridge และเป็นที่เข้าใจกันว่า Northbridge ก็ได้ถูกบรรจุลงไปในตัวซีพียู เรียบร้อยแล้ว
…เนื่องจากแพลตฟอร์ม LGA1156 นั้นตัวซีพียูจะมีข้อจำกัด รองรับเมมโมรีได้ตามที่ตัว Memory controller ในตัวจะรองรับ อย่างเช่น Pentium G6xxx ก็จะรองรับ DDR-3 1066 แต่ใน Core i3/i5 ก็จะรองรับบัสถึง 1333 ครับ แต่ซีพียูทุกรุ่นในแพลตฟอร์มนี้ รองรับการทำ Dual chanel ของเมมโมรี
…พื้นที่คับแคบมากจนกระทั่งต้องนำสายสำหรับ Front panel จำพวกสวิชเปิดปิด มาไว้บริเวณใกล้ๆกับ SATA และแน่นอนครับตามสไตล์อินเทล ไม่มี IDE+Floppy Drive Port หลงเหลือมาให้ใช้งานอีกต่อไปแล้วนะครับ
รูปร่างก็ต่างกันเล็กน้อย ตรงบริเวณใต้ท้องซีพียู เช่นเคยครับสำหรับการเปลี่ยนแปลงรุ่นแต่ไม่เปลี่ยนซอกเก็ตแต่ละครั้ง
เมื่อลงไปอยู่ในหลุม เอ้ย ในซอกเก็ตของมัน จะสังเกตว่าขนาดนั้นไม่ได้ใหญ่และดูแข็งแรงเหมือน LGA1366 ครับ
…ถัดจาหน้านี้ไป ก็จะเป็นผล Benchmark ต่างๆ ซึ่งก็ต้องยกเครดิตให้กับท่าน Venom-Crusher ที่เป็นผู้ทดสอบตลอดทุกการทดสอบหฤโหดของเราครับ
CPU-Z Core i5 661
CPU-Z Core i5 750
…Core i5 750 ที่มีความเร็ว Default ที่ต่ำกว่า 661 (3.33 กับ 2.67Ghz) แต่ L2 ของ 750 นั้นมากกว่าถึงเท่าตัวเดียวทีเดียว ( 4 กับ 8mb)
…สังเกตกันอย่างผ่านๆอาจจะไม่ถึงแก่นครับสำหรับซีพียูชื่อเดียวกัน แต่คนละยุค คนละกระบวนการผลิตกัน สิ่งที่แตกต่างกันชัดเจนที่สุดก็คือเทคโนโลยีในการผลิตระหว่าง 45 กับ 32 นาโนเมตร ของ Core i5 661 และกราฟฟิคอินตริเกรตของ Core i5 661 ดังภาพด้านขวามือ
Graphics Driver
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มใหม่ และเมนบอร์ดใหม่ ก็มาพร้อมกับ ไดร์เวอร์ที่ฉลาด ไม่แพ้ไดร์เวอร์ชื่อดังจากค่ายสีเขียวจำพวก Forceware หรือ ATi Catalyst คือสามารถปรับค่าทั้งพวก Colormanagement หรือ Set Multidisplay มาตรฐานได้อย่างง่ายๆ
รวมไปถึงการตั้ง Hot key เพื่อทำการหมุน กลับจอ หรือเปิดตัว Control panel ออกมา
Test Bed
…ในการทดสอบในครั้งนี้ เราจะทำการทดสอบแบบจำลองการใช้งานจริง ในเคสจริงปิดฝาเคส ที่ไม่ใช่ Test bed ลอยๆแบบที่เราเคยทำๆกันมา เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่แท้จริงในขณะการทำงาน ซึ่งงานนี้ก็ต้องยกความดีให้กับทางร้านเจได ที่ช่วยเอื้อเฟื้อบรรจงจัดประกอบซิสเต็มชุดนี้ ลงในเคส และจัดการเก็บสายไฟอย่างเรียบร้อยและสวยงามดังภาพ ก็ต้องขอขอบคุณมา ณ ทีนี้ด้วยนะครับ ใครที่อยากได้คอมพิวเตอร์ประกอบเก็บสายเนียนๆแบบนี้ ก็ไปซื้อฮาร์ดแวร์ประกอบที่ร้านเจได ทางเจ๊บ๊วยบอกมาว่าไม่จำเป็นต้องซื้อหมดทุกชิ้นที่ร้านของเขา ก็จะประกอบแบบนี้ให้ฟรีด้วยครับ ! หากแวะเวียนไปซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ร้านเจได ก็แสดงตนสักหน่อยก็แล้วกันว่าเป็นสมาชิกเว็บของเรา ไม่ต้องบอกชื่อเสียงเรียงนามอะไรก็ได้ เจ๊บ๊วยใจดี จัดให้ครับ !!
…การทดสอบ จะแบ่งออกเป็นสามแบบเพื่อทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความร้อนจริงในขณะทำงาน คือ
1. ทดสอบด้วยซีพียู Core i5 661 ด้วยกราฟฟิค Integrated
2. ทดสอบด้วยซีพียู Core i5 661 ด้วยกราฟฟิคการ์ดแยก Geforce GT220
3. ทดสอบด้วยซีพียู Core i5 750(ไม่มีกราฟฟิคในตัว เป็นซีพียู 4 คอร์แท้) ด้วยกราฟฟิคการ์ดแยก Geforce GT220
และนอกจากนี้ในตอนท้ายบทความ ก็ยังมีการทดสอบแบบ Overclock กับระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ แบบเบาๆมาให้ชมกันด้วยครับ
มาว่ากันด้วยอุปกรณ์ที่เราใช้ในการทดสอบร่วมกับซีพียู Core i5 661 และเมนบอร์ด Tomcove ก็มีดังนี้ครับ
Memory Geil 2GB *2 (DDR1333)
การ์ดจอ สำหรับเทียบทดสอบแบบการ์ดจอแยก nVidia Geforce GT220
.
SYSTEM | |
CPU | Intel Core i5 661, Intel Core i5 750 |
MAINBOARD | Intel DH55TC |
MEMORY | Geil DDR1333 PC10700 9-9-9-24 2GB*2 |
GRAPHIC CARD |
Nvidia GT220 1GB GDDR3 @ Default Speed |
POWER SUPPLY |
PowerX 520W |
CPU COOLER |
Stock Heatsink |
HARDDISK |
WD Caviar Green 500GB (WD5000AACS) |
SOFTWARE | |
OS | Windows 7 Ultimate 32bit |
Super PI 1m & 32M
…Benchmark ที่นัก Overclock ทั่วโลกรู้จักกันดี กับโปรแกรมคำนวณค่า PI ในคอมพิวเตอร์ ที่จะสามารถแสดงผลออกมาเป็นผลลัพธ์และจับเวลาที่ใช้ในการคำนวณ ในการทดสอบเราทำการทดสอบทั้งการคำนวณในหลัก 1 ล้านตำแหน่ง และ 32×4 ล้านตำแหน่ง (แบบ 4 Thread ) เนื่องจาก Super PI นั้นเป็นโปรแกรมแบบ Single Thread
…จะสังเกตได้ว่า เวลาที่สามารถทำได้นั้น Core i5 ตัวใหม่ที่มีความเร็วสูงกว่า แต่ L3 Cache ต่ำกว่า และจำนวน Core น้อยกว่า ก็สามารถทำเวลาได้ค่อนข้างดีกว่า Core i5 750 อยู่พอสมควร
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
…คะแนนของ Cinebench นั้น ค่อนข้างดูง่ายและชัดเจนดีครับ ว่าคะแนนในส่วนของการแสดงผลเกี่ยวกับ Open GL นั้น ดูเหมือนกราฟฟิค GMA ของอินเทล ก็จะด้อยกว่า nVidia อยู่เยอะเลยทีเดียว ส่วนความสามารถในการ Render ภาพของซีพียูนั้น ออกมาอยู่ในเกณฑ์เท่าๆกัน จะมีก็แต่ขณะใช้การ์ดจอแยก แรงซีพียูก็อาจจะเพิ่มมา “เล็กน้อย” เท่านั้น สังเกตได้จาก CPU Score และเมื่อนำไปเทียบกับตัวซีพียู i5 750 แล้วล่ะก็ 750 นั้นสามารถทำคะแนนในส่วนของ Multi CPU ได้ดีกว่าแน่นอน เพราะเป็นซีพียู 4 Core แท้ๆ แล้วแถมยังมี Level 3 cache ที่มากกว่าถึงเท่าตัว แต่ก็ถือว่าไม่ได้ทิ้งห่างมากนักครับ
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
…ใน Cinebench R10 กลับไม่เหมือนกันครับ คะแนน CPU Render ผลจากการใช้กราฟฟิคอินตริเกรต กับกราฟฟิคแยกนั้น กลับกลายเป็นว่าใช้กราฟฟิคแยก จะทำให้ช้าลงกว่าหลายร้อยแต้มเลยทีเดียว แต่นั้นก็ไม่น่าจะใช่ประเด็นสำคัญนัก คะแนนต่างกันน้อยขนาดนี้ ไม่ส่งผลถึงความรู้สึกขณะใช้งานในชีวิตประจำวันแน่นอนครับ
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
ใน PCmark05 ซีพียูที่มี Core clock สูงกว่าอย่าง Core i5 661 ก็ดันเป็นผู้ชนะไปอย่างง่ายดาย
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
…คะแนนตรงนี้ผมจะทำกราฟสรุปให้สำหรับส่วนที่สำคัญๆนะครับ ซึ่งผลตรงนี้ดูภาพรวมแล้วก็สรุปได้ว่า Benchmark เพียวๆดิบๆจำพวกนี้ L3 cache มีผลอย่างมาก และเป็นที่น่าแปลกใจอีกว่า ขณะที่เราใส่การ์ดจอ GT220 คะแนนนั้นมีอาการ Drop ลงไปกว่าเดิมที่ไม่ได้ใส่กราฟิคการ์ดแยกในซีพียู Core i5 661 อยู่พอสมควร แต่ก็ไม่ได้เป็นผลต่างที่ให้รู้สึกได้ในชีวิตประจำวันมากนัก ซึ่งตรงนี้ ทางทีมงานก็ได้สันนิษฐานว่าเพราะโครงสร้างแบบใหม่ ที่ตัวซีพียูนั้น ไม่ได้รวมเอา ตัวชิปควบคุมที่ทำหน้าที่คล้าย Northbridge และ memory controller เข้าไปไว้ใน DIE เดียวกัน ทำให้ซีพียู เมื่อเวลาเรียกใช้งานพลังจากบัสความเร็วสูงบางอย่าง ก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพ Drop ลงได้บ้างซึ่งนั้นก็คือ โครงสร้างแบบใหม่ของซีพียูที่รวมเอาตัวควบคุม PCIE 16x ไว้ในตัวซีพียู(แต่แยก DIE) นั้นแหละครับ
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
…ซึ่ง ผลการทดสอบในโปรแกรม Everest และโปรแกรม Sisoft sandra ซึ่งเป็นโปรแกรมที่วัดประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในลักษณะเดียวกัน (เป็น Benchmark ที่ค่อนข้างดิบ) คะแนนออกมาเป็น Giga flops บ้าง หรือ GIPS บ้าง จะเห็นได้ว่า Core i5 661 เมื่อใช้งานกราฟฟิคการ์ดแยก แบบ PCIE 16x แล้วประสิทธิภาพของตัวซีพียู ก็จะมีด้อยลงมาบ้าง แต่เพียงเล็กน้อยจนแทบจะทำให้ไม่รู้สึกในการใช้งานในชีวิตประจำวัน เท่านั้น
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
————————————————–
L3 Cache memory Bandwidth
…ข้อสังเกตของการวัด Cache Memory Bandwidth นั้นก็คือ แบนด์วิดท์ของ Core i5 750 ที่ต่ำกว่า ตัว 661 อยู่มากเอาเรื่อง สาเหตุแรกที่ผมเพ่งเป้าไปก็คือ Core clock ของ Core i5 750 ที่มีความเร็วต่ำกว่า 661 อยู่ค่อนหลายต่อ ทำให้การเข้าถึง Cache นั้นทำได้ไม่เร็วเท่า i5 661
Memory Bandwidth
…แต่ข้อสันนิษฐานนั้นก็ต้องถูกพับกลับไปด้วยผลของ Memory Bandwidth ที่สูงกว่าอยู่หลายช่วงตัวของ Core i5 750 ดังนั้น ผมจึงสรุปด้วยข้อมูลที่มีอยู่ตรงนี้ว่า ซีพียูที่มีจำนวน Core มากกว่า อย่าง Core i5 750 แต่มีแคช L3 เพียงแค่ 1 ก้อนก็จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลและการโอนถ่ายข้อมูลของแคชไปยังซีพียูนั้นช้ากว่าซีพียูที่มีเพียง 2 Core อย่าง i5 661 และคะแนน Memory Bandwidth ของ i5 750 ที่สูงกว่า 661 อยู่หลายช่วงตัว นั้นก็เป็นเพราะว่าโครงสร้างของ i5 750 นั้นได้เปรียบตรงที่เป็นระบบที่มี Integrated Memory Controller โดยแท้จริง( i5 750 เป็นซีพียูแบบ DIE เดี่ยวๆ) ไม่ใช่เป็นระบบที่เอาชิป Northbridge ไปรวมไว้ในซีพียูแต่ดันแยก DIE ออกมาอีกก้อนหนึ่งอย่างที่ 661 เป็นนั่นเองครับ หากสงสัยว่า 661 มันแยกกันอย่างไร พลิกบทความกลับไปอ่านดูหน้าแรกนะครับ…
…ข้อสรุปดังกล่าว ผมสรุปโดยที่ดูจากอาการของ Benchmark ตัวอื่นๆประกอบ ด้วยอย่างเช่น Cinebench R10 ที่คะแนน CPU Render ขณะที่ใช้กราฟฟิคอินตริเกรต จะสูงกว่าคะแนนขณะที่เสียบใช้งานการ์ดแบบ PCIE x16อยู่แล้วด้วยครับ แต่ยังไม่อยากให้ใครปักใจเชื่อ ก็ให้ใช้วิจารณญาณ เพราะการ Benchmark ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องถูกต้อง 100% เสมอไป มันมี % error เกิดขึ้นได้เสมอครับ และส่วนตัวของผู้เขียนเองก็มองว่า เรื่องแค่นี้มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ท่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพ มากมายนักครับ
Latency
…Latency ก็ยังคงเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับ Bandwidth แต่ถ้าหากสังเกตดีดี เลื่อนลงไปด้านล่าง จะมีการทดสอบ Latency ของแคช L1 และ L2 โดยเฉพาะแคช L1 ที่จะมีการแยกส่วนกัน เป็นของใครของมัน ในแต่ละ Core จะสังเกตได้ว่า Latency นั้นก็ทดสอบออกมาได้ค่าที่ใกล้เคียงกันมากๆเลยทีเดียวครับ แต่สำหรับ Everest ที่ทดสอบนี้ก็ยังเชื่ออะไรมากไม่ได้นะครับ เพราะยังไม่รู้จัก Platform ใหม่ของอินเทลตัวนี้ดีพอ สังเกตได้จากการรายงานค่าแรมเป็น DDR3-199 อันนี้รายงานผิดแน่นอนครับ
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
หน้าต่อไปนี้จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพทางด้านการเล่นเกมสามมิติ ก็เชิญชมกันได้ตามอัธยาศัยครับ
3Dmark01 SE
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Settings Default
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Settings Default
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Hi-Definition Playback
ทดสอบถอดรหัสไฟล์ H.264 พร้อมจับกราฟ CPU Usage ผลที่ได้ก็เป็นไปตามกราฟครับ
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
M2TS File
MKV File
…เราจะเห็นได้ว่า กราฟ CPU Usage ของโปรแกรม Media Player Classic นั้นเป็นคลื่นไม่สม่ำเสมอ และสูงกว่ากราฟขณะเล่นด้วยกราฟฟิคการ์ด nVidia แต่ก็ไม่มากนัก เพราะเมื่อสังเกตจากกราฟ CPU Usage ของ Windows Task manager แล้ว ก็เรียกได้เลยว่า ตัวถอดรหัส HD ของอินเทลนั้น ก็สามารถทำงานแบ่งเบาภาระจากซีพียูได้ดีเลยทีเดียว ( % ที่เห็นแทบจะเท่ากัน)
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
M2TS File
MKV File
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
M2TS File
MKV File
…การทดสอบอุณหภูมิ ด้วยวิธีการดั้งเดิมของเรา คือทดสอบด้วย Prime 95 จะเห็นว่าความร้อนสูงสุดของ Core i5 661 นั้น ไม่ได้เย็นไปกว่า Core i5 750 เสียเท่าไรนักครับ ถึงแม้จะเป็นเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรแล้วก็ตาม สาเหตผมคาดว่าน่าจะเกิดจากตัว ชิป IGP(ที่มีทั้งกราฟฟิค และ เมมโมรีคอนโทรลเลอร์) ภายในซีพียู ที่ยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 45 นาโนเมตรอยู่นั่นเอง และถึงแม้จะปิดการทำงานในส่วน Graphics Card ไปแล้วความร้อนก็ลดไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งก็คงเป็นเพราะในส่วน Core IGP ยังไงก็คงยังต้องทำงานอยู่ดีครับ
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
…ทีนี้เรามาทดลองด้วยโปรแกรม OCCT ในหัวข้อ PSU test ที่จะมีการเรียกใช้งานพลังของ Graphics Card ให้ทำงานอย่างหนักหน่วงพร้อมกับ CPU ไปด้วย ผลชัดเจนเลยครับว่าซีพียูที่รวมเอากราฟฟิคไปไว้ในตัว ก็จะสร้างความร้อนสูงสุดออกมามากกว่า i5 750 เดิมทีมี L3 cache มากกว่าเสียอีก
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
…การใช้พลังงานก็เป็นไปตามคาดครับว่า 32 นาโนเมตรรุ่นใหม่ ก็จะประหยัดกว่า ที่น่าตกใจก็คือ Full load ของ Core i5 661 กับกราฟฟิคในตัวของมัน ด้วยโปรแกรมเทสต์ OCCT Power Supply ที่ซดไฟสุดโหดที่สุด ก็ยังกินไฟเพียงแค่ 117 วัตต์เท่านั้น ประหยัดไฟแบบนี้ ผมว่า Atom ต้องมีหันมาเหลียวหลังกันบ้างแน่ๆครับ และอีกนิด Core i5 รุ่นเดิมจริงๆ ก็ประหยัดไฟมากอยู่แล้วนะเนี่ย กินไฟสูงสุดแค่เพียง 187วัตต์เท่านั้น แบบนี้ผมว่าใช้ Power Supply ติดเคส450Wราคาไม่กี่ร้อยบาทก็เอาอยู่แล้วนะเนี่ย
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Winrar3.91, CPUMark99, wPrime v.2.00
Fritz Chess Benchmark & CrystalMark 2004R3
.
Intel Core i5 661 + GMA Graphics
Intel Core i5 661 + Nvidia GT220
Intel Core i5 750 + Nvidia GT220
Overclocking Results
.
SYSTEM | |
CPU | Intel Core i5 661 |
MAINBOARD | EVGA P55 FTW200 |
MEMORY | G.Skill Trident DDR1600 PC12800 8-8-8-24 2GB*2 |
GRAPHIC CARD |
ATI HD4890 CrossfireX @ 955/1,150MHz |
POWER SUPPLY |
Thermaltake Toughpower 1200W |
CPU COOLER |
Water Cooling |
HARDDISK |
WD Caviar Blue 640GB (WD6400AAKS) |
SOFTWARE | |
OS | Windows 7 Ultimate 32bit |
…ในการทดสอบครั้งนี้ เราใช้ซีพียู Core i5 661 ในการทดสอบเช่นเคยครับ สามารถพามันไปได้ที่ความเร็ว 185×26 = 4.81Ghz !! ด้วยระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ และผ่านมาตรฐานทดสอบความเสถียรไม่มีแอบเนียนตามแบบฉบับ Vmodtech อย่าง Super PI 32m 4 Threads กันเลยทีเดียวครับ
……แต่ในส่วนนี้ เราจะไม่ขอลงลึกมาก เนื่องจากมากันถึงหน้าที่26แล้ว แต่จะเจาะเอาแต่ Benchmark คีย์หลักสำคัญๆที่เป็นตัวตัดสินว่าระบบของเรานั้นเสถียรดีหรือไม่ แบบเน้นๆ มาให้ได้ลองชมกันครับ
SuperPI 1M 1Thread, 32M 1Thread & 4Threads
เนื่องจากปิด Turbo boost และจัดการล็อคตัวคูณซะ ! จึงทำให้ความเร็วที่เห็น ขยับไปเป็น 4.8 Ghz ครับ และ PI 1m ก็แตะระดับ 8.8 วินาที ไปอย่างนิ่มๆ
3DMark03
3DMark05
03-05 CPU Test สุดโหด ก็ผ่านไปได้ด้วยดีครับที่ความเร็วนี้
Everest Ultimate Edition Julia & Mandel
Julia & Mandel ที่โหดสุด ร้อนสุด กินไฟมากสุดในหมู่เบนซ์มาร์ค ก็ผ่านกันแบบสบายๆ
.
Conclusion
…สำหรับ Intel Core i5 เทคโนโลยี 32 นาโนเมตรใหม่ หลังจากที่นั่งชมผลการทดสอบมาหลายตัว ก็น่าจะพอสรุปได้ครับว่า มันก็คือ Core i5 /i7 ที่ถูกนำมาตัดแต่งยีนส์พันธุกรรมใหม่ ที่ถูกผลิตขึ้นภายใต้กระบวนการ 32 นาโนเมตร (แต่ว่าแอบมี 45 nm IGP DIE ติดมาด้วย) ซึ่งนี่ถือเป็นเพียงแค่ก้าวแรก ที่สำคัญก้าวหนึ่งของ Intel ในยุคใหม่ หลังจากที่ประสบความสำเร็จกับซีพียูในตระกูล Core 2 มานานแสนนาน และหากดูจากตลาดปัจจุบัน ก็น่าจะคาดได้เลยว่า Core i3 และ i5 รวมไปถึง Pentium G6xxx ใหม่ที่เปิดตัวไปนั้น น่าจะเข้ามาแทนที่ซีพียูโครงสร้างแบบเก่า (Core 2) ในอีกไม่ช้านี้แน่นอนครับ
สำหรับวันนี้ก็ต้องขอลาไปก่อน สวัสดีครับ
.
.
ขอขอบคุณ
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย
.
.
Special Thanks
ร้านเจได ชั้น1 พันธุ์ทิพย์พลาซ่า เอื้อเฟื้ออุปกรณ์ประกอบการทดสอบ
ร้านAnfieldTech ชั้น1 พันธุ์ทิพย์พลาซ่า เอื้อเฟื้อถ่ายภาพ