Noctua NH-U12P อีกหนึ่งพลังความเย็นจากออสเตรีย
Share | Tweet |
On Test
สำหรับบททดสอบในวันนี้ของเจ้านกฮูก NHU12P นั้น เราจะทำการทดสอบโดยการบรรจุลงในเคส แบบที่คนส่วนใหญ่ใช้งานคอมพิวเตอร์กันจริงๆนะครับ โดยจะทำการทดสอบในห้องปรับอากาศ ที่อุณหภูมิประมาณ 27องศาเซลเซียส และด้วยซิสเต็มเทสที่ผมมองๆดูแล้ว มีอัตตราการปล่อยพลังงานความร้อนออกมาในระดับที่สูง จนสามารถที่จะทำให้ฮีทซิงค์ของเราแสดงศักยภาพออกมาได้ในระดับหนึ่งแล้วครับ ซิสเต็มเทสนั้น ได้รับการเอื้อเฟื้อจาก รร ที่ผมเรียนอยู่เองครับ หุหุ
ในการทดสอบจริงๆเราจะทำการปิดฝาทำการทดสอบนะครับ เคสที่เห็นเป็นเคสยี่ห้อ DGet จะสังเกตุว่า ตัวฮีทซิงค์นั้นโผล่ออกมา จนแทบจะทำให้ปิดฝา”เกือบ” ไม่ลงเลยทีเดียว และที่ต้องหันพัดลมลงข้างล่างแบบนี้ ก็เป็นเพราะว่า มีปัญหากับการติดตั้งตามทางลมของเคสนิดหน่อยครับ เพราะว่าตัวขาล็อคมันจะไปเกยกับตัวคาปาซิเตอร์บริเวณภาคจ่ายไฟ เลยต้องทำการติดตั้งแบบในรูปนั้นเอง และในการทดสอบ เราได้เลือกใช้ซิลิโคนที่แถมมากับตัวฮีทซิงค์ ในทุกๆช่วงของการทดสอบครับ
System Info.
CPU | Intel Pentium 4 530 (Socket 775) @3.4ghz bios set 1.5V |
Ram | DDR400 512mb |
M/B | Asus P5P800 (I865P + ICH5) |
VGA | Chaintech Geforce 4 mx440 |
HDD | Seagate IDE 80gb |
Case | Dget Mid Tower (Front and Rear 80mm fan) |
PSU | Dget 450watt |
Result
*คลิกเพื่อดูรูป Screen ขณะทำการทดสอบ….screen ผลทดสอบซิงค์เดิม
สำหรับผลการทดสอบถือว่าเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับฮีทซิงค์กับพัดลมความเร็วเพียงแค่ 1300rpm เท่านั้นเองครับ นอกจากความเย็นในระดับนี้แล้ว สิ่งที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนั้นก็คือเสียงรบกวนครับ หากเทียบกับซิงค์เดิมแล้ว ชนะขาดเลยทีเดียวครับ
ก็ถือว่าจบกันไปกับอีกหนึ่งบทรีวิวและทดสอบฮีทซิงค์หนึ่งใน 14 King of heatpipe ทีเราได้เคยทำการ Round up ไปแล้วนะครับ ซึ่งผมคิดว่าคงจะเป็นประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย และสิ่งที่ผมต้องการจะย้ำเตือนเสมอ ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นั้นคือ ของทุกๆอย่าง ไม่มีตัวไหนดีที่สุดครับ มีเดียอย่างพวกเรา ไม่ได้มีหน้าที่มานั่งฟันธงว่าตัวโน้นดีที่สุด หรือตัวนี้ดีที่สุด แต่เรามีหน้าที่เพียงแค่นำเสนอที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองที่เป็นกลางต่อสินค้าตัวนั้นๆ ให้ท่านผู้อ่านได้นำไปตัดสินใจกันเองครับ เพราะว่าของแต่ละตัว ก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไปนั้นเอง ก็ฝากกันไว้แค่นี้ก็แล้วกันครับ สำหรับวันนี้ก็ สวัสดีครับ
ขอขอบคุณ;
Somuchmore.biz และ Noctua Austria
อาจารย์สิทธิชัย ที่ให้ซิสเต็มที่ไม่ได้ใช้งานในขณะนั้นมาทำการทดสอบ
ร่วมแสดงความคิดเห็น คลิกที่นี่