NVIDIA @ Computex Taipei 2014
Share | Tweet |
…สำหรับ NVIDIA ใน Computex Taipei 2014 ปีนี้ผมก็จะขอส่งรายงานมาให้ท่าน จากบริเวณที่จัด Press Conference และ Demo Session ในพื้นที่เดียวกันนี้ครับ ซึ่ง Conference session ของ NVIDIA ในวันนี้นั้นก็แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกคือ Notebook (Geforce Mobile) ส่วนที่สองคือ GeForce (Desktop) ส่วนที่สามคือ Cloud Computing (NVIDIA GRID) และส่วนที่สี่คือ Tegra ซึ่งครอบคลุมไปถึงแท็บเล็ต โทรศัพท์ และอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ชิป Tegra ครับ
…เราหลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า เทรนด์ของคอมพิวเตอร์พีซี หรือแล็ปทอปพีซี นั้นกำลังจะได้รับความนิยมลดลงเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงครับ Chart ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นถึงทิศทางตั้งแต่ปี 2011 จนถึง 2013 ว่าภาพรวมของตลาดโน๊ตบุ๊คโดยรวมมีท่าทีที่จะลดลง แต่สำหรับตลาดไฮเอนด์ โดยเฉพาะ Gaming นั้นมีโมเมนตัมที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้ผลิตหลายๆเจ้า ก็ทำนายกันในทิศทางแบบนี้ครับ ว่าตลาดกลุ่มไฮเอนด์นั้นจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
GeForce GTX 800M series นั้นจะมีสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นจากตระกูล 7xxM ขึ้นถึงราว 15-60&
…นอกจาก GTX 8 series นั้นจะเร็วขึ้น แรงขึ้น และประหยัดไฟมากขึ้น NVIDIA ยังได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบตัวเครื่อง โดยแต่เดิมนั้นผู้ผลิตโน๊ตบุ๊ค จะออกแบบดีไซน์การติดตั้งเป็นของตัวเอง ระบบระบายความร้อนด้วยตนเอง แต่สำหรับใน GTX 8xxM series นี้ NVIDIA ได้มีโซลูชั่นให้กับผู้ผลิตโน๊ตบุ๊ค เพื่อนำไปสร้างสรรค์เป็นโน๊ตบุ๊คที่มีขนาดที่บางลงได้กว่าชิป GPU ระดับไฮเอนด์ในรุ่นเก่าๆ
เทคโนโลยีใน GTX 800 series นั้นบรรจุมาใน GEFORCE EXPERIENCE ที่มีทั้ง SHADOW PLAY, BATTERY BOOST, GAMESTREAM
…ที่น่าสนใจนั้นก็คือ Battery Boost ที่ท่านผู้ใช้ GeForce GTX 800m Notebook สามารถดาวโหลดมาใช้เทคโนโลยีนี้ได้ทันที โดยในขณะที่ใช้งานโน๊ตบุ๊กบนแบตเตอร์รี่ ซอฟท์แวร์จะพยายามทำการปรับความเร็วของกราฟฟิคชิป ให้เหมาะสมกับระดับโหลดที่ได้รับจากตัวเกม โดยมีการตั้งตัวแปรหลักไว้ให้เป็นเฟรมเรต กล่าวคือ สมมุตว่าเราต้องการเล่นเกมที่เฟรมเรตเฉลี่ย 30fps ในบางฉากของเกมที่อาจจะมีรายละเอียดไม่มาก ถ้า GPU วิ่งความเร็วเต็มที่ตลอด เฟรมเรตอาจทะลุไปถึง 100fps ซึ้งเป็นเฟรมเรตที่มากเกินความจำเป็นในสภาพแวดล้อมที่เราต้องการใช้แบตเตอร์รี่ให้คุ้มค่า Battery Boost จะช่วยปรับความเร็ว GPU ลงมา ให้สามารถเลี้ยงระดับเฟรมเรตให้อยู่ที่ระดับ 30 fps ได้ โดยค่าเฉลี่ยดังกล่าว สามารถปรับตั้งได้จาก GeForce Experience ได้เอง
GTX 800m Series ใหม่นี้ ทำให้ผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คสำหรับเล่นเกมรุ่้นใหม่ๆ สามารถทำโน๊ตบุ๊กสำหรับเล่นเกม ที่มีขนาดบางและเล็กลงได้ อย่างในภาพนั้นคือ Aorus X3 โน๊ตบุ๊คจอ 13 นิ้วที่มีร้อมกับจอระดับ UHD ที่ผมว่าน่าจะทำให้บีบตัวอักษรให้อ่านยาก แต่ภาพก็คงจะคมกริบกันน่าดู ที่สำคัญ ด้วยบอดี้ที่เล็กและบางขนาดนี้ แต่ภายในมี GeForce GTX 870M 6GB แพ็คมาด้วยกันครับ
…ส่วนถัดมาก็เป็นเรื่องของโลกกราฟฟิคในคอมพิวเตอร์เดสก์ทอพมาตรฐาน ซึ่งในปีนี้ NVIDIA ได้นำเสนอเทคโนโลยี NVIDIA G-Sync ที่จริงๆแล้วก็ได้เปิดตัวมาแล้วสักพักใหญ่ๆ แต่ใน Computex Taipei 2014 ปีนี้ เข้าใจว่ามีมอนิเตอร์ที่รองรับเทคโนโลยี G-Sync ที่เป็นแบรนด์ของไต้หวันเอง เปิดตัวออกมามาก ก็เลยทำให้เราได้เห็นการโปรโมตเรื่องนี้กันเป็นการใหญ่ครับ
…โดยในรูปนั้นก็จะเป็นซิสเต็มที่คอนฟิคมาเพื่อสาธิตการทำงานของ NVIDIA G-Sync พร้อมกับหน้าจอความละเอียดระดับ 4K UHD จาก Acer ที่รองรับ G-Sync โดย G-Sync นั้นจะช่วยทำให้การแสดงผลภาพบนหน้าจอลื่นไหลขึ้น โดยปกติแล้ว หน้าจอที่เราใช้งานอยู่นั้น จะมีการสแกนภาพ (Refresh rate) อยู่ที่่ 60Hz กล่าวคือในทุก วินาที จะมีภาพถูกสแกนออกมาบนจอ 60 ภาพ แต่ตัวประมวลผลกราฟฟิคของเรา เวลาเรนเดอร์ภาพเคลื่อนไหว เฟรมเรตนั้นอาจจะแกว่งไปมา กรณีที่เฟรมเรตนั้นต่ำกว่า 60 เฟรมต่อวินาที หากเราเปิดระบบ V-Sync เอาไว้ ภาพที่เราเห็นในระหว่างที่กราฟฟิคการ์ดของเราเรนเดอร์ออกมาไม่ทัน 60 เฟรมต่อวินาที ก็จะเกิดเป็นภาพซ้ำ ทำให้เราเห็นว่าเกมของเรานั้นกระตุก
…ต่อมาเกมเมอร์ระดับฮาร์ดคอร์ ก็เลยมักเลือกที่จะปิดฟีเจอร์ V-Sync นี้ทิ้งไป เพื่อให้เฟรมเรตที่เราได้รับชมนั้นดูดีขึ้น แต่ก็จะทำให้เกิดอาการภาพเฉือน เนื่องจากว่า จังหวะที่จอภาพสแกนเส้นจากบนลงล่างนั้น กราฟฟิคการ์ดส่งข้อมูลภาพวีดีโอมาให้จอไม่ทัน
…G-Sync นั้นจะช่วยแก้ปัญหาทั้งสองรูปแบบ คือจะเข้ามาช่วยปรับอัตตรา Refresh rate ของจอภาพให้มี dynamic กล่าวคือหากกราฟฟิคการ์ดสามารถเรนเดอร์ได้ 20fps หน้าจอของเราก็จะสแกนภาพที่อัตตรา 20hz เท่านั้น ทำให้ภาพที่แสดงออกมาบนหน้าจอลื่นไหลและไม่มีอาการกระตุก และถ้าหากเฟรมเรตเพิ่มขึ้นมากกว่า 60fps (มากกว่า refresh rate) ตัวจอก็จะปรับสู่โหมดการทำงานปกติโดยอัตโนมัติ
ใน Demo session ก็ได้มี Titan Z ตัวจริงเสียงจริงมาวางโชว์อยู่ในงานด้วยครับ !!
…ต่อมาคือเรื่องของ NVIDIA Grid ที่ NVIDIA พยายามที่จะทำให้ระบบ Cloud Computing นั้น สามารถเข้าถึงแวดวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้มากยิ่งขึ้น กล่าวคือระบบ Cloud Computing ในยุคก่อน สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เพียงแค่ระดับทั่วๆไป คืองานออฟฟิศพื้นๆ เช็คอีเมล หรือพิมพ์งาน แต่สิ่งที่ NVIDIA Grid พยายามให้ก็คือ ทำให้ Cloud Computing ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทั้งในแวดวงเกม และแวดวงอุตสาหกรรมที่ต้องใช้พลังประมวลผลจาก GPU ทำให้การจัดการทรัพยากรณ์ในด้านไอทีนั้นเป็นการควบรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง และง่ายต่อการจัดการมากขึ้น
แสดงหน้าตาของตัวประมวลผล GPU NVIDIA GRID หัวใจสำคัญของระบบ
…ในภาพเราจะเห็นว่า NVIDIA Grid ทำให้การทำงานนั้นง่ายขึ้นอย่างไร ทั้งสามหน้าจอนี้ ใช้ทรัพยากรณ์การประมวลผลกราฟฟิค จากเครื่องเซิฟเวอร์ที่อยู่ในละแวกเดียวกันด้วยกันหมดครับ จะเห็นว่าเครื่อง Mac ก็สามารถเปิดโปรแกรมของ Autodesk ได้อย่างลื่นไหล บนหน้าต่าง Mac OS ซึ่งทำให้ end user สามารถเลือกดีไวซ์ที่พวกเขาใช้งานอยู่ประจำ ให้สามารถนำมาทำงานได้ และหากเป็นการทำงานที่เป็นความลับขององค์กร เครื่อง client เหล่านี้ก็จะปราศจากความเสี่ยงที่จะโดนขโมยเครื่องเพื่อนำข้อมูลในเครื่องไปเผยแพร่ เพราะข้อมูลและงานทั้งหมดจะถูกประมวลผบอยู่บนเซิฟเวอร์
ไม่เพียงแค่ในแวดวงนักออกแบบ หรืออุตสาหกรรม แต่ในแวดวงเกม NVIDIA Grid ก็รองรับการสตรีมมิงเกมผ่านระบบเครือข่าย อย่างในภาพนั้นตัวเกมจะถูกสตรีมมิงมาจากเซิฟเวอร์ที่ญี่ปุ่น ภาระในการประมวลผลกราฟฟิคด้วย GPU ทั้งหมดจะทำบนเครื่อง Grid Server อย่างที่เราได้เห็นกันไปแล้วในงาน NVIDIA Gamer’s Day เมื่อวันที่ 2 ที่ผ่านมา
เรื่องต่อมาก็คือชิป NVIDIA Tegra K1 ตัวใหม่ ที่ตัวซ้ายมือนั้นคือเวอร์ชั่นที่เป็นซีพียู ARM A15 Quadcore CPU ทำงานที่ 2.3 GHz และตัวซ้ายมือที่จะได้เห็นกันในอนาคตก็จะเป็นแบบ Dualcore codename “Denver” ที่ NVIDIA นั้นออกแบบเอง เป็นแบบ 64 บิต ทำงานที่ความเร็ว 2.5GHz ตลอดจนตัวประมวลผลกราฟฟิค 192 CUDA Core ทั้งสองเวอร์ชั่นของ K1 นี้จะสามารถติดตั้งลงบนขาแบบเดียวกัน (pin compatible) ได้อีกด้วย
โปรดักส์ที่มานำเสนอในคราวนี้ก็เป็น Xiaomi MIPAD ที่เป็นแท็บเล็ตที่ใช้ขุมพลัง Tegra K1 ขนาดหน้าจอ 7.9 นิ้ว ราคาเริ่มต้นเพียง 240 USD และตัวท็อป 64GB 270USD ตลอดจนบอร์ดสำหรับนักพัฒนาระบบ Embeded Computer ที่ใช้ชิป Tegra K1 ราคาเปิดมาที่ 199USD เท่านั้น
ในส่วนของ Demo Session ก็มีแท็บเล็ตต้นแบบจาก NVIDIA มาจัดแสดง ซึ่งเอาจริงๆแล้ว ผมค่อนข้างชอบแท็บเล็ตต้นแบบพวกนี้มากครับ ดูดีไซน์เรียบๆง่ายๆ แต่ดุดัน ผิวสัมผัสก็เก็๋บรายละเอียดมาสวยเลยทีเดียว
แท็บเล็ตต้นแบบตัวอื่นๆ พร้อมทั้งตัวคอนโทรลเลอร์สำหรับเล่นเกม ที่น่าจะเป็นจุดเด่นที่สุดของชิปในอุปกรณ์โมบายของ NVIDIA
ระบบ Direct Stylus ที่ผมเคยได้รีวิวไปแล้วในแท็บเล็ต Slate Extreme
หน้าตาของ Jetson TK1 สำหรับนักพัฒนาเครื่อง Embeded system ที่มีพอร์ต I/O มาให้ครบแทบจะเหมือนเครื่องพีซีขนาดย่อมๆเลย เพียงแค่ขุมพลังเป็น Tegra เท่านั้น
ตัวในรูปนี้จะเป็นโซลูชั่น Jetson Automotive Dev. Kit ที่ทั้งชุดรวมไปถึงตัวซอฟท์แวร์สำหรับระบบความปลอดภัยในรถยนต์ อย่างในภาพก็เป็นเรื่องของระบบเตือนการขับขี่ การเปลี่ยนเลน และตรวจจับป้ายกำหนดจำกัดความเร็ว สำหรับผู้ผลิตรถยนต์นำไปพัฒนาต่อ ทุกวันนี้เท่าที่ผมพอทราบ ก็จะมีค่ายรถยนต์อย่าง BMW หรือ Audi ในบางรุ่น ที่ได้เริ่มเอาโซลูชั่นของ NVIDIA ไปใช้งานในระบบอินโฟเทนเมต์ของรถตัวเองแล้ว
สำหรับการเดินทางในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ
.
.