NVIDIA GeForce GT520m : Mobile Discrete graphics for the masses
Share | Tweet |
…เคยสงสัยไหมครับ ว่าทำไมโน๊ตบุ๊กที่ขายๆกันทุกวันนี้ ถึงแม้ว่ามันจะมีสเป็คที่อยู่ในระดับล่างๆมากๆ แต่ผู้ผลิต ก็ยังจะพยายามชูเอาความสามารถของกราฟฟิคการ์ดแบบ discrete graphics ให้พวกเราได้ใช้กัน โลกของโน๊ตบุ๊กในทุกวันนี้ เปลี่ยนไปจากยุคสมัยเมื่อราว 5-6 ปีก่อนมากครับ กราฟฟิคการ์ดแยก (discrete graphics) ในโน๊ตบุ๊ก กลายเป็นของปกติในเครื่องระดับตลาดทั่วๆไป มีให้เลือกเล่นในหลายระดับราคา ผิดกับสมัยก่อน ถ้ามีกราฟฟิคแยก ถึงแม้จะไม่แรงมาก แต่ราคาน่ะก็จะกระโดดไปไกลโพ้นกันเลยทีเดียว
…บทความนี้ จะพาทุกท่านไปพบถึงความสามารถของกราฟฟิคชิปแบบชิปแยก (discrete graphics) ของทางค่าย NVIDIA ในเครื่องโน๊ตบุ๊ก ในซีรียส์ 5 ว่าตกลงแล้ว ทุกวันนี้ที่ทางผู้ผลิตเครื่องหลายๆค่ายพยายามจะยัดเยียดใส่มันมาให้เราได้ใช้กันเนี่ย มันมีประโยชน์อย่างไร ? และมีพัฒนาการที่พัฒนาขึ้นจากกราฟฟิคชิปในรุ่นก่อนๆมาอย่างไรบ้าง
…ทำไมผมถึงต้องพูดว่า มันมีประโยชน์อะไร ? ถ้ามองให้ลึกลงไปถึงเกมการแข่งขันในโลกกราฟฟิคของทุกวันนี้ หากใครที่ตามข่าวอยู่ก็น่าจะพอทราบกันครับว่า ทุกวันนี้ ฟีเจอร์พื้นฐานอย่างการถอดรหัสวีดีโอ 1080P กราฟฟิคออนบอร์ด ออนชิป ธรรมดาๆ ที่ไม่ต้องเป็นชิปแยก ก็สามารถทำได้แล้ว รวมไปถึงเกมในระดับ DirectX11 กราฟฟิคภายในตัวซีพียู (ออนชิพ) ก็สามารถทำได้แล้วเช่นกัน ซึ่งมันก็ดูเหมือนความสามารถเหล่านี้ ก็น่าจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของคนใช้โน๊ตบุ๊กทั่วๆไปที่ไม่ได้เน้นการทำงานทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษอยู่แล้ว
…ดังนั้นกราฟฟิคชิปอย่าง GeForce GT520 ซึ่งถือได้ว่าเป็นกราฟฟิคชิปที่น่าจะมีความก้ำกึ่งกันในเรื่องของราคาขายที่เวลาไปอยู่ในเครื่องโน๊ตบุ๊กแล้ว อาจจะไล่ๆกับเครื่องที่ไม่มี discrete graphics เพราะ GT520 เรียกได้ว่าเป็นกราฟฟิคชิปแบบชิปแยกในรุ่นเล็กที่สุดของซีรียส์ 5 จากทางค่ายสีเขียวนี่เองครับ
…กล่าวคือ กราฟฟิคชิปแบบชิปแยก จำเป็นที่จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวเอง ไม่ให้มีประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ที่ทาง Vmodtech เมื่อนานมาแล้ว เราเคยทดสอบกราฟฟิคชิปแยกในโน๊ตบุ๊กรุ่นหนึ่งเทียบกับออนบอร์ด แล้วออนบอร์ดกับทำความแรงในเกมบางเกมได้ดีกว่า !?!? ซึ่งนั้นก็เป็นแค่อดีตเมื่อนานมาแล้วครับ สำหรับวันนี้ โลกกราฟฟิคนั้นก้าวไปไกลกว่าเดิมมากแล้ว ยักษ์ใหญ่าอย่าง NVIDIA เท่าที่ผมตามข่าวมาอยู่เรื่อยๆก็ดูเหมือนกับว่าเขาจะพยายามที่จะเพิ่มมูลค่าเพิ่มในตัวกราฟฟิคชิปของตนเองให้ดูดีขึ้นนอกจากประสิทธิภาพ ที่มันจะต้องเพิ่มขึ้นไปตามกลไกของโลกกราฟฟิค และกลไกของตลาดกราฟฟิคอยู่แล้ว
…เมื่อเราพิจารณาจากสเป็คของตัว GT520M ตามชาร์ทอิงจาก reviewer’s guide ของทาง NVIDIA เอง ก็จะพบว่า GT520m นั้นมีรายละเอียดเชิงสถาปัตยกรรม ที่คล้ายกับ GT330m เดิมอยู่มากเลยครับ ในส่วนของ CUDA Cores ที่มี 48 Cores เหมือนกัน ความสามารถที่เป็นสิ่งที่จะพบได้ในกราฟฟิคชิปซีรียส์ 5 อย่างเช่นการสนับสนุน DirectX11 อย่างเต็มรูปแบบ รวมไปถึงเทคโนโลยีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มมูลค่าในตัวของชิปกราฟฟิค ดังนี้ครับ
NVIDIA Optimus
…ตัว เครื่องโนตบุก ที่มีการนำเอาเทคโนโลยี NVIDIA OPTIMUS มาใช้นั้น จะมีการประสานการทำงานระหว่าง Graphics processor ที่เป็นชิปแยกอย่าง Geforce กับ Graphics processor ภายในตัวซีพียู โดยส่วนใหญ่แล้ว ระบบที่ใช้ Optimus นั้นจะใช้งานแสดงผลผ่าน Graphics processor ภายในซีพียู Intel เป็นหลัก และจะมีการเรียกใช้ชิป Geforce ที่เป็นชิปแยก เมื่อมีการใช้งานในด้านของกราฟฟิค โดยระบบจะทำการเปลี่ยนและสลับการทำงานโดย อัตโนมัติ โดยไม่มีอาการจอภาพมืดดับ ดีเลย์ หรือรีสตาร์ตเครื่อง และ นอกจากนี้ ผู้ใช้ก็จะสามารถเลือกใช้งานตัวประมวลผลกราฟฟิคได้เองแยกแต่ละแอพพลิเคชั่นกั
นอย่างอิสระ ผิดกับระบบสลับการทำงานของกราฟฟิคที่สมัยก่อนผู้ผลิตโนตบุกจะพัฒนากันเอง ที่การสลับการทำงานของกราฟฟิคนั้นจะยังมีอาการจอภาพมืด ดีเลย์ หรือในบางครั้งต้องการรีสตาร์ตเครื่องด้วย
เปิดให้มี dialog แบบนี้ ก็สะดวกเลือกใช้งานไปอีกแบบครับ
…ซึ่ง ผลลัพท์ที่ได้ก็คือ เราจะได้ใช้ Notebook ที่มีทั้งประสิทธิภาพกราฟฟิคที่ดีจากชิปของ NVIDIA ที่ซึ่งอาจจะมีการบริโภคพลังงานที่สูงกว่ากราฟฟิคแบบอินติเกรต และในเวลาที่ต้องการใช้งานแบบแสตนบายกับแบตเตอร์รี่ยาวๆ ก็สลับไปเลือกใช้กราฟฟิคอินตริเกรตเพื่ออัตตราการสิ้นเปลืองพลังงานที่ต่ำ กว่านั้นเองครับ
NVIDIA Verde Driver
…หมดยุคแล้วครับ ที่เราต้องมานั่งรออัพเดตไดร์เวอร์ จากทางผู้ผลิตโน๊ตบุ๊ก ณ ตอนนี้ NVIDIA ได้สร้างไดร์เวอร์ที่เรียกได้ว่าเป็นไดร์เวอร์กลางสำหรับกราฟฟิคชิปแยกในโน๊ตบุ๊ก ในนามว่า Verde ซึ่งมันจะสามารถทำงานร่วมกันได้กับโน๊ตบุ๊กเกือบทุกยี่ห้อ ย้ำว่าแค่เกือบนะครับ ที่ใช้กราฟฟิคชิปในรุ่นที่ตัวไดร์เวอร์ Verde จะรองรับการใช้งานกันได้
…ภาพด้านบนจะเห็นว่า มีการเปิดใช้โปรแกรม vReveal ที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี CUDA ที่จะนำเอาพลังของ GPU มาช่วยในการประมวลผลการเข้ารหัสวีดีโอ ตัวไดร์เวอร์ Verde นั้นก็จะแสดงให้เห็นครับว่า มีโปรแกรมอะไรบ้าง ที่กำลังใช้งานชิป GPU อยู่บ้าง
GPU-Accelerated Web
…หลายคนคงสงสัยว่า GPU มันจะมาช่วยอะไร แค่ดูเว็บ แน่นอนครับทุกวันนี้เทคโนโลยีการเขียนโปรแกรมสำหรับหน้าเว็บเพจนั้นพัฒนาไปไกล ภาษา HTML 5.0 สำหรับเว็บสมัยใหม่นั้น สนับสนุนการสร้างวีดีโอบนหน้าเว็บ โดยไม่ต้องพึ่งความสามารถของตัว Flash อีกต่อไป แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ต้องเป็นภาระให้กับหน่วยประมวลผลมากขึ้น ซึ่งกราฟฟิคชิปที่มีคุณสมบัตินี้ จะมีความสามารถในการช่วยในการถอดรหัสวีดีโอใน HTML 5.0 ด้วยตัว GPU เอง ทำให้สามารถเรนเดอร์ภาพได้เร็วขึ้นและลื่นไหลขึ้น ดังการทดสอบที่ผมได้ทดลองมาดังนี้
.
การทดลองของผม ผมได้ใช้เดโม Fishbowl Benchmark ของ HTML 5.0 ในโปรแกรม Internet Explorer 9.0 ที่สนับสนุนการเร่งควาเร็ว HTML 5 ด้วย GPU อย่างเต็มรูปแบบ มาทดลองครับ
Intel Integrated Graphics (Core i5 2nd gen)
ทดลองออกมาด้วยการเลือกจำนวนปลาในอ่างปลาแบบ Auto ตัวกราฟฟิคชิปของอินเทล สามารถรับมือกับปลาได้เป็นจำนวน 232 ตัว !
NVIDIA GeForce GT520M
สังเกตได้ว่า Verde Driver จะโชว์ว่ามีการใช้งานกราฟฟิคอยู่จากโปรแกรม IE และจำนวนปลาในโหล ก็มากขึ้นกว่ากราฟฟิคของอินเทลชัดเจน ! แรงกว่าจริงๆด้วยครับ
Direct X 11 Tesselation
…ผมจำได้ว่าผมเคยพูดถึงเรื่องราวของเทคนิค Tesselation ในการสร้างภาพกราฟฟิคของ DirectX 11 ไปแล้วในบทความเมื่อนานมามากแล้ว แน่นอนครับว่าการ์ด GT520m ก็สนับสนุนการทำ Tesselation ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของ DirectX 11 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ ก็จะเป็นไปตามรูปด้านล่าง
No Tesselation
Tesselation Enabled
Tesselation นั้นจะช่วยทำให้นักพัฒนากราฟฟิค สามารถเติมแต่งรายละเอียดบนพื้นผิวแบนๆราบๆ ให้ดูีความลึก และรายละเอียดที่สมจริงได้โดยไม่ต้องใส่ Texture หรือ Polygon เพิ่มเติมสำหรับส่วนที่นูนออกมา หรือยุบลงไป ทำให้ประหยัดกำลังของกราฟฟิคชิป และได้ภาพที่สวยงามสมจริงมากยิ่งขึ้น
จริงๆคุณสมบัตินี้ กราฟฟิคชิปของอินเทล ณ ปัจจุบัน ก็สนับสนุนแล้วเช่นเดียวกัน
Gaming Performance
…สำหรับ การทดสอบนี้ ผมก็ได้รับเครื่องที่เป็น base system มาจากทาง NVIDIA เป็นเครื่อง Asus U30s ซึ่งเป็นซีรียส์ที่เน้นในเรื่องของการพกพาของทาง Asus มาพร้อมกับซีพียู Core i5 2410 พร้อมกับกราฟฟิค GT520 รูปร่างหน้าตาก็ประมาณรูปนี้ครับ
CPUZ & GPUZ
…รายละเอียดจาก GPUZ และ CPUZ คลิกไปดูกันได้เลยนะครับ
…ในการทดสอบในบทความนี้ ผมจะเน้นทดสอบให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างกราฟฟิคออนชิป ออนบอร์ด เทียบกับตัว GT520 ให้เห็นถึงความแตกต่างเท่านั้นนะครับ จะไม่ได้เทสละเอียดจัดเหมือนกับบทความทดสอบการ์ดจอทั่วไปตามมาตรฐานของเว็บเรา เนื่องมาจากจุดประสงค์ของตัวเครื่องโน๊ตบุ๊กเอง ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ถูกใช้งานเล่นเกมอย่างหนักหน่วงกันอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นถึงขนาดนั้นครับ เทสเอาแค่ให้พอรู้ว่าดีแค่ไหนก็พอ
Cinebench R11.5
Intel Integrated Graphics (Core i5 2nd gen)
NVIDIA GeForce GT520M
สำหรับโปรแกรมทดสอบกราฟฟิคในระบบ OpenGL อย่าง Cinebench ก็จะเห็นได้ชัดเจนครับว่า ประสิทธิภาพของ GT520m ดีกว่ากราฟฟิคอินติเกรตถึงกว่า 50% ด้วยกัน
3DMark06
Intel Integrated Graphics (Core i5 2nd gen)
NVIDIA GeForce GT520m
…สำหรับการทดสอบ 3Dmark ผมยังคงยืนหยัดอยู่กับ 06 อยู่นะครับเนื่องมาจากมาตรฐานของการทดสอบโน๊ตบุ๊กที่ผ่านๆมาผมก็ยังคงอิงกับตัวนี้ สำหรับ 3Dmark 11 นั้นตัวกราฟฟิคชิปของอินเทลเอง ไม่สนับสนุนการรันโปรแกรมเลย ผมจึงตัดสินใจไม่ทำการทดสอบ
Colin Mcrae Dirt 2
ทดสอบที่ความละเอียด 800×600 ส่วนค่าที่เหลือ ปล่อยไว้เป็น default หมดเลยครับ
Intel Integrated Graphics (Core i5 2nd gen)
NVIDIA GeForce GT520m
ส่วน Dirt 2 นี่ ความแรงก็เพิ่มขึ้นมา เรียกได้ว่า เกินกว่าครึ่งเลยทีเดียว
Devil may cry 4
Intel Integrated Graphics (Core i5 2nd gen)
NVIDIA GeForce GT520m
จาก Rank D ขึ้นมาเป็น B เลยทีเดียว
Street Fighter IV
Intel Integrated Graphics (Core i5 2nd gen)
NVIDIA GeForce GT520m
The last remnant
Intel Integrated Graphics (Core i5 2nd gen)
NVIDIA GeForce GT520m
.
.
.
…ก็จะสังเกตได้ว่า เทคโนโลยีของกราฟฟิคในโน๊ตบุ๊กทุกวันนี้ ก้าวพัฒนาไปมากแล้วครับ แต่อย่างไรก็ดี ผมยังคิดว่า โน๊ตบุ๊กส่วนใหญ่แล้ว ก็ยังคงมีความแรง ที่ยังคงก้าวตามหลังเครื่องเดสก์ทอพอยู่หนึ่งก้าวเสมอ ในระดับราคาที่เท่าๆกัน
…หลายๆคนอาจจะไม่เข้าใจและมองว่าไม่แฟร์ ว่าเอา 520 มาฟัดกับ Intel แบบนี้ ที่ทำแบบนี้ ก็เพราะต้องการจะให้ท่านได้เห็นถึงประโยชน์ ของกราฟฟิคชิปแบบชิปแยกนั้นแหละครับ ว่าถึงแม้มันจะเป็นรุ่น entry level ระดับล่างสุด แต่มันก็ยังมีประโยชน์บ้าง
…ซึ่งประโยชน์ที่เราได้จากกราฟฟิคชิปแยกรุ่นล่างๆนี้ นอกจากประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นฟีเจอร์เล็กๆน้อยๆ รวมไปถึงความสามารถในการถอดรหัสวีดีโอ ที่อาจจะดีกว่ากราฟฟิคออนบอร์ด หรืออินติเกรตอีกด้วยซ้ำ
…อย่างไรก็ดี การเลือกใช้กราฟฟิคชิปแยก ผมยังคงขอยืนยันว่า ไม่ฟันธงครับ ว่า จะต้องมี ในโน๊ตบุ๊กทุกเครื่อง เพราะเนื่องจากฟีเจอร์ที่ผู้ผลิตกราฟฟิคชิป พยายามใส่มาให้ และความต้องการใช้ฟีเจอร์เหล่านั้น มันเป็นความต้องการของปัจเจกบุคคล ซึ่งเราไม่อาจทราบได้
…ซึ่งโดยสรุปแล้วก็คือ ถ้าใครที่คิดว่าจะซื้อเครื่องมาไว้ใช้พิมพ์งาน เล่นเน็ท หรือเน้นพกพาบ่อยๆจริงๆ แล้วพอรับได้กับความสามารถของกราฟฟิคอินติเกรต ที่เรียกว่า ไม่ได้ดี แต่ก็ไม่ได้แย่จนรับไม่ได้เสียทีเดียว ผมก็ยังคงมองว่ากราฟฟิคชิปแยก เป็นของฟุ่มเฟือยครับ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม ที่โจทย์ของคุณบอกว่า “เล่นเกม” แน่นอน หันหัวไปหาทาง Discrete graphics ได้ทันทีโดยไม่ต้องสงสัยเลยครับ เอาแค่ประสิทธิภาพของการทดสอบในบทความนี้ เทียบกับตัวออนชิปของอินเทลเอง ก็แรงเกินกว่า 50% อยู่แล้ว
.
.