NVIDIA GeForce GTS 450 1024MB GDDR5 SLI Review
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ สำหรับวันนี้วันที่ 13 กันยายน 2010 ก็จะเป็นวันเปิดตัวพร้อมกันทั่วโลกของ GPU น้องใหม่ล่าสุดจาก NVIDIA ในตระกูล Fermi ที่มากันในรหัส GF106 ในชื่อทางการค้าอย่างเป็นทางการว่า GeForce GTS 450 ซึ่งทาง Vmodtech.com เราก็มีมานำเสนอให้พ่อแม่พี่น้องชาวไทยได้รับชมพร้อมๆกับชาวโลกกันอีกครั้งนะครับ โดยหลังจากชมบทความ GIGABYTE NVIDIA GeForce GTS 450 1024MB GDDR5 Review ที่มากันในรูปแบบการ์ดเดี่ยวไปแล้ว คราวนี้ก็มาชมกันแบบการ์ดคู่กันบ้างนะครับ ซึ่งในบทความนี้จะมากันในรูปแบบ SLI ด้วยการจับมือกันของแบรนด์ GIGABYTE และ EVGA ก่อนอื่นไปชมรายละเอียดต่างๆของการ์ดรุ่นนี้กันก่อนนะครับ
NVIDIA Specifications
NVIDIA GeForce GTS 450 ชื่ออย่างเป็นทางการของชิปนี้แน่นอนครับ
ถูกวางในตำแหน่งยอดฮิตแถวสี่แยกราชประสงค์-ราชดำเนิน “The Sniper”
Specs. เมื่อเทียบกับรุ่นพี่ เป็นรองพอสมควรด้วย 192 CUDA Cores 4 Polymorph Engines แต่ราคาก็ถูกกว่ากันเยอะนะ
หน้าตา Diagram ตัวชิป จะเห็นว่าแต่ละ SM มี CUDA Cores ถึง 48Cores แบบนี้ยังมีความหวังว่าจะแรงอยู่ครับ
หน้าตาชิป GPU GF106 ตัวเป็นๆครับ
ภาพถ่ายติดบัตร หันหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นดำ
ภาพถ่ายใต้ชิปครับ
ภาพถ่ายตัวการ์ด Reference ของ GeForce GTS 450 จากทาง NVIDIA ครับ
สเป็คต่างๆจาก NVIDIA ตัวการ์ดจะยาวเท่ากับ GTX 460 กันเลยครับ
NVIDIA เขาบอกมาว่าตัวนี้เขา Overclock ได้แรงได้ไกล แบบนี้เดี๋ยวจัดไปครับ
เสียงระดับ Hollywood DOLBY TRUE HD DTS-HD Master Audio ผ่าน HDMI ต้อง NVIDIA GF104-GF106 Only!!
เป้าหมายของการ์ดจอตัวนี้คือตลาดจอที่ใหญ่ที่สุดคือขนาดตั้งแต่ 1280X1024-1680X1050
ต่อออก 3จอได้อย่างง่ายดายไม่วุ่นวายครับ สำหรับ NVIDIA Surround แต่ท่านต้องมี 2การ์ดนะครับ
NVIDIA 3D Vision ต้อง NVIDIA เท่านั้นครับ
…ไดรเวอร์ตัวใหม่ ลงง่าย หน้าตาใหม่สวยงาม เสียงเพราะเสียงดี ต้องไดรเวอร์ตั้งแต่เวอร์ชัน 260.XX หรือชื่อย่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า R260 ครับ แต่ว่าบทความนี้ ผมไม่ได้ใช้ไดรเวอร์ตัวนี้นะครับ เพราะว่าลงไม่ทัน เง้อ…
.
…ตามด้วยภาพของแผง PCB แบบ Reference จากทาง NVIDIA ซึ่งการ์ด GIGABYTE และ EVGA ในบทความนี้ ก็จะใช้แผง PCB ลักษณะเดียวกับภาพนี้เช่นกันครับ
ตามด้วยตารางเปรียบเทียบสเป็คคร่าวๆกับการ์ดรุ่นอื่นๆกันต่อเลยครับ
GeForce
GTS 450 |
Radeon
HD 5770 |
GeForce
GTX 460 |
Radeon
HD 5830 |
GeForce
GTX 465 |
Radeon
HD 5850 |
GeForce
GTX 470 |
Radeon
HD 5870 |
GeForce
GTX 480 |
Radeon
HD 5970 |
|
Shader units | 192 | 800 | 336 | 1120 | 352 | 1440 | 448 | 1600 | 480 | 2x 1600 |
ROPs | 16 | 16 | 32 | 16 | 32 | 32 | 40 | 32 | 48 | 2x 32 |
GPU | GF106 | Juniper | GF104 | Cypress | GF100 | Cypress | GF100 | Cypress | GF100 | 2x Cypress |
Transistors | 1170M | 1040M | 3200M | 2154M | 3200M | 2154M | 3200M | 2154M | 3200M | 2x 2154M |
Memory Size | 1024 MB | 1024 MB | 768 MB | 1024 MB | 1024 MB | 1024 MB | 1280 MB | 1024 MB | 1536 MB | 2x 1024 MB |
Memory Bus Width | 128 bit | 128 bit | 192 bit | 256 bit | 256 bit | 256 bit | 320 bit | 256 bit | 384 bit | 2x 256 bit |
Core Clock | 783 MHz | 850 MHz | 675 MHz | 800 MHz | 607 MHz | 725 MHz | 607 MHz | 850 MHz | 700 MHz | 725 MHz |
Memory Clock | 900 MHz | 1200 MHz | 900 MHz | 1000 MHz | 802 MHz | 1000 MHz | 837 MHz | 1200 MHz | 924 MHz | 1000 MHz |
Price | $129 | $159 | $199 | $230 | $289 | $310 | $349 | $400 | $499 | $630 |
…จะเห็นได้ว่า สเป็คและราคาของการ์ดรุ่นนี้จะมาต่ำกว่าพรรคพวกในตารางเปรียบเทียบนี้ทั้งหมดเลยนะครับ แต่ทางด้านประสิทธิภาพความแรงจะด้อยที่สุดในกลุ่มตารางนี้หรือไม่ คงต้องดูผลทดสอบกันอีกทีนะครับ ซึ่งหลังจากเปรียบเทียบกันจบแล้ว หน้าถัดไปก็ไปชมตัวการ์ดกันต่อเลยครับ
.
Graphic Card Appearance
หน้าตาของตัวการ์ดจาก GIGABYTE ครับ Review เต็มๆของการ์ดนี้ รับชมได้จากบทความ นี้ เลยครับ
หน้าตาของตัวการ์ดจาก EVGA ครับ ซึ่งตัว Review เต็มๆของการ์ดนี้รอชมจากลุงเชนได้เลยนะครับหลังจากจบบทความนี้
.
System Configuration
.SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel Core i7 920 @ 4.45 GHZ |
.Motherboard | ..GIGABYTE GA-X58A-UD7 |
.Memory | ..G.Skill Trident PC12800 CL6D-6GBTD 2GB*3 Triple Channel |
.Graphic Card | ..GIGABYTE NVIDIA GeForce GTS 450 1024MB GDDR5 +EVGA NVIDIA GeForce GTS 450 1024MB GDDR5 |
.Harddisk | ..WD1002FAEX SATA3 64MB Cache 1TB |
.CPU Cooler | ..Water Cooling @ Ambient 25C |
.Power Supply | ..antec TPQ-1200 Overclocking Version 1200W |
.Operation System | ..Windows 7 Ultimate 32-bit |
วางเซตกันง่ายๆ ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 25องศาเซลเซียส
LinX 0.6.4 Problem size 15500 Memory used 1846MB (All of 32-bit OS) 20Loops
Core i7 920 จัดความเร็วไปที่ 4.45GHz พอครับ ลุย!
Overclocking & Graphic Card Information
GPU-Z
.
.
.
…จากความเร็วเดิมของทั้งสองการ์ดผมจะไม่เทสต์นะครับ เพราะว่าทั้งสองการ์ดความเร็วเดิมที่ตั้งมาจากโรงงานจะไม่เท่ากัน ผมจะเทสต์แค่ที่ความเร็ว 783/1,566/3,608MHz ที่เป็นค่าความเร็วมาตรฐานของ NVIDIA และเทสต์ความเร็วขณะโอเวอร์คล็อคที่ 940/1,880/4,400MHz เท่าๆกันทั้ง 2การ์ดเลยนะครับ ซึ่งการ์ดคู่แบบนี้ ผมขอไม่เทสต์ FurMark นะครับ เพราะกลัวว่าจะร้อนเกินเดี๋ยวของเขาเสียหาย และวันนี้เราจะทดสอบกันที่ 2ความเร็วนี้ยาวๆ ให้ชมกันเต็มอิ่มไปเลยนะครับกับ 5 Benchmark, 8 GameTest รวมเทสต์ทั้งหมด 28 รอบ ไปชมกันได้ที่หน้าถัดๆไปเลยครับ
.
3DMark03
…จะมีการนำผลการทดสอบของ GeForce GTX 480 , GeForce GTX 470 , Radeon HD 5870 , GeForce GTX 465 , GeForce GTX 460 1024MB , GeForce GTX 460 1024MB SLI , Radeon HD 5770 , Radeon HD 5770 CrossfireX และ GeForce GTX 450 ในคราวที่แล้ว ที่ใช้ Systems ในการทดสอบทุกๆอย่างเหมือนกัน มาเปรียบเทียบกันในบทความนี้ด้วยนะครับ
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
3DMark05
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
3DMark06
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
3DMark Vantage
.
PhysX Disable
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
PhysX Enable
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
Unigine Heaven Benchmark 2.1
.
SETTINGS
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
Aliens VS. Predator DX11 Benchmark
.
เอาแบบ Default แล้วเทสต์เลยนะครับ ไปชมผลกันเลยครับกับเกมส์ DX11 ภาพสุดสวยเกมส์นี้
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
DIRT 2 DX11 Benchmark
.
SETTINGS
.
.
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
Devil May Cry 4 DX10 Benchmark
.
SETTINGS
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
FINAL FANTASY XIV Benchmark
.
SETTINGS
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
Resident Evil 5 DX10 Benchmark
.
SETTINGS
.
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
Street Fighter IV Benchmark
.
SETTINGS
.
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
The Last Remnant Benchmark
.
SETTINGS
เซตได้แค่ Resolution 1,920X1,200 Full Screen เพียงเท่านั้น สำหรับ Game Benchmark ตัวนี้
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
Crysis WARHEAD Benchmark
DX10 ENTHUSIAST Mode 1,920X1,200 AA 0X
.
NVIDIA Default Clock Speed @ 783/1,566/3,608MHz
.
Overclock Speed @ 940/1,880/4,400MHz
.
Power Consumption
…ปิดท้ายการทดสอบคราวนี้ด้วยการเทสต์ Power Consumption แบบบ้านๆนะครับ ซึ่งทางผู้ทดสอบต้องขอออกตัวก่อนว่าไม่ได้เตรียมตัวอะไรมาก อุปกรณ์ก็มีแต่ PLUG-IN Power Monitor อยู่แค่ตัวเดียว ก็จับเสียบกับปลั๊กเทสต์โชว์ไฟ AC Input กันอย่างเดียวนะครับ ซึ่ง Power Supplies ตัวที่ใช้ทดสอบนี้จะได้ 80 Plus Silver Certified ทางผมก็ขอคิดหยาบๆเลยนะครับว่า Power Supplies ตัวนี้ มีประสิทธิภาพในการจ่ายไฟอยู่ที่ 85% และระบบที่เทสต์ก็ยังคงเป็นระบบและความเร็วเท่ากับที่ทดสอบในบทความทั้งหมด ซึ่งก็ทำให้กินไฟมากพอสมควร เพราะว่าใช้ไฟ VCore ขณะ FullLoad สูงสุดถึง 1.520V. ก็ทำให้ระบบโดยรวมกินไฟมากเป็นธรรมดาครับ ไปชมกันการเปรียบเทียบอัตราการกินไฟขณะ FullLoad แบบสุดขีดด้วยซอฟแวร์จากนรก OCCT 3.1.0 Power Supply Mode จับภาพในช่วงที่มีอัตราการกินไฟพีคถึงขีดสุดของแต่ละการ์ด ซึ่งการ์ดที่นำมาเปรียบเทียบจะถูกเทสต์ที่อัตราความเร็วเดิมและไฟเลี้ยงแบบเดิมๆนะครับ และสุดท้ายการ์ดที่นำมาเปรียบเทียบในการทดสอบนี้จะไม่ครบทุกโมเดลเหมือนกับที่นำมาทำการทดสอบเปรียบเทียบไปก่อนหน้านี้นะครับ เนื่องจากมีบางส่วนได้ทะยอยคืนไปบ้างแล้ว ไว้โอกาสถัดๆไปจะพยายามหาหยิบยืมมาเปรียบเทียบให้ครบถ้วนกันอีกทีในภายหลังนะครับ ไปชมผลการเปรียบเทียบกันได้เลยครับ
.
NVIDIA GeForce GTX 480 1536MB GDDR5
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 480 1536MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 807Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 686Watt
.
NVIDIA GeForce 9800GX2 1024MB GDDR3
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce 9800GX2 1024MB DDR3 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 791Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 672Watt
.
ATI Radeon HD 5870 1024MB GDDR5
…System ที่ใช้ ATI Radeon HD 5870 1024MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 702Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 597Watt
.
NVIDIA GeForce GTX 460 1024MB GDDR5
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 460 1024MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 661Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 562Watt
.
ATI Radeon HD 5770 1024MB GDDR5
…System ที่ใช้ ATI Radeon HD 5770 1024MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 625Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 531Watt
.
NVIDIA GeForce GTX 450 1024MB GDDR5
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 450 1024MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 807Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 526Watt
.
NVIDIA GeForce GTX 450 1024MB GDDR5 SLI
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 450 1024MB DDR5 SLI จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 747Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 635Watt
.
Conclusion
…ก็มาถึงบทสรุปปิดท้ายกันแล้วนะครับสำหรับการทดสอบการ์ด NVIDIA GeForce GTS 450 1024MB GDDR5 ในรูปแบบ SLI ก็แรงกันพอใช้ได้กันไปกับเกมส์ในยุคปัจจุบันนี้จนถึงอนาคตเลยครับกับ PhysX, DX11 Tessellation พอเล่นการ์ดคู่แบบนี้ จอขนาด Full HD ก็ไม่ต้องกลัวกันแล้วล่ะครับ ส่วนเรื่องโอเวอร์คล็อคก็ลากกันได้ไกลพอสมควรจากความเร็วเดิม ลากแล้วก็แรงขึ้นเห็นๆทุกๆการทดสอบแบบไม่มีคะแนนร่วงแต่อย่างใด เรื่องความร้อนและอัตราการบริโภคไฟต่อตัวก็ทำได้น้อยดี แต่พอเล่นการ์ดคู่ก็กินไฟกันเอาเรื่องเหมือนกันครับ และสุดท้ายเมื่อนำการ์ดรุ่นนี้ไปเปรียบเทียบกับ HD 5770 CrossfireX ที่เหมือนจะเป็นมวยรุ่นเดียวกัน ก็จะมีเรื่อง PhysX นี่แหละครับที่ GTS 450 SLI ชนะแน่ๆ เพราะว่าทางฝั่ง ATI ไม่มีเทคโนโลยีตัวนี้ แต่พอมาถึงเรื่องประสิทธิภาพโดยรวมแล้วก็จะออกมาในแนวผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกันไปครับ แต่ผลโดยรวมแล้ว GTS 450 SLI เกือบทั้งหมดจะออกไปทางแพ้ซะมากกว่า แต่กับราคาขายของการ์ดนี้ที่ประมาณ 4,590บาท เท่าที่ดูจากราคาแล้วการ์ดรุ่นนี้น่าจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับ HD 5750 ที่มีราคาในระดับสี่พันกว่าๆเหมือนกันมากกว่านะครับ ซึ่งไว้โอกาสหน้าถ้ามีโอกาสก็จะหา HD 5750 มาทดสอบเปรียบเทียบกันอีกทีนะครับ แต่จริงๆแล้ว GTS 450 ยังอาจจะมีความแรงซ่อนอยู่อีกก๊อกนะครับ เนื่องจากว่าไดรเวอร์ตัวที่ผมใช้ในบทความนี้เป็นไดรเวอร์เก่า ไม่ใช่ R260 ซึ่งถ้าใช้ R260 อาจจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ เหมือนกับ GTX 470 ที่ตอนออกมาใหม่ๆก็ตาม HD 5870 ไม่ค่อยทัน แต่พอไปๆมาๆ เจอไดรเวอร์ใหม่ๆมา แซงไปได้เกือบหมดทุกหัวข้อซะงั้น ไว้ลองไดรเวอร์ใหม่แล้วจะเอามาให้ชมกันอีกครั้งนะครับ และสำหรับบทความนี้ผมก็ขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้ และสำหรับบทความนี้ผมก็ขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้ากับ EVGA GeForce GTS 450 ที่จัดทำโดยลุงเชนนะครับ สวัสดีครับ
.
.
ขอขอบคุณ
STREK (Thailand) Co.,Ltd.
Tel : (662) 274-9294-5 Fax : (662) 693-9303
Hotline : (662) 276-3339
E-Mail : [email protected]