NVIDIA GeForce GTX 560 Ti 1GB GDDR5 Debut Review
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ สำหรับวันนี้วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2554 กับเวลาของประเทศไทยที่ 21.00น. ก็ถึงเวลาที่ทาง NVIDIA จะเปิดตัวกราฟฟิคการ์ดรุ่นใหม่ที่ใช้ชิป GTX 560 Ti ที่ใช้รหัสพัฒนาใหม่ว่า GF114 ซึ่งทางประเทศไทยเราและ Vmodtech.com ก็ได้รับเกียรติจากทาง NVIDIA โดยตรงโดยการให้ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างมาทดสอบรีวิวกันอีกครั้ง เพื่อให้ชาวไทยเราได้ชมบทความภาษาไทยพร้อมๆกันกับชาวโลกอย่างไม่น้อยหน้าใคร ก่อนอื่นไปชมรายละเอียดต่างๆทางด้านเทคนิคของตัวการ์ดที่ใช้ชิป GTX 560 Ti กันก่อนนะครับ
The New Hunter หน่วยล่าสังหารตัวใหม่ คือ Presenter ของ GTX 560 Ti ในคราวนี้ครับ
สเป็คของการ์ดตัวนี้ จากทาง NVIDIA ครับ
…หน้าตาของ Diagram ในชิป GF114 ซึ่งจะเหมือนกับ GF110 เลยนะครับ แต่ใน GF114 จะมี 8 PolyMorph Engines ชุดละ 48 CUDA Cores รวมเป็น 384 CUDA Cores ส่วน GF110 จะมี 7 PolyMorph Engines ชุดละ 48 CUDA Cores รวมเป็น 336 CUDA Cores
…ถึงโครงสร้างหลักจะเหมือนเดิม แต่จริงๆได้มีการปรับปรุงเรื่องระบบระบายความร้อนให้ดีขึ้น ทำให้สามารถเร่ง Clock Speed ให้มากขึ้นด้วย โดยค่า Clock Speed Default ของการ์ดที่ใช้ชิป GTX 560 Ti รุ่นนี้ จะมีความเร็วสูงถึง 822/1,645/4,008MHz มากกว่าค่า Clock Speed Default ของ GTX 460 ที่อยู่ที่ 675/1,350/3,600MHz อยู่พอสมควรเลยครับ
สเป็คอย่างเป็นทางการแบบเต็มๆ ของการ์ดที่ใช้ชิปรุ่นนี้ครับ
…GTX 560 Ti นั้นได้ทำการพัฒนามาจากพื้นฐานแบบเดียวกันกับ GTX 460 ซึ่งหลายๆท่านคงทราบกันดีว่า เมื่อประมาณกลางปีที่แล้วที่ผ่านมาที่ GTX 460 ออกมาวางตลาด ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เนื่องมาจากประสิทธิภาพต่อราคาที่มีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก ซึ่งในต้นปี 2011 นี้ ทาง NVIDIA ก็จัดความแรงอย่างคุ้มค่านี้กลับมาใหม่อีกครั้งในชื่อว่า GTX 560 Ti ซึ่งความหมายของตัวย่อ Ti ที่ต่อท้ายชื่อรุ่นนั้น จะย่อมาจากคำว่า Titanium ที่สื่อความหมายถึงตัวการ์ดนี้ว่า มีประสิทธิภาพแข็งแกร่งดุจเหล็กกล้า แต่กลับมีน้ำหนักเบากว่าดั่งเช่น Titanium นั่นเองครับ
.
แรงขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นๆ ในราคาที่ไม่ได้สูงกว่าเดิมมากนัก เดี๋ยวเราไปชมกันครับว่าจะจริงหรือไม่
.
…ด้วยการปรับปรุงภาคจ่ายไฟใหม่ หน่วยความจำรุ่นใหม่ที่เร็วขึ้น และระบบระบายความร้อนใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมรวมทั้งระบบ Power Monitoring ระดับ Hardware (การ์ดบางรุ่นจะไม่มี Power Monitoring ระดับ Hardware ซึ่งก็แล้วแต่ว่าผู้ผลิตจะใส่หรือไม่) จะช่วยให้การ์ดรุ่นนี้ สามารถ Overclock ได้มากและไกลขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการ์ดรุ่นนี้จะถูกผลิตขึ้นมาแทนที่ GTX 470 ที่กำลังเริ่มหายไปจากตลาด โดยเป้าหมายของการ์ดรุ่นนี้ จะถูกส่งมาเพื่อต่อกรกับคู่แข่งต่างค่ายที่มีระดับราคาไกล้เคียงกันอย่าง HD 6870 เดี๋ยวเราไปชมกันตรงผลทดสอบครับว่าจะต่อกรกันได้อย่างสมน้ำสมเนื้อหรือไม่
…ทาง NVIDIA แนะนำมาว่า ถ้านำการ์ดรุ่นนี้มาจับคู่กับ CPU Sandy Bridge platform ที่พึ่งออกใหม่ของอินเทลแล้วล่ะก็ ท่านก็จะได้สัมผัสกับประสิทธิภาพความแรงที่มาพร้อมกับราคาที่คุ้มค่าอย่างแน่นอนครับ
…พูดถึงเรื่อง CUDA กันบ้างครับ ผลจากการที่มี CUDA มากกว่าการ์ดในอดีตก็มีผลทำให้ความเร็วในการประมวลผลด้านรูป เช่น Motion Blur และระดับความต่าง Depth of Field ได้อย่างชัดเจนมาก อย่างตัวอย่างจากเกมส์ Just Cause 2 ครับ ผลของ CUDA แสดงชัดเจนมากบริเวณน้ำที่พริ้วไหวกันเลย
.
และแน่นอนครับ ที่ขาดไม่ได้สำหรับ Nvidia Graphic Card คือ PhysX กับความพริ้วไหวของวัตถุและรายละเอียดในเกมส์
…สำหรับ 3D Vision นั้น ก็เริ่มเป็นที่กล่าวถึงกันมากขึ้น คุณจะพบกับประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นกับเกมส์ร่วมๆ 500 เกมส์ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับระบบ 3D Vision รวมถึงเกมส์ World of Warcraft: Cataclysm ที่พึ่งเปิดตัวไปได้ไม่นานนี้ด้วยครับ
…และถ้าไม่พูดถึง Nvidia Surround คงจะไม่ครบครับ ทาง AMD สามารถใช้ความสามารถด้านการต่อ Output ไปยังจอได้หลายจอในชื่อ Eyefinity สำหรับ Nvidia จะใช้ชื่อว่า Nvidia Surround Technology สามารถทำให้เราต่อจอ LCD ที่มี Resolution 2560 x 1600 ได้สามจอ รวมแล้วจะได้ Resolution ถึง 7680 x 1600 กันเลยครับกว้างสุดลูกหูลูกตาเลย และถ้าจะใช้งานร่วมกับแว่น 3D ก็ยังสามารถต่อกับจอขนาด Full HD 1920X1080 ได้พร้อมกันถึง 3จออีกต่างหาก เจ๋งจริงๆ แต่ต้องใช้กราฟฟิคการ์ดตั้งแต่ 2ตัวขึ้นไปนะครับถึงจะทำได้แบบนี้
ตามมากันด้วยตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆของการ์ดที่อยู่ในระดับใกล้เเคียงกันครับ
Model Name |
GeForce GTX 460 |
GeForce GTX 460 |
Radeon HD 6850 |
GeForce GTX 560 |
Radeon HD 5850 |
GeForce GTX 470 |
Radeon HD 6870 |
Radeon HD 5870 |
Radeon HD 6950 |
GeForce GTX 480 |
GeForce GTX 570 |
Radeon HD 6970 |
GeForce GTX 580 |
Radeon HD 5970 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Shader units | 336 | 336 | 960 | 384 | 1440 | 448 | 1120 | 1600 | 1408 | 480 | 480 | 1536 | 512 | 2x 1600 |
ROPs | 24 | 32 | 32 | 32 | 32 | 40 | 32 | 32 | 32 | 48 | 40 | 32 | 48 | 2x 32 |
GPU | GF104 | GF104 | Barts | GF114 | Cypress | GF100 | Barts | Cypress | Cayman | GF100 | GF110 | Cayman | GF110 | 2x Cypress |
Transistors | 1950M | 1950M | 1700M | 1950M | 2154M | 3200M | 1700M | 2154M | 2640M | 3200M | 3000M | 2640M | 3000M | 2x 2154M |
Memory Size | 768 MB | 1024 MB | 1024 MB | 1024 MB | 1024 MB | 1280 MB | 1024 MB | 1024 MB | 2048 MB | 1536 MB | 1280 MB | 2048 MB | 1536 MB | 2x 1024 MB |
Memory Bus Width | 192 bit | 256 bit | 256 bit | 256 bit | 256 bit | 320 bit | 256 bit | 256 bit | 256 bit | 384 bit | 320 bit | 256 bit | 384 bit | 2x 256 bit |
Core Clock | 675 MHz | 675 MHz | 775 MHz | 822 MHz | 725 MHz | 607 MHz | 900 MHz | 850 MHz | 800 MHz | 700 MHz | 732 MHz | 880 MHz | 772 MHz | 725 MHz |
Memory Clock | 900 MHz | 900 MHz | 1000 MHz | 1000 MHz | 1000 MHz | 837 MHz | 1050 MHz | 1200 MHz | 1250 MHz | 924 MHz | 950 MHz | 1375 MHz | 1002 MHz | 1000 MHz |
Price | $160 | $200 | $180 | $249 | $260 | $260 | $240 | $360 | $300 | $450 | $350 | $370 | $500 | $580 |
.
NVIDIA GeForce GTX 560 Ti Reference Card image
ต่อไปก็เป็นภาพหน้าตาของตัวการ์ดแบบ Reference Card จากเว็บไซต์ของทาง NVIDIA นะครับ
หน้าตาจะออกแนวคล้ายๆกันกับ GTX 460 แต่ขนาดของตัวการ์ดจะยาวกว่า โดยความยาวของการ์ดจะอยู่ที่ประมาณ 9นิ้ว
Mini HDMI 1.4a 1Port และ DVI-D 2Ports คือมาตรฐานของทาง NVIDIA สำหรับการ์ดรุ่นนี้ครับ
Partner’s GeForce GTX 560 Ti Image
ต่อกันด้วยหน้าตาของตัวการ์ด GTX 560 Ti จาก Partner แบรนด์ต่างๆของทาง NVIDIA นะครับ ไปชมกันเลยครับ
ASUS
ASUS ที่มากับชุดระบายความร้อนใหม่ และ Core Clock Speed ที่สูงถึง 900MHz ไม่ธรรมดาครับ
EVGA
EVGA กับลวดลายใหม่รังผึ้งสีทอง สวยงามหรูหราดีครับ
GAINWARD
GAINWARD กับซิงค์สวย 2พัดลมที่ออกแบบเองครับ
GIGABYTE
…GIGABYTE คราวนี้จะมีรุ่นที่ใช้ Core Clock Speed ที่สูงถึง 1GHz ในชื่อรุ่น GIGABYTE GTX 560 Ti SUPEROVERCLOCK ซึ่งบทความทดสอบประสิทธิภาพของการ์ดเทพรุ่นนี้ ติดตามกันได้เลยที่บทความข้างๆนี้ที่ลุงเชนเป็นผู้จัดทำนะครับ
KFA2
ชุดระบายความร้อนสวยถูกใจผมมากเลยครับ สำหรับ KFA2
MSI
MSI เจ้าตำรับ AFTERBURNER จะพลาดได้ไงครับกับงานนี้ มากับซิงค์เย็นเงียบอย่าง Twin Frozr II กันอีกเช่นเคยครับ
PALIT
PALIT ที่มากับพัดลมคู่สุดเท่ห์แบบนี้ เร็วๆนี้ที่ Vmodtech.com เราแน่นอนครับ
PNY
PNY ก็งามกันแบบเรียบๆคลาสสิคกันไปครับ
POINT OF VIEW
Point of View คราวนี้จะมาพร้อมกับลวดลายเขียวชอุ่มแนวรักธรรมชาติครับ
SPARKLE
…SPARKLE สีน้ำเงินอมม่วงสวยถูกใจผมมากเลยครับ จะเห็นว่า NVIDIA เปิดตัวการ์ดใหม่ทีไร PARTNER ต่างๆ ขานรับกันอย่างเต็มที่ทุกทีเลยครับ แบบนี้หลังวันเปิดตัวไป ของพรึ่บกันเต็มตลาดทั่วโลกอย่างแน่นอน ถ้าใครชอบการ์ดรุ่นนี้ก็เตรียมตัวเสียตังค์กันได้ในเร็ววันนี้อย่างแน่นอนครับ.
Package & Bundle
ต่อไปก็มาดู Package กันต่อนะครับ มากันแบบกล่อง FedEx ส่งตรงมาที่ Vmodtech.com เรากันเลยทีเดียว
ที่อยู่ถูกต้องแบบนี้ส่งมาไม่ผิดที่แน่นอนครับ
เปิดดูในกล่องก็มีคู่มือ Reviewer’s Guide ของการ์ดรุ่นนี้ แผ่น CD Press Kit และตัวการ์ดครับ
NVIDIA GeForce GTX 560 Ti Card Appearance
ไปชมหน้าตาของตัวการ์ดที่จะทดสอบในคราวนี้กันต่อเลยครับ หน้าตาจะออกแนวคล้ายกับ GTX 460 เลยครับ
แต่ลองดูดีๆจะพบว่าตัวการ์ดนี้จะยาวกว่า GTX 460 อยู่เล็กน้อยครับ
ลายละเอียดมิติต่างๆของชุดระบายความร้อน ก็จะต่างกันอยู่บ้างหลายๆจุดที่ดูแล้วสวยเข้มขึ้นกว่าเดิม
จากเดิมที่ชุดระบายความร้อนของ GTX 460 จะมี Heatpipes ทองแดง 2เส้น พอมา GTX 560 Ti นี้ จะมีอยู่ด้วยกัน 3เส้นครับ
ภาพบริเวณด้านหลังตัวการ์ดนะครับ
ดูกันชัดๆ กับพัดลมของการ์ดรุ่นนี้ ซึ่งการทำงานจะเงียบมากเลยนะครับ โดยการปรับเพิ่มรอบสูงสุดจะทำได้แค่ 75% เพียงเท่านั้น
ส่วนขา PCI-e ของการ์ดรุ่นนี้ก็จะมากันครบถ้วน ไม่แหว่งเหมือนกับ GTS 450 ครับ
โลโก NVIDIA สุดเท่ห์ที่สันนอกของตัวการ์ดครับ
บริเวณบั้นท้ายของตัวการ์ดครับ
ขั้วต่อไฟเลี้ยงการ์ดเพิ่มเติม จัดไปที่ 6Pins 2หัวครับ
ช่องเสียบ SLI Bridge จะมี 1ช่อง 2-Way SLI Supported นะครับสำหรับการ์ดรุ่นนี้
Mini HDMI 1.4a 1Port และ DVI-D 2Ports ตามมาตรฐานของทาง NVIDIA ครับ
System Configuration
.SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel Core i7 920 @ 4.45 GHZ |
.Motherboard | ..GIGABYTE GA-X58A-UD7 |
.Memory | ..G.Skill Trident PC12800 CL6D-6GBTD 2GB*3 Triple Channel |
.Graphic Card | ..NVIDIA GeForce GTX 560 Ti 1024MB GDDR5 |
.Harddisk | ..WD1002FAEX SATA3 64MB Cache 1TB |
.CPU Cooler | ..Water Cooling @ Ambient 25C |
.Power Supply | ..Antec TPQ-1200 OC Version 1200W |
.Operation System | ..Windows 7 Ultimate 32-bit |
วางเซตกันง่ายๆเช่นเดิมนะครับคราวนี้ ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 25องศาเซลเซียส
LinX 0.6.4 Problem size 15500 Memory used 1846MB (All of 32-bit OS) 20Loops
OCCT 3.1.0 1Hour
SuperPI 32M 8Threads
(Click Screenshot to Enlarge)
Prime95 Blend Mode 1Hour 21Minutes
(Click Screenshot to Enlarge)
(Click Screenshot to Enlarge)
Core i7 920 จัดความเร็วไปที่ 4.45GHz เสถียรพอได้ครับ ลุย!
Overclocking & Stabilities Test
Graphic Card Information
Properties ของ Windows 7 รายงานค่าต่างๆได้ถูกต้องครบถ้วนดีครับ
GPU-Z
.
.
…ในขณะที่ทำการทดสอบการ์ดตัวนี้ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2554 ตัว GPU-Z ล่าสุดในตอนนั้นคือ 0.5.0 ยังไม่รู้จักการ์ดตัวนี้นะครับ ไม่เป็นไรครับเรายังมีตัวช่วยอื่น
NVIDIA Inspector
.
.
…NVIDIA Inspector เวอร์ชันล่าสุดก็สามารถรายงานค่าต่างๆได้ถูกต้องครบถ้วนดีครับ นอกจากนี้ยังสามารถ Overclock และ OverVoltage ได้อีกต่างหาก เดี๋ยว 3ความเร็วที่เห็นนี้เราจะจัดกันยาวๆเลยนะครับ รับรองว่ามันส์แน่ๆครับงานนี้
AIDA64 Extreme Edition
รายละเอียดต่างๆของตัวการ์ดผ่านทางโปรแกรม AIDA64 Extreme Edition ครับ
FurMark 1.8.2
NVIDIA GeForce GTX 560 Ti @ Default Speed
(822/1,645/4,008MHz) & Default Auto Fan Speed
(Click Screenshot to Enlarge)
…ที่ความเร็วเดิมและรอบพัดลมเดิมที่หมุนสูงสุดอยู่ที่ 45% @ 1,710 rpm จัดกันไปสุดที่ 75องศาเซลเซียส ไม่ร้อนเท่าไหร่ครับกับรอบพัดลมแบบ Auto
NVIDIA GeForce GTX 560 Ti @ Overclock Speed
(960/1,920/4,640MHz) & 75% Fan Speed
(Click Screenshot to Enlarge)
…กับรอบพัดลมที่ปรับสูงสุดได้ที่ 75% @ 3,660 rpm ใช้ไฟเลี้ยงเดิมๆที่ให้มาที่ 975mV และโอเวอร์คล็อคกันไปที่ 960/1,920/4,640MHz อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ 64องศาเซลเซียส เพียงเท่านั้นนะครับ เย็นดีใช้ได้เลยครับ เสียงพัดลมที่ปรับรอบสุดขนาดนี้ก็ไม่ดังจนเกินไป ปรับใช้งานจริงได้เลยครับ
NVIDIA GeForce GTX 560 Ti @ Overclock Speed
(1,015/2,030/4,640MHz) & 75% Fan Speed
with OverVoltage to 1,087mV
(Click Screenshot to Enlarge)
…สุดท้ายกับรอบพัดลม 75% @ 3,660 rpm โดยใช้ไฟเลี้ยงอยู่ที่ 1,087mV ซึ่งสามารถอัดสุดไปที่ 1,150mV ได้ แต่จากที่ผมทดลองแล้ว อัดสุดเพิ่มไปขนาดนั้นก็ไม่ช่วยอะไร แถมยังทำให้เทสต์ไม่ผ่านบางเกมส์ด้วยครับ ซึ่งจากที่ผมลองๆดูค่าที่เหมาะสมที่สุดก็คือค่า 1,087mV นี่แหละครับ และจากนั้นก็โอเวอร์คล็อคกันไปที่ 1,015/2,030/4,640MHz อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ 73องศาเซลเซียส เพียงเท่านั้นนะครับ และที่รอบพัดลม 75% เสียงพัดลมก็ดังขึ้นเพียงไม่มาก ปรับใช้งานแบบนี้ได้จริงเลยครับ และวันนี้เราจะทดสอบกันที่ 3ความเร็วนี้กันยาวๆ ให้ชมกันเต็มอิ่มไปเลยนะครับกับ 6 Benchmark, 12 GameTest รวมเทสต์ทั้งหมด 63 รอบ ไปชมกันได้ที่หน้าถัดๆไปเลยครับ
.
3DMark03
…จะมีการนำผลการทดสอบของ GeForce GTX 580 , GeForce GTX 570 , GeForce GTX 480 , Radeon HD 5870 , GeForce GTX 470 , Radeon HD 5830 , GeForce GTX 465 , GeForce GTX 460 1024MB , GeForce GTX 460 1024MB SLI , Radeon HD 5770 , Radeon HD 5770 CrossfireX , GeForce GTX 450 , GeForce GTX 450 SLI , Radeon HD 6850 , Radeon HD 6870 และ Radeon HD 6970 ในคราวที่แล้ว ที่ใช้ Systems ในการทดสอบทุกๆอย่างเหมือนกัน มาเปรียบเทียบกันในบทความนี้ด้วยนะครับ
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
3DMark05
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
3DMark06
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
3DMark Vantage
.
PhysX Enable
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
PhysX Disable
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
3DMark 11
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
Unigine Heaven Benchmark 2.1
.
SETTINGS
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
Aliens VS. Predator DX11 Benchmark
.
เอาแบบ Default แล้วเทสต์เลยนะครับ ไปชมผลกันเลยครับกับเกมส์ DX11 ภาพสุดสวยเกมส์นี้
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
DIRT 2 Benchmark
.
SETTINGS
.
.
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
Devil May Cry 4 DX10 Benchmark
.
SETTINGS
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
FINAL FANTASY XIV Benchmark
.
SETTINGS
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
Resident Evil 5 DX10 Benchmark
.
SETTINGS
.
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
Street Fighter IV Benchmark
.
SETTINGS
.
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
The Last Remnant Benchmark
.
SETTINGS
เซตได้แค่ Resolution 1,920X1,200 Full Screen เพียงเท่านั้น สำหรับ Game Benchmark ตัวนี้
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
Crysis WARHEAD Benchmark
DX10 ENTHUSIAST Mode 1,920X1,200 AA 0X
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
BATMAN ARKHAM ASYLUM DX10 Benchmark
SETTINGS @ PhysX High
.
SETTINGS @ PhysX Off
…BATMAN ARKHAM ASYLUM เซตแบบเปิด PhysX High และปิด PhysX ไว้เทียบกับกราฟฟิคการ์ดจาก AMD กันอีกในอนาคตกันตามภาพด้านบนเลยนะครับ
.
PhysX Enable High
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
PhysX Disable
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
HAWX2 DX11 Benchmark
.
SETTINGS
.
ตามกันมาด้วย HAWX2 แบบอัดสุดๆหมด แถมเปิด Terrain tessellation อีกต่างหาก
.
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
LOST PLANET 2 DX11 Benchmark
.
SETTINGS
.
…ต่อกันด้วย Lost Planet 2 ที่อัดสุดหมดยกเว้น AA จะเปิดแค่ MSAA4X นะครับ เนื่องจากการ์ด NVIDIA ถัดไปที่ 8X จะเป็น CSAA8X ซึ่งการ์ดจาก AMD จะทำไม่ได้นะครับ ทำได้แต่ MSAA8X
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
METRO 2033 DX11 Benchmark
SETTINGS @ Advance PhysX Enable
.
SETTINGS @ Advance PhysX Disable
…ปิดท้ายด้วยเกมส์สุดโหดกินสเป็คเครื่องสุดๆอย่าง METRO 2033 ซึ่งผมนั่งดูแล้วไม่รู้ว่าจะไปปิด PhysX ตรงไหนครับ มีแต่เปิด Advance PhysX เพิ่มแค่นั้น ก็เลยเอามาให้ชมกันเท่าที่เห็นก่อน ส่วนทุกอย่างที่เหลืออัดสุดหมดครับ ซึ่งเกมส์เทสต์ตัวนี้ค่า Min Max Framerate จะค่อนข้างแกว่งนะครับ ที่เขานิยมใช้เทียบกันจึงมีแต่ค่าเฉลี่ยหรือ Average Framerate เพียงเท่านั้นครับ
.
Advance PhysX Enable
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
Advance PhysX Disable
Default clock Speed @ 822/1,645/4,008MHz
.
Overclock Speed @ 960/1,920/4,640MHz
.
Overclock Speed @ 1,015/2,030/4,640MHz
.
High Definition Playback
NVIDIA GeForce GTX 560 Ti 1024MB GDDR5
M2TS File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ไฟล์ M2TS เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% ครับ สำหรับ NVIDIA GeForce GTX 560 Ti
MKV File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ไฟล์ MKV เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% ครับ สำหรับ NVIDIA GeForce GTX 560 Ti
AMD Radeon HD 6970 2GB GDDR5
M2TS File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ไฟล์ M2TS เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% ครับ สำหรับ AMD Radeon HD 6970 2GB GDDR5
MKV File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
…แต่พอมาเล่นไฟล์ยอดนิยมอย่าง MKV เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU ก็จะอยู่ที่ 4-5% เกือบตลอดเวลา เนื่องจาก H.264 Decoder ระดับฮาร์ดแวร์ไม่ยอมทำงานครับ
(Click Screenshot to Enlarge)
…แต่เมื่อลองกับไฟล์ MKV เรื่องอื่น H.264 Decoder ระดับฮาร์ดแวร์ก็กลับมาทำงานอีก ครั้ง เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU ก็จะลดมาอยู่ที่ 1-3% เช่นเดิมครับ แต่พอกลับไปเรื่องเก่าก็ไม่ทำงานอีก ไดรเวอร์ล่าสุดของ AMD กับ HD 6970 ผมลองแล้วก็ออกมาแบบนี้ครับ แถมสีสันก็ยังดันไปเหมือนกันกับ NVIDIA อีก สงสัยว่า HDMI 1.4a จะบังคับให้สีสันในการดูหนังออกมาแนวนี้หรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ
NVIDIA GeForce GTX 570 1280MB GDDR5
M2TS File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ไฟล์ M2TS เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% ครับ สำหรับ NVIDIA GeForce GTX 570
MKV File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ไฟล์ MKV เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% เช่นกันครับ สำหรับ NVIDIA GeForce GTX 570
NVIDIA GeForce GTX 580 1536MB GDDR5
M2TS File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ไฟล์ M2TS เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% ครับ สำหรับ NVIDIA GeForce GTX 580
MKV File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ไฟล์ MKV เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% เช่นกันครับ สำหรับ NVIDIA GeForce GTX 580
AMD Radeon HD 6850 1GB GDDR5
M2TS File Playback
ไฟล์ M2TS เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% ครับ สำหรับ AMD Radeon HD 6850 1GB GDDR5
MKV File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
…แต่พอมาเล่นไฟล์ยอดนิยมอย่าง MKV เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU ก็จะอยู่ที่ 4-5% เกือบตลอดเวลา เนื่องจาก H.264 Decoder ระดับฮาร์ดแวร์ไม่ยอมทำงานครับ
(Click Screenshot to Enlarge)
…แต่เมื่อลองกับไฟล์ MKV เรื่องอื่น H.264 Decoder ระดับฮาร์ดแวร์ก็กลับมาทำงานอีกครั้ง เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU ก็จะลดมาอยู่ที่ 1-3% เช่นเดิมครับ แต่พอกลับไปเรื่องเก่าก็ไม่ทำงานอีก ไดรเวอร์ล่าสุดของ AMD กับ HD 6850 ผมลองแล้วก็ออกมาแบบนี้ครับ แถมสีสันก็ยังดันไปเหมือนกันกับ NVIDIA อีก สงสัยว่า HDMI 1.4a จะบังคับให้สีสันในการดูหนังออกมาแนวนี้หรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ
NVIDIA GeForce GT 430 1GB DDR3
M2TS File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ไฟล์ M2TS เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% เช่นกันครับ สำหรับ NVIDIA GeForce GT 430
MKV File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ไฟล์ MKV เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% เช่นกันครับ สำหรับ NVIDIA GeForce GT 430
ATI Radeon HD 5570 1GB DDR3
M2TS File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
…ตามด้วยการทดสอบกับการ์ดที่ใช้ชิป ATI Radeon HD 5570 กันปิดท้าย เริ่มจากไฟล์ M2TS เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU จะอยู่ที่ 1-3% อีกเช่นกัน
MKV File Playback
(Click Screenshot to Enlarge)
ตามด้วยไฟล์ยอดนิยมอย่าง MKV เปอร์เซ็นต์การใช้งาน CPU ก็จะอยู่ที่ 1-3% เช่นกันครับ
…ปิดท้ายในส่วนของการเปรียบเทียบทางด้านโทนสี จะเห็นได้ว่าโทนสีแบบค่า Default ของการ์ดที่มีหัวต่อแบบ HDMI 1.4a จะออกมาแนวเดียวกันหมดเลยครับ ส่วน HD 5570 ที่ใช้ HDMI 1.3 ก็จะมีสีที่ค่า Default สว่างสดใสกว่า ซึ่งผมเดาว่า HDMI 1.4a คงมีการตั้งค่าสีสันความสว่างให้แมตซ์กับจอ LCDTV ที่มีสีสันสว่างเจิดจ้ากว่า LCD Monitor สำหรับคอมพิวเตอร์ก็เป็นไปได้ครับ แต่ผมก็ได้แต่คาดเดาไปนะครับอย่าเชื่อผมมากในจุดนี้ เพราะไม่มีข้อมูลในมือจริงๆครับ ซึ่งสีสันพวกนี้ผมว่าเป็นเรื่องรองนะครับยังไงก็ปรับแต่งกันได้อยู่แล้วว่าจะเอาแบบไหน ใน Display Properties ของแต่ละค่าย ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลซีเรียสแต่อย่างใดครับ
.
Power Consumption
…ปิดท้ายการทดสอบคราวนี้ด้วยการเทสต์ Power Consumption แบบบ้านๆนะครับ อุปกรณ์ก็มีแต่ PLUG-IN Power Monitor อยู่แค่ตัวเดียว ก็จับเสียบกับปลั๊กเทสต์โชว์ไฟ AC Input ของระบบโดยรวมทั้งหมดกันอย่างเดียวนะครับ ซึ่ง Power Supplies ตัวที่ใช้ทดสอบนี้จะได้ 80 Plus Silver Certified ทางผมก็ขอคิดหยาบๆเลยนะครับว่า Power Supplies ตัวนี้ มีประสิทธิภาพในการจ่ายไฟอยู่ที่ 85% และระบบที่เทสต์ก็ยังคงเป็นระบบและความเร็วเท่ากับที่ทดสอบในบทความทั้งหมด ซึ่งก็ทำให้กินไฟมากพอสมควร เพราะว่าใช้ไฟ VCore ขณะ FullLoad สูงสุดถึง 1.520V. ก็ทำให้ระบบโดยรวมกินไฟมากเป็นธรรมดาครับ ไปชมกันการเปรียบเทียบอัตราการกินไฟขณะ FullLoad แบบสุดขีดด้วยซอฟแวร์จากนรก OCCT 3.1.0 Power Supply Mode จับภาพในช่วงที่มีอัตราการกินไฟพีคถึงขีดสุดของแต่ละการ์ด ซึ่งการ์ดที่นำมาเปรียบเทียบจะถูกเทสต์ที่อัตราความเร็วเดิมและไฟเลี้ยงแบบ เดิมๆนะครับ และสุดท้ายการ์ดที่นำมาเปรียบเทียบในการทดสอบนี้จะไม่ครบทุกโมเดลเหมือนกับ ที่นำมาทำการทดสอบเปรียบเทียบไปก่อนหน้านี้นะครับ เนื่องจากมีบางส่วนได้ทะยอยคืนไปบ้างแล้ว ไว้โอกาสถัดๆไปจะพยายามหาหยิบยืมมาเปรียบเทียบให้ครบถ้วนกันอีกทีในภายหลัง นะครับ ไปชมผลการเปรียบเทียบกันได้เลยครับ
.
NVIDIA GeForce GTX 560 Ti 1024MB GDDR5
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 560 Ti 1024MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 697Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 592Watt
.
AMD Radeon HD 6970 2GB GDDR5
…System ที่ใช้ AMD Radeon HD 6970 2GB GDDR5 จะมีอัตรา AC Input สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 701Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 596Watt
.
NVIDIA GeForce GTX 570 1280MB GDDR5
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 570 1280MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input สูงสุดรอบแรกๆอยู่ที่ประมาณ 713Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 606Watt ซึ่ง พอเทสต์ต่อเนื่องไปเรื่อยๆกลับปรากฎว่ากินไฟลดน้อยลงเรื่อยๆจนเหลือแค่ 500-600กว่าวัตต์ AC Input เพียงเท่านั้น ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากระบบตัดไฟ Hardware Monitoring Manages Power อัจฉริยะตัวใหม่ของทาง NVIDIA ได้เริ่มทำงานปรับไฟลงนั่นเองครับ งานนี้เลยเอามาเปรียบเทียบอะไรกันไม่ได้มากเลยครับ ซึ่งค่าแว๊บแรกที่เห็นก็พอเอามาเปรียบเทียบได้ว่ากินไฟน้อยกว่า GTX 580-GTX 480 อยู่เยอะพอสมควร แต่เท่าที่ดูจากเว็บไซต์ต่างประเทศ (Techpowerup.com) ที่เขาลองใช้โปรแกรม GPU-Z ตัดการทำงานของเจ้า Hardware Monitoring Manages Power ออก ปรากฎว่าเมื่อเทียบกันระหว่าง GTX 580 และ GTX 480 แล้ว GTX 580 จะกินไฟสุดๆมากกว่า GTX 480 อยู่ระดับหนึ่งครับ ซึ่งถ้าไม่ทำแบบนี้โอกาสที่ GTX 580 จะกินไฟมากกว่า GTX 480 จะไม่มีเลย ดังนั้นผู้ที่คิดจะซื้อ GTX 580 มาใช้ก็น่าจะหมดกังวลปัญหาเรื่องดังกล่าวนี้ไปได้นะครับ ส่วน GTX 570 รุ่นนี้ ไว้โอกาสหน้าผมจะมาทดสอบแบบตัดการทำงานของ Hardware Monitoring Manages Power ให้ชมกันอีกรอบนะครับว่าเมื่อไม่มีระบบดังกล่าวช่วยแล้วจะกินไฟและร้อนขึ้นขนาดไหน
.
NVIDIA GeForce GTX 580 1536MB GDDR5
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 580 1536MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input สูงสุดรอบแรกๆอยู่ที่ประมาณ 780Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 663Watt
.
AMD Radeon HD 6870 1GB GDDR5
…System ที่ใช้ HIS AMD Radeon HD 6870 1GB GDDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 678Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 577Watt
.
AMD Radeon HD 6850 1GB GDDR5
…System ที่ใช้ AMD Radeon HD 6850 1GB GDDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 637Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 542Watt
.
NVIDIA GeForce GTX 480 1536MB GDDR5
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 480 1536MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 807Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 686Watt
.
NVIDIA GeForce 9800GX2 1024MB GDDR3
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce 9800GX2 1024MB DDR3 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 791Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 672Watt
.
ATI Radeon HD 5870 1024MB GDDR5
…System ที่ใช้ ATI Radeon HD 5870 1024MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 702Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 597Watt
.
NVIDIA GeForce GTX 460 1024MB GDDR5
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 460 1024MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 661Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 562Watt
.
ATI Radeon HD 5770 1024MB GDDR5
…System ที่ใช้ ATI Radeon HD 5770 1024MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 625Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 531Watt
.
NVIDIA GeForce GTX 450 1024MB GDDR5
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 450 1024MB DDR5 จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 807Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 526Watt
.
NVIDIA GeForce GTX 450 1024MB GDDR5 SLI
…System ที่ใช้ NVIDIA GeForce GTX 450 1024MB DDR5 SLI จะมีอัตรา AC Input อยู่ที่ประมาณ 747Watt คิดตามประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 85% ของ Power Suplies ที่ใช้ในการทดสอบ จะมีอัตรา DC Output อยู่ที่ประมาณ 635Watt
.
Conclusion
…ก็มาถึงบทสรุปปิดท้ายกันแล้วนะครับสำหรับการ์ด NVIDIA GeForce GTX 560 Ti 1024MB GDDR5 ตัวนี้ ก็แรงใช้ได้กันไปเลยนะครับ กับเกมส์ในยุคปัจจุบันนี้ DX11 Tessellation PhysX มากันครบๆไม่มีขาดตกบกพร่อง HDMI 1.4a ก็มีมาให้กันครบๆ อุณหภูมิในขณะทำงานก็อยู่ในระดับที่เย็นใช้ได้ ส่วนประสิทธิภาพโดยรวมทางด้าน 3D Gaming ที่ผมได้ทำการทดสอบแบบของแท้ หลักฐาน Screenshot มีครบทุกผลการทดสอบแบบไม่ต้องกลัวเต้ากราฟเอาเอง ผลก็ปรากฏออกมาว่า การ์ด GTX 560 Ti ตัวนี้แรงเกาะกลุ่มอยู่ในระดับที่ดีกับการ์ดที่อยู่ในระดับราคาเดียวกันนี้ทีเดียวครับ แต่ความได้เปรียบเต็มๆของการ์ดที่เหนือคู่แข่งทั้งค่ายเดียวกันและต่างค่ายก็คือความ เย็น เงียบ และขนาดน้ำหนักของตัวการ์ดที่เล็กบางเบา สมกับชื่อตัวย่อ Ti ที่หมายถึง Titanium จริงๆเลยครับ กับราคาค่าตัวที่ผมได้ไปสืบๆมา น่าจะอยู่ที่ประมาณ 8,XXX บาท ก็ถือว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ดีเลยครับสำหรับคนที่มีงบประมาณสำหรับกราฟฟิคการ์ดที่อยู่ในระดับนี้ แรง เย็น เงียบ แบบไม่ต้องเปลี่ยนซิงค์เพิ่ม ต้อง NVIDIA GeForce GTX 560 Ti ครับ และสำหรับบทความนี้ผมก็ขอลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ
.
.
ขอขอบคุณ