NVIDIA TITAN X Pascal 12GB GDDR5X 2-Way SLI Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับทุกๆท่านที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ Vmodtech.com วันนี้ฤกษ์งามยามดีอีกแล้วครับกับการทดสอบกราฟฟิกการ์ดเรือธงจากค่าย NVIDIA ที่ถือว่าแรงที่สุดไม่มีการ์ดรุ่นไหนในโลกจะแรงสำหรับการเล่นเกมส์กว่านี้ไปอีกแล้ว จริงๆแล้วเปิดตัวมาร่วมสองอาทิตย์แล้วละครับทว่าเว็บไซด์เราเพิ่งจะได้มาทำการทดสอบ แน่นอนครับ เรากำลังพูดถึง NVIDIA TITAN X PASCAL ชื่อเป็นอย่างนี้เลยนะครับ ไม่มีคำว่า GeForce GTX อะไรทั้งสิ้น จริงๆแล้วเราก็จะทำการทดสอบแบบปกติให้ชมกันนั่นละครับแต่ว่าคงจะพอเห็นการทดสอบแบบการ์ดเดียวไปแล้ว เอาเป็นว่า ผมเสียบเล่นสองใบและรีวิวแบบเต็มรูปแบบตามแบบฉบับ VMODTECH.com กันเหมือนเดิม แรงแค่ไหนคงต้องรอกันหน้าสามนะครับ ตอนนี้ไปชมบรี๊ฟคร่าวๆแต่ได้ใจความที่สุดแล้วสำหรับการ์ดตัวนี้จาก NVIDIA เองที่ด้านล่างนี้
.
รายละเอียดทุกอย่างสรุปอย่างลงตัวและพอเพียงต่อผู้ใช้งานแบบเราๆที่ซื้อมาเพื่อความแรงของการ Benchmark และเล่นเกมส์โดยเฉพาะอยู่แล้ว
Package Appearance
อย่างที่ทราบครับว่า NVIDIA TITAN X PASCAL นั้นไม่มีจำหน่ายให้พาร์ทเนอร์เอาไปติดตั้งเป็นแบรนด์ตัวเอง ก็จะมีเฉพาะ Founder Edition แบบนี้ครับ ตัวกล่องของ NVIDIA TITAN X PASCAL นั้นเป็นแบบที่ผมเองคุ้นตาที่สุด มินิมอลลิสแต่ทรงพลังมากกับการออกแบบกล่องบรรจุแบบนี้
เปิดมาในกล่องครับจะพบตัวการ์ดเสียบอยู่ในแนวตั้งพร้อมกับคู่มือแผ่นพับที่สอดอยู่ในซอง
ตัวการ์ด NVIDIA TITAN X PASCAL นั้นมีพื้นฐานการออกแบบตัวโครงชุดระบายความร้อนใหม่เหมือนๆกับการ์ด GTX 1070 และ 1080 ทุกอย่าง จะต่างกันเพียงสีที่เคลือบอยู่บนตัวฝาครอบจะเป็นสีดำเมททาลิกที่แสดงออกถึงความดุดันเป็นที่สุด
สันการ์ดนั้นจะเห็นว่ามีการทำเทคเจอร์ขึ้นรูปว่า GEFORCE GTX ไว้เช่นเคยและจะเรืองแสงเมื่อเสียบใช้งานครับ โดยที่เอฟเฟกและรูปแบบสามารถเข้าไปปรับเล่นได้ใน Geforce Experience.
โซนของพัดลมท้ายการ์ดมีการเล่นลวดลายเทคเจอร์ที่ได้ถูกปั๊มขึ้นระหว่างการผลิต ตัวใบพัดลมยังเป็นแบบ Blower เช่นเคย สะดวกสำหรับการระบายความร้อนเมื่อเสียบใช้งานแบบหลายใบ
แบคเพลทนั้นเป็นโลหะเบาๆที่มีความแข็งแรงใช้ได้เลย
อินตอร์เฟสด้านหลังมีอยู่ 5ช่องคือ 1 X DVI , 1 x HDMI , 3 x DisplayPort DisplayPort 1.2 certified, DP 1.3/1.4 Ready
System Configuration
SYSTEMS | |
.CPU | ..Intel Core i7 5960X Haswell-E LGA 2011-3 |
.Motherboard | ..ASUS RAMPAGE V EXTREME |
.Memory | ..DDR4 4 x 4GB |
.Graphic Card | ..NVIDIA TITAN X PASCAL SLI |
Harddisk | ..Plextor M6S 512GB <Plextor Support> |
.CPU Cooler | ..Custom Water Cooling |
Monitor | ..ASUS PQ321 4K, DELL U2413 |
.Power Supply | ..Thermaltake Toughpower 1500 Watt |
.Operating System. | ..Windows 10 Pro 64-bit |
.รายละเอียดของ systems ที่ใช้ในการทดสอบในวันนี้
ทำการเทสบนความละเอียดระดับ 4K (3840 x 2160) หรือเทียบเท่า 4 Full HD บน Monitor ASUS PQ321 ขนาด 32 นิ้ว Bridge ที่ใช้ในวันนี้นั้นเป็น HB Bridge ที่สามารถส่งผ่านสัญญาณแบบไฮแบนด์วิดท์ได้สมบูรณ์แบบครับ
.
ชุดทดสอบ
สำหรับ ชุดทดสอบ ก็เซตกันง่ายๆด้วยชุด Haswell - E Core i7 5960X ที่ความเร็ว 4.4 GHz บัสแรมปรับแต่งซับไทม์มิ่งเล็กน้อยบนพื้นฐานความเร็ว 3000 MHz ทำการทดสอบบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 Pro ครับ
.
Main System Stability
.
.
.
NVIDIA TITAN X PASCAL from GPUZ
ความเร็วของการ์ดนั้นจะอยู่ที่ 1418/1251/1531 MHz Core/Mem/Boost ส่วนแรมนั้นจะมีขนาด 12 กิ๊กกะไบท์แบบ GDDR5X Driver ตัวใหม่ล่าสุดที่เพิ่งออกเมื่อวานคือ 372.54
.
Furmark Default
ความร้อนนั้นสูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 85 องศาเซลเซียสสำหรับใบในด้วยรอบพัดลมแบบออโต จะเห็นจากกราฟความร้อนว่าค่อนข้างชันเนื่องจากความเร็วรอบพัดลมจะเริ่มทำงานแบบเต็มที่มากขึ้นเมื่อตัว GPU มีอุณหภูมิที่ 85 องศาครับ ทั้งนี้ก็เพื่อจะควบคุมเสียงของพัดลมไม่ให้ดังมากเมื่อใช้งานที่มีโหลดน้อยๆ แต่เมื่อ GPU มีโหลดหนักจากการ Benchmark หรือว่าเล่นเกมส์แล้ว ตัวพัดลมก็จะเริ่มทำงานตามโพรไฟล์มาตรฐานที่มากับการ์ดครับ อย่างไรก็ได้ เราสามารถจัดการตั้ง Profile รอบพัดลมใหม่เองได้จากโปรแกรมเช่น MSI Afterburner หรือ EVGA Precision X
.
Default | Full load | |
. | ||
ในขณะ Full Load นั้น ระบบรวมทั้งหมดจะกินไฟจากเต้ารับที่ประมาณไม่เกิน 780 วัตต์ครับ
.
NVIDIA TITAN X PASCAL Overclock
ทดลองโอเวอร์คล๊อกเพิ่มขึ้นไป ก็พอไปได้อีกพอควรครับและไปจบที่ 1578/1317/1691 Core/Mem/Boost ที่สามารถทำการทดสอบผ่านได้หมด
ความร้อนหลังจากทำการโอเวอร์คล๊อกไปแล้วนั้นจะอยู่ที่ 80 องศาเซลเซียสด้วยรอบพัดลมแรงสุด
อัตราการเรียกใช้ไฟจากเต้ารับเพิ่มขึ้นมาที่ 890 วัตต์โดยเฉลี่ย เสียงรบกวนด้วยรอบ 100% ก็ดังเอาเรื่องครับ
.
.
3DMark Vantage
.
NVIDIA TITAN X PASCAL SLI @ 1418/1251/1531 MHz Core/Mem/Boost
.
Graphic Comparison
.
.
3DMark 11
.
NVIDIA TITAN X PASCAL SLI @ 1418/1251/1531 MHz Core/Mem/Boost
.
NVIDIA TITAN X PASCAL SLI OVERCLOCK @ 1578/1317/1691 MHz Core/Mem/Boost
.
Graphic Comparison
..
.
3DMark
.
NVIDIA TITAN X PASCAL SLI @ 1418/1251/1531 MHz Core/Mem/Boost
.
NVIDIA TITAN X PASCAL SLI OVERCLOCK @ 1578/1317/1691 MHz Core/Mem/Boost
.
Graphic Comparison
.
..
.
3DMark Time Spy
.
NVIDIA TITAN X PASCAL SLI @ 1418/1251/1531 MHz Core/Mem/Boost
.
NVIDIA TITAN X PASCAL SLI OVERCLOCK @ 1578/1317/1691 MHz Core/Mem/Boost
.
Graphic Comparison
.
Full HD - Chinese Unreal Engine 3 DirectX 11 Benchmark
จ
Result
.
Graphic Comparison
..
4K - Chinese Unreal Engine 3 DirectX 11 Benchmark
.
Result
.
Memory Usage
.
Graphic Comparison
..
.
Full HD - Call of Duty Advanced Warfare Benchmark
.
Graphic Comparison
.
.
4K- Call of Duty Advanced Warfare Benchmark
.
Memory Usage
.
Graphic Comparison
..
Full HD - FarCry 4 Benchmark
.
Graphic Comparison
.
4K - FarCry 4 Benchmark
.
Memory Usage
.
Graphic Comparison
.
Full HD - DYING LIGHT Benchmark
.
Graphic Comparison
.
.
4K - DYING LIGHT Benchmark
.
Memory Usage
.
Graphic Comparison
.
Full HD - The Witcher 3 Wild Hunt
.
Graphic Comparison
า
4K - The Witcher 3 Wild Hunt
.
Memory Usage
.
Graphic Comparison
.
Full HD - Shadow Of Mordor
Result
.
Graphic Comparison
.
4K - Shadow of Mordor
.
Result
.
Memory Usage
.
Graphic Comparison
.
Full HD - Call of Duty Black Ops III
.
Graphic Comparison
.
4K - Call of Duty Black Ops III
.
Memory Usage
.
Graphic Comparison
.
Conclusion
ก่อนจะจบรีวิวนี้เรามาชมกราฟเปรียบเทียบอัตราการเรียกใช้ไฟจากเต้ารับจากระบบรวมกันครับ
.
ผมสรุปให้ง่ายๆสำหรับกราฟฟิกการ์ด NVIDIA TITAN X PASCAL ให้ชมกันครับ
- NVIDIA TITAN X PASCAL เป็นรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาแทน NVIDIA TITAN X MAXWELL
- แรมนั้นเลือกใช้ในแบบที่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตจริงที่ตัว Software, Benchmark หรือว่าบรรดาเกมส์ที่ยังอ้างอิงความจุที่มีหน่วยเป็น GB อยู่ ไม่ได้เลือกใช้เทคโนโลยีที่มีราคาแพงเพื่อแค่โชว์พาวแต่ใช้งานจริงลำบาก
- มันได้รวมเอาเทคโนโลยีและคุณสมบัติใหม่ๆที่มาพร้อมกับสถาปัตยกรรม Pascal เช่น ANSEL, VRWorks, Multi-Res Projojetion ที่เข้ามามีบทบาทในเกมส์ยุคใหม่ทั้งบนพีซีและ Vitual Reality
- ประสิทธิภาพความแรงทั้งบน 3DMark และเกมส์ทำได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
- อัตราการกินไฟค่อนข้างมาก ทั้งนี้เพื่อแลกกับพลังที่ถูกปลดปล่อยออกมา
- ความร้อนนั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติของกราฟฟิกการ์ดแบบ Founder Edition ในซีรีย์ 10
.
ทั้งหมดนั้นน่าจะเป็นสรุปสั้นๆสำหรับการทดสอบกราฟฟิกการ์ด NVIDIA TITAN X PASCAL ใน วันนี้ครับ ผิดพลาดประการใดทางทีมงานขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย พบกันใหม่วันพรุ่งนี้
.
..
.
.
ขอบคุณที่ติดตาม
เชน
.
.
ขอขอบคุณ
พี่หมอ
..