มาตรฐานการติดต่อสื่อสาร OSI model เรื่องที่ผมไม่อยากเขียนถึง
Share | Tweet |
โครงสร้างของการติดต่อสื่อสารเดิมทีมีมาตรฐานมากมายหมาสาร (อุ๊บเขียนผิด) มหาศาล
มีมากจนกระทั่ง ขนาด Network ที่ทำมาขายของบริษัทเดียวกันยังต่อกันแล้วคุยกันไม่รู้เรื่อง (เอคุ้นๆ เหมือนเคยโดนว่าเลย หุหุ)
ถ้าท่านๆ ที่เคยทำงานด้านเนตเวิร์ก มากกว่า 15 ปีคงเคยรู้จัก LAN manager ของ IBM, Netware ของ Novell, NetBeui ของ Microsoft (รึเปล่า) Apple talk ของ Apple และอีกมากมายมหาศาล (อีกแล้วครับท่าน)
เดิมทีมี Protocol มากมายกว่านี้ แต่มี พระเอกรายหนึ่งขี่ม้าขาวมาช่วย นั่นคือ the International Standards Organization (ISO) ซึ่งได้ตั้งข้อกำหนดของระบบสื่อสารขึ้นมา ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าไม่ว่าการสื่อสารประเภทใดก็ตามจะต้องสามารถเอามาเขียนใน Model นี้ได้ หุหุ
Model ดังกล่าวองค์กรพระเอกดังกล่าวเรียกว่า ISO OSI (Open Systems Interconnection) Reference Model โดยที่ Model นี้ถูกซอยเป็นส่วนประกอบย่อย (ซอยยิก) โดยมีแต่ละขั้นเรียกว่า Layer มีทั้งหมด 7 Layers ดังนี้
1. Physical Layer
2. Data Link Layer
3. Network Layer
4. Transport Layer
5. Session Layer
6. Presentation Layer
7. Application Layer
โหเยอะชะมัด 5555. คนเขียนว่าเขียนไม่จบตอนแน่ หุหุ
อ้ามาเริ่มอธิบายกันทีละขั้นเลย
Physical Layer หรือ ชั้นกายภาพ (แปลแบบสุดเชย หุหุ)
คือชั้นที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่าง ฝ่ายรับและฝ่ายส่งอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห้น (อ้าว งงอ่ะ) ที่มองเห็นก็เช่น สาย สาย LAN สายโทรศัพท์ ที่มองไม่ใช่ก็เช่นคลื่นวิทยุ คลื่นเหนือม่วง (อุอุ Ultrviolet) คลื่นใต้แดง (Infrared)
รายละเอียดไว้ไปอธิบายกันทีหลังนะ
Data Link Layer แปลว่าไรดีอ่ะ เอางี้ละกันส่วนเชื่อมโยงข้อมูล
หน้าที่หลักๆ ก็แปลงส่วนข้อมูลไปเป็นอะไรก็ตามที่ส่งไปทางกายภาพได้ และต้องสามารถตรวจสอบความถุกต้องของการส่งได้ งงไหมอ่ะ
เอางี้สมมติมีมนุษย์ต่างดาวอุมปะปะ สามารถส่งข้อมูลไปบนผิวน้ำได้ที่มีเฉพาะมนุษย์ดาวอุมปะปะ สามารถอ่านเข้าใจได้อย่างเดียว
มนุษย์ดาวอุมปะปะคนแรกส่งข้อมูลโดยการจิ้มไปที่ผิวน้ำเบาบ้างแรงบ้างสลับกันไป ถ้าเบาแทน 0 แรงแทน 1 และมีความถี่ในการจิ้มน้ำสม่ำเสมอ
ส่วนการส่งข้อมูลทางกายภาพก็คือผิวน้ำ
ตัวส่งข้อมูลคือนิ้วของมนุษย์อุมปะปะ ส่วนรับข้อมูลคือตาของมนุษย์อุมปะปะ
ถ้ามีมนุษย์โลกขี้เหม็นคนนึงต้องการรบกวนการส่งข้อมูลโดยการจ้วงน้ำ
จังหวะของการจ้วงถ้าไม่เท่ากันพอดีกับการจิ้มของมนุษย์อุมปะปะ
ทั้งผู้ส่งและผู้รับชาวดาวอุมปะปะ ก็จะทราบทันทีว่ามีการก่อกวนเกิดขึ้น
แต่หากการกวนอยู่ในช่วงความถี่เดียวกัน การติดต่อสื่อสารก็อาจล่มไปได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีส่วนของการเปิดประโยคและปิดประโยค มาดูตัวอย่างกัน
จังหวะการจ้วงน้ำของมนุษย์อุมปะปะ
จังหวะการก่อกวนของมนุษย์โลกขี้เหม็น
การกวนกันของคลื่นทั้งสอง
อ่ารายละเอียดไว้เราว่ากันเรื่องมนุษย์ดาวอุมปะปะ จะมาขจัดปัญหาการรบกวนการจีบกันโดยมนุษย์ดาวโลกขี้เหม็นยังไงกันต่อในตอนถัดๆ ไปแล้วกัน
Network Layer ผู้นำทางการบอกเส้นทางของการส่งข้อมูล
ยกตัวอย่างเลยล่ะกัน
สมมติว่าเกล้ากระผมเป็นพนักงานแยกจดหมายของบริษัทไปรษณีย์แห่งหนึ่ง
เกล้ากระผมจะต้องรู้ว่าพนักงานขับรถจะไปส่งจดหมายยังไงยังไง การจ่าหน้าซองก็เหมือนตัวบอกวิธีคัดแยก อ่าอันนี้เอาคร่าวๆ แค่นี้ก่อนแล้วกัน
นาย ก. (ไม่ใช่นายก นะ) ต้องการส่งจดหมายไปยังนาย ข.
จดหมายก็จะไปจากมือผมผ่านระบบ เนตเวิร์ก นาย ก. รู้แค่เพียงที่อยู่ของนาย ข. ก็สามารถส่งจดหมาย (ข้อมูล) ไปถึงปลายทางได้ โดยผ่านระบบไปรษณีย์ (เนตเวิร์ก) ที่มีรถขนจดหมาย และบุรุษไปรษณีย์ (กายภาพ) ผ่านผู้คัดแยกจดหมาย (network layer) ไม่มีการแปลงข้อมูลที่ตรงนี้ เพราะจดหมายยังคงสภาพเดิม ไม่มีการใช้ Data Link Layer
แผนที่ รูปแบบหนึ่งของเนตเวิร์กหลายอย่าง เดี๋ยวจะค่อยๆ ยกตัวอย่างทีหลังนะ
ในส่วนของ Layer 4,5,6,7 ขอยกยอดไปตอนถัดจากได้อธิบายและยกตัวอย่างของ Layer 1,2,3 อย่างละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากความซับซ้อนของ Layer ถัดๆ มาค่อนข้างสูง
เหมือนเดิมครับ อย่าลืมวิจารณ์ล่ะ หุหุ
ขอเชิญเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ร่วมวิจารณ์บทความนี้โดยการ คลิกที่นี่ครับ