QNAP QGD-1600P PoE managed switch Review
Share | Tweet |
สวัสดีครับ วันนี้กลับมาพบกับบทความเกี่ยวกับอุปกรณ์ด้านเนตเวอร์คจากแบรนด์ QNAP กันครับ QNAP QGD-1600P นั้น PoE managed switch ซึ่งก็จะเป็นสวิทซ์ที่สามารถปล่อยกระแสไฟไปตามสายแลนได้พร้อมๆกับสามารถปรับแต่งได้ด้วยนั่นเองครับ ซึ่งคุณสมบัติอื่นที่มีร่วมอยู่ในสวิทซ์ตัวนี้ก็คือ มันยังมีฟังก์ชั่น NAS หรือ เนตเวอร์สตอเรจ เป็นศูนย์กลางจัดเก็บข้อมูลให้กับอุปกรณ์ต่างๆภายในวงแลนนั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่าหนึ่งในฟังก์ชั่นการทำงานของ NAS นั้นก็จะมี download master ที่สามารถดาวน์โหลดไฟล์ทอเรนท์ผ่านทางตัว NAS ด้วยคุณสมบัติของ CPU ภายใน
.
ภายในตัว QNAP QGD-1600P นั้นก็เลือกใช้ CPU intel Celeron J4155 ที่มี 4 core ความเร็ว 1.8 GHz และสามารถวิ่งไปสูงสุดที่ 2.5 GHz ครับ แรมนั้นได้ถูกติดตั้งมาสองขนาดคือมีรุ่น 4 GB และ 8 GB ด้วยภายใต้ตัวถังที่เป็นแรคขนาด 23 นิ้วแบบ 1U พอร์ทการเชื่อมต่อนั้นก็จะมีทั้งหมด 16 พอร์ท โดยจะมี 4 พอร์ทรองรับการทำงานแบบ PoE++ ตามมาตรฐาน 802.3bt ที่สามารถจ่ายไฟได้สูงสุดช่องละ 60 วัตต์ อีก 12 พอร์ทที่เหลือนั้นจะรองรับการทำงานแบบ PoE+ ตามมาตรฐาน 802.3bt จ่ายไฟได้สูงสุด 30 วัตต์ต่อช่องเสียบ ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้ตัว QNAP QGD-1600P สามารถจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 370 วัตต์เลยทีเดียวครับ
.
นอกหนือจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งมาให้สามารถทำงานได้หลากหลายแล้ว การบริหารจัดการยังสามารถทำได้ง่ายๆด้วย ตัว QNAP QGD-1600P นั้นได้ออกแบบให้มีจอแสดงผลที่ด้านหน้าของตัวถัง มีพอร์ท HDMI มาให้สามารถเชื่อมต่อจอทีวีพร้อมๆกับใช้เมาส์กับคีย์บอร์ดเพื่อสั่งงานได้โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์แล้วไปสั่งงานผ่านทาง web browser ครับ นั่นเป็นส่วนหลักๆที่ผมพยายามนำมาสรุปให้ฟังกัน เราค่อยๆไปดูรายละเอียดกันต่อเลยครับ
Video Preview
.
.
.
Appearance
ตัวกล่องบรรจุ QNAP QGD-1600P นั้นมีขนาดไม่ใหญ่ครับ รายละเอียดของฟังก์ชั่นการทำงานนั้นก็จะมีแสดงไว้ที่ด้านหน้ากล่อง
ในกล่องนั้นจะมีเอกสารคู่มือแนะนำเบื้องต้น สายไฟเลี้ยงเข้าตัวสวิทซ์ สายแบนสองเส้น ชุดแบร๊คเก็ตสำหรับเชื่อมต่อกับตู้หรือจะวางไว้นอกแร๊คก็ได้เค้ามีเตรียมยางกันลื่นมาให้ติดกับขาสี่ต้นที่ด้านใต้ของตัวสวิทซ์ด้วย
.
ตัวถังที่เป็นแรคขนาด 23 นิ้วแบบ 1U พอร์ทการเชื่อมต่อนั้นก็จะมีทั้งหมด 16 พอร์ท โดยจะมี 4 พอร์ทรองรับการทำงานแบบ PoE++ ตามมาตรฐาน 802.3bt ที่สามารถจ่ายไฟได้สูงสุดช่องละ 60 วัตต์ อีก 12 พอร์ทที่เหลือนั้นจะรองรับการทำงานแบบ PoE+ ตามมาตรฐาน 802.3bt จ่ายไฟได้สูงสุด 30 วัตต์ต่อช่องเสียบ ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้ตัว QNAP QGD-1600P สามารถจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 370 วัตต์ เราสามารถเลือกเชื่อมต่ออุปกรณ์ตามกำลังไฟที่ต้องการเข้ากับพอร์ทเพื่อให้จ่ายไฟได้อย่างเหมาะสม
จอแสดงผลการทำงานแบบเรียลไทม์เพื่อรายงานผลของสถานะเนตเวอร์พร้อมๆกับปุ่มควบคุมด้วย ที่ด้านขวานั้นจะเห็นพอร์ท HDMI, USB 3.0 หนึ่งช่อง, พอร์ท USB 2 อีกสองช่องซึ่งเซตนี้สามารถต่ออกจอทีวีพร้อมๆกับต่อเมาส์และคีย์บอร์ดเพื่อจะควบคุมการทำงานสวิทซ์ตัวนี้ตรงๆได้ทันที และบริเวณเหนือพอร์ท USB สองช่องจะเห็นมีพอร์ท LAN มาให้ ช่องนี้จะเป็นช่องสำหรับเสียบสายแลนที่มีสัญญาณ internet มาครับ
บริเวณโซนขวามือนั้นเป็นส่วนที่แสดงผลของการควบคุม QSS หรือ QTS แยกส่วนกัน
ด้านหลังนั้นก็จะโล่งๆครับ ก็จะมีช่องเสียบไฟเลี้ยงเข้าและมีช่องที่สามารถเสียบการ์ดแบบ PCIe คล้ายๆกับคอมพิวเตอร์
ผมลองเปิดฝาตัวถังตัว QNAP QGD-1600P มาดู จะเห็นครับว่ามีการแบ่งโซนชัดเจน ในรูปด้านซ้ายมือจะเป็นจุดติดตั้งฮาร์ทดิสที่ออกแบบมารองรับ HDD หรือ SSD แบบ SATA ขนาด 2.5 นิ้วจำนวนสองตัวครับ ส่วนโซนตรงกลางนั้นจะเป็นชุดเมนบอร์ดควบคุม
ฮีทซิ้งค์ระบายความร้อน CPU และบริเวณติดตั้งแรมขนาด 8 กิ๊กกะไบท์
บริเวณสำหรับติดตั้ง HDD หรือ SSD แบบ SATA ขนาด 2.5 นิ้วจำนวนสองตัวครับ
ตรงนี้เป็นพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อการ์ดอเนกประสงค์แบบ PCIe Gen 2 ได้สองสล๊อด ซึ่งจะมีให้เลือกซื้อหามาเพิ่มเติมเช่นการ์ด 10GbE network cards, QM2 cards, USB 3.1 Gen 2 (10Gbps) expansion cards and wireless adapters
.
Testing and Conclusion
จอแสดงผลและไฟแสดงผลที่ชัดเจนมาก บริเวณโซนขวามือนั้นเป็นส่วนที่แสดงผลของการควบคุม QSS หรือ QTS แยกส่วนกัน ซึ่งหากเกิดปัญหาก็สามารถทำการรีเซตเฉพาะส่วนสวิทซ์ หรือจะรีเซตเฉพาะส่วนของ NAS ได้ครับ รอดไปสำหรับคนที่กังวล
.
เราสามารถที่จะค้นหาอุปกรณ์ QNAP ในระบบได้จาก Qfinder Pro ครับ
หลังจากนั้นเมื่อเราเลือกคลิ๊กตามรุ่นบน Qfinder ก็จะเข้ามายังหน้า QTS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในอุปกรณ์ของ QNAP อื่นๆเช่น NAS ครับ ดังนั้นสบายมากหากเคยใช้ QTS มาก่อน แต่จริงๆแล้วการใช้งานสำหรับผู้ที่เคยใช้ครั้งแรกก็ไม่ยากเลยครับ อินเตอร์เฟสคล้ายๆกับ windows เลย ทำความเข้าใจได้ไม่ยากครับ
รายละเอียดใน Control panel
เราสามารถตั้งค่า HDD/SSD ในรูปแบบต่างๆเพื่อให้รองรับความต้องการของคุณได้
App Center นั้นก็เหมือนกับ App Store หรือ Play Store ครับ สามารถดาวน์โหลด app มาใช้งานเพื่มเติมได้ แต่ก็ต้องคำนึงไว้นิดนะครับว่า CPU ที่ติดตั้งมานั้นไม่ได้มีสมรรถนะสูงมากนัก รันหลายๆ app อาจจะมีน๊อคได้
ตัวอย่าง app ที่สามารถควบคุมการทำงานของ PoE แต่ละช่องได้อย่างสะดวกสบาย
หรือว่าจะเป็น Download Station ซึ่งมีความสามารถเหมือนกับ torrent client อย่างเช่น utorrent ครับ โดยความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดนั้นก็ได้เต็มสปีดอินเตอร์เนตของคุณแน่นอน
.
หลังจากที่ได้ลองอ่าน ลองเล่นเจ้า QNAP QGD-1600P อยู่หลายวัน ผมถือว่าเป็นสวิทซ์ที่มีความยืดหยุ่น มีความหลากหลายในการทำงานและสามารถอัพเกรดขึ้นไปได้อีกหากต้องการเชื่อมต่อความเร็วเนตเวอร์ที่สูงกว่าด้วย การ์ดเน็ตเวิร์ก 10GbE ของ QNAP หรือจะเพิ่ม ssd แบบ PCIe ก็ได้ครับ พอร์ทเชื่อมต่อแบบ LAN นั้นก็สามารถส่งกระแสไฟได้อย่างยืดหยุ่น มี app สำหรับควบคุมการทำงานของแต่ละพอร์ทได้ทำให้สะดวกในการควบคุมอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ทนั้นๆ รวมถึงความสามารถของ NAS ที่พร้อมจะเป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูลของเครือข่ายของเราครับ โดยรวมแล้วก็ถือว่าน่าสนใจมากทีเดียวราคาน่าจะอยู่ที่ประมาณ 28000-29000 บาทโดยประมาณครับ
.
.
..
CHANE
.
.
.
Special Thanks.
QNAP
.