RAID เทคโนโลยีสูงสุดของการป้องกันความเสียหายของข้อมูลและความเร็วในฮาร์ดดิสก์
Share | Tweet |
RAID 53 : High I/O + Data Transfer Performance
รูปที่ 12 |
RAID 53 นั้น ถ้าพิจารณาจากพื้นฐานการทำงานแล้วน่าที่จะเรียกว่า RAID 30 มากกว่า เพราะมันเป็นการนำเอาการจัดเรียงแบบ
Stripe อย่างใน RAID 0 มาใช้ โดยแต่ละ Segment ข้อมูลจะใช้โครงสร้างแบบ RAID 3 ดูรูปที่ 12 ประกอบ ดังนั้น RAID 53
จึงมีอัตราการส่งข้อมูลสูงอันเนื่องมาจากโครงสร้าง RAID 0 และมี Fault Tolerance ในระดับเดียวกับ RAID 3 ด้วยคุณสมบัติ
ดังกล่าว RAID 53 จึงมักถูกนำไปใช้กับงานที่เคยใช้กับ RAID 3 มาก่อน แต่ต้องการเพิ่มความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลให้มากขึ้น แต่
ต้องตระหนักเสมอว่า RAID 53 นี้ยังคงมีรูปแบบการทำงานแบบ Synchronous ดังนั้นปัญหาเรื่องเวลาคอขวดก็จะยังคงมีอยู่
เหมือนกับ RAID 3
ขอต่ออีกหน่อยน่ะ สำหรับผมแล้วผมเคยลองใช้ Mode 0 (Stripe)น่ะ ก็ใช้การ์ด MS-6915 (PDC20265) Mo เป็น RAIDผมว่า เยี่ยมเลยครับ ระบบเร็วและลื่นขึ้นมากเลยครับ ไม่หนึดหรือต้องหยุดรอการ อ่าน/เขียน ข้อมูลของ Harddisk ให้เสียอารมณ์แต่ก็ใช่ว่ายิ่ง Harddisk หลายตัวความเร็วที่ได้จะเพิ่มตามนั้นน่ะ เช่นใช้ 2 ตัวก็น่าจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า(ของความเร็วตัวที่ช้าที่สุด) แต่ว่าที่ได้จริงๆก็ประมาณ 1.75 - 1.88 เท่า เท่านั้นเองน่ะ
แล้วจริงๆมันจำเป็นมั้ยสำหรับ Home used อย่างเราๆ ผมว่าถ้าใช้งานทั่วไปก็ไม่จำเป็นน่ะ นอกจากพวกที่ต้องการการอ่านเขียนข้อมูลเร็วๆจริงๆ เช่นทำงาน กราฟฟิก ที่ต้อง โหลดไฟล์เยอะๆ แต่ถ้ามีตังค์น่ะ ผมว่า น่าจะใช้น่ะ ผมว่าดีกว่าไปเพิ่มความเร็ว CPU อีกน่ะเพราะส่วนใหญ่ CPU ก็เร็วจนอุปกรณ์ตัวอื่นๆรอบข้างตามกันไม่ทันแล้ว แล้วตัวที่ทำงานช้าที่สุดในระบบ ก็คือ Harddisk
(ยกเว้น Floppy น่ะ) ก็ง่ายๆถ้าใครเคยใช้ H/D 5400 รอบแล้วเปลี่ยนเป็น 7200 รอบก็จะรู้ว่าเครื่องเร็วขึ้นมากๆเลย เห็นมั้ยครับ ว่าความเร็วของ Harddisk มีผลต่อระบบโดยรวมมากแค่ไหน บ่นมาก็มากแล้วเอาเป็นว่าแค่นี้ก่อนน่ะครับวันนี้…
ที่มาข้อมูลอ้างอิง : QuickPC Magazine และ PHL
เรียบเรียงบทความโดย : kirk
ขอเชิญเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ร่วมวิจารณ์บทความนี้โดย คลิกที่นี่ครับ