Review : Acer Aspire 3810T “Timeline series”
Share | Tweet |
Acer Aspire Timeline 3810T
สวัสดีครับ วันนี้ก็กลับมาพบกับผมอีกแล้วในบทความรีวิวโน๊ตบุ๊ก ที่อาจจะห่างหายไปนานกันสักนิดหนึ่ง และในวันนี้ผมก็มาพร้อมกับ โน๊ตบุ๊กรุ่นใหม่ล่ามาแรงจากค่ายยอดฮิตติดตลาดเมืองไทยอย่าง Acer ในรุ่น 3810T “Timeline” ซึ่งในอนุกรม Timeline (ชื่อรุ่นใหม่จาก Acer) จะเป็นอนุกรมที่เน้นในเรื่องของความประหยัดพลังงาน ด้วยขนาดที่พอเหมาะ ใช้งานทั่วๆไปได้อย่างสบาย และสามารถใช้งานบนแบตเตอรี่ได้อย่างยาวนาน สำหรับในรุ่น 3810T ตัวนี้ ในเสป็ค ก็จะเคลมไว้ที่ 8 ชั่วโมงครับ
CPU | Intel Core 2 Duo SU9400 1.4Ghz 3mb L2cache |
RAM | DDR3-1066 2×2gb CL 7-7-7-20 |
Chipset | Intel GS45 |
Graphics | Intel GMA X4500 |
Storage | SATA II 500gb 5400rpm 2.5″ |
Optical drive | N/A |
Wireless | Intel Pro WiFi 5100 (IEEE802.11g/n) |
Display | 13.3″ HD LED backlight |
Weight | ~1.6kg |
Port/Slot | USB2.0 3ports, SD slot, DSUB+HDMI out |
Battery | 6Cells 5600mAh |
OS Bundle | Windows Vista x86 Home Premium |
ภาพจากโปรแกรม Everest แสดงรายละเอียดของเครื่อง
สำหรับในวันนี้ ผมก็คงต้องท้าวความกันสักนิดหนึ่ง เพราะหลายท่านอาจจะสงสัยว่า โน๊ตบุ๊กที่มีขนาดไม่เล็กมากอย่าง Acer Timeline 3810 ตัวนี้นั้น จะสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 8 ชั่วโมงได้อย่างไรกัน ก็ต้องมาตรวจสอบถึงสเป็คกันดู ก็จะมาสะดุดที่ตัว CPU แหละครับ หากศึกษาตาม Chart ด้านล่างนี้ ก็น่าจะพอทำให้เข้าใจขึ้นได้อีกนิดหนึ่งครับว่าทำไม Acer Aspire Timeline 3810 ที่ใช้ซีพียู Core 2 Duo SU9400 นั้นถึงได้ประหยัดพลังงานและใช้งานได้ยาวนานกว่าโน๊ตบุ๊กที่ใช้ซีพียูในตระกูล T หรือ P ในรุ่น Core 2 Duo
ตารางเปรียบเทียซีพียูโมบายจากเว็บ ark.intel.com แสดงให้เห็นถึงเสป็คอย่างละเอียดของซีพียู Mobile Core 2 Duo จะสังเกตได้ว่า ในคอลัมน์ที่ไฮไลท์ด้วยสีแดง จะเป็นรุ่น SU9400 ที่เมื่อดูเสป็คดีดีแล้ว ก็จะไม่ต่างอะไรจาก Core 2 Duo ตระกูล P หรือ T ที่มีเลขนำหน้าด้วยเลข 8 นั้นคือมี L2 cache 3 mb แต่สิ่งที่มันแตกต่างนั้นก็คือ TDP ที่ต่ำเพียงแค่ 10watt เท่านั้น ในขณะที่ซีพียู Penryn มาตรฐานในรหัส Pxxxx นั้นจะมีค่า TDP อยู่ที่25 วัตต์ และ Txxxx จะอยู่ที่ 35 วัตต์นั้นเองครับ กล่าวคือ ซีพียูในตระกูล SUxxxx จากอินเทลนั้น จัดเป็นซีพียูในกลุ่มที่ในสมัยก่อนนั้นใช้ชื่อเรียกว่า ULV (Ultra Low Voltage) ในสมัย Pentium M รุ่นเก่าๆนั้นเอง และเหตุผลดังนี้ จึงทำให้ โน๊ตบุ๊กที่ใช้ซีพียูในตระกูล SU ของอินเทล มีอัตตราการบริโภคพลังงานที่ต่ำเช่นนี้นั้นเองครับ