Review : Acer Aspire E15 (E5-551G-F4U1)
Share | Tweet |
AIDA 64
ตัวรายละเอียดเครื่องจากโปรแกรม AIDA64 ก็แสดงให้เห็นว่าตัวเครื่องใช้ซีพียู AMD K15 (FX-7500) ฮาร์ดดิสก์จานหมุนขนาด 1TB 5400RPM ไวเรสของ Atheros ชิป AR956x ที่รองรับ Wireless N
พอมาเปิดดู CPUZ ก็ถึงจะพบว่าตัวซีพียูนั้นมี 4 Core ความเร็วนั้นเป็นลักษณะแปรผันตามการใช้งาน (คล้ายๆ Turbo boost ของอินเทล) โดยผมลองรัน 4 Thread Full load ดูก็พบว่าความเร็วจะป้วนเปี้ยนอยู่ที่ 2.1-2.2GHz และความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 3.3GHz ครับ
Super PI 1m
เป็นที่รู้กันว่าซีพียูจากค่ายนี้ มักจะแพ้ทางกันกับการทดสอบ Super PI 1m (เป็นรายการทดสอบที่สู้อินเทลไม่ได้) โดยทำเวลาได้ที่ระดับ 24.083 วินาที เรียกได้ว่าไม่ได้เร็วมากนัก แต่ถ้าเทียบกับซีพียูรุ่นก่อนๆจากค่ายนี้ ก็ถือว่าเร็วขึ้นมาพอสมควรแล้ว
CrystalDiskMark 3
คะแนนของตัวฮาร์ดดิสก์ ก็อยู่ในเกณฑ์ระดับ 100 mb/s ถือว่าสอบผ่าน
HD Tune
แต่พอเทสใน HD Tune ออกมาพบว่า access time ถือว่าเร็วใช้ได้ 17.8 มิลลิวินาที ผิดกับหลายๆเครื่องที่เคยทดสอบมาที่มักจะได้ 18-20 มิลลิวินาที เท่าที่เคยสังเกตมา โน้ตบุ้คเครื่องไหนใช้ฮาร์ดดิสก์จากค่าย WD มักจะมี burst rate อยู่ในระดับปกติๆ แต่พอเทสต์ access time ออกมาก็จะเร็วกว่าเพื่อนอยู่พอสมควรครับ
Cinebench R11.5
3DMark
คะแนน 3DMark ตัวล่าสุด ก็อยู่ในระดับน่าพอใจเลยทีเดียวสำหรับเครื่องเมนสตรีมแบบนี้
PCMark 7
ตัว PCMark 7 คะแนนออกมาก็เรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับกลางๆ ค่อนไปทางต่ำ
Resident Evil 6 Benchmark
ผมลองทดสอบด้วยเกม Resident evil 6 คะแนนก็ออกมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจกับเครื่องระดับนี้ครับ เอาเป็นว่ามัน “เล่นได้”
.
.
….Aspire E15 ก็เป็นโน๊ตบุ๊คจอ 15 นิ้ว ดีไซน์บางพิเศษอีกรุ่นหนึ่ง ที่ในท้องตลาดช่วงนี้เราจะได้เห็นเครื่องแนวๆนี้ ทำออกมากันมากหน้าหลายตากันมากขึ้น ที่แปลกไปจากหลายๆรุ่นนั้นก็คือการนำเอาชิป APU จาก AMD มาใช้ ซึ่งมีจุดแข็งในเรื่องของสมรรถนะกราฟฟิค และมีแกนประมวลผลถึง 4+6 แกน (ซีพียู 4 กราฟฟิค 6) ถ้าเทียบในราคาไล่ๆกันกับค่ายอินเทลแล้ว ที่ส่วนใหญ่ในเรตราคานี้มักจะได้ซีพียูแค่ 2 แกน ก็พบว่าจะได้เปรียบในเรื่องการนำไปใช้งานในด้าน multitasking (เข้ารหัสไฟล์วีดีโอไปพร้อมๆกับการเปิดเว็บ) ได้ดีกว่าแน่ๆครับ ตลอดจนความแรงของกราฟฟิค ที่ผมคิดว่าน่าจะสูสีกับตัว GT720 จากค่าย NVIDIA และอาจจะแรงกว่าในบางการทดสอบด้วยซ้ำครับ
…พูดถึงข้อดีมาพอสมควร ก็มีเรื่องข้อจำกัดของเครื่องครับด้วยความที่ตัวเครื่องมาในแพคเกจที่ค่อนข้าง บาง และกระทัดรัด ถึงแม้จะมีจอขนาด 15 นิ้ว แต่ภายในนั้นก็ต้องทำใจครับว่าซีพียู และเมมโมรี จะถูกฝังลงไปในเมนบอร์ดเลย ดังนั้นก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องการซ่อมแซม ในกรณีที่ชิ้นส่วนบนบอร์ดมีความเสียหาย ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าในการที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์บนบอร์ด (เพราะซีพียู และแรม ฝังลงไปบนบอร์ดเลย) ตลอดจนการอัพเกรด ก็อาจจะทำได้เพียงแค่การเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์เท่านั้น ไม่สามารถเพิ่มแรมและเปลี่ยนซีพียูได้
….แต่ด้วยราคาขายแค่เพียงราว 19,900 บาท กับสมรรถนะที่ได้มา ผมคิดว่า E15 น่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คในแนว “all purpose” ที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่ง ทั้งดีไซน์ และอรรถประโยชน์ในการใช้งานที่ค่อนข้างจะลงตัวครับ
.
.
.