Review : Acer Aspire One AO756
Share | Tweet |
Review : Acer Aspire One AO756
…เชื่อว่าหลายๆคนคงจะคุ้นเคยกับชื่อของ Aspire One ของทาง Acer กันมาตั้งแต่สมัย 3-4 ปีก่อนหน้านี้ ยุคที่ Atom และ Netbook กำลังบูม มาถึงวันนี้ก็เรียกได้ว่า กระแสของเน็ทบุคเองก็เริ่มที่จะจางๆลงไปบ้างแล้วครับ และมาในวันนี้ Acer ก็ได้มีการปรับตัวโดยที่ไลน์ผลิตภัณฑ์ของ Aspire One เดิมที่เคยเป็น Mini Notebook หรือ Netbook ที่มีขุมพลังประหยัดพลังงานแต่สมรรถนะอาจจะไม่ดีมากนักอย่าง Intel Atom มาก่อน ก็ขยับตัวเองมาเล่นในตลาดของ “Sub-Notebook” ราคาไม่แพงที่มีการอัพโปรเซสเซอร์มาเป็นตระกูล Core 2nd gen. หรือ Third Gen. รุ่นเล็กๆกันเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ครับ
Processor | Intel Celeron 967 1.3GHz L3 2MB |
Chipset | Intel HM70 |
Memory | 2GB DDR3-1333MHz |
Graphics Adapter | Intel HD2000 |
Display | 11.6″ 1366×768px |
Harddisk | 320GB 5400RPM |
Optical Drive | N/A |
Network | Qualcomm Atheros AR5BWB222 (Wireless N) |
Connection Port | USB2.0 x3, HDMI, VGA, RJ45 |
Battery | 37W.hr |
Weight | 3.05lbs |
OS Bundled | Linpus Linux |
…เมื่อผมเริ่มตรวจสอบรายละเอียดเชิงเทคนิคในเบื้องที่ลึกก็พบว่าขุมพลังของ Aspire One เครื่องนี้เป็น Intel Celeron ที่ใช้โครงสร้างเดียวกับซีพียูในตระกูล Core i series แบบ 2nd generation หรือ Sandy Bridge นั้นเองครับ ถูกตั้งความเร็วมาที่ 1.3GHz และตัด L3 cache เหลือ 2mb ซึ่งโดยภาพรวมแล้วก็น่าจะตีเป็นซีพียูแบบประหยัดพลังงานได้ กราฟฟิคเป็นแบบอินติเกรตรุ่น HD2000 (แบบเดียวกับ Core i3 2nd gen) นอกเหนือจากนี้ก็ถือว่ามีสเป็คที่อยู่ในเกณฑ์ใช้งานในชีวิตประจำวันได้แล้ว ซึ่งเราจะได้มาลงรายละเอียดระดับสมรรถนะกันในภายหลัง
…ตัวเครื่องที่ผมได้รับมานั้นเป็นโมเดลสีฟ้าสดใส น่าจะเหมาะกับน้องๆวัยรุ่นเลยทีเดียวครับ ตัวเครื่องนั้นมีขนาดค่อนข้างเล็กเนื่องด้วยจอภาพขนาดกระทัดรัดอย่าง 11.6″
…โดยภาพรวมทั่วไปผมรู้สึกว่าความรู้สึกที่สัมผัสได้ไม่ค่อยต่างจาก netbook รุ่นก่อนๆของทาง acer มากนัก ผิดกันก็แต่ที่ขนาดจอที่อาจจะใหญ่ขึ้นมาจาก netbook บ้าง แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่พกพาได้สะดวก แต่มีความหนาอยู่พอสมควร
..เมื่อกางบานพับออกมาก็จะพบว่าตัวเครื่องมีความเป็นมิตรกับผู้ใช้ในระดับหนึ่ง คีย์บอร์ดที่วางเรียงกันไม่แออัดจนเกินไป ถือว่าใช้พื้นที่อันน้อยนิดของเครื่องขนาด 11 นิ้วได้อย่างคุ้มค่า สังเกตที่ขอบคีย์บอร์ดจะเหลือพื้นที่น้อยมาก ปุ่มเป็นแบบปุ่มแยก (chicklet) ซึ่งสัมผัสที่ได้ก็ค่อนข้างมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่จังหวะการกดนั้นจะออกแนวสั้นๆครับ
เลย์เอาท์ต่างๆของคีย์บอร์ด ก็มีความรู้สึกว่าเครื่องเล็กอยู่บ้าง แต่ภาพรวมแล้วไม่พบปัญหาใดๆในการกดปุ่มทุกๆปุ่มที่ใช้งานบ่อยๆ
…ส่วนของทัชแพดนั้นก็สามารถใช้งานได้ดี ตัวทัชแพดนั้นเป็นลักษณะแป้นโล่งๆ และปุ่มกดแยกซ้ายขวาในตัวมันเอง ซึ่งส่วนตัวแล้วผมคิดว่าปุ่มลักษณะนี้มันทำให้ขัดอรรถรสการใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ไปเล็กน้อยความลื่นไหลยังถือว่าไม่ค่อยจะดีเสียเท่าไหร่ แต่ก็พอกล้อมแกล้มใช้งานไปได้แบบไม่เสียอารมณ์มากนักครับ
พอร์ตเชื่อมต่อเรียกได้ว่ามีมาให้แน่นเครื่องเลยทีเดียวทั้ง VGA, HDMI ตลอดจน RJ45 สำหรับแลน และ USB 2.0
อีกด้านหนึ่งก็จะพบว่ามี USB 2.0 มาอีกสองพอร์ตและ Audio in และ out อยู่ในช่องเดียวกันซึ่งผมคิดว่าตรงนี้จะทำให้มีปัญหากับคนที่จะใช้เครื่องในการ video call โดยใช้ชุด headset มาตรฐานที่มีแจ๊คไมค์กับหูฟังแยกกันครับ (ในกรณีแบบสมอลทอล์คของโทรศัพท์ก็จะมาใช้งานกับรูนี้ไม่ได้เช่นกัน)
ด้านใต้เครื่องเป็นลักษณะฝาเดียวเปิดได้ทั้งตัวเครื่อง
แต่ฝาก็เปิดไม่ได้เพราะว่าสติกเกอร์รับประกันแปะไว้ตรงรูน็อต หราเลยครับ
การ์ดรีดเดอร์ซ่อนไว้ด้านหน้า งุ้มลงมาเล็กน้อย
การถอดแบตเตอร์รี่นั้นทำได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้ปากกาหรือไขควงเล็กๆนิดหนึ่งงัดรูนี้ออกครับ
แบตเตอร์รี่ขนาด 37Wh ซึ่งถือว่าค่อนข้างเล็กสำหรับโน๊ตบุ๊กสมัยนี้ แต่เราจะมาดูกันว่ากับซีพียูกินไฟต่ำๆ clock ต่ำๆอย่าง Celeron 1.3GHz นี้จะอยู่ได้กี่ชั่วโมงกับการทดสอบของเรา
เรื่องหนึ่งที่ขัดใจผมมากก็คือ ไม่รู้ว่าจะต้องการ dump ราคาลงให้ถูกสักแค่ไหนถึงต้องติดตั้ง Linpus Linux ที่ผมคิดว่าคงไม่มีใครเอาไปใช้งานจริงๆ เพราะมันเล่นอะไรไม่ได้เลยในแง่ของยูสเซอร์ทั่วไป (เจอ command line แบบนี้ก็ไม่มีใครไปเป็นแล้วครับ) แล้วสุดท้ายผู้ใช้ก็คงไปจบที่วินโดวส์เถื่อนอย่างไม่ต้องสงสัยแน่นอนครับ
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
…อย่างที่ได้กล่าวไปครับว่า Celeron 967 แชร์โครงสร้างของ Sandy Bridge ร่วมกับ Core i series ที่เป็น 2nd gen. ซ่งมีการตัดขนาด L3 Cache และความเร็วลงมาในระดับหนึ่ง กราฟฟิคก็เป็น HD2000 (รุ่นเล็กสุดแบบใน Core i3) ซึ่งเราก็จะมาชมกันว่าจะทำความเร็วกันได้สักแค่ไหน
Super PI 1M
เปิด Super PI ออกมาก็พบว่าได้ 30 วินาที ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ เร็วกว่า Atom เยอะครับ (Atom อย่างต่ำก็ 1 นาที +)
Cinebench R10
Ciebench R11.5
คะแนนของ Cinebench ทั้งสองตัวบอกได้เลยว่าทำออกมาดีกว่าที่คาดไว้มากครับ คะแนนระดับนี้ถ้าเทียบกันแล้วน่าจะประมาณมาตรฐานของ desktop pc ยุคเมื่อราวๆ 6 ปีก่อนได้เลยทีเดียว
Batterry Eater (100-95%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด 50% และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic บังคับใช้กราฟฟิคของอินเทล ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/aspireone-new/b/23_6_2012_1/Report.html
162 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 42 นาที ซึ่งถือว่าค่อนข้างนานเลยทีเดียวครับสำหรับแบตเตอร์รี่ขนาดเล็กเพียง 37Wh ซึ่งก็คงเพราะซีพียู Celeron ทำงานทีความถี่ค่อนข้างต่ำด้วยประกอบกับจอขนาดไม่ใหญ่มากด้วยแหละครับ
CrystalDiskMark
คะแนนอ่านและเขียนฮาร์ดดิสก์ก็ถือได้ว่าทำได้ในระดับปกติ
Cache & Memory speed
ความเร็วในการอ่านเขียนเมมโมรีนั้นตัวเลขอาจจะต่ำๆไปกว่าพวก Core i series ไปบ้างด้วยความถี่การทำงานที่ต่ำกว่า แต่ก็ยังถือว่าไม่น่าเกลียดครับ
PCMark 05
คะแนนของ PCMark 05 นี้อยู่ในระดับของ Notebook ระดับ mainstreme ในสมัย 3-4 ปีก่อนนี้น่าจะได้ (ความเห็นของผู้ทดสอบ)
3Dmark06
คะแนนของ 3DMark 06 ก็เรียกได้ว่าพอกล้อมแกล้มไปได้เรื่อยๆ เล่นเกมเก่าๆอาจจะพอได้ แต่การที่ Intel HD ใน Sandy Bridge นั้นไม่รองรับกับ DirectX 11 ก็ทำให้ไม่สามารถทดสอบ 3DMark 11 ให้ได้ชมกันได้ครับ
.
… ด้วยราคาที่อยู่ในระดับของ netbook ระดับกลางๆของสมัยก่อน (15xxx.-) ผมคิดว่า Aspire One โฉมใหม่นี้น่าจะเป็นเครื่องที่เหมาะสมสำหรับคนที่ต้องการโน๊ตบุ๊กขนาดเล็กๆ (ที่ไม่ใช่ Tablet) ราคาสมเหตสมผล สามารถใช้ทำงานได้จริง ไม่ช้าจนเกินไป ตลอดจนยังคงใช้งานแบตเตอร์รี่ได้ค่อนข้างยาวนานอีกด้วยครับ สมรรถนะเอาจริงๆแล้วเท่าที่ได้ใช้งานดู ถ้าใช้เพียงแค่เล่นเปิดเว็บ หรือพิมพ์เวิร์ดธรรมดาๆ ก็เรียกได้ว่าทำได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด ตลอดจนใช้ดูหนังระดับ HD ก็ยังทำได้ (มีพอร์ต HDMI มาให้ด้วย) หรือจะหนักกว่านั้นคือใช้งานโปรแกรมแต่งรูปอย่าง photoshop ก็ยังพอกล้อมแกล้มไปได้ไม่แย่มากเหมือน Atom แน่นอนครับ ดังนั้นหายห่วงได้สำหรับชื่อ Celeron สำหรับวันนี้ก็คงต้องจบลงแต่เพียงเท่านี้ สวัสดี
.
.
ขอขอบคุณ Acer
.