Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

/ บทความโดย: Northbridge , 25/07/2013 01:29, 24,554 views / view in EnglishEN
«»
Share

.

การใช้งาน

 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

ดังรูปเป็นการใช้งานเครื่องในโหมดที่น่าจะเรียกได้ว่า เหมาะสมสำหรับการทำงานทั่วๆไปที่เรามักจะทำกันบนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีปกติ ซึ่งด้วยความที่ Aspire P3 นั้นใช้ซีพียู Core i5 เหมือนกับอัลตราบุคทั่วๆไป ทำให้มันสามารถรันโปรแกรม X86 ทั่วๆไปบนวินโดวส์ได้อย่างลื่นไหลครับ แต่ถ้าหากจะใช้งานเป็นเวลานานๆ สำหรับ P3 ก็อาจจะติดปัญหาตรงที่ว่า หน้าจอนั้นไม่สามารถปรับองศาการรับภาพในแบบอื่นๆได้แบบที่โน๊ตบุ๊กทั่วๆไปที่มีบานพับจอสามารถทำได้

 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

จะเห็นได้ว่าผมสามารถรันโปรแกรมทดสอบอย่าง 3Dmark ได้สบายๆ กับเครื่องที่มีีรูปร่างหน้าตาที่เรียกว่าน่าจะเป็นแท็บเล็ต มากกว่าเป็นคอมพิวเตอร์พีซีปกติ ระหว่างนั้นผมก็ได้ทดลองเปิดเพลงฟังไปด้วย ระบบเสียง dolby home theater นั้นก็ให้ซุ่มเสียงที่พอใช้การได้ในระดับของมันครับ การใช้งานในโหมดโน๊ตบุ๊คแบบรนี้ จะทำให้ได้เสียงที่ทุ้มและก้องมากกว่าการถือใช้งานแบบแท็บเล็ตเล็กน้อย เพราะลำโพงอยู่บริเวณด้านล่างเครื่อง (ใต้ปุ่ม Windows)

ส่วนตัวคีย์บอร์ดนั้น ใช้การเชื่อมต่อกับตัวเครื่อง ผ่านทางระบบ Bluetooth ซึ่งจะใช้งาน ต้องทำการกดปุ่มเพื่อทำการเปิดคีย์บอร์ดขึ้นมาใช้งานก่อนครับ ซึ่งปุ่มกดบนคีย์บอร์ดนั้น ก็วางเรียงมาได้ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีปุ่มเป็นแบบ 5 แถว (ปุ่ม F1-F12 ต้องกด fn) จังหวะการกดนั้นก็เรียกได้ว่าออกแนวบางๆตื้นๆ ปุ่มนั้นมีการตอบสนองได้ดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคีย์บอร์ดที่มีความบางขนาดนี้

 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

ตัวโคเวอร์นั้นจะทำหน้าที่เป็นขาตั้งไปในตัวครับ ดังภาพด้านบน ส่วนคีบ์บอร์ดนั้น ในตัวจะมีแบตเตอร์รี่ ที่สามารถชาร์จได้ทางสาย Micro USB ครับ

 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

โคเวอร์สามารถพับไปด้านหลัง เพื่อการใช้งานในรูปแบบของแท็บเล็ต แต่คีย์บอร์ดนั้นจะไม่ปิดการทำงานให้นะครับ ก่อนที่จะพับไปด้านหลังนี้ ต้องทำการปิดคีย์บอร์ดเสียก่อน เพื่อไม่ให้ปุ่มกดถูกกดโดยไม่ได้ตั้งใจ

 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

การใช้งานในรูปแบบของแท็บเล็ตแล้ว ด้วยน้ำหนักตัว 800 กรัม ไม่รวมโคเวอร์ ก็เรียกได้ว่า หนักกว่าแท็บเล็ต 10 นิ้วทั่วๆไปในตลาดอยู่พอสมควร การใช้งานถือมือเดียว อาจจะทำได้ไม่สะดวกนัก แต่สำหรับการใช้งานแบบนั่งอ่านคล้ายๆกับท่าอ่านหนังสือ ดังภาพนั้น ก็เรียกได้ว่าทำได้ดีเลยทีเดียวครับ

 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

ปิดท้ายด้วยรูปนี้ ด้วยแอพพลิเคชั่นที่โหลดมาจาก Windows Store เป็นเช็คลิสต์ของเครื่องบินครับ ใช้งานได้สะดวกดีเลยทีเดียว

.

CPU-Z & GPU-Z system information

c1 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

ซีพียูก็เป็น Core i5 3339Y ที่มี L3 cache ถึง 3MB ด้วยกัน เรียกได้ว่าสเป็คเหมือนๆกับโน๊ตบุ๊กขนาดปกติ เพียงแค่กินไฟน้อยกว่า และมีความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ต่ำกว่าเท่านั้นเองครับ

c2 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

เมมโมรีขนาด 4GB ที่ถูกแชร์ไปให้กราฟฟิค Intel HD4000 ไปส่วนหนึ่ง ทำงานที่ความเร็ว DDR 1600MHz

gpuz HD Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

กราฟฟิคแบบฝังอยู่ในตัวซีพียู Intel HD4000 ที่เท่าที่เคยทดสอบที่ผ่านๆมือมา ก็เรียกได้ว่าสามารถเล่นเกมภาพสวยๆ และเกมออนไลน์ใหม่ๆได้ดีในระดับหนึ่งครับ

PCmark 7

PCM7 score Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

ผมทดลองเอาผลการทดสอบของ PCmark7 มาให้ชมกันซึ่งก็ทำได้อยู่ในระดับของอัลตราบุคระดับกลางๆทั่วไปในตลาดครับ

Cinebench R11

 Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

คะแนนของ Cinebench R11 ก็ทำออกมาได้พอสมควร ให้สังเกตที่ OpenGL score มาถึง 11.79fps ซึ่งผมลงความเห็นว่า คะแนนระดับนี้ ก็พอที่จะเล่นเกมที่มีระบบกราฟฟิคในยุคนี้ โดยปรับเซ็ตติ้งในระดับ low เกือบทั้งหมด แต่ความละเอียดเต็มจอได้โอเคเลยทีเดียวครับ

.

.

เรียกได้ว่าเป็น "combination" ที่ลงตัวมากๆ ในด้านการออกแบบของเครื่องอัลตราบุคสมัยใหม่เครื่องหนึ่งเลยทีเดียวครับ ทั้งประโยชน์ใช้สอยที่ยังคงไว้ได้ครบ ในแง่สมรรถนะก็เรียกได้ว่าทำได้ดี และมีความคล่องตัวในการใช้งานในรูปแบบของแท็บเล็ต ติดตัวมาอีกด้วย ซึ่งส่วนตัวผม ถ้าให้เลือกพกเจ้า P3 ไปใช้งานในวันหยุดพักผ่อน หรือวันที่ต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งสารธารณะ ผมก็คงจะไม่หยิบเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตเครื่องอื่นไปด้วยอีกแน่นอนครับ

ในด้านสมรรถนะ เรียกได้ว่าหายห่วง ด้วยตัวซีพียู Core i5 หรือแม้จะเป็นรุ่นเล็กสุดที่เป็น Pentium ผมก็ยังคงกล้าบอกได้ว่า ไม่น่าเป็นห่วง เพราะเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Ivy-Bridge หมดแล้ว (เป็นสถาปัตยกรรมในซีพียูที่โน๊ตบุ๊กส่วนใหญ่ในตลาดใช้กัน) และเจ้า SSD 120GB ก็เรียกได้ว่าทำหน้าที่ของมันได้ดีเลยทีเดียว ความจุก็อยู่ในระดับกลางๆที่พอใช้งานลงโปรแกรมได้ประปราย และเก็บข้อมูลได้บ้าง และตอบสนองจากการ resume จากโหมด sleep ได้อย่างรวดเร็ว

แต่อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยข้อจำกัดในด้านการออกแบบ และฟอร์มแฟคเตอร์ของเครื่อง P3 นั้นยังคงขาดการเชื่อมต่อบางอย่างไป อย่างเช่นพอร์ตแลน RJ45 และพอร์ต USB ที่มีมาให้เพียงแค่พอร์ตเดียว ก็ยังคงเป็นจุดที่เป็นข้อเสียของอัลตราบุคในรูปแบบนี้ครับ ส่วนจุดด้อยอื่นๆก็คงจะเป็นเรื่องของคีย์บอร์ด ที่ถึงแม้จะสะดวกในการใช้งานพิมพ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว แต่ขาดความคล่องตัวในการพับเก็บ และยังคงต้องคอยมากดปุ่มปิด เมื่อจะพับไปใช้งานในโหมดของแท็บเล็ตอยู่ วัสดุตัวเครื่องถึงแม้จะทำออกมาได้ดี แต่ตัวโคเวอร์ที่แถมมาให้นั้น ผมคิดว่าดีไซน์ยังไม่โดดเด่นและคุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์กลางๆ ไม่ถึงกับดีจนน่าตกใจครับ

จุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับอัลตราบุคลูกผสมแท็บเล็ต ที่มีขายอยู่ในตลาด ก็คือเรื่องของราคา ที่สำหรับในรุ่น Core i5 จะอยู่ที่ 27,900 บาท และมาพร้อมกับคีย์บอร์ดในตัวเลยนั้น เรียกได้ว่าคุ้มค่า เพราะหากเทียบกับเครื่องที่มีรูปแบบคล้ายๆกันอย่าง Surface ของไมโครซอฟท์ จะเห็นได้ว่าขานั้น มีราคาที่แพงกว่าอยู่พอสมควร และตัวคีย์บอร์ด ก็ต้องซื้อแยกออกมาต่างหากอีกด้วยครับ

รุ่น Pentium / RAM 2GB / SSD 60GB ราคา 19,900 บาท

รุ่น Core i3 / RAM 4GB / SSD 60GB ราคา 23,900 บาท

รุ่น Core i5 / RAM 4GB / SSD 120GB ราคา 27,900 บาท

vmod award value best Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tabletvmod award innovation good Review : Acer Aspire P3 Ultrabook + Tablet

Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»