Review : Acer Aspire Timeline 4810TG
Share | Tweet |
PCmark05
คะแนน PCmark นี่เป็นปกติที่ซีพียูที่มีแกนประมวลผลมากกว่า จะมีคะแนนสูงครับ เพราะเน้นการทดสอบแบบ Multitask และการ encode ไฟล์วีดีโอต่างๆ
3Dmark06
พลังจาก Radeon HD4330 นั้นส่งผลให้ Aspire Timeline 4810TG มีคะแนนเป็นหัวแถวได้ไม่ยากเลยครับ คะแนนระดับนี้ ถือว่าสามารถคาดหวังการเล่นเกมสามมิติในปัจจุบันได้แบบพอเล่นได้เลยทีเดียว อาจจะต้องปรับความละเอียด และเอ็ฟเฟ็คบางอย่างลดลงไปบ้าง แต่ก็สามารถเล่นได้ด้วยครับ
.
Acer Aspire Timeline 4810TG นับได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊กกลุ่มประหยัดพลังงาน เน้นการใช้งานบนแบตเตอร์รี่ที่ยาวนาน ที่น่าสนใจอีกเครื่องหนึ่งเลยทีเดียว จากแต่ก่อนที่เรามักจะเห็นเครื่องแบบนี้ มีขนาดหน้าจอที่ต่ำกว่า 13 นิ้วลงไป แต่ใน 4810TG ตัวนี้ มีขนาดจอใหญ่ถึง 14 นิ้ว ถึงแม้จะมีขนาดถึง 14 นิ้ว ก็ไม่ทำใหู้รู้สึกเกะกะเหมือนพวกโน๊ตบุกกลุ่มที่เน้น performance มากนัก เพราะด้วยความบางของมัน และข้อดีอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับโน๊ตบุ๊กในกลุ่มประหยัดพลังงานนั้นคือ มีไดร์ฟ DVD-RW ติดตั้งมาให้ในตัว รวมไปถึง บอดี้ที่สวยงามน่าใช้ และดูแข็งแรงดีครับ
ประสิทธิภาพที่ได้จากกราฟฟิค ATi Radeon HD4330 ก็จัดได้ว่าพอที่จะนำมาใช้งานเพื่อความบันเทิง ได้บ้าง เช่น เกม หรือสำคัญที่สุด การเล่นหนัง Hi-def ที่กราฟฟิคจาก ATi นั้นถือได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆที่มี Hardware decoder ที่ช่วยลดภาระให้ซีพียู เป็นค่ายแรกๆ จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่า มันจะตอบสนองการใช้งานด้านความบันเทิงได้ไม่แพ้โน๊ตบุ๊กเครื่องใหญ่ๆเลยทีเดียว หากต้องการประหยัดแบต ก็แค่สับมาใช้การ์ดจอออนบอร์ดของ Intel เรียกได้ว่า แรงสั่งได้เลยทีเดียว
น่าเสียดายจุดหนึ่งตรงที่ซีพียูนั้นเป็นซิงเกิลคอร์ Core 2 Solo แต่อย่างไรก็ดี ยังมีรุ่น Dual core ให้เลือกเล่นอีกครับสำหรับอนุกรมนี้ แต่แน่นอนว่า ราคาก็ค่อนข้างกระโดดขึ้นไปมากเช่นกัน สนนราคาของเจ้า 4810TG ตัว SU3500 นั้นอยู่ที่ประมาณ สามหมื่นบาท แต่ถ้าเป็นตัว Core 2 Duo SU9400 นั้น ราคาจะกระโดดไปอยู่ที่ราว 40000 บาทเลยทีเดียว ก็ต้องชั่งน้ำหนักกันดีดีว่ายอมรับได้มั้ยกับซีพียู Single core ณ ชั่วโมงนี้ เพราะถ้านำมาใช้งานพื้นฐานแค่เช็คเมล ทำงานออฟฟิศ ผมคิดว่า ลองลงไปมองตัว 4810T ที่ไม่มีกราฟฟิคแยก จะประหยัดเงินลงไปได้อีกหลายพันเลยทีเดียวครับ
ส่วนข้อเสียอย่างสุดท้าย ที่ผมคิดว่าลูกค้ากลุ่มพนักงานออฟฟิศ อาจจะไม่ชอบกันก็คือ “ไม่มี eSATA” มาให้ เพราะเท่าที่เคยได้ยินได้ฟังมา สมัยนี้ฮาร์ดดิสก์ external ก็ได้มีการเปลี่ยนมาใช้อินเตอร์เฟสแบบ eSATA กันมากพอสมควรแล้วครับสำหรับหน่วยงานใหญ่ๆครับ
.
ขอขอบคุณ
Acer ประเทศไทย