Review : Asus Eee Pad memo ME171
Share | Tweet |
…ด้วยความตื่นเต้นของผมตอนแกะกล่อง สารภาพเลยครับว่าตื่นเต้นกับดีไซน์และความน่ารักของเจ้า Bluetooth ที่มีชื่อว่า “MeMic” ตัวนี้มาก ก็ไม่รีรอ เปิดมันขึ้นมาใช้งานเลย ก็พบว่าหน้าจอขาวดำแบบโปร่งแสงนี้ สามารถใช้งานมองตัวอักษรและภาพบนจอได้ค่อนข้างลำบากเสียนิด (แต่เท่ห์ไม่เบา) เมนูก็ง่ายๆไม่ซับซ้อน หลังจากที่ทำการ pair กับ Eee Pad Memo ของเราเรียบร้อยแล้วก็จะปรากฏเมนูให้เลือกว่าจะใช้งานฟีเจอร์อะไร ไล่ตั้งแต่โทรศัพท์ ตัวอ่านข้อความ sms เพลง ปฏิทิน หรือจะปรับตั้งค่าคอนทราส และสุดท้ายล่างซ้ายมือคือฟีเจอร์สำหรับเรียกหาตัว Eee Pad (กรณีลืมว่าวางเครื่องไว้ที่ไหน)
ตอนแรกก็สงสัยว่าไอคอนรูปแว่นขยายไว้ทำอะไร พอกดก็ตกกระใจ ว่าทำไมตัว Eee Pad ร้องเสียงดัง สรุปคือมันเป็นฟีเจอร์ไว้สำหรับกดเรียกเครื่อง กรณีที่เราวางลืมเครื่องไว้แล้วจำไม่ได้นั้นเองครับ
การโทรเข้าโทรออก สามารถเรียกเบอร์จาก History หรือสมุดโทรศัพท์ (Contact) ในตัวเครื่องได้ สังเกตว่าปุ่มควบคุมนั้นจะมีปุ่มรับสาย วางสาย และ back ตลอดจนปุ่ม 5 ทิศทาง
…ซึ่งทำให้การใช้งานเป็นโทรศัพท์นั้นหากจะกด keypad ก็ค่อนข้างลำบากครับ ต้องเรียก keypad บนจอขึ้นมาแล้วใช้ลูกศรเลื่อนๆเคอร์เซอร์เอา แต่ต้องยอมรับเลยว่า MeMic ทำให้การใช้แท็บเล็ตเป็นโทรศัพท์ ทำได้สะดวกและง่ายขึ้นกว่าการยกแท็บเล็ตขึ้นมาแล้วเสียบชุดสมอลทอล์คใช้คุย (หรือจะคุยผ่าน loud speaker) แบบที่เราคุ้นเคยกันใน Galaxy Tab ตัว 7 นิ้วเลยทีเดียว
ตัวเครื่อง ME171 นั้นเป็น Android 3.2.1 ซึ่ง Asus เคลมว่าสามารถอัพเกรดเป็น 4.0 ได้ในอนาคตครับ
…มาดูหน้า Home ก็น่าจะคุ้นเคยกันดีครับตั้งแต่สมัย Android 3.0 ที่สามารถใช้งานกับแท็บเล็ตที่ไม่มีปุ่ม home ที่เป็น hardware button ภายนอกได้ ซึ่งจากการทดลองใช้งานในส่วนของอินเตอร์เฟส ก็พบว่าความลื่นไหลนั้นยังทำได้ไม่ค่อยดีนักครับ ผมเข้าใจว่าที่ช้า น่าจะเกิดจากความช้าของหน่วยประมวลผลกราฟฟิคในชิป Qualcomm นั้นแหละครับที่เป็นปัญหา แต่การใช้งานโดยทั่วไปก็ยังถือได้ว่าพอใช้งานได้ในระดับที่รับได้ไม่น่าเกลียดมากนัก
ส่วนของ alert ต่างๆก็ยังคงลักษณะของแอนดรอยพื้นฐานไว้อย่างครบถ้วน
การเปิด/ปิด ระบบไร้สาย หรือการตั้งค่าที่จำเป็นต่างๆ ก็ถูกรวมเอาไว้ในบริเวณของ alert ตรงนี้แล้วเช่นกัน ซึ่งก็ทำให้เราไม่ต้องไปหา widget ที่ไหนมาวางไว้บนหน้า home เพื่อใช้เปิดปิดระบบพวกนี้ให้รกหูรกตากันอีกต่อไป
ส่วนหน้าจอแสดงแอพทั้งหมดก็ยังคงเป็นรูปแบบของไอคอน
โปรแกรมที่แถมมาให้ที่น่าสนใจโปรแกรมหนึ่ง จอกจาก Amazon Kindle แล้ว ก็คงจะเป็น Buddy Buzz ที่จะเป็นโปรแกรมรวมเอา feed ข่าวจาก social network หลายๆตัวที่เราใช้งานมาไว้ด้วยกันครับ
และเมื่อลาก Buddy Buzz มาเป็น widget บนหน้า home ก็พบว่าสะดวกในการใช้งานมาก ทำให้ไม่ต้องเปิดแอพอย่าง facebook หรือ twitter ขึ้นมาให้เสียเวลาเลยครับ
…กลับมาพูดถึงฮาร์ดแวร์อีกเล็กน้อยก่อนที่จะไปดูผลการทดสอบครับ รายละเอียดจากโปรแกรมแสดงให้เห็นว่า Eee Pad Memo 171 ใช้ซีพียูที่เป็น System On Chip จาก Qualcomm มีแกนประมวลผลแบบ ARMv7 ดูอัลคอร์พร้อมกับตัวประมวลผลกราฟฟิค (GPU) รุ่น Adreno 220
…ซึ่งจากส่วนของบททดลองใช้งานเบื้องต้นก็พบว่าประสิทธิภาพในการแสดงผลอินเตอร์เฟสนั้นไม่ค่อยลื่นไหลเสียเท่าไร สาเหตุหนึ่งผมคิดว่าคงเกิดจากหน้าจอที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และจำนวนพิกเซลค่อนข้างมากของ Eee Pad memo เครื่องนี้ด้วยครับ เพราะปกติแล้ว GPU ในรุ่น Adreno เราก็มักจะพบได้ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทั่วๆไป ซึ่งผมเคยทดลองใช้งานดู ก็พบว่ามันไม่หนืดและกระตุกแบบที่พบได้ใน Eee Pad Memo เครื่องนี้เลย
คะแนนที่ทำออกมาก็จัดอยู่ในระดับกลางๆครับ