Review : Asus Eee Pad memo ME171

/ บทความโดย: Northbridge , 25/06/2012 01:35, 11,761 views / view in EnglishEN
«»
Share

1340545574DSC 4116s Review : Asus Eee Pad memo ME171

วันนี้ ก็กลับมาพบกับรีวิวของ Asus Eee Pad Memo แท็บเล็ต 7 นิ้วพร้อมปากกา stylus ที่มีความสามารถในการใช้งานโทรเข้าโทรออกได้ มาให้ได้ชมกันนะครับ ซึ่งถ้าให้เรานึกถึงแท็บเล็ตในปัจจุบันนี้ที่มีหน้าจอขนาด 7 นิ้ว ก็เรียกได้ว่าคงจะมีอยู่ไม่กี่เจ้า ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นขนาดเท่าๆกับไอแพด นั่้นก็คือ 10 นิ้ว โดยที่ใครหลายๆคนที่เคยใช้เครื่อง 7 นิ้ว ก็จะเข้าใจได้เลยครับว่ามันสามารถนำเอามาใช้งานพกพาได้สะดวกกว่าเครื่อง 10 นิ้วมากๆ และยังเล็กพอที่จะเก็บเอาไว้ใส่กระเป๋ากางเกงกับตัว (หากคุณเป็นคนที่ชอบใส่กางเกงสแล็คทรงอนุรักษ์นิยม และมีรูปร่างค่อนข้างใหญ่) หรือจะเอาไว้ใช้ยกมาเหมือนเป็นสมุดโน๊ตอันหนึ่งก็ถือว่าสะดวกกว่าเครื่อง 10 นิ้วมากนักครับ

1 Review : Asus Eee Pad memo ME171

Eee Pad Memo ME171 หน้าจอทัชสกรีนคาปาซิทีปขนาด 7 นิ้ว ความละเอียด 1280×800 พิกเซล พาแนลหน้าจอแบบ Super IPS+ ซึ่งทำให้มีมุมมองรับภาพที่กว้างถึง 178 องศา และมีความเที่ยงตรงของสีค่อนข้างสูงตามสไตล์พาแนลจอแบบ IPS อย่างทีผมเคยอธิบายไปแล้วหลายๆรอบในรีวิวจอภาพ IPS ในเว็บเรานี้เอง ส่วนขุมพลังนั้นก็จะเป็นซีพียู Dualcore จากค่าย Qualcomm (ตระกูล Snapdragon) ความเร็ว 1.2GHz และมีสลอตสำหรับใส่ซิมการ์ดสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เนท 3G และการโทรเข้าโทรออก

บอดี้โดยภาพรวมด้านหน้านี้ก็มีลักษณะเรียบง่ายและผิวเงาวาว ทำให้เป็นรอยนิ้วมือได้ง่ายพอสมควร มีการแทรกทริมลายโครเมียมมาให้เห็นบ้างประปราย ไม่มากจนเกินไป ทำให้ดูดีพอสมควรครับ

2 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ส่วนด้านหลังนี้เป็นลักษณะคล้ายฝาครอบ (ที่ถอดออกไม่ได้) เป็นพื้นผิวคล้ายๆยางสังเคราะห์ ทำให้เกิดความรู้สึกหนืดๆมืออยู่พอสมควร ซึ่งจากการสังเกตก็พบว่าไม่น่าจะลอกจากการขีดข่วนได้ง่ายๆครับ

12 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ขนาดนั้นใหญ่กว่าสมาร์ทโฟนทั่วไปพอสมควร ในภาพนั้นเป็น Motorola Milestone 2 ของผมที่ใช้งานอยู่เอามาเทียบกัน แต่ส่วนตัวแล้วคิดว่าถ้ามีกระเป๋าใส่ของจุกจิก (โดยเฉพาะคุณผู้หญิง) น่าจะพกแท็บเล็ตขนาด 7 นิ้วแบบนี้ไปใช้งานได้สบายๆ

13 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ส่วนตัวบนสุดนี้คือ MeMic อุปกรณ์ Bluetooth ที่ติดมากับ Eee Pad Memo ME171 ตัวนี้ ซึ่งมันจะสามารถใช้งานให้เป็นรีโมตมัลติมีเดีย (สั่งเล่นเพลงเล่นหนัง) หรือจะเปิดดูสมุดโทรศัพท์ และโทรเข้าโทรออก (ใช้แนบหูเหมือนโทรศัพท์) หรือจะใช้เสียบชุดสมอลทอล์คคุยโทรศัพท์โดยที่ตัว Eee Pad จะตั้งอยู่บนโต๊ะเฉยๆก็ได้ครับ ซึ่งสำหรับรายละเอียดนั้นเดียวเราจะมาดูกันอีกทีในส่วนของรีวิวการใช้งานในหน้าถัดๆไปครับ

3 Review : Asus Eee Pad memo ME171

กรอบเครื่องด้านล่างนี้ก็มีการแซมลายโครเมียมมาให้ แต่ส่วน shell เครื่องส่วนใหญ่นั้นยังคงทำมาจากพลาสติกสีดำเงาวาว ซึ่งตรงนี้จะพบว่ามีพอร์ตเชื่อมต่อสำหรับ Micro USB ซึ่งเป็นที่หน้าแปลกครับว่าคราวนี้ Asus ไม่ได้ใช้ช่องเชื่อมต่อ USB แบบที่เป็นรูปแบบของตัวเอง อย่างที่เราจะพบได้ใน Eee Pad ที่มีขนาดเครื่องใหญ่กว่านี้ ส่วนอีกพอร์ตหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆกันนั้นคือ MicroHDMI สำหรับต่อสัญญาณภาพและเสียงออกหน้าจอ LCD TV หรือจอคอมด้วยสายแปลงอีกต่อหนึ่งครับ ส่วนช่องแจ็ค 3.5mm นี้ก็มีไว้สำหรับเสียบชุดเฮดโฟนครับ

4 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ช่องสำหรับ MicroSD และซิมการ์ด ก็จะอยู่ข้างๆกันตรงนี้

5 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ซิมการ์ดนั้นจะมีฝาปิด และการใส่ก็ลักษณะเดียวกับ SD Card คือกดแล้วจะมีเสียงล็อคดังคลิก ในการทดสอบนี้ผมได้ทดลองใช้งานกับซิมการ์ด TOT 3G ซึ่งเป็น 3G ในย่านความถี่ 2100MHz จะสามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต ทุกรุ่นในโลกที่เป็น 3G อยู่แล้วสำหรับย่านนี้ แต่สำหรับ 3G ของ DTAC(850) AIS(900) และ TrueMoveH(850) ตรงนี้ควรจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกันด้วยนะครับว่ารองรับหรือไม่ เพราะผมเองพยายามหาข้อมูลสเป็คเรื่องของ Cellular แล้วก็ไม่พบว่าเจ้า Eee Pad Memo นั้นสนับสนุน 3G คลื่นย่านไหนบ้าง แต่ในส่วนของ GSM 2G นั้นเข้าใจว่าน่าจะใช้งานได้ทุกค่ายอยู่แล้วครับ

6 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ปุ่มโวลุ่มอยู่ด้านข้างตัวเครื่อง แบบเดียวกับโทรศัพท์มือถือทั่วๆไป

7 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ด้านบนก็จะเป็นปุ่มเพาเวอร์

————————————————–

8 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ปากกาสไตล์ลัสถูกเก็บซ่อนเอาไว้ในแนวนอนของตัวเครื่อง ซึ่งบางคนเขาก็บอกว่า มันสะดวกกว่าการเก็บไว้ในแนวตั้งแบบแท็บเบล็ตคู่แข่งบางยี่ห้อ อันนี้ก็แล้วแต่จะชอบพอใจกันน่ะครับ

9 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ตัวปากกา skylus ดูดีไม่เบาเลยทีเดียวครับ ผมเองเคยใช้ pocket pc ของ Asus อยู่ ปากกา asus สมัยนั้น เทียบไม่ได้เลยจริงๆกับเจ้า Eee Pad Memo ตัวนี้

10 Review : Asus Eee Pad memo ME171

11 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ปากกาสไตลลัสแบบนี้มีไว้สำหรับใช้งานกับจอแบบคาปาซิทีฟเท่านั้นนะครับ เนื่องจากเป็นหัวแบบลูกยางกลม ทำให้ความแม่นยำไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังทำให้การลากเคลื่อนไปมาเพื่อลากเป็นตัวอักษร ทำได้ไม่ลื่นไหลเท่าที่ควรอีกต่างหาก (จินตนาการเอายางไปถูกับพื้นกระจก มันก็จะหนืดๆแหละครับ)

14 Review : Asus Eee Pad memo ME171

สมอลทอล์คที่แถมมาให้เป็นหูฟังแบบ In-Ear พร้อมกับไมโครโฟนในตัว (แยกร่างไม่ได้) ซึ่งขัดใจผมพอสมควร ผมคิดว่าโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ใดๆก็ดีที่ไม่ได้เกิดมาเพื่อเน้นการฟังเพลง น่าจะแถมหูฟังแบบยัดหูธรรมดาๆน่าจะใช้งานได้สะดวกมากกว่าแบบ In-Ear แบบนี้ครับ

19 Review : Asus Eee Pad memo ME171

20 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ส่วนของสาย USB และอะแดปเตอร์สำหรับชาร์จไฟ ก็ยังคงมีดีไซน์มาแบบเดิมๆที่เราจะเคยเห็นกันใน Tablet ค่ายนี้ครับ

————————————————–

15 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ด้วยความตื่นเต้นของผมตอนแกะกล่อง สารภาพเลยครับว่าตื่นเต้นกับดีไซน์และความน่ารักของเจ้า Bluetooth ที่มีชื่อว่า “MeMic” ตัวนี้มาก ก็ไม่รีรอ เปิดมันขึ้นมาใช้งานเลย ก็พบว่าหน้าจอขาวดำแบบโปร่งแสงนี้ สามารถใช้งานมองตัวอักษรและภาพบนจอได้ค่อนข้างลำบากเสียนิด (แต่เท่ห์ไม่เบา) เมนูก็ง่ายๆไม่ซับซ้อน หลังจากที่ทำการ pair กับ Eee Pad Memo ของเราเรียบร้อยแล้วก็จะปรากฏเมนูให้เลือกว่าจะใช้งานฟีเจอร์อะไร ไล่ตั้งแต่โทรศัพท์ ตัวอ่านข้อความ sms เพลง ปฏิทิน หรือจะปรับตั้งค่าคอนทราส และสุดท้ายล่างซ้ายมือคือฟีเจอร์สำหรับเรียกหาตัว Eee Pad (กรณีลืมว่าวางเครื่องไว้ที่ไหน)

16 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ตอนแรกก็สงสัยว่าไอคอนรูปแว่นขยายไว้ทำอะไร พอกดก็ตกกระใจ ว่าทำไมตัว Eee Pad ร้องเสียงดัง สรุปคือมันเป็นฟีเจอร์ไว้สำหรับกดเรียกเครื่อง กรณีที่เราวางลืมเครื่องไว้แล้วจำไม่ได้นั้นเองครับ

17 Review : Asus Eee Pad memo ME171

การโทรเข้าโทรออก สามารถเรียกเบอร์จาก History หรือสมุดโทรศัพท์ (Contact) ในตัวเครื่องได้ สังเกตว่าปุ่มควบคุมนั้นจะมีปุ่มรับสาย วางสาย และ back ตลอดจนปุ่ม 5 ทิศทาง

18 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ซึ่งทำให้การใช้งานเป็นโทรศัพท์นั้นหากจะกด keypad ก็ค่อนข้างลำบากครับ ต้องเรียก keypad บนจอขึ้นมาแล้วใช้ลูกศรเลื่อนๆเคอร์เซอร์เอา แต่ต้องยอมรับเลยว่า MeMic ทำให้การใช้แท็บเล็ตเป็นโทรศัพท์ ทำได้สะดวกและง่ายขึ้นกว่าการยกแท็บเล็ตขึ้นมาแล้วเสียบชุดสมอลทอล์คใช้คุย (หรือจะคุยผ่าน loud speaker) แบบที่เราคุ้นเคยกันใน Galaxy Tab ตัว 7 นิ้วเลยทีเดียว

27 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ตัวเครื่อง ME171 นั้นเป็น Android 3.2.1 ซึ่ง Asus เคลมว่าสามารถอัพเกรดเป็น 4.0 ได้ในอนาคตครับ

23 Review : Asus Eee Pad memo ME171

มาดูหน้า Home ก็น่าจะคุ้นเคยกันดีครับตั้งแต่สมัย Android 3.0 ที่สามารถใช้งานกับแท็บเล็ตที่ไม่มีปุ่ม home ที่เป็น hardware button ภายนอกได้ ซึ่งจากการทดลองใช้งานในส่วนของอินเตอร์เฟส ก็พบว่าความลื่นไหลนั้นยังทำได้ไม่ค่อยดีนักครับ ผมเข้าใจว่าที่ช้า น่าจะเกิดจากความช้าของหน่วยประมวลผลกราฟฟิคในชิป Qualcomm นั้นแหละครับที่เป็นปัญหา แต่การใช้งานโดยทั่วไปก็ยังถือได้ว่าพอใช้งานได้ในระดับที่รับได้ไม่น่าเกลียดมากนัก

21 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ส่วนของ alert ต่างๆก็ยังคงลักษณะของแอนดรอยพื้นฐานไว้อย่างครบถ้วน

22 Review : Asus Eee Pad memo ME171

การเปิด/ปิด ระบบไร้สาย หรือการตั้งค่าที่จำเป็นต่างๆ ก็ถูกรวมเอาไว้ในบริเวณของ alert ตรงนี้แล้วเช่นกัน ซึ่งก็ทำให้เราไม่ต้องไปหา widget ที่ไหนมาวางไว้บนหน้า home เพื่อใช้เปิดปิดระบบพวกนี้ให้รกหูรกตากันอีกต่อไป

24 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ส่วนหน้าจอแสดงแอพทั้งหมดก็ยังคงเป็นรูปแบบของไอคอน

25 Review : Asus Eee Pad memo ME171

โปรแกรมที่แถมมาให้ที่น่าสนใจโปรแกรมหนึ่ง จอกจาก Amazon Kindle แล้ว ก็คงจะเป็น Buddy Buzz ที่จะเป็นโปรแกรมรวมเอา feed ข่าวจาก social network หลายๆตัวที่เราใช้งานมาไว้ด้วยกันครับ

26 Review : Asus Eee Pad memo ME171

และเมื่อลาก Buddy Buzz มาเป็น widget บนหน้า home ก็พบว่าสะดวกในการใช้งานมาก ทำให้ไม่ต้องเปิดแอพอย่าง facebook หรือ twitter ขึ้นมาให้เสียเวลาเลยครับ

29 Review : Asus Eee Pad memo ME171

กลับมาพูดถึงฮาร์ดแวร์อีกเล็กน้อยก่อนที่จะไปดูผลการทดสอบครับ รายละเอียดจากโปรแกรมแสดงให้เห็นว่า Eee Pad Memo 171 ใช้ซีพียูที่เป็น System On Chip จาก Qualcomm มีแกนประมวลผลแบบ ARMv7 ดูอัลคอร์พร้อมกับตัวประมวลผลกราฟฟิค (GPU) รุ่น Adreno 220

ซึ่งจากส่วนของบททดลองใช้งานเบื้องต้นก็พบว่าประสิทธิภาพในการแสดงผลอินเตอร์เฟสนั้นไม่ค่อยลื่นไหลเสียเท่าไร สาเหตุหนึ่งผมคิดว่าคงเกิดจากหน้าจอที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และจำนวนพิกเซลค่อนข้างมากของ Eee Pad memo เครื่องนี้ด้วยครับ เพราะปกติแล้ว GPU ในรุ่น Adreno เราก็มักจะพบได้ในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทั่วๆไป ซึ่งผมเคยทดลองใช้งานดู ก็พบว่ามันไม่หนืดและกระตุกแบบที่พบได้ใน Eee Pad Memo เครื่องนี้เลย

28 Review : Asus Eee Pad memo ME171

30 Review : Asus Eee Pad memo ME171

คะแนนที่ทำออกมาก็จัดอยู่ในระดับกลางๆครับ

————————————————–

31 Review : Asus Eee Pad memo ME171

32 Review : Asus Eee Pad memo ME171

รูปร่างหน้าตาเมนูสำหรับการใช้งานโทรเข้าโทรออกในตัว Tablet

33 Review : Asus Eee Pad memo ME171

34 Review : Asus Eee Pad memo ME171

ผมทดลองแคปหน้าจอขณะใช้ Twitter และ Facebook มาให้ดูพอเห็นภาพครับว่าหน้าจอหากตั้งเป็นแนวตั้ง จะสามารถใช้งานได้ขนาดไหน ก็จะเห็นได้ว่า ไม่จำเป็นต้องขยายเลย ตัวหนังสือใหญ่ชัดเจนและกว้างคล้ายกับใช้งานบนเครื่องพีซีเลยทีเดียว

35 Review : Asus Eee Pad memo ME171

36 Review : Asus Eee Pad memo ME171

สำหรับหน้าเว็บก็สามารถใช้งานแบบแนวตั้งในการอ่านข้อความแบบสแกนๆได้สบายๆ

38 Review : Asus Eee Pad memo ME171

การเล่นเกม หากเป็นเกมที่เป็นสำหรับโทรศัพท์มือถือ สามารถเล่นได้อย่างลื่นไหลพอสมควรครับ แต่ถ้าเป็นแบบ HD ก็อาจจะมีหนืดๆให้ได้เห็นกันบ้าง

37 Review : Asus Eee Pad memo ME171

โปรแกรมสำหรับจดโน๊ต ก็สามารถจับน้ำหนักของการกดปากกาสไลลัสได้พอสมควร แต่ยังไม่ลื่นไหลเท่าไหร่ครับ

39 Review : Asus Eee Pad memo ME171

40 Review : Asus Eee Pad memo ME171

กล้องด้านหลังความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ผมทดลองถ่ายรูปมาสองรูป ให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณากัน

.

.

นับได้ว่าเป็นแท็บเล็ตขนาด 7 นิ้วที่มีฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง เช่น MeMic หรือแม้กระทั่งปากกาสไลลัสที่แถมมาให้ ที่ผมคิดว่าหลายๆคนน่าจะได้ใช้ประโยชน์จากมัน ด้วยความที่ในตลาดนั้นมีตัวเลือกแท็บเล็ตขนาด 7 นิ้ว ไม่มากเท่าแบบ 10 นิ้ว ทำให้ Eee Pad Memo ME171 นั้นดูโดดเด่นขึ้นมาในตลาดพอสมควรครับ ซึ่งผมคิดว่ามันค่อนข้างชัดเจนที่เครื่องขนาด 7 นิ้ว จะเป็นเสมือนไฮบริดกันระหว่างโทรศัพท์ กับแท็บเล็ต ใครที่ชอบการใช้งานแบบนี้ (โทรศัพท์ + แท็บ) โดยเฉพาะคนที่อาจจะเน้นการใช้งานในเชิงโทรศัพท์ MeMic ก็น่าจะมีประโยชน์มากสำหรับท่าน นอกจากนี้หน้าจอแบบ Super IPS+ ก็เรียกได้ว่ามีความสว่าง คมชัด ตลอดจนความสวยงามของสีที่แสดงออกมา ดีมากเลยทีเดียว ซึ่งผมคิดว่าเป็นขุดขายของ Eee Pad ในแทบทุกรุ่นที่เป็นจอ IPS อยู่แล้ว

ข้อเสียที่ผมพบและอยากจะเตือนไว้ก่อนก็คือปากกลสไตลลัสนั้นมีประโยชน์มากมายก็จริง แต่มันยังทำหน้าที่ที่มันควรจะเป็นได้ไม่ดีเท่าที่ควร คือการใช้เขียนหนังสือ จากการทดลองเขียนโน๊ตอยู่สามสี่แผ่น ผมค้นพบว่าใช้นิ้วรูดเอา สะดวกกว่าการใช้ปากกาปลายที่เป็นลูกยางแบบใน Eee Pad memo เครื่องนี้ เพราะมันหนืดมากจริงๆครับ และความแม่นยำก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องควรปรับปรุงด้วย และนอกจากนี้ก็อาจจะมีเรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างความลื่นไหลของอินเตอร์เฟสที่มันสู้รุ่นพี่ในตระกูล Eee Pad ที่ออกมาก่อนหน้านี้แล้วแทบไม่ได้เลยครับ

.

.

ขอขอบคุณ Asus

vmod award innovation best Review : Asus Eee Pad memo ME171

ถึงแม้ว่า Asus Eee Pad Memo ME171 นั้นจะมีจุดบกพร่องอยู่บ้างในหลายๆจุดที่ได้กล่าวไป แต่ด้วยฟีเจอร์และลูกเล่นที่ผมคิดว่าเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่าง MeMic ที่ตอบโจทย์ของผู้ใช้ที่ต้องการเอาเครื่องไปใช้งานเป็นทั้งโทรศัพท์และแท็บเล็ตไปพร้อมๆกันได้อย่างดีเยี่ยม ผมจึงขอมอบรางวัล “BEST INNOVATION” ให้กับ Eee Pad Memo ME171 ไว้ ณ ที่นี้ครับ

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»