Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

/ บทความโดย: Northbridge , 15/03/2012 01:45, 9,606 views / view in EnglishEN
«»
Share

Features & Performance

screenshot 2012 02 03 18 39 22 720x450 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

Transformer Prime ที่ผมได้รับมาทำการทดสอบนั้นติดตั้งระบบปฏิบัติการ Android Icecream-sandwich มาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเวอร์ชั่นนี้ถือว่าเป็นเวอร์ชั่นอัพเดตจาก android 3.2 เดิมที่ถูกเปิดตัวไปเมื่อปลายปีที่แล้ว (อัพเดตนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม) อินเตอร์เฟสหลายๆจุดนั้นผมบอกได้ว่ามันก็ยังไม่ต่างอะไรจาก android 3 มากนักครับ ซึ่งหลายท่านคงรู้กันว่าผมเองก็ไม่ถนัดมาจับผิดเรื่องของอินเตอร์เฟสซอท์แวร์อะไรนี่อยู่แล้ว ก็จะขอบรรยายไว้คร่าวๆก็แล้วกันครับ

screenshot 2012 02 08 23 54 59 720x450 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

เมนูต่างๆสามารถเข้าใช้งานได้ไม่ยากครับ ปุ่มควบคุมหลักของแอนดรอยอย่างปุ่ม back home menu และ search นั้นถูกรวมเอาไว้ในอินเตอร์เฟส เพราะว่าใน Transformer Prime นี้จะไม่มีปุ่ม hard key หรือ soft key ภายนอกจอเลยยกเว้นแต่ปุ่ม power และ volume

screenshot 2012 02 13 21 43 21 720x450 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

ทดลองเปิดดูรายละเอียดของตัวเครื่องกับโปรแกรม Elxir 2 โดยผมทดลองเปิดรายละเอียดของตัวซีพียูดูกฌพบว่า ชัดเจนครับว่าซีพียู Tegra 3 จาก NVIDIA นั้นใช้แกนประมวลผลแบบ ARMv7 เช่นเดียวกับ tegra รุ่นก่อน แต่เป็นแบบ 4 cores และทำงานที่ความเร็ว 1.2GHz

screenshot 2012 02 13 21 33 49 450x720 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

screenshot 2012 02 13 21 31 53 450x720 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

เมื่อลองทดสอบกับโปรแกรม Antutu Benchmark แล้วก็จะพบว่าคะแนนที่ทำได้นั้นแทบจะเกือบถึงสองเท่าของตัวเครืองที่ใช้ชิป Tegra 2 เลยทีเดียวครับ (Optimus 2X)

การใช้งานนั้นถือได้ว่าแอนดรอย 4 และซีพียู Tegra 3 นั้นให้สัมผัสที่ลื่นไหลใช้การได้อยู่พอสมควรครับ จอภาพขนาดใหญ่ 10.1″ ความละเอียด 1280×800 ก็มีขนาดที่พอเหมาะพอดีกับความสามารถของชิป Tegra 3 หรือเรียกได้ว่าจะเล็กไปเสียหน่อย เพราะ Tegra 3 นั้นมีความสามารถในการเล่นไฟล์วีดีโอ HD ความละเอียดถึง 1080P ได้ด้วยซ้ำ (ในฟอแมต H.264) ซึ่งก็ฟังดูเข้าท่าดีครับสำหรับผู้ที่จะนำเอาเครื่องไปใช้งานกับจอที่เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต HDMI ที่มีมาให้ในตัวเครื่อง

screenshot 2012 01 31 00 42 16 720x450 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

การเปิดเว็บนั้นก็เรียกได้ว่าทำได้ลื่นไหลและหน้าจอขนาด 10.1″ ความละเอียด 1280×800 นั้นก็ให้ขนาดที่พอเหมาะพอดีกับเว็บไซต์ทั่วๆไปในสมัยนี้แล้ว (เมื่อจับวางเครื่องในแนวนอน) หรือถ้าหากวางเครื่องในแนวตั้ง แล้วเข้าชมเว็บไซต์แบบ mobile page ก็จะพบว่าใช้งานได้พอดีจอและสบายตาเช่นกันครับ ส่วนการบราวซเว็บไซต์รองรับแฟลช และ HTML5 เรียบร้อยแล้ว ผมทดลองเข้าเว็บที่มีแฟลชมากๆ ซูมเข้าๆออกๆดู ทำได้ลื่นไหลในระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับลื่นจนน่าตกใจ (ในหน้าเว็บของเรา)

screenshot 2012 02 02 18 18 04 720x450 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

แน่นอนว่าจุดเด่นที่สุดของเครื่อง Tablet ที่ใช้ซ๊พียูจากค่าย NVIDIA ก็คงจะเป็นเรื่องของ Tegra Zone ที่รวมเอาเกมที่เป็น “Tegra Optimized” ซึ่งคือเกมหรือแอพที่ถูกปรับปรุงมาให้ใช้งานประสิทธิภาพของซีพียู Tegra ได้อย่างเต็มที่ครับ โดยเกมหรือแอพเหล่านั้นมักจะลงท้ายชื่อด้วยคำว่า “THD” ซึ่ง Tegra Zoneนั้นจะใช้ฐานข้อมูลของแอพ ร่วมกับ Android Market

2 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

3 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

จากที่ได้ทดลองเล่นเกมยอดนิยมอย่าง Fruit Ninja THD ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะเป็นเกมที่ไม่น่ามีรายละเอียดอะไรให้ได้นั่งชื่นชมกันมากนัก แต่เชื่อไหมครับว่าความคิดแว้บแรกของผมผิดถนัด เพราะ Fruit ninja เวอร์ชั่น THD นี้ให้รายละเอียด และความลื่นไหลดีกว่า Fruit Ninja เวอร์ชั่นมาตรฐาน และเวอร์ชั่น HD ที่ไว้สำหรับติดตั้งในเครื่องแท็บเบล็ตทั่วๆไปอยู่พอสมควร และรายละเอียดของรูปผลไม้และเอฟเฟ็คต่างๆก็ทำออกมาได้น่าประทับใจครับ

1 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

4 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

5 Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

แต่ทีเด็ดของ Tegra นั้นคงไม่้ได้มีเพียงแค่เกมยุคบุกเบิกของ Tegra Zone อย่าง Fruit Ninja หรือ Dungeon Defender แน่นอน ตอนนี้มีเกมใหม่ๆที่ถูกพอร์ตมาจากแพลตฟอร์มหลายๆแพลตฟอร์มมาให้ได้ลองเล่นกันอย่าง GTA III ที่ผมเข้าใจว่าถูกพอร์ตมาจากเกมพีซี ก็มีมาให้ได้เล่น แบบที่เรียกได้ว่า ฟีเจอร์ทุกๆฟีเจอร์ มีให้ได้เล่นกัน (แม้กระทั่ง cheat code พิมพ์ทางคีย์บอร์ด) การควบคุมนั้นยังคงเป็นอุปสรรค์สำหรับเครื่องแท็บเบล็ต แต่เมื่อติดตั้งคีย์บอร์ดลงไปแล้วก็ถือได้ว่าพอจะช่วยได้บ้าง ซึ่งเกมหลายๆเกมก็สนับสนุนการเชื่อมต่อ controller หรือจอยสติกแยกอยู่แล้ว (ลองสังเกตดูใน Tegra Zone)

สำหรับในรีวิวนี้ผมก็คงจะหมดเรื่องราวที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังไว้แต่เพียงตรงนี้ครับ ทิ้งท้ายกันไว้ที่รายละเอียดในจุดสุดท้ายที่ผมคิดว่าผู้่อ่านหลายคนคงสงสัย คือ Transformer Prime นี้ที่ผมได้มานั้น จะไม่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ 3G นะครับ มีแต่ Wifi และมีความจุเมมโมไรีภายใน 32GB ในราคาที่ 20900 บาท โดยเริ่มต้นเปิดตัว

ซึ่งถ้าถามถึงประสิทธิภาพแน่นอนว่าผมคิดว่า Tegra 3 นั้นน่าจะเป็นชิปสำหรับ smart device ที่แรงและเร็วที่สุดสำหรับชั่วโมงนี้แล้ว (ในฝั่งแอนดรอย) เพราะนอกจากแกนประมวลผลแบบ ARMv7 สี่แกนแล้วยังมีแกนประมวลผลกราฟฟิคแบบเดียวที่เราจะพบได้ในกราฟฟิคการ์ดในค่ายนี้ (Geforce) ถึง 12 แกนด้วยกัน (12 Shader unit) ถึงแม้ว่าเกมใน Tegra Zone หลายท่านจะบอกว่ายังมีให้เลือกเล่นไม่มากสะใจเสียเท่าไหร่ แต่ก็ถือได้ว่าปรับปรุงจากยุคสมัยที่ Tegra 2 เปิดตัวใหม่ๆมามากพอสมควร ผมคิดว่าอนาคตค่อนข้างสดใสครับ เมื่อประเมินจากประสิทธิภาพของตัวชิปแล้ว

การใช้งานโดยทั่วๆไปทั้งระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นต่างๆคงไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงแล้วสำหรับอัพเกรด Android 4.0 ที่ผมไม่พบปัญหาการใช้งานใดๆ แต่ยังคงมี complain มาจากทางหลายๆเว็บไซต์ว่ามีปัญหาเรื่องการจับสัญญาณ GPS ที่ค่อนข้างช้าและจับในพื้นที่ใต้ชายคาได้ลำบาก ซึ่งก็คงอาจจะต้องมีการปรับปรุงซอฟท์แวร์ในภายหลัง

.

vmod award performance good Review : Asus Eee Pad Transformer Primevmod award innovation good Review : Asus Eee Pad Transformer Prime

.

ขอขอบคุณ Asus

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»