Review : Asus Eee Pad Transformer TF101
Share | Tweet |
…ช่วงนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยครับ ว่าสินค้าไอทีที่กำลังมาแรงรองๆจากสมาร์ทโฟน ก็คืออุปกรณ์จำพวก Tablet ที่มีค่ายยักษ์ผลไม้ (Apple) ชิงเปิดตัว Ipad ไปก่อน แล้วก็ทำให้เกิดปรากฏการ Tablet ถล่มตลาด กับ Tablet จากค่ายที่ทำสินค้าจำพวกคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ ดังๆทั้งหลาย ต่างโหมกันพัฒนาและเปิดตัวสินค้าจำพวกนี้มากันอย่างไม่ขาดสาย คอนเซ็ปต์ส่วนใหญ่ก็คือ เป็นแอนดรอย ซีพียูคล้ายๆมือถือ จอใหญ่บ้างเล็กบ้าง ตามสไตล์ อะไรก็ว่ากันไป
…ซึ่งโลกของ Tablet นั้นก็ได้เดินทางเติบโตมา จนถึงยุคนี้แล้ว มีการพัฒนาไปก็มากมายครับ Eee Pad Transformer ก็เป็นอีกหนึ่งผลผลิตการพัฒนาดังกล่าว ที่นำเอาหน่วยประมวลผลดูอัลคอร์สุดล้ำอย่าง “NVIDIA Tegra” ที่ผมได้เคยนำเสนอไปในบทความ NVIDIA Editor’s day
…Eee Pad Transformer เป็น Tablet ขนาด 10.1 นิ้ว น้ำหนักราวๆ 680กรัม ซึ่งจะเห็นได้จากรูปครับว่า หน้าจอนั้นเป็นจอกระจกใส แบบมัลติทัช ที่ดูเงางามเอามากๆ มากเสียจนผมกลัวว่า เอาไปใช้กลางแดดแรงๆ มันจะทำให้มองไม่เห็น
…ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นเมื่อเปิดเครื่องมาแล้วก็จะพบว่า อุ่นใจได้ (ระดับหนึ่ง) กับพาแนลหน้าจอแบบ “IPS” ที่ดีกว่าพาแนลหน้าจอ TN ทั่วๆไปด้วยเทคโนโลยีในตัวมันอยู่แล้ว ทำให้สู้แสงได้ดี สีสันสดใส และเที่ยงตรงมากๆเลยทีเดียว ดังภาพนี้เวลาผมถ่ายคือถ่ายในฉากที่ยิงไฟสะท้อนเอา ยังสามารถสู้กับไฟของผมได้ ถือว่าเจ๋งใช้ได้เลยทีเดียวครับ
ฝาด้านหลังวัสดุที่ใช้นั้นดูจากภายนอกก็ดูดีมีราคาได้ในระดับหนึ่งครับ แต่ส่วนตัวผมคิดว่าเรื่องแผ่นหลังของตัวเครื่องนี่ ไอแพดและเอเซอร์ไอคอเนีย ยังให้ความรู้สึกที่ดีกว่าเล็กน้อยครับ
…ตัวเครื่องขนาดค่อนข้างบางเลยทีเดียว การจับถือผมเรียกได้ว่า ทำได้ค่อนข้างลำบากสำหรับผมครับ ต้องจับใส่ซองหนัง หรือว่าเคสแบบที่มีขายกันในท้องตลาด จะทำให้จับได้ถนัดมือมากขึ้น ปุ่มในด้านนี้ จะมีปุ่มเพิ่ม / ลด โวลุ่มเสียง และปุ่มเพาเวอร์ สำหรับเปิดปิด และสแตนด์บายเครื่องได้ถึง 9 ชั่วโมง
…ส่วนด้านนี้ก็ล้ำนิดหนึ่งครับ มีช่องสำหรับ Micro SD ถัดมาเป็น Mini HDMI และแจ๊กสำหรับเสียบหูฟัง ซึ่ง Mini HDMI ตรงนี้ สนับสนุนการส่งออกสัญญาณภาพจากตัวเครื่องความละเอียด 1080P ไปยังหน้าจอแอลซีดีทีวี หรือโปรเจ็คเตอร์ที่สนับสนุนได้อีกด้วยครับ ซึ่งตรงนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติเด็ดๆของตัวชิป NVIDIA Tegra 2 ดูอัลคอร์
ส่วนด้านใต้ก็จะเป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับเสียบเข้ากับชุด Keyboard Docking รวมไปถึงการเสียบสาย USB เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ก็ทำได้ผ่านพอร์ตนี้เช่นกันครับ