Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

/ บทความโดย: Northbridge , 23/05/2011 01:20, 7,862 views / view in EnglishEN
«»
Share

1 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ช่วงนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยครับ ว่าสินค้าไอทีที่กำลังมาแรงรองๆจากสมาร์ทโฟน ก็คืออุปกรณ์จำพวก Tablet ที่มีค่ายยักษ์ผลไม้ (Apple) ชิงเปิดตัว Ipad ไปก่อน แล้วก็ทำให้เกิดปรากฏการ Tablet ถล่มตลาด กับ Tablet จากค่ายที่ทำสินค้าจำพวกคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ ดังๆทั้งหลาย ต่างโหมกันพัฒนาและเปิดตัวสินค้าจำพวกนี้มากันอย่างไม่ขาดสาย คอนเซ็ปต์ส่วนใหญ่ก็คือ เป็นแอนดรอย ซีพียูคล้ายๆมือถือ จอใหญ่บ้างเล็กบ้าง ตามสไตล์ อะไรก็ว่ากันไป

ซึ่งโลกของ Tablet นั้นก็ได้เดินทางเติบโตมา จนถึงยุคนี้แล้ว มีการพัฒนาไปก็มากมายครับ Eee Pad Transformer ก็เป็นอีกหนึ่งผลผลิตการพัฒนาดังกล่าว ที่นำเอาหน่วยประมวลผลดูอัลคอร์สุดล้ำอย่าง “NVIDIA Tegra” ที่ผมได้เคยนำเสนอไปในบทความ NVIDIA Editor’s day

2 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

Eee Pad Transformer เป็น Tablet ขนาด 10.1 นิ้ว น้ำหนักราวๆ 680กรัม ซึ่งจะเห็นได้จากรูปครับว่า หน้าจอนั้นเป็นจอกระจกใส แบบมัลติทัช ที่ดูเงางามเอามากๆ มากเสียจนผมกลัวว่า เอาไปใช้กลางแดดแรงๆ มันจะทำให้มองไม่เห็น

3 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นเมื่อเปิดเครื่องมาแล้วก็จะพบว่า อุ่นใจได้ (ระดับหนึ่ง) กับพาแนลหน้าจอแบบ “IPS” ที่ดีกว่าพาแนลหน้าจอ TN ทั่วๆไปด้วยเทคโนโลยีในตัวมันอยู่แล้ว ทำให้สู้แสงได้ดี สีสันสดใส และเที่ยงตรงมากๆเลยทีเดียว ดังภาพนี้เวลาผมถ่ายคือถ่ายในฉากที่ยิงไฟสะท้อนเอา ยังสามารถสู้กับไฟของผมได้ ถือว่าเจ๋งใช้ได้เลยทีเดียวครับ

4 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ฝาด้านหลังวัสดุที่ใช้นั้นดูจากภายนอกก็ดูดีมีราคาได้ในระดับหนึ่งครับ แต่ส่วนตัวผมคิดว่าเรื่องแผ่นหลังของตัวเครื่องนี่ ไอแพดและเอเซอร์ไอคอเนีย ยังให้ความรู้สึกที่ดีกว่าเล็กน้อยครับ

5 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ตัวเครื่องขนาดค่อนข้างบางเลยทีเดียว การจับถือผมเรียกได้ว่า ทำได้ค่อนข้างลำบากสำหรับผมครับ ต้องจับใส่ซองหนัง หรือว่าเคสแบบที่มีขายกันในท้องตลาด จะทำให้จับได้ถนัดมือมากขึ้น ปุ่มในด้านนี้ จะมีปุ่มเพิ่ม / ลด โวลุ่มเสียง และปุ่มเพาเวอร์ สำหรับเปิดปิด และสแตนด์บายเครื่องได้ถึง 9 ชั่วโมง

6 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ส่วนด้านนี้ก็ล้ำนิดหนึ่งครับ มีช่องสำหรับ Micro SD ถัดมาเป็น Mini HDMI และแจ๊กสำหรับเสียบหูฟัง ซึ่ง Mini HDMI ตรงนี้ สนับสนุนการส่งออกสัญญาณภาพจากตัวเครื่องความละเอียด 1080P ไปยังหน้าจอแอลซีดีทีวี หรือโปรเจ็คเตอร์ที่สนับสนุนได้อีกด้วยครับ ซึ่งตรงนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติเด็ดๆของตัวชิป NVIDIA Tegra 2 ดูอัลคอร์

7 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ส่วนด้านใต้ก็จะเป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับเสียบเข้ากับชุด Keyboard Docking รวมไปถึงการเสียบสาย USB เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ก็ทำได้ผ่านพอร์ตนี้เช่นกันครับ

————————————————–

8 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ซึ่งในครั้งนี้ทาง Asus ประเทศไทยก็ใจดีมากๆครับ ได้กรุณาส่งเจ้า Eee Pad transformer มาพร้อมกับตัว Keyboard Docking ที่ใช้งานคู่กันมาพร้อมๆกัน ให้ผมได้ทดลองใช้ด้วย

9 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ตัว Docking นั้นวัสดุที่ใช้ทำก็จะคล้ายๆกับตัว Eee Pad ครับ คือครึ่งๆนึงของตัวมัน จะเป็นอะลูมินัม อีกครึ่งหนึ่งก็จะคล้ายๆพลาสติก ดูดีมีราคาพอสมควร

10 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

คีย์บอร์ดมาพร้อมกับทัชแพดมัลติทัช ที่สามารถใช้งานฟีเจอร์มัลติทัชได้ทุกรูปแบบที่เราสามารถใช้กับจอมัลตทัชของตัวเครื่องได้ รวมไปถึงมีปุ่มคลิก (ปุ่มเดียว) ติดมาให้อีกด้วย ใช้งานสะดวกขึ้นมากๆเลยทีเดียว แต่ก็ต้องยอมรับว่า ในบางที ที่ใช้ๆเครื่องไปแล้ว หลงทางหาทางกลับไม่เจอ ก็ยังติ้วเอามือ เอื้อมไปแตะหน้าจออยู่ดีครับ

11 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

คีย์บอร์ดนั้นก็เหมือนกับคีย์บอร์ดโน๊ตบุ๊ก 10.1 นิ้วทั่วๆไป ซึ่งอยากจะแอบกระซิบกับคุณผู้ชมจริงๆครับว่า ตัวคีย์ต่างๆ และน้ำหนักของมัน ให้ความรู้สึก หนักแน่นกว่า Eee PC หลายๆรุ่นเสียด้วยซ้ำ อยากให้ Asus เอาคีย์บอร์ดแบบนี้ใส่ให้ใน Eee PC หลายๆรุ่นจริงๆครับ มันดูดีมีราคามากๆ และการวางปุ่มก็ทำได้ไม่อึดอัดจนเกินไป สำหรับเครื่อง 10.1 นิ้วแบบนี้

12 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

เวลาจับประกอบร่างกัน ต้องระวัง และไม่ใช่เรื่องง่ายที่เด็กๆสิบขวบมาถึงแล้วจะสาสมารถประกอบมันเข้ากันได้เลย เพราะว่าต้องคลายสลักสำหรับล็อคตัวจอก่อน แล้วค่อยๆสอดตัวเครื่องเข้าไป อย่างระมัดระวัง ซึ่งต้องทำในขณะที่ตัวบานพับนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ถึงจะล็อคได้แน่นหนาดีแบบนี้ครับ

ซึ่งตัวบานพับ ก็ให้น้ำหนักที่ถือว่ายังไม่ค่อยดีมากนัก หากเทียบกับโน๊ตบุ๊กทั่วๆไป ซึ่งก็ต้องเข้าใจครับว่าด้วยตัวเครื่อง Eee Pad เองก็หนักถึง 600 กว่ากรัมแล้ว หนักกว่าจอ LCD ทั่วไปของโน๊ตบุ๊ก จึงทำให้การใช้งานนั้นอาจจะมีอาการจอกระพือๆได้บ้างเล็กน้อย แต่ไม่มากจนน่ารำคาญครับ

13 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ซึ่ง หลังจากการต่อ Docking เข้ากับตัวเครื่องแล้ว ก็จะพบว่า มีพอร์ตเชื่อมต่อเพิ่มเข้ามาอีกครับ สำหรับด้านนี้ก็จะคือพอร์ต USB 2.0 สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริม อย่างพวกแฟลชไดร์ฟ หรือฮาร์ดดิสก์แบบ USB รวมไปถึงด้านขวามือ จะเป็นช่องสำหรับเสียบสาย Data เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือเชื่อมเข้ากับ Adaptor สำหรับชาร์จไฟ

14 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ด้านขวามือ จะคือสลอตสำหรับใส่เมมโมรีการ์ดแบบ SD และ MMC ในช่องเดียวกันด้วย และด้านซ้ายก็เป็นพอร์ต USB 2.0 อีกพอร์ตหนึ่ง ซึ่งน่าเสียดายว่าพอร์ต USB นี้ไม่มีอยู่บนตัวเครื่อง Eee Pad แต่ดันมาอยู่บนตัว Docking อย่างเดียวครับ

15 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

คอนเนกเตอร์สำหรับเชื่อมต่อทั้งดาต้า และไฟสำหรับชาร์จตัวเครื่อง คล้ายๆกับไอแพดเลยนะ (ฮ่าๆ)

16 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ตัวอะแดปเตอร์ ก็คล้ายๆค่ายไหนก็นึกๆเอาเองนะครับ

————————————————–

17 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ลองเปิดเครื่องใช้งาน เปิดดู Information กันก่อนครับ ก็จะพบว่า Eee Pad ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่น 3.0.1 หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Honeycomb” นั้นเอง

18 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

หน้า Home Screen นั้นเรียกได้ว่า ไม่มีอะไรแตกต่างจากเครื่องในระบบ Android ทั่วๆไปมากนักครับ ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องดี เพราะบางทีผู้ผลิตบางเจ้า ใส่ๆอะไรมาให้เยอะแยะเกินไป จนรกหน้าจอ แล้วเราไม่ได้ใช้ ก็ต้องมานั่งแก้ให้กลับมาเป็นแบบง่ายๆแบบนี้อีก สู้ให้มาแบบเดิมๆ แล้วให้ผู้ใช้ปรับแต่งเอาเอง จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากกว่า

19 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

หน้า Home ก็จะสามารถเลื่อนสไลด์ไปได้หลายๆหน้า สามารถลากเอา Widget หรือ app ที่เราใช้บ่อยๆ มาวางไว้บนหน้าแต่ละหน้าได้ครับ ซึ่งรายละเอียดการใช้งานนั้น ผมจะเล่าให้ทราบกันคร่าวๆ

ผมเคยสัมผัส เครือง Tablet หลักๆ เอาแบบที่เคยเล่นจนน่าจะจับเรื่องจับราวได้ก็คือ Samsung Galaxy Tab , Ipad แล้วก็เครื่องนี้แหละครับ ถ้าให้เปรียบเทียบเอาจากความทรงจำ คือการใช้งานของ Eee Pad นี่ ก็ถือว่าค่อนข้างเร็ว ในระดับหนึ่ง จับความรู้สึกแตกต่าง กับเครื่องรุ่นที่ซีพียูช้ากว่าอย่าง Tab ได้ในระดับหนึ่งครับ แต่ไม่มากนัก เพราะผมคิดว่ายังไงแอนดรอย ก็คือแอนดรอย แต่เครื่องที่ผมคิดว่า เข้าวินเลยในเรื่องของความลื่นไหลของอินเตอร์เฟส ก็คือ iPad ครับยังต้องยกให้เขา

21 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

แต่ว่าคุณสมบัติหลายๆอย่างของ Eee Pad เครื่องนี้ ด้วยพลังของซีพียูแบบ Dual Core จาก NVIDIA นี้ก็ยังเป็นอะไรที่น่าสนใจครับ สำหรับการเอามาใช้งานปรับแต่งรูปภาพแบบรวดเร็ว หรือจะเอาไว้เล่นเกม ที่ตอนนี้ทาง NVIDIA ก็พยายามที่จะขยายอาณาจักรเกมของตน ให้เข้ามาอยู่ในโลกโมบายให้มากขึ้น ด้วยการจับมือกับนักพัฒนาหลายๆเจ้า ให้สร้างเกมที่ออกมาเป็น “Tegra Optimized” คือปรับมาสำหรับซีพียูของเขาโดยเฉพาะ และสามารถเล่นได้ในระดับความละเอียด Full HD กันแล้ว ถึงแม้ว่าตอนนี้ เกมใน Tegra Zone จะมีออกมาไม่เยอะมาก แต่ว่าในอนาคต ก็เป็นสิ่งที่ต้องจับตามองกันครับ

….ซึ่งนอกจากเรื่องดีดีด้านบน ผมก็ยังมีเรื่องข่าวร้ายมาบอกว่า App ใน Tegra zone ตอนนี้ยังไม่สนับสนุนการดาวโหลดในประเทศไทย คงต้องรอกันสักพัก เพราะข่าวล่าสุดตอนนี้เท่าที่ทราบมาคือ Android Market นั้นเปิดให้คนไทยสามารถซื้อ app ได้อย่างถูกกฏหมาย ไม่ต้องทำ root เครื่องกันแล้ว ก็ต้องรอดู Tegra Zone ต่อไปครับว่าจะเป็นอย่างไร

20 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

เรื่องของพอร์ต USB ก็เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากครับสำหรับผม สมัยผมยังเด็กๆ ผมเคยคิดว่า ทำไมนะ “Pocket PC” พวกวินโดวส์โมบาย ไม่มีพอร์ต USB ไว้ให้เสียบแฟลชไดร์ฟได้ … มาจนถึงวันนี้ Eee Pad มีให้ผมแล้วครับ มันสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ USB อย่างฮาร์ดดิสก์แบบในรูปก็ได้ด้วย โดยไม่มีอาการไฟไม่พอให้เห็นเลย นับได้ว่า โอเอสสำหรับสมาร์ทโฟนสมัยนี้ ฉลาดขึ้นมากเลยทีเดียว

22 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ถัดมาก็คือ ความสามารถของตัวชิป Tegra อีกเช่นเคย กับความสามารถในการถอดรหัสภาพวีดีโอ 1080P ได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน ถึงเวลาเปิดออกมาแรกๆ จะมีอาการหน่วงบ้าง แต่พอดูๆไป ก็พบว่า ลื่นไหลใช้การได้ดีสมราคาคุยจาก NVIDIA ครับ ตัวลำโพงนั้นก็สามารถให้ซุ่มเสียที่ดุดันใช้การได้ครับ

23 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ระบบอีเมล ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน IMAP หรือ POP3 เปิดดูผ่าน Inbox ของเราได้โดยตรงเลยถ้าหากว่าใช้ Gmail อยู่ ถือว่าเจ๋งเลยทีเดียวครับ

24 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ส่วนของ E-Book ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน แต่ผมคิดว่า ณ ชั่วโมงนี้ คงหาคนบริโภคสื่อแนวๆนี้ได้น้อยอยู่ครับ

25 Review : Asus Eee Pad Transformer TF101

ระบบ GPS หากได้ซอฟท์แวร์ดีดี ผมถือได้ว่าสามารถเอามาใช้นำทางได้เลย แขวนติดตั้งหน้ารถยนต์ ใช้งานได้แม่นยำดีครับ เพราะว่าสนับสนุนการใช้งานแบบใช้อินเตอร์เนทในการช่วยเร่งความเร็วในการจับสัญญาณ GPS ด้วย แต่ก็ต้องพิจารณากันหน่อยว่ามี WiFi ให้ใช้รึเปล่ากับเครื่องรุ่นนี้ที่ไม่มีสลอตใส่ซิมการ์ด 3G มาให้

.

.

Eee Pad นั้น เปิดตัวในงาน Commart ไปแล้วครับ แล้วผมก็แว่วๆมาว่าราคาตัว 16GB ตัวที่ผมรีวิวนี้ อยู่ที่ราวๆ 15k ไม่รวม Keyboard Docking ซึ่งถ้าซื้ัอรวม ก็จะอยู่ที่ราวๆ 17xxx ซึ่งผมถือว่าเปิดออกมาราคาอาจจะไม่ได้ถูกหวือหวา แต่ก็คิดว่าน่าจะสมเหตสมผลพอสมควร

จุดเด่นของมันโดยสรุปแล้วก็อยู่ที่ตัวจอพาแนลแบบ IPS ชัดเจนมากๆ ซีพียูดูอัลคอร์สุดแรงจาก NVIDIA และ Docking ที่ทำออกมาได้น่าสนใจ

ส่วนจุดด้อยที่ผมสัมผัสได้ก็คือตัวบอดี้นั้นแผ่นหลังน่าจะทำออกมาให้ความรู้สึกที่ดีกว่านี้ได้อีกหน่อยครับ รวมไปถึงพอร์ต USB ที่น่าจะมีติดตัวเครื่องมาให้เลยตรงๆ กับหน้าจอที่ถึงแม้จะคมชัดแค่ไหน แต่แสงสะท้อนมากๆ เอาออกไปใช้งานข้างนอก ก็ลำบากเหมือนกัน

.

.

ขอขอบคุณ Asustek Thailand

«ก่อนหน้า 1 2 3 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»