Review : Asus Eee PC 1015B
Share | Tweet |
Asus Eee PC 1015B
…ความเคลื่อนไหวของเน็ทบุ๊กในช่วงนี้ เรียกได้ว่าค่อนข้างเงียบลงไปพอสมควร ซึ่งที่ผ่านมาผมก็เคยได้ทดสอบโน๊ตบุ๊กขนาดฟูลไซส์ที่ใช้ APU ของ AMD ไปเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็คงจะมาถึงคราวของเน็ทบุ๊ก ซึ่งดูๆแล้วมันน่าจะเป็นที่ที่เหมาะสมสำหรับ APU ที่จะถูกติดตั้งอยู่มากกว่าโน๊ตบุ๊ก ด้วยประสิทธิภาพและความสามารถในการบริหารจัดการพลังงานที่ดีของมันนั้นเองแหละครับ Eee PC1015B ก็เป็นเน็ทบุ๊กอีกรุ่นหนึ่ง ที่มีการนำเอา AMD’s APU “Fusion” ในตระกูล C series ซึ่งจัดได้ว่าเป็นอนุกรมสำหรับรุ่นประหยัดพลังงานของ Fusion มาใช้
Processor | AMD Fusion C-50 APU |
Chipset | Hudson-M1 |
Memory | 2GB DDR3 |
Graphics Adapter | AMD Radeon HD6250 |
Display | 10.1″ 1024*600 |
Harddisk | SATA 5400RPM 320GB |
Optical Drive | N/A |
Network | Broadcom 802.11n |
Connection Port | cardreader,USB 2.0×3, VGA,HDMI, RJ45 |
Battery | 56Wh |
Weight | 1.28 |
OS Bundled | Windows 7 Starter |
..รายละเอียดทางเทคนิคของเครื่องตามภาพที่จับมาจากโปรแกรม AIDA64 โปรเซสเซอร์ APU จาก AMD Fusion รหัส C-50 ความเร้วที่ 1GHz ที่ผนวกเอาพลังของ Radeon HD6250 ที่น่าสนใจอยู่ที่มันสนับสนุนการต่อสัญญาณภาพออกทาง HDMI และสามารถถอดรหัสวีดีโอระดับ HD ได้ กับเครื่องขอ 10.1 นิ้วความละเอียด 1024*600 แบบนี้ ทางเลือกเดียวก็คือต้องต่อจอออกทาง VGA หรือ HDMI เพื่อที่จะรับชมวีดีโอความละเอียดระดับนั้นได้
บอดี้ดูสะอาดสะอ้านครับ สีขาว glossy เล็กๆ เรียบง่ายดูดี พลาสติกที่ใช้สัมผัสก็ค่อนข้างดีในระดับหนึ่งครับ
ตัวเครื่องนั้นก็ยังคงมีดีไซน์ที่เหมือนกับ Eee PC ในรุ่นปัจจุบันทั้งหลายที่เป็นดีไซน์สไตล์ของ Seashell หรือฝากาบหอย โค้งมน และกระชับเข้ากับร่องมือดี ขนาดประมาณนี้จะเอาไว้ใส่กระเป๋าใส่ของจุกจิกของสาวๆได้พอดีๆเลยทีเดียว
เปิดออกมาก็ยังจะพบกับสีขาวสะดุดตาพร้อมกับแป้นพิมพ์ปุ่มแบบชิคเคล็ต
การวางตำแหน่งของปุ่มผมถือว่าสามารถจัดวางได้ค่อนข้างลงตัวมากๆครับ สำหรับส่วนของตัวอักษรทั้งหมด ถึงแม้ว่าบริเวณนิ้วก้อยด้านขวามือจะมีการอัดๆกันบ้างเล็กน้อย แต่ดีกว่าเน็ทบุ๊กในยุคสักปีสองสามปีก่อนนี้มาก สิ่งที่ผมคิดว่าขัดๆกับการใช้งานจริงๆคือปุ่ม alt กับ ctrl ด้านขวามือ ที่อาจจะดูปกติ แต่ผมคิดว่าสำหรับเครื่องไซส์นี้มันไม่ค่อยเป็นประโยชน์อยู่แล้ว ถ้าเอาสองปุ่มนี้ออก ก็จะให้สัมผัสที่คล้ายๆกับโน๊ตบุ๊กธรรมดาๆเลยทีเดียว
ทัชแพดก็สามารถลากใช้งานได้ตามประสาเครื่องขนาดเล็กๆ ความแม่นยำยังถือว่าทำได้ไม่ดีนัก ยังคงขาดความเป็นเชิงเส้น (linear) เรียกได้ว่าพอใช้งานแก้ขัดไปได้จะดีกว่า
.
พอร์ตเชื่อมต่อด้านซ้ายมือ ไฮไลท์ของเครื่องนี้เลยครับ คือ HDMI ที่สนับสนุนการต่อสัญญาณดิจิตอลไปหาโทรทัศน์แบบดิจิตอลสมัยใหม่ทั้งสัญญาณภาพและเสียง ถัดไปเป็น USB และ VGA ธรรมดาๆ
อีกด้านหนึ่งก็จะมี USB อีกสองช่อง RJ45 สำหรับแลน และการืดรีดเดอร์ที่มาพร้อมกับ dummy card อ่านการ์ดตระกูล SD และ MS ได้
ด้านใต้นั้นมีฝาที่สามารถเปิดได้ง่ายๆ เพียงแค่บริเวณของเมมโมรี (แรม) เท่านั้นครับ
แบตเตอร์รี่ขนาดพอตัว 56Wh เรียกได้ว่าขนาดพอๆกับเครื่อง 14 15 นิ้วเลยทีเดียว
น้ำหนักตัวเปล่ารวมแบตก็อยู่ที่ 1.28 กิโลกรัม
รวมสายชาร์จอันเล็กๆพกพาง่ายๆก็จะไปอยู่ที่เกือบๆโลห้า (1.467กิโลกรัม)
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
ดูรายละเอียดกันชัดๆครับ Fusion C-50 หลักๆแล้วไม่ค่อยต่างอะไรจาก E-350 มากนัก ยกเว้นเรื่องของ TDP ที่ต่ำกว่า ความเร็ว core clock ต่ำกว่า และตัวประมวลผลกราฟฟิคที่เป็นรุ่นต่ำกว่าเหมาะสำหรับใช้งานในเครื่องขนาดเล็กๆมากกว่า
WinRAR
เรียกว่าคะแนนตรงนี้ ด้อยกว่า E-350 ไม่มากนัก สูสีคู่คี่กับ Atom
- Cinebench R10
คะแนนในส่วนของ CPU นั้นยังถือได้ว่าสูสีกับ Atom แต่สำหรับ Open GL แล้ว ก็ยังคงกินขาด ถึงแม้จะเป็นรุ่นประหยัดพลังงาน C series
Ciebench R11.5
ที่สำคัญคือมันเทสของเวอร์ชั่น R11.5 ได้ด้วยครับ เพราะตรงนี้ Atom จะเทส Open GL ไม่ได้ ได้แต่ CPU
Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด ล และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/eeepc1015/b/23_6_2011_1/Report.html
จากผล การทดสอบ 279 นาที หรือราว 4 ชั่วโมงกับอีก 39 นาที ผมถือว่าความสามารถในการจัดการพลังงานนั้นอยู่ในขั้นสุดยอดแล้วครับ แบตก็ไม่ได้มีความจุสูงจนเวอร์ถึงระดับเฉียด 10000Wh แต่นี่แค่ 56Wh อยู่ได้นานขนาดนี้ถือว่าประหยัดมากแล้วครับ น่าจะเป็นการทดสอบที่ลบข้อกังขาไปได้แล้วว่า AMD ร้อน กินไฟ !
AIDA64 Benchmark
คะแนนซีพียูก็อารมณืราวๆ ซีพียูยุคเก่าๆพวก Duron, Pentium M ก็ถือได้ว่าใช้งานได้สบายๆ
PCmark 05
ในเครื่องทดสอบนั้นวินโดวส์มีปัญหากับ PCmark05 เปิดโปรแกรมไม่ได้ครับ ! ซึ่งถ้าสงสัยก็ลองไปดูของตัว E-350 ก่อนก็ได้ครับ คะแนนตัวนี้ก็จะต่ำกว่าเล็กน้อย ในบทความนี้
3Dmark06
คะแนน 3Dmark เห็นแล้วชื่นใจ มีเกือบแตะสองพันแต้ม เล่นเกมออนไลน์สมัยนี้ได้พอไหวแล้วครับ
.
.
.
.Eee PC1015b นั้นเรียกได้ว่าเป็นเน็ทบุ๊กเครื่องขนาดเล็กๆ (10.1 นิ้ว) ที่น่าจะเข้ามา ฉีกหน้าประวัตศาสตร์โลกของเน็ทบุกไปอีกตัวนึง หลังจากที่มีเพียงแค่ Intel Atom และอย่างดีก็จะมีกราฟฟิคของ NVIDIA ION พ่วงมา วันนี้ AMD ก็ได้ส่งทางเลือกมาให้ได้ลองกันอย่าง AMD Brazos ได้สักพักแล้ว จุดขายจริงๆของเครื่องนี้ผมมองว่า เป็นเรื่องของราคา เมื่อเทียบกับคุณสมบัติแล้ว ค่อนข้างคุ้มค่ามาก ตัวเครื่องนี้มันสามารถใช้งานกราฟฟิค HD พื้นฐานได้ เล่นมีเดียระดับ HD และอินเทอร์เน็ท ได้อย่างสบายๆ ผลทดสอบออกมาคะแนนกราฟฟิคก็ดีกว่าคู่แข่งอยู่พอสมควร กับราคาที่ไม่แพงมากนัก แค่ 89xx บาทเท่านั้นเองครับ ใครที่เบื่อๆ Atom หันไปหาเน็ทบุ๊กที่ไหนก็เจอแต่ Atom ลองมองดู 1015B ไว้เป็นตัวเลือกบ้าง น่าสนใจไม่แพ้กันครับ.
.
.
.