Review : Asus Eee PC 1015PW
Share | Tweet |
Asus Eee PC 1015PW
…หลังจากที่ Notebook corner คราวที่แล้ว ผมได้ปล่อยรีวิวของเน็ทบุ๊กจากค่าย Toshiba ไปแล้ว คราวนี้ก็กลับมาถึงรีวิวของเน็ทบุ๊กแบรนด์ดั้งเดิมตั้งแต่สมัยเน็ทบุ๊กเกิดใหม่ๆอย่าง Eee PC จากทาง Asus นั้นเองครับ โดย Eee PC 1015PW นั้น เป็น Eee PC รุ่นหนึ่งในตระกูล Eee PC Seashell ที่มีดีไซน์ใหม่ที่ถูกออกแบบมาให้ดูมีชีวิตชีวา และเต็มไปด้วย “Waves” หรือลอนคลื่นตลอดทั้งตัวเครื่อง นั้นก็คือคอนเซ็ปต์ในการออกแบบของ Eee PC เครื่องนี้ครับ ลำดับต่อไป เราลองมาดูรายละเอียดในด้านต่างๆกันตามแบบฉบับของเรากันเลย
Processor | Intel Atom Dualcore N550 |
Chipset | Intel NM10 |
Memory | 2GB DDR3-1333MHZ |
Graphics Adapter | Intel GMA3150 |
Display | 10.1″ (1024×600) |
Harddisk | 320GB 5400RPM SATA-II |
Optical Drive | N/A |
Network | Atheros IEEE802.11b/g/n |
Connection Port | cardreader, USB x3, VGA, RJ45, |
Battery | 47Wh |
Weight | 1.29kg |
OS Bundled | Windows 7 Starter |
…หลักๆแล้วผมแทบจะไม่ค่อยตื่นเต้นอะไรกับรายละเอียดทางเทคนิคของเครื่อง Eee PC เครื่องนี้เท่าไรครับ เพราะว่ามันจะเป็นสเป็คที่เรามักจะพบได้ทั่วไปใน Netbook ในยุคปัจจุบันนี้ ซีพียู Atom Dualcore เมมโมรีสัก 2GB กราฟฟิคการ์ดแบบฝังในตัวซีพียูอย่าง Intel GMA3150 ทำงานร่วมกับชิปเซ็ต NM10 ของอินเทลเอง และอแดปเตอร์ไวเรสรองรับมาตรฐาน IEEE802.11 B/G/N จาก Broadcom ซึ่งก็น่าจะใช้การได้ในระดับหนึ่ง จอก็เป็นขนาด 10.1 นิ้วความละเอียดธรรมดาๆ 1024×600 มันไม่มีอะไรแปลกไปเลยจริงๆครับ แม้กระทั่งในเรื่องของขนาดของฮาร์ดดิสก์ ที่เรามักจะพบขนาด 320GB !! ในหลายๆรุ่น (ไม่เชื่อลองย้อนไปดูบทความก่อนหน้านี้่ได้เลย สดๆร้อนๆ)
…บอดี้นั้นทำมาจากวัสดุชั้นดี กล่าวคือในปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าเน็ทบุ๊กหลายๆค่าย มีพัฒนาการในเรื่องของวัสดุ และการออกแบบที่ดีขึ้น ที่ไม่รวมถึงสถาปัตยกรรมภายในที่ตรงนี้ก็คงจะขึ้นอยู่กับทางค่ายผู้ผลิตซีพียูอย่างอินเทลหรือเอเอ็มดีอยู่แล้ว ซึ่งผมคิดว่าที่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขนาดนี้ ก็คงจะเป็นเพราะตอนนี้ โน๊ตบุ๊กราคาถูกๆหลายๆเจ้า ต่างก็ลดราคาลงมาฟาดฟันกับเน็ทบุ๊กมากขึ้น เน็ทบุ๊กเครื่องเล็กๆ นอกจากจะมีจุดแข็งที่ขนาดเล็กแล้ว จึงต้องมีการออกแบบและดีไซน์ที่สวยงามโดดเด่นดูแล้วน่าจับจองเป็นเจ้าของด้วยนั้นเองครับ
…ลวดลายอย่างที่ผมได้บอกไปในตอนแรกแล้วครับว่า เน้นลวดลายที่เป็นลักษณะลอนคลื่น ซึ่งมันก็เป็นลอนจริงๆนั้นแหละครับ จับแล้วไม่ใช่ผิวเรียบๆ แต่เป็นผิวลอนที่หนืดๆมือเล็กน้อย ให้สัมผัสที่ดีดูเหมือนอารมณ์กระเป๋าใส่ของจุกจิกของคุณผู้หญิง
เปิดฝาออกมาก็จะยังคงพบวัสดุคล้ายๆกันภายใน แต่ว่าไม่มีลอนคลื่นแบบด้านนอกแล้ว
คีย์บอร์ดนั้นทำเลย์เอาท์ออกมาได้ค่อนข้างพอดีมือมากๆเลยทีเดียว ผมไม่ค่อยพบปัญหาเหมือนกับที่ได้เจอในโน๊ตบุ๊กในบทความที่แล้ว ในการพิมพ์ โดยตัวคีย์บอร์ดปุ่มยกนั้น กินพื้นที่ด้านความกว้าง แทบจะเกือบทั้งตัวเครื่อง (เกือบถึงขอบเครื่อง) กันเลยครับ ส่วนน้ำหนักของปุ่ม ก็ยังคงไม่โดดเด่นอะไรมากนัก แต่ก็ถือว่าใช้งานได้ มีจังหวะการกดที่สั้น และเบา มั่นคงในระดับหนึ่ง (ไม่ถือว่ามาก)
..บริเวณ handrest และ touchpad ก็ออกแบบมาได้่ลงตัวครับ พื้นผิวสัมผัสที่ดูดีมีราคาเหมือนกับเปลือกภายนอก ทัชแพดเท่าที่ลองใช้งาน ก็พบว่ายังคงมีอาการดีเลย์เยอะ และหน่วงๆ แต่โดยภาพรวมก็สามารถใช้งานได้ แต่ถ้าให้ใช้งานกันยาวๆ ก็คงจะหงุดหงิดไม่ใช่น้อย ปุ่มกด ถ้าไม่คุ้นมือ ก็อาจจะรู้สึกว่ามันหนักมือไปนิดหนึ่ง และอยู่เกือบจะถึงขอบของตัวเครื่อง ทำให้เวลากด ต้องมีการเกร็งข้อมือและนิ้วมากไปสักนิดหนึ่งครับ ทั้งหมดนี้ก็คงจะเพราะขนาดของตัวเครื่องที่ไม่ได้ใหญ่มากเหมือนโน๊ตบุ๊กเครื่องใหญ่ๆจอใหญ่ๆนั้นเอง
…มีฉลากบอกสรรพคุณ เป็นภาษาไทยมาให้ด้วย
พอร์ตเชื่อมต่อด้านขวามือนั้นก็จะมี USB มาให้สองพอร์ตในด้านนี้ พร้อมทั้งช่อง RJ45 สำหรับสายแลน รวมไปถึง SDHC Cardreader พร้อม Dummycard ปิดมาให้เรียบร้อยครับ
กด Dummycard มาให้ดูพร้อมทั้งถ่ายโชว์ให้ดูพื้นผิวที่สวยงาม
ส่วนด้านซ้ายมือก็มีช่องระบายความร้อนเล็กๆ พอร์ต VGA และ USB อีกหนึ่งพอร์ต
ด้านใต้สามารถเปิดออกมาเพื่อถอดเปลี่ยนเมมโมรีได้
แบตเตอร์รี่จุไฟ 47 Wh ขนาดถือว่ากลางๆซึ่งน่าจะเพียงพอสำหรับเน็ทบุ๊กเครื่องเล็กๆแบบนี้
…แบตเตอร์รี่ขนาด 48Wh ถือว่าไม่มากไม่น้อยสำหรับเครื่องสมัยนี้
น้ำหนักรวมแบต 1.29 กิโลกรัม
เมื่อรวมกับอะแดปเตอร์แล้ว ก็ถือได้ว่ายังเบาอยู่มากครับ แค่ 1.476 กิโลกรัมเท่านั้นเอง
Performance
- รายละเอียดจาก CPUZ
…เรื่องของประสิทธิภาพผมคิดว่าหลายๆท่านน่าจะคุ้นเคยกับผลการ benchmark ของ atom กันอยู่แล้ว ซึ่งในคราวนี้ก็จะเป็น atom dual core ในแพลตฟอร์ม pineview ผนวกกับกราฟฟิค GMA3150 ธรรมดาๆ ซึ่งคะแนนก็คาดว่าไม่น่าจะมากมายอะไร พอใช้งานดูหนังฟังเพลงเบาๆได้ แต่ถ้าจะให้ดู Hi-Def 1080p นี่ก็อาจจะต้องคิดหนักครับเพราะว่า GMA3150 นั้นไม่มีความสามารถในการถอดรหัสพวก H.264 หรืออะไรแนวๆนั้นได้ด้วยฮาร์ดแวร์ตัวมันเอง ต้องอาศัยกำลังซีพียูช่วยเอาอย่างเดียวเลย
- Cinebench R10
คะแนน Cinebench ก็ตามเนื้อผ้าครับ ตรงนี้ผมไมได้เทส เวอร์ชั่นใหม่มา เพราะว่ามันเทสต์บางหมวดได้ไม่ครบดีนัก เอาคะแนนไว้แค่นี้ ก็น่าจะพอประมาณประสิทธิภาพเทียบกับโน๊ตบุ๊กเครืองอื่นๆที่ผมเคยเทสๆไว้ได้แล้วนะครับ
Batterry Eater (95-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/eee1015pw/b/4_3_2011_2/Report.html
296 นาที หรือตีซะว่า 5 ชั่วโมงเต็มเลยครับสำหรับ Eee PC เครื่องนี้ ถือได้ว่าทำได้เหมือนๆกับพรรคพวกชาว Atom หลายๆเครื่องที่ใช้แบตเตอร์รี่ความจุกลางๆราวๆ 45-50Wh แบบนี้
Sisoft Sandra
PCmark 05
3Dmark06
คะแนนแบบนี้ ก็พอที่จะใช้งานเล่นเกมได้ก็แต่เกมเก่าๆจริงๆเท่านั้นครับ ไม่ควรคาดหวังอะไรมากจากเน็ทบุ๊กเล็กๆแบบนี่้
.
.
…Asus Eee PC 1015PW นั้นก็เป็นเน็ทบุกอีกเครื่องหนึ่งที่ผมเชื่อว่าทาง Asus นั้นได้ตั้งใจออกแบบมันมาค่อนข้างจะพิถีพิถัน จากประสบการตั้งแต่ Eee PC รุ่นแรก ซึ่ง ณ ชั่วโมงนี้ เครื่องจำพวกเน็ทบุ๊กไซส์ 10 นิ้วนั้น จะต้องดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้หลายๆคนจากการที่จะหันไปมองโน๊ตบุ๊กราคาถูกๆ เพราะผมเชื่อว่า ในเมืองไทย มีคนเป็นส่วนน้อยที่มองว่า การที่จะมีคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆ ใช้งานกับแบตได้นานๆ ไว้ใช้สักเครื่อง นั้นเป็นเรื่องจำเป็น
…งานประกอบ และวัสดุที่ใช้ ผมว่าคุณภาพนั้นดีไม่แพ้หลายๆค่ายแน่นอนสำหรับ Eee PC ในชั่วโมงนี้ ประสิทธิภาพก็เป็นไปตามแบบฉบับ Netbook ทั่วไป แบบประหยัดไฟสุดขั้ว แบตเตอร์รี่ก็การันตีจากการทดสอบได้แน่ๆว่า 5 ชั่วโมง ไม่ใช่เรื่องยาก เรียกได้ว่า เอาเครื่องไปใช้งานได้ทั้งวัน โดยไม่ต้องพกที่ชาร์จ แล้วพอถีงบ้าน ก็เสียบสายไฟชาร์จ เหมือนโทรศัพท์มือถือ สำหรับในตอนนี้เท่าที่ทราบมา ราคาขายของมันก็จะอยู่ที่ราวๆ 12000-13000 ไม่น่าเกินจากนี้ไปครับ
ขอขอบคุณ Asus Thailand
fgsdfgsd