Review : Asus K43BY (AMD Fusion E-350 APU)

, / บทความโดย: Northbridge , 01/05/2011 01:23, 4,813 views / view in EnglishEN
«»
Share

13040905635s Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

Asus K43BY

สวัสดีกันอีกครั้งครับ สำหรับวันนี้ผมก็มีโน๊ตบุ๊กพร้อมผลการทดสอบ ที่ผมคิดว่าน่าสนใจกว่าหลายๆเครื่องที่ผ่านมาในช่วงนี้ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นโน๊ตบุ๊กในระดับ entry level จอ 14 นิ้วอย่าง Asus ตระกูล K series ในรุ่น K43BY แต่ด้วยขุมพลังภายในของมันนั้น ผมเชื่อว่า น่าจะเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่ สำหรับตลาดโน๊ตบุ๊กในระดับราคาถูกสำหรับบ้านเราในตอนนี้พอสมควรเลยครับ ถึงแม้ว่าทาง AMD จะได้เปิดตัว AMD Fusion กับแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า AMD Brazos ไปได้เป็นเวลานานพอสมควรแล้ว เราก็ยังไม่ค่อยได้เป็นโปรดักส์อะไรที่ใช้ซีพียูจากค่ายสีเขียวแดงนี้กันเลย จนวันหนึ่ง ผมก็ได้รับเครื่องทดสอบ ล็อตใหญ่ (มากๆ) มาล็อตนึงนี่แหละครับ หนึ่งในนั้นก็คือ K43BY ที่ซึ่งใช้ซีพียู … อุบส์ มันเรียกว่า “APU” ที่ชือว่า “AMD Fusion E-350″ โค้ดเนม Zacate นั้นเองครับ

lineup2 sm Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

ว่ากันตามแพลตฟอร์มไลน์อัพ สำหรับปีนี้ของทาง AMD ในช่วงแรกนี้ AMD ได้ทำการเปิดตัวโปรเซสเซอร์ในกลุ่มตลาด Entry level และ mainstreme กันก่อนครับ กับ AMD Fusion ทั้ง E series และ C series APU

พูดกันเป็นภาษาชาวบ้าน ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ทั้ง E และ C Series APU ของ AMD ถ้าไปอยู่บน เดสก์ทอพ มันก็จะเป็นเครื่องจำพวก slim ทั้งหลาย ที่มีราคาไม่แพงมาก ตอบสนองการใช้งานแอพพลิเคชั่นทั่วๆไปในระดับ HD และเล่นเกมออนไลน์ต่างๆ

ส่วน ถ้าไปอยู่บน laptop เจ้า Fusion APU นี้ ก็จะสถิตย์อยู่ในเครื่องจำพวก “netbook” สำหรับตระกูล C series ที่จะมีอัตตรากรบริโภคพลังงานที่ต่ำกว่า แต่ประสิทธิภาพด้อยกว่ากันเล็กน้อย ส่วน E series จะมาอยู่ในโน๊ตบุ๊กระดับ entry level หรือ sub notebook ที่มีราคาอยู่ในระดับ 11000-14xxx บาท ตอบสนองการใช้งานแอพพลิเคชั่นพื้นฐาน รวมไปถึงคอนเทนท์สมัยใหม่ระดับ HD

ซึ่งเครื่องที่เราได้รับมาวันนี้เป็น AMD E-350 โค้ดเนม Zacate ครับ ซึ่งถ้าเป็นตัว C series นั้นก็จะมีโค้ดเนมว่า Ontario ซึ่งสำหรับตัว Zacate E-350 นั้นก็จะมาพร้อมกับโปรเซสเซอร์ ความเร็ว 1.6GHz และตัวประมวลผลกราฟฟิค แบบฝังลงไปใน DIE เดียวกันกับตัวซีพียูเลยในรุ่น Radeon HD6310

คู่แข่งจริงๆของ Fusion ณ ชั่วโมงนี้ ผมเชื่อว่า ไม่ใช่ Core i3 พร้อมกราฟฟิคอินติเกรตแน่นอนครับ ดูจากสถานการของ AMD แล้ว ผมเข้าใจว่า Fusion น่าจะลงมาต่อกรกับแพลตฟอร์มราคาประหยัดจากทางอินเทล อย่าง Pentium Dualcore สำหรับกลุ่ม Entry level notebook ขนาดปกติ หรือ Atom ในส่วนของเน็ทบุ๊กขนาดเล็กๆ

Processor AMD Fusion E-350 (Zacate)
Chipset N/A (FCH avialable)
Memory 4GB DDR3-1333MHZ
Graphics Adapter AMD Radeon HD6310 (On DIE) + Radeon HD6470
Display 14.1″ (1366*768)
Harddisk 500gb 5400rpm SATA-II
Optical Drive DVD-RW
Network IEEE802.11N (Atheros)
Connection Port cardreader, USB2.0 x3, VGA, RJ45, HDMI
Battery 56Wh
Weight 2.15Kg
OS Bundled UNKNOWN

ontariozacarchitecture sm Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

ผมได้เกริ่นนำไปว่าแพลตฟอร์ม Brazos นั้นมีการผนึกรวมเอาตัวประมวลผลกราฟฟิค เข้่าไปรวมกับตัวประมวลผลกลาง รวมไปถึงชิปเซ็ตควบคุมทิศเหนือเดิม เข้าไปเป็นแพคเกจเดียวกันกับตัวประมวลผลหลัก ซึ่งต่อไปนี้ เราจะเรียกไอ้ก้อนๆทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมาว่า “APU” มันย่อมาจาก Accelerated Processing Unit

ภายใน APU นี้ก็จะประกอบไปด้วย ซีพียูแบบดูอัลคอร์โค้ดเนม Bobcat ซึ่งมี L2 cache 1MB ผนึกรวมกับความสามารถในการบริหารจัดการระบบทั้งหมด หรือเรียกง่ายๆว่า แพลตฟอร์ม APU นี้ จะไม่จำเป็นต้องมีชิปเซ้ตสำหรับควบคุมระบบบัสความเร็วสูงอีกต่อไป เพราะภายใน APU นั้นจะมี ส่วนติดต่อกับระบบบัสแบบ PCI-E ที่จะสนับสนุนการมีกราฟฟิคแบบชิปแยก (discrete graphics) ด้วย รวมไปถึง เมมโมรีคอนโทรลเลอร์แบบ DDR3 ภายในตัว APU และที่สำคัญคือ นอกจากภายใน APU นั้นจะรวมเอาชิปประมวลผลกราฟฟิค Radeon HD6310 เข้าไปไว้ใน DIE เดียวกันแล้ว ยังมีการรวมเอาส่วนส่งออกภาพทั้งแบบ DAC (Digital to analog converter) สำหรับพอร์ต VGA และส่วนเชื่อมต่อการแสดงผลอินเตอร์เฟส HDMI เข้าไว้ในชิป APU เพียงตัวเดียวด้วย

notebook sm Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

ส่วนชิปเซ็ต เขาก็จะไม่เรียกว่าชิปเซ็ตอีกคต่อไปครับ AMD เรียกมันว่า “FCH” ย่อมาจาก Fusion Controller hub ซึ่งจะเป็นชิปควบคุมระบบบัสความเร็วต่ำทั้งหลาย ตั้งแต่ USB , SATA , Card Reader หรือแม้กระทั่ง WiFi ซึ่งโดยหลักๆแล้วก็จะมีบัสแบบ PCI-E 1x มาให้ 2 lane สำหรับชิป FCH ในแพลตฟอร์มนี้ครับ

evin Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

..รายละเอียดทางเทคนิคที่ AIDA 64 รายงานมาก็ครบถ้วนกระบวนความดีครับ ทั้งตัว APU และส่วนประกอบระบบอื่นๆ ก็มากันแบบมาตรฐานๆ แบบโน๊ตบุ๊กราคาระดับเริ่มต้นทั่วไป ที่มักจะมี HDD ขั้นต่ำสมัยนี้ก็น่าจะราว 500GB เมมโมรี 4GB และ ไวเรสมาตรฐาน N ชิปของ Atheros พื้นๆมาให้

1 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

มาดูในส่วนของส่วนประกอบรายละเอียดเชิงกายภาพของ K43BY ก็จะพบว่า บอดี้สไตล์ เงาๆ ธรรมดาๆเหมือนกับโน๊ตบุ๊กทั่วไปในราคาระดับนี้ครับ

2 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

ความบางอยู่ในเกณฑ์ที่พอที่จะพกพาไปใช้ได้ แบบโน๊ตบุ๊กทั่วๆไปจริงๆ ไม่ได้มีความพิเศษอะไรจนทำให้เราแปลกใจเลยครับ ซึ่งจริงๆแล้วบอดี้ และการออกแบบสไตล์นี้ ก็มักจะพบได้ทั่วไปในเครื่องระดับราคาหมื่นต้นๆแบบนี้อยู่แล้ว

3 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

ภายในก็จะพบว่า มีการเล่นสีโทนน้ำตาล คีย์บอร์ดขนาดมาตรฐาน ปุ่มเรียงชิดๆกัน ดูเป็นระเบียบสวยงาม

4 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

การจัดเรียงคีย์บอร์ด และตำแหน่งต่างๆก็ทำได้สมมาตร และไม่แออัด ถือว่าสอบผ่าน ใช้่งานได้สบายๆ น้ำหนักของปุ่มก็จะออกแนวเบาๆ คลอนๆบ้างเล็กน้อยตามสภาพ แต่โดยภาพรวมแล้วก็สามารถจะใช้งานพิมพ์งานติดต่อกันได้เป็นเวลานานๆได้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าพิมพ์สัมผัสไม่คล่องแล้วคิดจะซื้อเครื่องนี้มาพิมพ์งาน แนะนำให้หา numpad เสริมไว้สักชุดได้เลยครับ

5 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

ส่วนประกอบต่างๆเท่าที่สัมผัส ไม่ได้มีความรู้สึกว่าราคาถูก อย่างที่คิดตั้งแง่ไว้ตั้งแต่แรกครับ โดยภาพรวมถือว่าออกแบบมาได้ดูหรูหราเลยทีเดียว สังเกตได้ว่าลำโพงที่ใช้นั้นเป็นของ Altec ด้วย

6 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

ทัชแพดที่ผมคิดว่าสำหรับโน๊ตบุ๊ก entry level แบบนี้ ก็ทำได้ดีสมตัวครับ คือไม่ได้ดีมาก มีอาการหน่วงๆมึนๆ ดีเลย์ หรือทัชไม่ติดบ้างในบางโอกาส แต่โดยภาพรวมก็สามารถใช้งานได้ไม่น่าหนักใจ แต่ถ้าต้องใช้งานทัชแพดเป็นประจำ แนะนำว่าให้มองหาเมาส์ไร้สายขนาดกลางๆไว้ใช้งานแทนทัชแพดเลย ดูน่าจะเหมาะสมกว่าครับ

.

————————————————–

8 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

พอร์ตเชื่อมต่อมากันแบบง่ายๆเบสิกๆ กับด้านขวาที่มีเพียง USB2.0 พอร์ตหนึ่ง

7 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

ส่วนด้านนี้ก็จะพบกับพอร์ตเชื่อมต่อแทบจะทั้งหมด ทั้ง RJ45 สำหรับแลน ถัดไปเป็น HDMI , VGA และ USB 2.0 อีกสองพอร์ต

9 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

ด้านใต้ ฝาเปิดก็ทำมาง่ายๆครับ สามารถใช้ไขควงแฉกเปิดออกมาได้ทั้งบริเวณของ HDD และบริเวณที่น่าจะมีไว้เปิดมาเจอกับตัวซีพียู การ์ดไวเรส และเมมโมรี

10 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

แบตเตอร์รี่ขนาด 56Wh ถือว่ากลางๆค่อนไปทางสูง

11 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

น้ำหนักผมชั่งรวมแบตได้ 2.16 กิโลกรัม

12 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

เมื่อรวมเอาสายไฟอะแดปเตอร์แล้วก็จะหนัก 2.5 กิโลกรัม ก็ถือว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดีครับ สำหรับโน๊ตบุ๊กมาตรฐาน จอ 14 นิ้วแบบนี้

————————————————–

Performance

- รายละเอียดเครื่อง

cpuz Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

CPUZ และ GPUZ รายงานรายละเอียดของระบบทั้งหมด หลังจากนี้ก็มาลุยกันเลยครับ ***จริงๆแล้วกราฟฟิคการ์ดที่ใช้ในการทดสอบจริงๆ มันเป็น Radeon HD6470 นะครับ ไม่ใช่ 6310 ตามที่แสดงในค่าเริ่มต้น** (เนื่องมาจากความผิดพลาดของผู้ทดสอบ)

WinRAR

rar Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

capture Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)
ความเร็วออกมา ถ้าเทียบกับ Pentium Dual Core U5400 ก็ถือว่าทำออกมาได้สูสีคู่คี่กันมากเลยทีเดียว

- Cinebench R10

cb10 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

cb10 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

คะแนนของ Cinebench R10 นั้นออกมาชัดเจนเลยครับว่า “เร็วกว่า Atom แต่ช้ากว่า Pentium” เฉพาะแค่ในส่วนของประสิทธิภาพตัว CPU

Ciebench R11.5

cb11 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน

การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง

Discharge Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/asusk43by/b/9_4_2011_1/Report.html

จากผลการทดสอบ 217 นาที หรือ 3 ชั่วโมง 37 นาที ถือได้ว่า AMD สามารถลบคำสบประมาทในตลาดโน๊ตบุ๊กได้ชัดเจนครับว่ากินไฟ / ร้อน เพราะเวลาขนาดนี้ กับแบตเตอร์รี่ขนาดกลางๆ 56Wh ในเครื่อง K43BY นี่ถือว่าใช้การได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว

ev03 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

————————————————–

PCmark 05

pcm05 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

คะแนนนั้นยังคงออกมาในแนวทางเดิมเลยครับ ว่าประสิทธิภาพโดยรวมๆของตัวซีพียู ก็จะสู้ Pentium ไม่ได้ แต่ส่วนของกราฟฟิค ก็จะเหนือกว่าด้วยตัวกราฟฟิค 6470 ครับ

3Dmark06

06 Review : Asus K43BY (AMD Fusion E 350 APU)

สำหรับคะแนน ขอให้เป็นอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับเกม AMD สู้แหลกแน่ครับ สำหรับแพลตฟอร์ม Fusion ขนาดเล็กๆแบบนี้ แต่ก็ต้องเข้าใจนะครับว่าตัวที่ผมเอามาทดสอบนี่ ไม่ใช่แพลตฟอร์มที่มี discrete graphics แบบ AMD E350 ที่สามารถพ่วงเอา HD6470 มาได้เช่นในเครื่อง Asus K43BY เครื่องนี้

.

.

ถึงแม้ว่าความสามารถของระบบโดยภาพรวมนั้น ความเร็วในการประมวลผลอาจจะช้ากว่า Pentium Dualcore ที่ใช้สถาปัตยกรรม Nehalem อยู่เล็กน้อย แต่จุดแข็งของ AMD ก็คือความที่เป็น APU ที่รวมเอาทุกสิ่งไว้ในแพลตฟอร์ม ทั้งกราฟฟิคประสิทธิภาพสูง Radeon และชิปควบคุมต่างๆ ทำให้สุดท้ายแล้ว มันก็มีอะไรที่น่าสนใจอยู่เหมือนกันครับ

เนื่องมาจาก ณ ชั่วโมงนี้ แพลตฟอร์มของ Atom แน่นอนว่า ถ้าเป็นชิปกราฟฟิคแบบอินติเกรตเดิมๆมาตรฐานของอินเทล ตัวชิป GMA HD ในอะตอม ยังไม่สนับสนุนการดูภาพยนตร์แบบ HD 1080P เลยเสียด้วยซ้ำ (ไม่เหมือนใน Pentium) แต่ถ้าดูจากความสามารถในการเล่นเกมแล้ว AMD ก็จะเป็นฝ่ายนำแน่นอน แต่ถ้าเรื่องของการประมวลผลทั่วไป อินเทลในรุ่น Pentium ก็จะยังนำสูสีกันอยู่เล็กน้อยครับ แต่ต้องอย่าลืมว่า AMD ก็ยังจะมีไม้เด็ดก็คือ Direct Compute ที่จะทำงานลักษณะเป็น parallel computing คล้ายๆ CUDA ช่วยซีพียูประมวลผลงานซับซ้อนๆต่างได้ กับแอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนด้วย

กล่าวถึงแต่แพลตฟอร์มมากไปหน่อย จนเกือบจะไม่ได้พูดถึงตัวเครื่องกันครับ สำหรับ Asus K43BY เครื่องนี้นั้น ณ ตอนนี้ผมยังไม่ทราบราคาขายจริงๆ ซึ่้งผมคิดว่า ถ้าเปิดมาในราราประมาณ 12000-13500 บาท น่าจะสามารถพอที่จะมีที่ยืนอยู่ในตลาดได้บ้างครับ อาจจะไปแทรกๆอยู่กับพวกโน๊ตบุ๊กเครื่อง 14 นิ้วที่เป็น Pentium Dual core และชูจุดขายให้เป็นในเรื่องของความสามารถในการใช้งานเชิงเอนเตอร์เทน ดูหนังระดับ HD รวมไปถึงเล่นเกมเบสิกๆ ที่จะได้ประสิทธิภาพในบางจุดที่ดีกว่าค่ายคู่แข่งอยู่เล็กน้อย

ตัวเครื่องนั้นก็มีการออกแบบมาได้ดูดีเกินหน้าเกินตาระดับของตัวเครื่องไปพอสมควร แต่ก็ยังมีบางจุดที่ทำให้ดูรู้สึกว่ายังเป็นเครื่องราคาไม่แพงอยู่บ้าง อย่างเช่นทัชแพด และวัสดุที่เอามาใช้ทำปุ่มคีย์บอร์ด สากๆ ดูแล้วบางคนที่เคยจับเครื่องแพงๆมาก็อาจจะพอสังเกตได้ แต่ถ้ามองผ่านๆไป เชื่อว่าไม่มีใครรู้แน่นอน

สรุปแล้ว Asus K43BY นี้ก็เป็นโน๊ตบุ๊ก ที่น่าจะตอบสนองการใช้งานพื้นฐาน ที่ต้องการประหยัดงบประมาณ หรือรัดเข็มขัดกันอย่างสุดกู่ในยุคน้ำมันแพงแบบนี้ ไม่ว่าจะดูหนัง HD เล่นเกมออนไลน์ หรือพิมพ์งาน หรือแม้กระทั่งใช้งานเครื่องนอกสถานที่ โดยไม่มีแหล่งจ่ายพลังงาน ก็ยังจะสามารถใช้งานบนแบตได้อย่างยาวนานได้โดยไม่มีข้อกังขาแน่นอนครับ … จะว่ากันไป ก็ถือได้ว่า คุ้มครับ ถ้าเปิดตัวออกมาราคาสวยๆตามที่ผมบอกไว้หน่อยน่ะนะ


ขอขอบคุณ Asus

fgsdfgsdD

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»