Review : Asus M32AD Desktop PC
Share | Tweet |
AIDA 64
ตัวรายละเอียดเครื่องจากโปรแกรม AIDA64 ก็โชว์ออกมามีเพี้ยนๆบ้างครับ แต่ก็พอจะจับใจความได้ว่ามีกราฟฟิคอินติเกรต HD4400 และ GT820 ทำงานร่วมกัน (NVIDIA Optimus) และซีพียู Core i7 ควอดคอร์ความเร็วสูงสุด 3.6GHz และแรม 4GB กับชิปเซ้ต H81 ฮาร์ดดิสก์ 1TB 7200RPM ของ Toshiba และการ์ดจอ NVIDIA GT 720
พอมาเปิดดู CPUZ ก็ถึงจะเก็ตว่าซีพียูเป็น Intel Core i7 4790 (Socket 1150) แคช 8MB หรือความเร็ว 3.6GHz เมนบอร์ดเป็น H81 เมมโมรี DDR3 1600MHz และกราฟฟิค GeForce 720M 1GB ซึ่งเมมโมรีของกราฟฟิคนั้นจะมี bus width เพียงแค่ 64 bit เท่านั้นครับ
Super PI 1m
ทำเวลา Super PI1m ไปที่เวลา 9.1 วินาที แบบสบายๆ ด้วยความแรงจากซีพียูระดับตัวท็อปสุดอย่าง i7 4790
CrystalDiskMark 3
ความเร็วทำออกมาได้ดีพอควร เพราะเป็นฮาร์ดดิสก์ 7200RPM
HD Tune
แต่พอมาดูกราฟใน HD Tune ก็คิดว่าพอสมศักดิ์ศรี 7200rpm กับอินเตอร์เฟซ SATA 3 แต่ Access time จริงๆแล้วอาจจะดูมากผิดหูผิดตา
Cinebench R11.5
คะแนน Cinebench ถึงจะทำคะแนนในส่วนกราฟฟิคออกมาได้ว่าลื่นไหลมากครับ เพราะได้ซีพียูช่วย และแน่นอนว่าคะแนนซีพียู ไม่น้อยหน้าใครแน่นอน เพราะความเร็วซีพียูสูงถึง 3.6GHz และพกแคชมาตั้ง 8MB
Unigine Heaven Benchmark 4
คะแนนของ benchmark สุดโหดตัวนี้ก็เคาะมาที่ 348คะแนน
3DMark
คะแนน 3DMark ตัวล่าสุด ก็อยู่ในระดับค่อนข้างดี พอเล่นเกมใหม่ ๆ ได้พอสมควร แต่อาจจะไม่ได้ settings ที่สูงนักครับ
3DMark 06
ลองดูตัวเก่าอย่าง 06 ก็พบว่าคะแนนยังไม่แตะระดับ 10000 แต้มดีนัก แต่ก็ถือว่าพอใช้ได้ และได้อานิสงส์ความแรงของซีพียูช่วยมาได้พอสมควร
PCMark 7
ตัว PCMark 7 คะแนนออกมาก็เรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับค่อนข้างดีเลยทีเดียว
.
.
….เรียกได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอพ สำเร็จรูป จากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงด้านเมนบอร์ดอย่าง Asus ที่ประกอบเป็นชดมาได้อย่างสวยงาม และลงตัว ในเรื่องของดีไซน์ของตัวเคส ที่ภายนอกดูเรียบร้อยสวยงาม และขนาดไม่ใหญ่เทอะทะจนเกินไป ตลอดจนสเป็คที่เรียกได้ว่า อัดมาให้อย่างเหลือเฟือสำหรับการใช้งานในแง่ productivity ได้อย่างเต็มที่ครับ ที่ผมชอบมากก็คือฟีเจอร์ AI Charge และตัวเคสที่ทำพื้นที่ด้านบนไว้รับกับการวางโทรศัพท์ไว้ชาร์จด้วยเลย ทำให้รู้สึก “premium” ขึ้นมามากเลยทีเดียว
…จุดด้อยเท่าที่พอจะเห็นก็คือเรื่องของพอร์ต USB ด้านหลังที่มีมาให้เพียงสามพอร์ต ซึ่งลองนึกดูว่าแค่ต่อเมาส์และคีย์บอร์ด ก็ไม่น่าจะเหลือให้ต่ออะไรเพิ่มได้อีกแล้ว ต้องย้ายมาต่อด้านหน้า และเพาเวอร์ซัพพลาย ที่ในแง่ของความเสถียรในการจ่ายไฟ อาจจะไม่ใช่ข้อกังขา เพราะด้วยมาตรฐานของตัวเครื่องที่มีแบรนด์คอยการันตีไว้ให้อยู่แล้ว แต่จนถึงวันนี้ปี 2014 ย่างจะเข้าปี 2015 ผมคาดหวังว่าจะได้เห็นระบบ Active PFC เพื่อ efficiency และค่า power factor ที่ดีในระหว่างการแปลงจากไฟสลับ มาเป็นไฟตรง และ user ก็จะได้ไม่ต้องมากังวล คอยเขี่ยสวิชสลับระบบไฟระหว่าง 230 กับ 110 โวลต์ เวลาเอาเครื่องไปใช้งานในต่างพื้นที่ ต่างประเทศกันครับ
.
.
ขอขอบคุณ
.