Review : Asus M32AD Desktop PC

/ บทความโดย: Northbridge , 22/12/2014 00:00, 7,289 views / view in EnglishEN
«»
Share

1 Review : Asus M32AD Desktop PC

สวัสดีครับ สำหรับบทความรีวิวในวันนี้นั้นก็จะเป็นรีวิวของ Asus M32AD ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เดสก์ทอพรูปทรงแบบทาวเวอร์ ประกอบสำเร็จจากค่าย ASUS ที่พวกเราสาย DIY จะคุ้นเคยกับเมนบอร์ดที่มีชื่อเสียงจากค่ายนี้กันดีครับ M32AD นั้นเป็น variant ล่าสุดจาก M32 series ที่มาพร้อมกับซีพียู 4th generation core processor ซึ่งในตัวที่ผมได้รับมาทำการรีวิวในวันนี้ก็จะมาพร้อมกับซีพียูตัวท็อปรหัส Intel Core i7 4790 4 คอร์ 8 เธรด กันเลยทีเดียว ในร่างของเคสทาวเวอร์ขนาดกระทัดรัด ลองมาชมภาพรวมกันครับ

2 Review : Asus M32AD Desktop PC

6 Review : Asus M32AD Desktop PC

อย่างที่ได้เห็นไปแล้วในรูปแรกว่าตัวเคสนั้นก็เป็นเคสเหล็ก พ่นสีเทาเข้ม พร้อมกับหน้ากากลายอะลูมิเนียม และฐานพลาสติกด้านหน้ายกหน้าเคสให้ดูสูงขึ้น ด้านฝาข้างด้านซ้ายมือ ซึ่งเป็นด้านที่จะมีไว้สำหรับการเปิดเพื่อถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนภายใน ก็จะมีรูรังผึ้งสำหรับระบายความร้อนส่วนหนึ่งให้

3 Review : Asus M32AD Desktop PC

9 Review : Asus M32AD Desktop PC

ฝาอีกด้านหนึ่งก็จะมีรอยหลุมลงไปเล็กน้อย ให้พอดูมีสไตล์ครับ พร้อมกับลายโลโก ASUS ตัวเป้งๆ และสติกเกอร์แสดงรายละเอียดทางเทคนิคเบื้องต้นของตัวเครื่องสีดำ

4 Review : Asus M32AD Desktop PC

หน้ากากพลาสติกบริเวณสีดำที่ครอบคลุมพื้นที่ของ Optical Drive และด้านล่างก็จะพบว่ามีพอร์ต USB 3.0 ทั้งหมดสองพอร์ต ตามในโบร์ชัวร์ระบุว่าสามารถทำ AI Charge (ชาร์จอุปกรณ์ ไอโฟน ไอแพด ได้เร็วกว่าพอร์ต USB ปกติ) ตลอดจนมีช่องสำหรับเสียบหูฟังและไมค์ และการ์ดรีดเดอร์ SD/xD ตามมาตรฐานพีซีสมัยนี้ครับ

5 Review : Asus M32AD Desktop PC

สติกเกอร์แสดงสังกัด (Intel + NVIDIA) ติดแบบหลบๆมุมอยู่ด้านซ้าย

7 Review : Asus M32AD Desktop PC

ด้านบนเหมือนมีจงใจทำเป็นหลุมเอาไว้ สำหรับการวางโทรศัพท์มือถือเพื่อทำการชาร์จ

8 Review : Asus M32AD Desktop PC

ไดร์ฟเป็น DVD-RW 8X ของ ASUS นั้นเอง

10 Review : Asus M32AD Desktop PC

ด้านใต้เครื่องมีลูกยางรองกันลื่นมาให้บริเวณหน้ากากพลาสติก

11 Review : Asus M32AD Desktop PC

ด้านท้ายเครื่อง ก็มีพอร์ตเชื่อมต่อที่ดูแล้วก็ดูโล่ง ๆ ไม่แน่นมากเหมือนเครื่องพีซีประกอบที่ใช้เมนบอร์ดตัวท็อป ๆ ตัวสีของเคสก็คงเป็นสีเงิน ไม่มีการพ่นสีดำหรือสีเทา ทับในส่วนที่มองด้วยตาไม่เห็น

12 Review : Asus M32AD Desktop PC

ดูใกล้ๆเข้ามาอีกก็จะพบว่าด้านหลังนี้มีพอร์ต USB2.0 มาให้อีก 3 พอร์ต สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ อย่างเมาส์คีย์บอร์ด หรือปริ้นเตอร์ ผมเองเข้าใจว่าด้านหน้า คงกะจะเอาไว้ให้ต่ออุปกรณ์พวก Storage อย่างเดียวเลยให้ USB3.0 มาด้านหน้าอย่างเดียว นอกจากนี้ เนื่องจาก M32 ระบบเสียง Sonic Master นั้นก็มีช่อง analog ให้ต่อ 6 ช่อง ซึ่งก็รองรับระบบเสียง 8 ชาแนล (7.1) ตลอดจนช่องสำหรับเสียบจอแสดงผลบนการ์ดจอ GeForce GT720 ก็มี HDMI, DVI และ DSUB มาให้ครบครัน

นอกจากนี้ เนื่องจากตัวเครื่องใช้เมนบอร์ดชิปเซ็ต H81 ซึ่งรองรับการทำงานร่วมกับกราฟฟิคอินติเกรตในตัวซีพียู ก็เลยยังมีช่อง HDMI/DSUB บนเมนบอร์ด ที่มีพลาสติกครอบไว้ กรณีที่จะไม่ใช้งานกราฟฟิคแยก GeForce นั้นเองครับ

13 Review : Asus M32AD Desktop PC

บริเวณเพาเวอร์ซัพพลาย ยังคงต้องใช้สวิช ในการเลือกระบบไฟระหว่างระบบ 230 หรือ 110 V AC อยู่ครับ ยังไม่ใช้ระบบ Active PFC แบบที่เรามักพบได้ในเพาเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่ ๆ ที่วางขายปลีกกันในท้องตลาด

14 Review : Asus M32AD Desktop PC

แบรคเก็ตยึดการ์ดจอ ต้องใช้ไขควงหลายแฉกในการไข

15 Review : Asus M32AD Desktop PC

ความรู้สึกเมื่อได้ลองไขน็อต เปิดฝาเคสออกมา และจับส่วนประกอบหลายๆส่วน ก็พบว่า ตัวเครื่องมีการเก็บงานเหล็กพับขึ้นรูปมาได้เรียบร้อย สวยงามดี ทั้งภายนอกและภายใน ถึงแม้จะไม่ได้มีการพ่นสีดำ หรือสีเทามาในชิ้นส่วนเหล็กภายใน ตามสมัยนิยมก็ตาม แต่รับรองได้เลยว่า สัมผัส แน่นหนา ทนทาน ไม่ผิดหวังเครื่องแบรนด์เนมแน่ๆครับ

18 Review : Asus M32AD Desktop PC

ภายในมีการรวบเก็บสายด้วย cable tie ง่ายๆ เนื่องจากตัวเคสไม่ได้มีการออกแบบให้ทำการลอดสายไฟไปด้านหลังเมนบอร์ด พัดลมซีพียูก็ดูคล้ายๆกับของ Intel ที่มากับ Retail version แต่ตัวพัดลมจะไม่เหมือนกันครับ

16 Review : Asus M32AD Desktop PC

17 Review : Asus M32AD Desktop PC

การ์ดจอ GT720 ขนาดนั้นก็ไม่ได้เต็ม bracket ดีนัก สลอตแรมมีมาให้ 2 สลอต ตามแบบฉบับของเมนบอร์ด H81 ทั่วๆไปที่เรามักพบ

19 Review : Asus M32AD Desktop PC

เพาเวอร์ซัพพลายดังที่บอกไปในตอนแรกครับว่ายังคงเป็นระบบ PFC แบบ Passive อยู่ (ต้องเลื่อนสวิชเลือกระดับแรงดันไฟบ้าน AC) และพอดูฉลากด้านในก็ระบุยี่ห้อ AcBel มี 12V Rail ทั้งหมด 2 rail และให้กำลังรวม 216 วัตต์ เมื่อรวมกำลังวัตต์ทั้งหมดที่ซัพพลายฯ สามารถจ่ายได้ก็จะอยู่ที่ 286.4W เรียกได้ว่า เหลือเฟือสำหรับกราฟฟิคการ์ดแยกรุ่นเล็ก และน่าจะพอเหลือใช้สำหรับการที่จะอัพเกรดกราฟฟิคการ์ดขึ้นไปเป็นรุ่นที่สูงกว่านี้ (เช่น GTX 750)

————————————————–

AIDA 64

evin Review : Asus M32AD Desktop PC

ตัวรายละเอียดเครื่องจากโปรแกรม AIDA64 ก็โชว์ออกมามีเพี้ยนๆบ้างครับ แต่ก็พอจะจับใจความได้ว่ามีกราฟฟิคอินติเกรต HD4400 และ GT820 ทำงานร่วมกัน (NVIDIA Optimus) และซีพียู Core i7 ควอดคอร์ความเร็วสูงสุด 3.6GHz และแรม 4GB กับชิปเซ้ต H81 ฮาร์ดดิสก์ 1TB 7200RPM ของ Toshiba และการ์ดจอ NVIDIA GT 720

cpuz Review : Asus M32AD Desktop PC

พอมาเปิดดู CPUZ ก็ถึงจะเก็ตว่าซีพียูเป็น Intel Core i7 4790 (Socket 1150) แคช 8MB หรือความเร็ว 3.6GHz เมนบอร์ดเป็น H81 เมมโมรี DDR3 1600MHz และกราฟฟิค GeForce 720M 1GB ซึ่งเมมโมรีของกราฟฟิคนั้นจะมี bus width เพียงแค่ 64 bit เท่านั้นครับ

Super PI 1m

 Review : Asus M32AD Desktop PC

ทำเวลา Super PI1m ไปที่เวลา 9.1 วินาที แบบสบายๆ ด้วยความแรงจากซีพียูระดับตัวท็อปสุดอย่าง i7 4790

CrystalDiskMark 3

 Review : Asus M32AD Desktop PC

ความเร็วทำออกมาได้ดีพอควร เพราะเป็นฮาร์ดดิสก์ 7200RPM

HD Tune

 Review : Asus M32AD Desktop PC

แต่พอมาดูกราฟใน HD Tune ก็คิดว่าพอสมศักดิ์ศรี 7200rpm กับอินเตอร์เฟซ SATA 3 แต่ Access time จริงๆแล้วอาจจะดูมากผิดหูผิดตา

Cinebench R11.5

 Review : Asus M32AD Desktop PC

คะแนน Cinebench ถึงจะทำคะแนนในส่วนกราฟฟิคออกมาได้ว่าลื่นไหลมากครับ เพราะได้ซีพียูช่วย และแน่นอนว่าคะแนนซีพียู ไม่น้อยหน้าใครแน่นอน เพราะความเร็วซีพียูสูงถึง 3.6GHz และพกแคชมาตั้ง 8MB

Unigine Heaven Benchmark 4

 Review : Asus M32AD Desktop PC

คะแนนของ benchmark สุดโหดตัวนี้ก็เคาะมาที่ 348คะแนน

3DMark

 Review : Asus M32AD Desktop PC

คะแนน 3DMark ตัวล่าสุด ก็อยู่ในระดับค่อนข้างดี พอเล่นเกมใหม่ ๆ ได้พอสมควร แต่อาจจะไม่ได้ settings ที่สูงนักครับ

3DMark 06

 Review : Asus M32AD Desktop PC

ลองดูตัวเก่าอย่าง 06 ก็พบว่าคะแนนยังไม่แตะระดับ 10000 แต้มดีนัก แต่ก็ถือว่าพอใช้ได้ และได้อานิสงส์ความแรงของซีพียูช่วยมาได้พอสมควร

PCMark 7

 Review : Asus M32AD Desktop PC

ตัว PCMark 7 คะแนนออกมาก็เรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับค่อนข้างดีเลยทีเดียว

.

.

.เรียกได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอพ สำเร็จรูป จากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงด้านเมนบอร์ดอย่าง Asus ที่ประกอบเป็นชดมาได้อย่างสวยงาม และลงตัว ในเรื่องของดีไซน์ของตัวเคส ที่ภายนอกดูเรียบร้อยสวยงาม และขนาดไม่ใหญ่เทอะทะจนเกินไป ตลอดจนสเป็คที่เรียกได้ว่า อัดมาให้อย่างเหลือเฟือสำหรับการใช้งานในแง่ productivity ได้อย่างเต็มที่ครับ ที่ผมชอบมากก็คือฟีเจอร์ AI Charge และตัวเคสที่ทำพื้นที่ด้านบนไว้รับกับการวางโทรศัพท์ไว้ชาร์จด้วยเลย ทำให้รู้สึก “premium” ขึ้นมามากเลยทีเดียว

จุดด้อยเท่าที่พอจะเห็นก็คือเรื่องของพอร์ต USB ด้านหลังที่มีมาให้เพียงสามพอร์ต ซึ่งลองนึกดูว่าแค่ต่อเมาส์และคีย์บอร์ด ก็ไม่น่าจะเหลือให้ต่ออะไรเพิ่มได้อีกแล้ว ต้องย้ายมาต่อด้านหน้า และเพาเวอร์ซัพพลาย ที่ในแง่ของความเสถียรในการจ่ายไฟ อาจจะไม่ใช่ข้อกังขา เพราะด้วยมาตรฐานของตัวเครื่องที่มีแบรนด์คอยการันตีไว้ให้อยู่แล้ว แต่จนถึงวันนี้ปี 2014 ย่างจะเข้าปี 2015 ผมคาดหวังว่าจะได้เห็นระบบ Active PFC เพื่อ efficiency และค่า power factor ที่ดีในระหว่างการแปลงจากไฟสลับ มาเป็นไฟตรง และ user ก็จะได้ไม่ต้องมากังวล คอยเขี่ยสวิชสลับระบบไฟระหว่าง 230 กับ 110 โวลต์ เวลาเอาเครื่องไปใช้งานในต่างพื้นที่ ต่างประเทศกันครับ

.

vmod award performance good Review : Asus M32AD Desktop PCvmod award value good Review : Asus M32AD Desktop PCvmod award innovation good Review : Asus M32AD Desktop PC

.

ขอขอบคุณ

ASUS

.

«ก่อนหน้า 1 2 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»