Review : Asus N80Vn
Share | Tweet |
Asus N80VN
สวัสดีกันอีกครั้งกับบทความในเซคชั่นของ Notebook Review สำหรับในวันนี้ เราก็มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในกลุ่มของ Notebook มานำเสนอคุณผู้อ่าน กับ N80 จากค่าย Asus อันโด่งดังติดตลาดอยู่ในขณะนี้นั้นเอง กล่าวถึงภาพรวมโดยทั่วไปของ N80 จาก Asus สามารถพูดได้ว่า เป็นโน๊ตบุ๊กเพื่อความบันเทิง ขนาดหน้าจอ 14 นิ้ว ที่ไม่ทำให้การพกพาเป็นเรื่องที่น่าลำบากใจ แต่แฝงด้วยความแรงจากการ์ดจอ Geforce 9650 M GT มาไว้ในตัว สำหรับสเป็ค ก็มีดังตารางด้านล่างนี้ครับ
Processor | Intel® Pentium Dual core P8600 “Penryn 3M” 2.4GHZ L2 3mb FSB1066mhz |
Chipset | Intel® PM45 |
Memory | 3GB DDR2-800MHz CL6 |
Graphics Adapter | Nvidia Geforce 9650M GT |
Display | 14.1″ WXGA |
Harddisk | 320GB 5400RPM SATA II |
Optical Drive | DVD-RW |
Network | Intel WiFi Link 5100 AGN (IEEE802.11 B/G/N) |
Connection Port | 8 in 1 cardreader, HDMI, USB x5. ExpressCard, eSATA, VGA, RJ45 |
Battery | 4800mAh |
Weight | 2.56 with Batterry |
OS | Windows Vista Home Premium |
เสป็คจัดได้ว่าเข้าใกล้ชั้นเชิงของ Desktop Replacement เข้าไปทุกที กับการ์ดจอสุดแรง 9650 GT แต่ซีพียูอาจจะยังดูธรรมดาไปนิด กับ L2 cache 3MB ใน P8600
ภาพจากโปรแกรม Everest แสดงรายละเอียดของเครื่อง
ดีไซน์ภายนอกโดยทั่วไป ของ N80 เป็นพลาสติกสีเข้มมันวาว พร้อมแฝงลายจุดๆ อารมณ์ว่าเลียนแบบเส้นสายมาจาก The Matrix มาเล็กน้อย เป็นเส้นคาดตามขวาง ตลอดบริเวณฝาพับ
นอกจากจะถ่ายรูปให้สวย กับฝีมือและความรู้ระดับหางอึ่งของผมได้ยากแล้ว มันยังเป็นรอยนิ้วมือได้ง่ายด้วย สำหรับบอดี้แบบนี้ แต่ถ้าใครชอบ ก็จะมองว่ามันเด่นสะดุดตาคนดีนะครับ
เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมา จะพบกับจอขนาด 14 นิ้ว ที่ดูขนาดค่อนข้างใหญ่ ความละเอียด WXGA
เลย์เอาท์คีย์บอร์ดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนพลาสติกภายในยังไม่วาย เป็นพลาสติกเงาวาว ซึ่งผมคิดว่ามันทำให้เป็นรอยหมองได้ง่าย แต่ดูหรูหราดีครับ
ส่วนทัชแพดก็มีขนาดมหึมาชวนให้เอานิ้วไปจิ้มดีครับ
ไม้เด็ดของเจ้า N80 นั้นคงจะอยู่ที่นี่ครับ ลำโพงจาก Altec Lansing ที่ให้เสียงออกมาได้ไพเราะกว่าลำโพงโน๊ตบุ๊กมาตรฐานทั่วไปอยู่มากโข พร้อมรองรับระบบ Dolby อีกด้วย ลำโพงนอกจากจะมีบริเวณด้านบนคีย์บอร์ดแล้ว ยังจะมีลำโพงสำหรับขับเสียงอีกสองตัวบริเวณด้านหน้าของตัวเครื่องอีกด้วยครับ (ดูรูปไปเรื่อยๆจะเห็นครับ)
ปุ่มเปิดปิด หรือ Hot Key ต่างๆ ก็มีมาให้เยอะดีครับ ด้านซ้ายสุดจะเป็นสำหรับโหมดการทำงานต่างๆ เช่น Batterry Saving หรือ Highperformance สวิชเปิดปิดระบบ Wireless ก็มีแยกมาให้สำหรับ Bluetooth และ Wireless Lan
ซ้ายมือมีไดร์ฟ DVD-RW การ์ดรีดเดอร์ 8 in 1 สลอตสำหรับ Express Card, Mini Firewire USB อีกหนึ่งพอร์ต และ Audio Port ทั้งหลายครับ
ช่องลม และ USB อีกสองพอร์ต อยู่บริเวณด้านขวามือ
USB อีกสองพอร์ต eSATA , HDMI , DSUB และ RJ45 สำหรับ Ethernet อยู่ด้านหลังตัวเครื่อง แสดงให้เห็นว่าตัวเครื่องมีความหนาพอสมควรเลยทีเดียวครับ
ด้านใต้ของเครื่อง มีช่องระบายอากาศอยู่ในแต่ละฝา และมีลำโพงอีกสองตัวบริเวณด้านหน้าเครื่อง สร้างความมีมิติเสียงได้อีกครับ
ฝาที่ผมสามารถถอดออกมาได้ด้วยเวลาอันจำกัดจากหน้าที่การงานอย่างอื่น ก็มีเพียงแค่ฝาของ HDD เท่านั้นครับ ในความจริงแล้ว ฝาส่วนของ CPU และ RAM สามารถถอดมาได้เช่นกัน แต่ผมไม่มีไขควงที่เบอร์เล็กขนาดนั้นครับ
แบตเตอร์รี่ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4800 มิลลิแอมป์
น้ำหนักสุทธิ 2.564 กิโลกรัม (รวมแบตเตอร์รี่)
น้ำหนักสุทธิ รวมชุด Adapter 3.033 กิโลกรัม
เมาส์ออฟติคอลขนาดพกพาที่แถมมาให้กับตัวเครื่องครับ
ทดสอบจอในแต่ละมุมมอง
Super PI 1mb
Cinebench R10
HDTune Benchmark (Disk Read performance)
Battery Time
ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry eater เปิดโหมดประหยัดพลังงาน และไม่เปิดโหมดประหยัดพลังงาน
ผลการทดสอบในโหมดประหยัดพลังงานของ 154 นาที (มีการจำกัดความเร็วซีพียู)
ผลการทดสอบในโหมด High Performance 90 นาที
ขณะทำการชาร์จกลับ (เปิดเครื่อง) 132 นาที
Temperature Torture Test
Full Load ~ 54c
IDLE ~ 42c
Synthetic Benchmark
Sisoft Sandra 2009
PCmark05
3Dmark06
สรุปสุดท้ายกับ Asus N80Vn ตัวนี้ สำหรับข้อดีคือ ดีไซน์ และความน่าเชื่อถือของ Asus ที่มีการทำตลาดแบรนด์ของเมนบอร์ดมานาน จึงทำให้สร้างความมั่นใจได้ วัสดุที่เลือกใช้ ถึงจะไม่ถึงกับน่าใช้มาก แต่ก็มีความแข็งแรงดี ตัวบอดี้แสดงถึงความหรูหราได้ดีเลยทีเดียว ที่น่าประทับใจที่สุดคงจะหนีไม่พ้นลำโพงจาก Altec Lansing ที่ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าโน๊ตบุ๊กที่ใช้ลำโพงมาตรฐานอยู่มากเลยทีเดียว พอร์ตเชื่อมต่อรอบๆเครื่องที่มีมาให้แบบชนิดที่เรียกว่า “เหลือเฟือ” กับ USB ถึง 6 พอร์ตด้วยกัน
ส่วนจุดด้อยที่จะมองข้ามไปไม่ได้ก็คงจะเป็นในแง่ของ Performance ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อ่อนกว่าคู่แข่งที่มีซีพียูและการ์ดจอระดับใกล้เคียงกันอย่างตกชั้น แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ หากท่านต้องการโน๊ตบุ๊กที่มีข้อดีดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น การเลือกใช้ซีพียูในรุ่น P8600 เหมือนจะเป็นตัวฉุดให้ประสิทธิภาพไม่ได้ดีเท่าที่ควร รวมไปถึงกราฟฟิคระดับกลางจาก nvidia ที่ไม่สามารถทำคะแนนในส่วนของ 3Dmark ได้ดีนัก แต่หากนำมาใช้งาน Entertainment ทั่วไป เช่นดูหนัง HD ต่อออก LCD TV ใหญ่ๆ หรือเล่นเกมส์ที่ไมได้ฉุดกระฉากลากถูเครื่องมากนัก ก็สามารถตอบโจทย์ได้อย่างดีเลยทีเดียวครับ
สำหรับวันนี้ก็ต้องขอจบรีวิวแต่เพียงเท่านี้ สวัสดี…
ขอขอบคุณ
บริษัท Asustek ประเทศไทย