Review : Asus O!play mini plus

/ บทความโดย: Northbridge , 05/02/2012 01:58, 8,625 views / view in EnglishEN
«»
Share

4 Review : Asus O!play mini plus

ทุกวันนี้โลกของการรับชมระบบภาพและเสียงจากโทรทัศน์ นับวันก็จะยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากระบบเดิมๆที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อเราเรื่อยๆครับ ซึ่งในยุคดิจิตอลแบบนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสำคัญของเครื่องเล่นแผ่นต่างๆนั้นเริ่มจะลดน้อยลงไป แต่ถูกแทนที่ด้วยเครื่องเล่นในลักษณะของเครื่องเล่นไฟล์ดิจิตอลต่างๆ อย่าง Asus O!play Mini plus วันนี้ที่เราได้รับมานั้นก็จะเป็นชุดกล่องสำหรับทำการติดตั้งระบบ Smart TV คือโทรทัศน์ อัจฉรียะ ที่สามารถเล่นไฟล์ได้หลากหลายฟอร์แมตผ่านเครือข่านอินเตอร์เนท หรือเครือข่ายภายในบ้าน หรือจะเล่นไฟล์มัลติมีเดียจากสื่อบันทึกข้อมูล USB หรือ memory card แบบต่างๆก็ได้อีกด้วย

1 Review : Asus O!play mini plus

O!play Mini Plus นั้นเป็นกล่อง media box แบบชนิดที่ผมขอเรียกว่า เป็นกล่องเปล่า คือไม่มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลอยู่ภายใน ตัวของมันนั้นอาศัยความสามารถในการต่อเครือข่ายแลนความเร็วสูงทั้ง Gigabit Ethernet หรือ Wireless N ได้ด้วยตัวมันเอง และนอกจากนี้ก็ยังมีความสามารถในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ Storage อื่นๆ ตั้งแต่ USB drive ทุกแบบ (ทั้งฮาร์ดดิสก์และแฟลช) รวมไปถึงเมมโมรีการ์ดที่สนับสนุน แบบ SD/MMC/xD/MS ในช่องเดียวกันได้เลยทีเดียว

capture 720x643 Review : Asus O!play mini plus

รายละเอียดเท่าที่ลองสแกนดูประเภทไฟล์ที่รองรับก็พบว่ารองรับไฟล์ได้หลากหลายฟอร์แมต รวมไปถึงการเชื่อมต่อที่ผมบอกได้เลยว่าครับครัน

5 Review : Asus O!play mini plus

ซึ่งคุณสมบัติในการเล่นไฟล์ต่างๆคือต้องอธิบายว่า การเล่นไฟล์ต่างๆนั้นจะสามารถทำได้สองทางคืออย่างแรก ใช้ storage เสียบเข้าโดยตรงกับตัว O!play Mini Plus ตัวนี้ คือผ่านทางพอร์ต USB หรือ memory card หรือว่าจะเล่นผ่านเนทเวิร์คผ่านไฟล์เซิฟเวอร์ในระบบของเรา (ตั้งวินโดวส์ให้แชร์ไฟล์ไว้ ก็ใช้ได้) และคงต้องหยิบมาพูดกันในพื้นที่พารากราฟนี้เลยว่ากล่องตัวนี้สนับสนุน DLNA คือระบบที่จะทำให้เราสามารถลากเอาไฟล์ภาพหรือมัลติมีเดียต่างๆเล่นผ่าน smart device อย่างแอนดรอย แล้วส่งสัญญาณภาพออกจอผ่านเครือข่าย Wireless lan ภายในบ้านได้เลยโดยตรงอีกด้วยครับ และการเล่นมีเดียต่างๆนี้ ก็สนับสนุนความละเอียดสูงถึง 1080P และระบบเสียงดิจิตอลขั้นสูงสุดอย่าง Dolby True HD7.1

2 Review : Asus O!play mini plus

ด้านหน้าเครื่องที่มีพอรฺ์ต USB และ Card reader มาให้ พร้อมไฟสถานะ

3 Review : Asus O!play mini plus

ส่วนด้านหลังเครือ่งนี้จะพบว่ามีพอร์ตแปลกๆอยู่มากมาย ทั้ง eSATA ที่เป็นคอมโบพอร์ต เสียบ USB ในตัวได้ พอร์ต HDMI ก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสายนำสัญญาณที่ส่งเป็นระบบดิจิตอล ทั้งภาพและเสียงในเส้นเดียวกัน ส่วนช่องแจ๊ค 3.5mm นั้นเอาไว้สำหรับเสียบ output เป็นแบบสาย Composite สำหรับระบบภาพและเสียงในแบบอะนาล็อค และช่องสุดท้ายขวาสุดก็จะเป็นช่องสำหรับระบบเสียงที่ใช้สายออฟติคัล ครับ

16 Review : Asus O!play mini plus

การทดลองใช้ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าทดลองเสียบเอา HDD ที่ผมใช้อยู่ประจำ พร้อมทัง้เสียบสายแลน Ethernet 100Mbps เข้ากับตัวเครื่อง

————————————————–

8 Review : Asus O!play mini plus

ผมทำการติดตั้งเครื่อง O!play Mini Plus ผ่านทางวิธีการเชื่อมต่อที่คิดว่าน่าจะได้คุณภาพสูงสุด ก็คือผ่านทางระบบดิจิตัล อย่าง HDMI Port ที่สายสัญญาณเส้นเดียวก็จะได้ทั้งภาพและเสียงในระบบ 1080P ซึ่งเมื่อเปิดเครื่อง ตัวเครื่องจะใช้เวลาบู้ตอยู่ประมาณไม่เกิน 30 วินาทีดีนัก ก็จะขึ้นเมนูหลักที่สามารถเลือกใช้งานได้อย่างง่ายดายผ่านรีโมต

9 Review : Asus O!play mini plus

หลัง จากนั้นผมทดลองเชื่อมต่อระบบแลนในบ้านของผม ซึ่งบอกไว้ก่อนว่าจะเป็นแลนแบบ 100Mbps เท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ 1Gbps ซึ่งการเซ็ตก็ไม่ยากอะไรมากนัก แต่ในครั้งแรกต้องไปตั้งค่าในเมนูเกี่ยวกับเครือข่ายให้ระบบมันรับค่าไอพีมา จาก DHCP เสียก่อน ถึงจะใช้งานได้

15 Review : Asus O!play mini plus

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา แทนที่ผมจะไปเลือกหมวดอย่างเช่นหมวดภาพยนตร์หรือเพลง ผมทดลองเปิดตัวจัดการไฟล์ ซึ่งมันก็จะเห็นไฟล์ทั้งในฮาร์ดไดร์ฟที่ต่อเข้ากับตัวเครื่อง หรือแม้กระทั่งใน network ของเราที่เราได้ทำการตั้ง file sharing เอาไว้ในวินโดวสฺ์ ก็จะขึ้นมาด้วยเช่นกัน และเท่าที่ทดลองดูก็พบว่าปัญหาเรื่องภาษาไทยก็ยังไม่มีให้พบมากจนน่ารำคาญนักครับ และเมื่อเลือกไฟล์ผ่านตรงนี้เสร็จแล้วกดเล่น ก็พบว่าการสตรีมไฟล์ผ่านเครือข่ายก็สามารถทำได้ลื่นไหลดีไม่เว้นแม้กระทั่งไฟล์แบบ 1080P ผ่านเครือข่ายแลน 100mbps แต่หลังจากนั้นผมได้ลองเปลี่ยนไปใช้แลนไร้สายแบบ Wireless G 54mbps ดู ก็พบว่ามีอาการหนืดๆหน่วงๆอยู่พอสมควร ดังนั้นแล้วหากใครต้องการจะเซ็ตแบบไร้สาย ก็แนะนำว่าควรจะเซ็ตอัพระบบที่บ้านให้เป็น Wireless N ให้หมดเสียก่อนที่จะใช้งานเจ้าเครื่องนี้ครับ

capture1 Review : Asus O!play mini plusการควบคุมก็ทำได้ไม่ยากครับ เท่าที่ลองกดๆเล่นดูก็พบว่าเมนูหลักส่วนใหญ่นั้นออกแบบมาให้ใช้งานแบบเล่นไฟล์ภายใน storage ที่เราเสียบเข้ากับตัวเครื่องไปเสียมาก

10 Review : Asus O!play mini plus

ส่วนฟีเจอร์ Smart TV จริงๆที่สามารถใช้งานอินเตอร์เนทได้ ก็มีส่วนเมนู IMS มาให้เราเลือกรับชมคอนเทนท์ต่างๆผ่านทางอินเตอร์เนท ไม่ว่าจะเป็น utube หรือ Internet TV / Radio TV ก็มีมาให้ในปริมาณหนึ่ง ไม่ถือว่าเยอะมากเท่าไรครับ

11 Review : Asus O!play mini plus

แต่ที่ลำบากในเครื่องนี้ก็คือ เวลาจะเชื่อมต่อเครือข่าย หรือจะพิมพ์ค้นหาอะไรในอินเตอร์เนท ก็ต้องใช้คีย์บอร์ด on screen ซึ่งต้องใช้รีโมตเลื่อนเคอร์เซอร์เอา วุ่นวายและการตอบสนองก็ค่อนข้างไม่ดีเท่าที่ควรเป็นครับ

12 Review : Asus O!play mini plus

13 Review : Asus O!play mini plus

ส่วนตรงนี้เป็นแอพของ Youtube ซึ่งสามารถเลือกดูได้ประหนึ่งกับว่าเราเปิดบราวเซอร์ดูเอาในคอมเลยทีเดียว

14 Review : Asus O!play mini plus

เฟซบุคก็สามารถเล่นได้ อินเตอร์เฟสก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากบนพีซีมากนักครับ

.

.

เรียกได้ว่าน่าจะเป็นทางเลือก หรือทางหลักก็ไม่ผิดนัก สำหรับคนที่กำลัง / มีใช้งาน โทรทัศน์ HDTV แต่อยากจะอัพเกรดระบบของตนเองให้สามารถเชื่อมเข้ากับโลกออนไลน์ได้แบบ Smart TV ที่มีขายๆกันอยู่ในปัจจุบัน O!play mini สามารถตอบสนองการใช้งานทั้งแบบออฟไลน์ หรือแบบเชื่อมต่อเครือข่ายความบันเทิงได้สมบูรณ์ในระดับหนึ่งเลยทีเดียวครับ.

.

.

ขอขอบคุณ Asus Thailand

«ก่อนหน้า 1 2 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»