Review : Asus RT-AC66U Dual band Gigabit Router

/ บทความโดย: Northbridge , 19/09/2012 22:43, 13,894 views / view in EnglishEN
«»
Share

1 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

ทุกวันนี้มาตรฐานของระบบแลนไร้สายหรือ Wireless LAN ความเร็วสูง นอกจากมาตรฐาน N ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาในช่วงปี 2009 ที่ทำความเร็วได้ถึง 450MBps ทุกวันนี้เราก็ยังมีมาตรฐาน IEEE 802.11ac หรือ Wireless-AC ที่ถูกริเริ่มพัฒนาในช่วงปี 2011 มานี้ และในปีนี้เราก็ได้เห็นอุปกรณ์แลนไร้สายในมาตรฐาน IEEE802.11ac ที่จะสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 1.3GBps ออกมาในตลาดกันแล้วครับ ซึ่งวันนี้ผมก็ได้ไปหยิบยืมเร้าเตอร์ในรุ่น Asus RT-AC66U จาก Asus มารีวิวให้ทุกท่านได้ชมกันครับ

2 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

Asus RT-AC66U เป็นเร้าเตอร์สำหรับการใช้งานภายในบ้านที่มีอินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อทั้งแบบ Gigabit Ethernet ที่ใช้สายทองแดงตีเกลียวแบบที่เราคุ้นเคยกัน อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย Wireless LAN ทั้งในย่าน 2.4GHz (IEEE802.11B/G/N) และในย่าน 5GHz (IEEE802.11 N/AC) ได้ในตัวเดียวกัน ตลอดจนมีฟีเจอร์ Ai Cloud Service ที่จะทำให้เครื่องลูกข่ายภายในบ้านทุกเครื่องสามารถเข้าถึงไฟล์ที่ถูกเก็บไว้ใน Cloud service ได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงนี้ได้อีกด้วยครับ

5 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

3 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

ดีไซน์โดยทั่วไปของ RT-AC66U นั้นก็เท่าที่เห็นจะพบกับสายอากาศรอบตัวแบบขันเกลียวทั้งหมด 3 แท่ง เซ็ตอัพมาแบบ 3×3 สอดคล้องกับมาตรฐาน MIMO ที่มีอยู่ใน Wireless N และ Wireless AC อีกทั้งยังรองรับการทำงานย้อนหลังกับลูกข่ายในย่าน 2.4GHz ทั้งใน Wireless G และ N อีกด้วยครับ ตัวบอดี้นั้นทำมาจากพลาสติกที่มีการทำพื้นผิวสัมผัสให้ได้ความรู้สึกคล้ายกับอะลูมิเนียม ดูหรูหราดีพอสมควร

4 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

การเชื่อมต่อเท่าที่ได้บรรยายไปในช่วงแรกนะครับ ก็จะมี Ethernet port มาให้ทั้งหมด 4 พอร์ตด้วยกัน เป็น Gigabit Ethernet (1Gbps) ส่วนพอร์ต WAN สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับโมเดมเพื่อต่ออินเตอร์เนทจะเป็นช่องสีฟ้า ส่วนช่อง USB ทั้งสองช่องนั้นมีไว้สำหรับการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์จำพวก storage ต่างๆเพื่อใช้งานฟีเจอร์ AI Cloud และนอกจากนี้ช่อง USB เป็นช่องอเนกประสงค์นี้ยังสามารถใช้เป็นช่องสำหรับเสียบ printer เพื่อใช้งาน EZ printer sharing หรือจะใช้เสียบ 3G Aircard สำหรับเชื่อมต่ออินเตอร์เนท ก็ได้เช่นกันครับ

————————————————–

 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

ในการใช้งานนั้นเร้าเตอร์สมัยใหม่ส่วนใหญ่แล้วก็จะสามารถเซ้ตอัพได้ง่ายกว่าเร้าเตอร์ในยุคก่อนๆแล้วครับ อย่าง RT-AC66U นี้การเซ้ตอัพก็ง่ายดายมากๆ เพราะหลังจากเราสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของตัวเร้าเตอร์ได้แล้ว ก็จะมี popup ขึ้นมาบริเวณ system tray ให้ทำการเซ็ตอัพได้ทันที หรือจะเซ็ตอัพผ่านแผ่น CD ที่แถมมาให้กับตัวเราเตอร์ก็ได้เช่นกัน

 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

หลังจากการเซ็ตอัพที่จะ require ให้เราใส่รหัสผ่านของยูสเซอร์ admin เสร็จสิ้นแล้ว ก็จะพบกับยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (ที่เข้าผ่านทางหน้าเว็บ) ซึ่งโหมดการทำงานของ RT-AC66U นั้นก็จะแบ่งเป็นสองโหมดหลักๆคือ AP mode (เป็น access point อย่างเดียว) กับอีกโหมดหนึ่งคือโหมดที่เอาไว้สำหรับใช้งานเป็นเร้าเตอร์จริงๆที่ต้องต่อโมเดม ในรีวิวนี้ผมสาธิตให้ดูฟีเจอร์เด็ดๆคร่าวๆของเจ้า RT-AC66U ตัวนี้จึงเปิดใช้งานเพียงแค่ AP Mode

อินเตอร์เฟสเริ่มจากบล๊อกขวาสุด จะเป็นสถานะของ wireless lan ทั้งในย่าน 2.4GHz ในย่าน 2.4 นี้ก็จะมี Wireless B G และ N ส่วนในย่าน 5GHz ก็จะหมายรวมถึง Wireless N และ Wireless AC ด้วยนั้นเองครับ

ส่วนบล๊อกกลางจะเป็น network map ซึ่งง่ายแก่การเข้าใจ ในภาพนั้นแสดงให้เห็นว่าเรามี client (เครื่องลูกข่าย) ใช้งานอยู่ 3 เครื่อง และมี CF Cardreader ต่อไว้กับพอร์ต USB อเนกประสงค์ที่ไว้ใช้กับฟีเจอร์ AI Cloud อยู่หนึ่งตัว

4networksin1 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

ส่วนด้านซ้ายสุดจะเห็นเมนูหลัก ตรงนี้ขยายความคำว่า guest network เลยก็คือตัว RT-AC66U นี้สามารถสร้าง guest network หรือ SSID ของตัวไวเรสเพิ่มขึ้นได้สูงสุด 3 ชื่อ ซึ่งการสร้าง SSID (ซึ่งมันคือชื่อ wireless connection) เพิ่มขึ้นมาได้เยอะๆนั้นก็มีข้อดีที่ทำให้เราสามารถแบ่งสันปันส่วนทรัพยากรในเครือข่ายของเราให้กับกลุ่มผู้ใช้แต่ละกลุ่มได้อย่างง่ายดาย ดังภาพด้านบนนั้นเองครับ

 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

ส่วนของเมนู USB Application นั้นมีไว้สำหรับเซ็ตค่าบริการที่จะต้องใช้งานผ่าน Router ตัวนี้ อย่างระบบ cloud ซึ่งระบบ Cloud disk ใน Asus RT-AC66U นี้ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นมากเลยทีเดียวครับ รองรับการเข้าถึงข้อมูลผ่านทั้งระบบ Samba server (file sharing ในวินโดวส์) หรือจะผ่านทาง FTP ก็ได้เช่นกัน

 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

เมื่อเปิดการทำงานของ Samba server ของ Ai Cloud แล้วในวงแลนก็จะเห็นเจ้า RT-AC66U ปรากฏขึ้นมาแบบนี้แหละครับ

 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

dsc 5135 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

นอกจากช่องทางการเข้าถึงไฟล์มีเดียใน Cloud server ที่ผมได้กล่าวไปเมื่อกี้แล้ว RT-AC66U ยังสามารถทำตัวเองให้เป็น DLNA server ซึ่ง DLNA ถือว่าเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อในเครือข่ายสำหรับการแชร์ข้อมูลจำพวกภาพถ่าย วีดีโอ หรือเพลง ให้กับเครื่องจำพวก LCD TV หรือ smart tv อื่นๆที่รองรับได้ครับ กล่าวคือ เราสามารถโยนไฟล์ภาพยนตร์ HD ไปไว้ใน cloud disk บนตัวเร้าเตอร์ตัวนี้ แล้วก็ใช้ smart tv หรือ smart phone ต่างๆ ที่รองรับ DLNA เปิดไฟล์ดังกล่าวเล่นขึ้นมาได้ทันทีครับ

 Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

นอกจากนี้ในส่วนของการใช้งานพอร์ต USb ก็ยังมีแอพพลิเคชั่นมาให้เลือกใช้อีกสามตัว ทั้ง Server Center (พวก Media sharing) หรือจะใช้งานเป็น printer server หรือสุดท้ายเป็น Download master ที่รองรับการดาวโหลดไฟล์ผ่านทั้ง HTTP, P2P หรือบิตทอเร้น นั้นเองครับ

.

.

RT-AC66U ถือได้ว่าเป็น Gigabit Router ที่ถ้าลองนับๆดูในตลาดแล้ว ผมให้ว่าเป็นเร้าเตอร์ที่มีความสดใหม่ในด้านเทคโนโลยีมากที่สุดตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับ ทั้งในเรื่องของ Wireless AC 5GHz เร็วสุดถึง 1.5Gbps มาตรฐานใหม่ที่ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นที่แพร่หลายในอนาคตอันใกล้นี้ และยังคงสามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายไร้สายยุคเก่าในย่าน 2.4GHz ที่เราคุ้นเคยกันได้อีกด้วย เรื่องของฟีเจอร์ก็มีอะไรหลายๆอย่างให้ผมได้ตื่นเต้นพอสมควร ทั้งความสามารถในการแจกชื่อ SSID ได้ถึง 3 ชื่อ (ถ้านับจริงๆแล้วรวมเอา 2.4 และ 5G ก็จะได้เป็น 6) ตลอดจนฟีเจอร์ AI Cloud ที่จะทำให้เราสามารถแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่ายได้ทั้งการแชร์ไฟล์ผ่านทั้ง FTP, Samba server และ DLNA หรือจะใช้งานแชร์ปรินเตอร์ หรือจะใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสแตนด์บายดาวโหลดไฟล์ขนาดใหญ่ๆจากอินเตอร์เนทก็ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดี RT-AC66U สำหรับทุกวันนี้ เราจะยังไม่น่าที่จะสามารถใช้งานมันได้อย่างเต็มที่ เพราะด้วยมาตรฐาน IEEE 802.11ac ที่ยังไม่แพร่หลายมากนัก เพราะช่วงที่ผมได้รับเร้าเตอร์ตัวนี้มาทำการทดสอบ Asus ก็ยังส่ง wireless adaptor แค่แบบ Wireless N มาให้ (USB-N66) แต่อย่างไรก็ดี ผมมองว่าเทรนด์ของโลกไวเรสนั้นกำลังจะเคลื่อนไปยังมาตรฐานของ 5GHz แน่นอนครับ เพราะด้วย Wireless AC เองก็เหมือนเป็นการบังคับไปในตัวว่าต้องให้ใช้คลื่นในย่าน 5GHz เท่านั้นแล้ว ดังนั้น Asus RT-AC66U ก็ถือได้ว่าเป็น Next generation router อย่างที่ Asus ได้ชูโฆษณาไว้หน้ากล่อง จริงอย่างที่ว่าไว้นั้นแหละครับ !

.

vmod award performance good Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Routervmod award innovation best Review : Asus RT AC66U Dual band Gigabit Router

.

ขอขอบคุณ ASUS

«ก่อนหน้า 1 2 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»