Review : Asus USB-N66 USB Wireless adaptor
Share | Tweet |
…ทุกวันนี้ระบบแลนไร้สายหรือ Wi-Fi จากเดิมที่เรามักจะคุ้นเคยกันอยู่ในมาตรฐาน Wireless G (IEEE 802.11g) ที่เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นมาบนความถี่ย่าน 2.4GHz กันแล้ว ยังมีเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างใน IEEE 802.11 release N ที่มีการปรับปรุงแก้ไขในเรื่องของความเร็วในการรับส่งให้เพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยี MIMO (สายอากาศหลายชุด) และการมาของการใช้คลื่นไมโครเวฟในย่าน 5GHz แทนที่จะเป็น 2.4 เดิมที่มีความหนาแน่นของอุปกรณ์ที่ใช้ย่านนี้อยู่มาก
…USB-N66 จาก ASUS เป็น Wireless Adaptor แบบ USB ไว้สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องพีซี ด้วยความสามารถในการที่จะทำให้พีซีเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายแลนไร้สายทั้งในย่าน 2.4GHz แบบเก่า (B/G) และในย่าน 5GHz (แบบใหม่ N) ได้ในตัวเดียวกัน และสนับสนุนอัตตราการโอนถ่ายข้อมูลเร็วสูงสุดถึง 450Mbps (เมื่อทำงานในโหมด wireless N และอุปกรณ์ที่สนับสนุน)
…ดีไซน์หลายๆคนอาจจะเคยคุ้นๆรีวิวของผม ที่ครั้งนั้นผมรีวิวเจ้าอะแดปเตอร์รูปร่างหน้าตาเป็นปีระมิดเหมือนๆกับ USB-N66 นั้นแหละครับ มันคือ EA-N66 ตัวนั้นจะเป็นอะแดปเตอร์อเนกประสงค์อินเตอร์เฟซเป็นแบบ RJ45 สำหรับใช้งานแทน Access point และเป็น wireless adaptor สำหรับอุปกรณ์พวก smart tv ได้เลยในตัว แต่สำหรับ USB-N66 มีรายละเอียดการทำงานที่เหมือนกัน (ทำงานบนเครือข่ายแลนไร้สาย Dualband เหมือนกัน) แต่ว่ามีอินเตอร์เฟซเป็นแบบ USB ทำให้สามารถเชื่อมต่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์พีซีตั้งโต๊ะ เพื่อนำคอมตั้งโต๊ะของเรา เข้าสู่เครือข่ายแลนไร้สายความเร็วสูงได้นั้นเองครับ
…ไอ้เจ้ารูปทรงปีระมิดที่เราเห็นนี้ภายในของมันประกอบไปด้วยชุดแอมป์ขับสัญญาณไวเรส Dual band กำลังสูง (ในสเป็คเขาเขียนแบบนั้น) ที่สามารถจะสลับโหมดการทำงานระหว่างโหมดขับกำลังปกติ (สวิชชี้ที่ STD) และโหมดกำลังสูง (สวิชชี้ที่ HI) ตามภาพด้านบน ได้ด้วยครับ
…สายอากาศแบบ 3×3 ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน IEEE 802.11N (เกี่ยวกับ MIMO) นั้นถูกบรรจุอยู่ในแพคเกจรูปปีระมิด เป็นสายอากาศแบบ Orthogonal (เป็นวิธีการจัดวางสายอากาศหลายๆชุด) ซึ่งผมเข้าใจว่าดีไซน์ปีระมิดนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบสายอากาศดังกล่าวที่ว่านั้นแหละครับ (เป็นสิทธิบัตรของเขาด้วย) ซึ่งข้อดีก็คือสายอากาศแบบที่ว่านี้แทนที่จะได้ความสามารถในการรับส่งสัญญาณในแบบวงรอบ (omni) มันจะสามารถกวาดรับส่งสัญญาณได้ทั้งในแนวทั้งหมด 3 แกนด้วยกัน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าวิศวกรเขาจะออกแบบมาให้มันสามารถกวาดได้ไปในแนวไหนบ้าง
…ด้านใต้นั้นจะสังเกตเห็นว่ามีสวิชสำหรับการเซ็ตอัพ WPS ซึ่งจะทำให้การเซ็ตอัพระบบไวเรสเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยไม่ต้องปรับค่าอะไรให้ยุ่งยาก กด WPS พร้อมกันทั้งสองฝั่ง ตัวอุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยีนี้ มันก็จะคุยกันเองแหละครับว่าจะมีรายละเอียดในการเข้าร่วมเครือข่ายอย่างไรบ้าง
…นอกจากการใช้งานเป็น Wireless Adaptor แล้ว USB-N66 ยังสามารถปรับตั้งทำให้พีซีนั้นเป็น Wireless Hot-spot ได้อีกด้วย (แชร์อินเตอร์เน็ท) ด้วยยูทิลิตี้ที่แถมมากับตัวอะแดปเตอร์นี้ครับ
…เมือทดลองต่อใช้งานกับพีซีของผม ระหว่างนี้ผมก็มีเร้าเตอร์ของ ASUS ที่ทำงานในย่านความถี่ 5GHz มาเปิดลองใช้ดูอยู่ด้วย ก็พบว่าตัว Wireless Adaptor ตัวนี้เห็นสัญญาณไวเรสทั้ง 2.4 และ 5GHz เลยทีเดียวครับ ซึ่งในการใช้งานจริงๆผมก็แนะนำว่าถ้าใช้งานของย่าน 5GHz ได้ ก็แนะนำให้ใช้ไป เพราะในย่านย 2.4GHz ถึงจะขึ้นโชว์ว่าาเป็น Wireless N ความเร็วเหมือนกันกับ 5GHz แต่โดยทั่วไปแล้วในย่าน 5GHz จะมีสัญญาณรบกวนในสิ่งแวดล้อมที่น้อยกว่า 2.4 GHz อยู่แล้วครับ
.
.