Review : Asus Zenbook Prime UX31a
Share | Tweet |
Review : Asus Zenbook UX31A
…อย่างไรก็อย่างนั้นเลยครับ หลายท่านคงจะจำกันได้ว่าเมื่อนานมาแล้วผมเคยได้รีวิวเจ้า UX31E ซึ่งถือว่าเป็น Original Zenbook ของ Asus สำหรับวันนี้ชื่อรุ่นก็คงจะดูแล้วคล้ายๆกันนั้นคือ Asus เรียก Zenbook ของพวกเขาเป็น “Zenbook Prime” ในชื่อรุ่นคล้ายๆเดิมแต่เปลี่ยนตัวอักษรลงท้ายว่า นี่คือรุ่นปรับโฉมแล้วนะ เป็น “UX31A” นั้นแหละครับ รายละเอียดหลักๆที่มีการเปลี่ยนแปลงก็คือมีการนำเอาซีพียู Intel Core 3rd generation หรือ Ivy-Bridge พร้อมชิปเซ็ตใหม่มาใช้งานนั้นเอง ซึ่งซีพียูตัวนี้จะทำงานเร็วกว่า gen ก่อน ประกอบกับรองรับการทำงานกับแรมที่ความเร็วสูงขึ้น (DDR3-1600) ด้วยครับ
Processor | Intel Core i5 3317M 1.7Ghz 3MB L3 cache |
Chipset | Intel HM76 |
Memory | 4GB DDR3-1600MHz |
Graphics Adapter | Intel HD4000 |
Display | 13.3″ 1920*1080px |
Harddisk | SATA III 128GB SSD (ADATA) |
Optical Drive | N/A |
Network | Intel Centrino 6235 |
Connection Port | USB2.0, USB3.0, micro-HDMI,SD/MMC Cardreader |
Battery | UNKNOWN |
Weight | 1.3Kg |
OS Bundled | Windows 7 Home Premium |
…Asus Zenbook UX31A นั้นถือเป็น Ultrabook จากทาง Asus ที่เป็นโมเดลจอขนาด 13 นิ้ว เช่นเดียวกับ Zenbook UX31E รุ่นก่อนหน้านี้นั้นแหละครับ ซึ่งโมเดล UX31 นั้นจะหมายถึงเป็นรุ่นที่มีขนาดจอ 13 นิ้ว และใช้กราฟฟิคอินติเกรต กล่าวคือนอกจาก UX31 แล้ว Asus ยังมี UX32 ที่มีกราฟฟิคแยก และมี UX21 ที่มีขนาดหน้าจอเล็กกว่านี้อีกด้วยครับ
…UX31 นั้นยังคงยืนยันที่จะเป็น Premium model สำหรับไลน์ zenbook เช่นเดิม โดย Asus ยังคงเลือกที่จะติดตั้งฮาร์ดไดร์ฟแบบ SSD ขนาด 128GB รายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงก็ดังที่กล่าวไป โมเดลที่เรานำมารีวิวนี้ยังคงเป็นโมเดลที่ใช้ซีพียู Intel Core i5 เช่นเดิม แต่ก็มีการอัพเกรดมาเป็น Ivy-Bridge และกราฟฟิคก็มีการอัพเกรดเป็น Intel HD4000 (เพราะมันฝังอยู่ในซีพียู) ตลอดจนจุดหนึ่งที่สามารถสังเกตได้คือ การ์ดไวเรส ใน Zenbook Prime ทาง Asus เลือกที่จะไว้ใช้ Intel โดยเลือกใช้ Centrino Advance-N 6235 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ์ดไวเรสที่มีเสถียรภาพดีพอสมควรแถมยังรองรับการทำงานกับเครือข่าย Wireless N 5GHz อีกด้วย ที่ต้องบอกก็เพราะ Zenbook ตัวเก่า Asus ติดตั้งการ์ดของ Atheros มาให้ครับ
..
…ดีไซน์โดยรวมนั้นส่วนหนึ่งถูกทำมาให้มีลักษณะบางเป็นพิเศษ เหตุผลหนึ่งก็คือเป็นข้อกำหนดของทางอินเทล ที่จะกำหนดให้ ultrabook นั้นจะต้องมีความบางไม่มากไปกว่า 20มิลลิเมตรเช่นเดิม
บอดี้อะลูมิเนียมขัดเงาและถูกเก็บงานพื้นผิวสไตล์ brushed เป็นวงกลม โดยภาพรวมๆแล้วก็ถือว่าไม่ได้มีอะไรที่ผิดแปลกไปจาก original zenbook มากนัก แต่ความชัดเจนของลายผมคิดว่ามันจะดูอ่อนๆลงไปบ้างครับ
Asus ยังคงยืนที่จะใช้ดีไซน์ของทั้งคีย์บอร์ด ทัชแพด และเส้นสายโดยรวมของเครื่อง ให้ดูคล้ายคลึงกับ Macbook Air ซึ่งถือเป็นคู่แข่งตัวสำคัญของพวกเขานั้นแหละครับ แต่เลือกใช้โทนสีมาในแนวสีน้ำตาลแดงนิดๆให้เป็นเอกลักษณ์ของ Zenbook เอง ไฮไลท์สำคัญๆอย่างหนึ่งของ Zenbook Prime ก็คือหน้าจอแบบ IPS ความละเอียดระดับ Full HD ซึ่งที่เราก็ทราบกันดีกว่าพาแนลแบบ IPS นี้จะให้สีที่เที่ยงตรงและมีลักษณะคอนทราสที่เป็นธรรมชาตดีมากๆ
รอยต่อต่างๆยังสามารถสังเกตได้ด้วยตา แต่สัมผัสโดยรวมถือว่าแน่นหนาใช้ได้เหมือนที่ผ่านๆมาครับ
…คีย์บอร์ด นั้นจะมีลักษณะบางๆแบนๆ กดแล้วจะให้ความรู้สึกว่าจังหวะการกดค่อนข้างสั้น แต่แน่นหนาใช้ได้ดี อาการคลอนมีบ้างแต่ไม่มาก ส่วนเลย์เอาท์ถือว่าทำมาได้พอตัวสำหรับเครื่องขนาด 13 นิ้ว พิมพ์ใช้งานได้ปกติโดยไม่รู้สึกว่ามือถูกบีบ แม้กระทั่งทัชแพดที่มีขนาดใหญ่แต่ก็ไม่ทำให้รู้สึกว่ารบกวนการใช้งาน คีย์บอร์ดเลยแม้แต่น้อย
…ทัช แพดนั้นเป็นแบบ Multi-touch ให้สัมผัสที่ผมบอกได้เลยว่า ดีกว่าโน๊ตบุ๊ก mainstreme หลายๆรุ่นที่ผมเคยสัมผัสมา ปกติแล้วผมจะไม่ prefer ที่จะใช้ multi touch หรือจะเรียกว่า gesture อะไรก็แล้วแต่ ในเครื่องแล็ปท๊อปพีซี แต่สำหรับ Zenbook แล้ว ผมใช้มันจนเพลิน ในการ scroll ขึ้นลงด้วยนิ้วสองนิ้ว และทำ pinch zoom ซึ่งคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า มันใช้งาน คล้ายๆกับเครื่อง Macbook นั้นแหละครับ การตอบสนองของมันทำได้ดีมากๆ ไม่หนืดไม่ดีเลย์ แต่ว่าจะติดช้าไปเสียนิดหนึ่งสำหรับคนที่ชอบเมาส์เคอร์เซอร์ไวๆแบบผม(ซึ่ง สามารถปรับแต่งเอาทีหลังได้) แต่ใครที่เคยชินกับการลากเคอร์เซอร์แบบคนปกติๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
…โลโกพิเศษสำหรับซีพียู Intel Core i5 ที่ถูก Optimized มาสำหรับ Ultrabook จะมีลักษณะเป็นสีเงินๆแบบนี้ และยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่จะอดพูดไม่ได้คือลำโพง Bang&Olufen (ICE technology) ซึ่งจากการทดลองฟังแล้วพบพบว่าว่าดีกว่าลำโพง Altec หรือลำโพง SRS certified อื่นๆที่ Asus มีผลิตขายอยู่พอสมควรครับ
.