Review : CoolerMaster K350

/ บทความโดย: Northbridge , 22/07/2012 22:27, 8,277 views / view in EnglishEN
Share

1 Review : CoolerMaster K350

หลายๆครั้งเราคงได้เห็นเคสในขนาด Mid-tower จากค่าย CoolerMaster ทั้งในซีรียส์ Elite ซึ่งน่าจะเป็นตระกูลยอดนิยมด้วยราคาที่เป็นเจ้าของได้ไม่ยาก และทั้งตระกูล Silencio ที่เน้นความเงียบ หรือตระกูลสำหรับ gaming อื่นๆอีกมากมาย และสำหรับวันนี้ผมมีเคสในรุ่น K350 ซึ่งเป็นเคสที่ไม่ได้สังกัดอยู่ในตระกูลใดๆดังที่ผมกล่าวมาเลยครับ เป็นเคสขนาด Mid-Tower ระดับ mainstreme สำหรับผู้ใช้ทั่วๆไปครับ

2 Review : CoolerMaster K350

ดีไซน์โดยรวมๆแล้วเน้นตะแกรงด้านหน้าที่มีรูรังผึ่งระบายอากาศมากพอสมควรพร้อมกับลวดลายที่ค่อนข้างดุดัน หน้ากากนั้นทำมาจากพลาสติกผิวด้านคุณภาพดี สีดำ ส่วนตัวเคสทำมาจากเหล็กพับชุบกันสนิม SECC

3 Review : CoolerMaster K350

ฝาด้านข้างนั้นเป็นแบบฝาเหล็กกึ่งใส สามารถมองภายในได้พร้อมกับช่องสำหรับติดตั้งพัดลมขนาด 120mm ได้หนึ่งตัวครับ

4 Review : CoolerMaster K350

ด้านหน้ามีพอร์ตมาให้อย่างพอเพียงสำหรับเครื่องสมัยนี้ ทั้ง Audio in/out ตลอดจน USB 3.0 และ 2.0

10 Review : CoolerMaster K350

พอร์ต USB นั้นเป็นสายแบบเสียบลงเมนบอร์ด ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานของเคสในยุคหลังแล้ว เพราะในยุคแรกๆเราจะเห็นว่าสายโยง USB 3 หน้าเคสจะเป็นแบบต้องอ้อมสายไปเสียบจากหลังเมนบอร์ดมา

5 Review : CoolerMaster K350

ด้านบนมีตะแกรงระบายอากาศมาให้ด้วยอีกเช่นกัน

6 Review : CoolerMaster K350

ด้านหลังก็จะพบว่ามีการเจาะรูระบายอากาศอยู่หลายๆบริเวณตามสไตล์เคสสมัยใหม่ และแน่นอน PSU นั้นอยู่ด้านใต้ ซึ่งเคสสมัยนี้กว่าร้อยละ 90 น่าจะเป็นดีไซน์แบบนี้กันหมดแล้วครับ

7 Review : CoolerMaster K350

ภายในถาดสำหรับติดตั้งเมนบอร์ดนั้นเป็นถาดตันๆ มีรูให้สำหรับลอดเก็บสายสัญญาณเล็กๆได้ แต่อย่างไรก็ดีอาจจะไม่สะดวกสำหรับการลอดสายไฟทั้งหมดในตัวเคส ซึ่งก็ต้องยอมรับในข้อเสียในจุดนี้ครับ แต่จุดเด่นของพื้นที่ภายในของ K350 คือสามารถติดตั้งกราฟฟิคการ์ดที่มีความยาวมากๆอย่าง R5870 พร้อมทั้งติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 7 ลูกพร้อมๆกัน

8 Review : CoolerMaster K350

13 Review : CoolerMaster K350

พื้นเคสนั้นมีรูระบายอากาศสำหรับพัดลมขนาด 120mm ให้หนึ่งช่องพร้อมแผ่นกันฝุ่นที่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่ายๆ อีกช่องหนึ่งนั้นเป็นช่องระบายอากาศสำหรับ PSU

9 Review : CoolerMaster K350

รูระบายอากาศบนฝาด้านบนนั้นน่าเสียดายที่ไม่มีรูให้สำหรับติดตั้งพัดลมได้ แต่ก็มีแผ่นกันฝุ่นมาให้

11 Review : CoolerMaster K350

ด้านหน้าก็มีพัดลมขนาด 120mm ติดมาให้เช่นกันครับ เป็นแบบมีไฟ LED สีแดงมาด้วย

12 Review : CoolerMaster K350

ช่องด้านหลังนั้นน่าเสียดายที่ว่าช่อง expansion slot นั้นไม่ใช่แบบขันสกรู แต่เป็นแบบหักทิ้ง ซึ่งดูแล้วก็ทำให้รู้สึกเหมือนเคสราคาถูกๆ ส่วนช่องพัดลมด้านหลังสามารถติดตั้งพัดลมขนาด 120MM เพิ่มได้

14 Review : CoolerMaster K350

15 Review : CoolerMaster K350

ในส่วนของ bay ติดตั้งฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นแบบ tools free ที่ผู้ใช้จะต้องแกะห่อ accessories มาติดตั้งด้วยตัวเองครับ ซึ่งอุปกรณ์จับยึดฮาร์ดดิสก์แบบที่ว่านี้ก็เป็นแบบบิดล็อค ตามแบบฉบับของเคสราคาประหยัดทั่วๆไป ซึ่งก็ถือว่าพอใช้งานได้

16 Review : CoolerMaster K350

กล่องใส่อุปกรณ์ต่างๆก็ไม่มีมาให้ มีมาให้เป็นแพคๆถุงแบบนี้ ซึ่งหลังๆนี้เราก็จะพบได้บ่อยครับ สมัยก่อนเคสจาก CM มักจะมีกล่องใส่อุปกรณ์เป็นกล่องกระดาษมาให้เสมอ

.

ก็ถือได้ว่าเป็นเคสระดับเมนสตรีมที่มีงานประกอบเรียบร้อยตลอดจนดีไซน์ที่สวยงามพอสมควรครับ พื้นที่ภายในสามารถใช้สอยได้อย่างง่ายดาย และค่อนข้างกว้าง ติดฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 7 ตัวรวมไปถึงติดตั้งกราฟฟิคการ์ดยาวๆได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ดูเหมือนจะมีข้อเสียตรงที่พัดลมที่ติดตั้งมาให้เพียงตัวเดียว รวมไปถึงรูระบายอากาศด้านบนน่าจะมีรูน็อตสำหรับยึดพัดลมติดมาให้ด้วยเสียหน่อยครับ

ขอขอบคุณ CoolerMaster

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza