Review : Gigabyte GC-WB300D/WB150

/ บทความโดย: Northbridge , 21/08/2012 23:28, 9,888 views / view in EnglishEN
«»
Share

1 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

สำหรับวันนี้รีวิวของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ก็อาจจะเป็นที่แปลกๆตาไปเสียหน่อยเมื่อผมมารับหน้าที่ทำรีวิวชิ้นนี้แทน Gigabyte GC-WB300D และ GC-WB150 ทั้งคู่ก็ต่างเป็นการ์ดไวเรสและบลูทูธในการ์ดใบเดียวกัน ที่มีอินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อแบบ PCI-e ที่จะทำให้สามารถใช้งานได้กับเครื่องเดสก์ทอพพีซีสมัยใหม่ ที่มักจะมีพอร์ต PCI-E ติดมาให้แทบทุกเครื่องอยู่แล้วครับ การทำงานต่างๆในภาพรวมนั้นในรุ่น 300D และ 150 นั้นจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ผมจึงตัดสินใจที่จะรวมรีวิวฉบับนี้ไว้เป็นบทความเดียวกัน เราลองมาชมกันได้เลยครับ

2 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

การ์ดทั้งสองรุ่นไม่ว่าจะเป็น GC-WB150 หรือจะเป็น WB300D นั้นต่างก็เป็นการ์ดสำหรับการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายแลนไร้สายสำหรับเครื่องเดสก์ทอพพีซีเหมือนๆกัน ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดจากหน้ากล่องนั้นคือ WB150 รองรับ IEEE802.11N ที่ความเร็ว 150mbps ส่วน WB300D นั้นรองรับที่ความเร็วสูงถึง 300mbps ส่วนฟีเจอร์ที่เกี่ยวกับ Bluetooth นั้นก็สามารถใช้งาน Bluetooth 4.0 ได้เช่นกัน ซึ่งโดยรายละเอียดจริงๆแล้ว WB300D นั้นจะเป็นการ์ด Wireless ที่สามารถทำงานได้ทั้งในย่านคลื่น 2.4GHz และย่าน 5GHz ที่ปกติในโลกนี้มีความแออัดในอากาศน้อยกว่า ทำให้ทำความเร็วได้สูงกว่า (ทั้งในแง่มาตรฐาน และในแง่การใช้งานจริง) หากใช้งานบนย่าน 5GHz ซึ่งจะสามารถสรุปฟีเจอร์ต่างๆที่แตกต่างกันได้ดังนี้ครับ

GC-WB300D

- มาตรฐาน Bluetooth 4.0

- มาตรฐาน WLAN สามารถทำงานได้กับ IEEE 802.11 A/B/G/N ทั้ง 2.4 และ 5GHz

- ดีไซน์สายอากาศแบบ 2 สายอากาศ ตามมาตรฐานของ IEEE802.11N เรื่อง MIMO (Multiple Input Multiple Output)

- ความเร็ว WLAN สูงสุด 300Mbps

- ใช้งานแอพพลิเคชั่น WiFi Share ตั้งพีซีให้เป็น Wireless Router ตลอดจนแชร์ไฟล์ และใช้โปรแกรม Easy Tune ผ่าน iOS devices ได้

GC-WB150

- มาตรฐาน Bluetooth 4.0

- มาตรฐาน WLAN สามารถทำงานได้กับ IEEE 802.11 B/G/N 2.4GHz เท่านั้น

- ดีไซน์สายอากาศแบบ 2 สายอากาศ ตามมาตรฐานของ IEEE802.11N เรื่อง MIMO (Multiple Input Multiple Output)

- ความเร็ว WLAN สูงสุด 150Mbps

- ใช้งานแอพพลิเคชั่น WiFi Share ตั้งพีซีให้เป็น Wireless Router ตลอดจนแชร์ไฟล์ และใช้โปรแกรม Easy Tune ผ่าน iOS devices ได้

3 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

รูปร่างหน้าตาของการืดทั้งสองโดยภาพรวมแล้ว แทบจะไม่มีความแตกต่างกันครับ ทั้งในเรื่องของอินเตอร์เฟส ที่ดูๆไปแล้วก็จะพบว่า มันเป็นแบบ PCI-E ใส่ในสลอต 1x หรือจะใส่ในสลอต 2x 4x หรือ 16x ก็ได้เช่นกัน

4 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

5 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

บนตัวบอร์ด (ตัวบน 300D ตัวล่าง 150) ก็จะพบว่ามี Wireless Adaptor module แบบ mini half pci-express card ติดตั้งไว้บนตัวบอร์ดหลักอีกทีหนึ่งครับ

10 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

ในตัว WB300D พอเมื่อลองซูมเข้ามาดูใกล้ๆตัวการ์ด mini half pci-e ก็จะพบว่าตัวโมดูลการ์ดนั้นเป็นของ Qualcomm Atheros รุ่น AR5B22 ซึ่งผมลองเช็คสเป็คจากทาง Qualcomm Atheros ดูก็พบว่าตัวการ์ดนั้นสนับสนุนการทำงาน Wireless Dualband 2.4/5GHz ในตัวของมันเองครับ

11 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

ส่วนตัว WB150 นั้นตัวโมดูลการ์ดถูกปิดและแปะ S/N ทับไว้อย่างเดียว แต่จากการตรวจสอบในวินโดวสืก็พบว่าเป็นรุ่น AR1111 WB-EG ครับ รองรับการทำงานกับไวเรสในย่าน 2.4GHz เพียงอย่างเดียว

————————————————–

6 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

7 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

นอกจากนี้สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างสองรุ่นนี้ก็คือพอร์ต USB ที่ติดมาให้บนตัวการ์ด ซึ่งปกติแล้ว WB150 และ WB300D นั้นจะทำให้คอมพิวเตอร์ของเราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์จำพวก iOS ใช้งาน easy tune หรือใช้งานอินเตอร์เนทได้ทั้งจาก WiFi , Bluetooth หรือจะเป็น USB จึงจำเป็นจะต้องมีพอร์ต USB มาให้ด้วย โดยปกติแล้วเราจะเชื่อมต่อสาย USB เข้ากับพอร์ต USB แบบเดียวกับที่อยู่ใน front panel (อันซ้ายมือ) แต่สำหรับพอร์ตด้านขวามือ ผมเองก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกันว่าใน WB300D นั้นมีมาไว้ทำไม คู่มือผู้ใช้งานก็ไม่ได้ระบุอะไรไว้เลยเช่นกันครับ

9 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

ขั้วต่อสำหรับสายอากาศก็มีมาให้สองขั้วพร้อมไฟแสดงสถานะ

12 Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

สายอากาศที่ติดมาให้ก็เป็นสายอากาศแบบรอบตัวธรรมดาๆ ที่มีสายโยงจากตัวเพลทหลังการ์ดมาค่อนข้างยาว ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกครับ แต่ก็น่าแปลกเหมือนกันที่สายอากาศของรุ่น WB150 กับรุ่น WB300D นั้นมีลักษณะที่แทบจะไม่แตกต่างอะไรกันเลย ทั้งๆที่ใน WB300D สามารถทำงานได้บนความถี่ 5GHz ด้วย น่าจะมีความแตกต่างกันบ้าง ก็ถือว่าเป็นความเก่งกาจของวิศวกรเขาล่ะครับที่สามารถทำให้สายอากาศมันมีขนาดเล็กกระทัดรัดได้แบบนี้

wifishare Review : Gigabyte GC WB300D/WB150

ส่วนฟีเจอร์เด็ดๆที่ผมจะอดพูดถึงไม่ได้ก็คงจะเป็นความสามารถในการเซ็ตให้การ์ดไวเรสในเครื่องของเรา สามารถตั้งตัวเองให้เป็น access point ได้ คือในโหมด Soft-AP ของโปรแกรม WiFi-Share นี้จะสามารถดึงเอาการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทผ่านพอร์ต ethernet หรือช่องทางของ NIC ตัวอื่นๆมาแชร์ผ่านตัวการ์ดไวเรสที่เรามีอยู่ได้ นับเป็นฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มี smart device ใช้งานในมือ แต่ไม่ได้มีเร้าเตอร์ไวเรสไว้ใช้งานด้วยครับ

.

.

หลายๆท่านที่ดูแค่กล่องหรือดูแค่รูปลักษณ์ของมัน ก็คงอาจจะคิดว่า แค่การ์ดไวเรส ซื้อยี่ห้ออะไรก็คงเหมือนๆกัน เพราะจริงๆแล้วในโลกของเรานั้นมีคนที่ทำชิปสำหรับการ์ดไวเรสอยู่แค่ไม่กี่เจ้าที่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์นิยมเอามาทำขายกัน อย่างในนี้จะเป็น Qualcomm-Atheros ส่วนอีกเจ้าที่เราจะเห็นกันบ่อยๆก็คงจะเป็น Intel ดังนั้นเลือกซื้อแบรนด์อะไร เราก็คงจะได้ใช้งานชิปของทั้งสองเจ้านี้ แต่ใน Gigabyte WB150/WB300D นั้นได้มีการเพิ่มลูกเล่นในซอฟท์แวร์และไดร์เวอร์มาให้ดูน่าสนใจ ก็นับเป็นตัวเลือกที่สร้างสรรค์และดูแล้วน่าจะคุ้มค่ากับการสรรหามาใช้งานครับ

.

.

ขอขอบคุณ Gigabyte

«ก่อนหน้า 1 2 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»