Review : iSIM by Truemove-H
Share | Tweet |
…ถึงแม้ว่าใครหลายคนจะกำลังอยู่ในอาการเบื่อและเซ็งกับสภาวะน้ำท่วม ไม่วายไปจนถึงเรื่องปัญหาอันน่าปวดหัวที่ทำให้เหล่าบรรดาคนบ้าเทคโนโลยีอย่างเราๆ ยังไม่ได้ใช้ 3G อย่างเป็นเรื่องเป็นราวกันจริงๆเสียที สำหรับวันนี้ผมก็ได้รับซิมการ์ดระบบ 3G+ มาจากทาง True ภายใต้เครือข่าย Truemove H ที่เพิ่งได้เปิดตัวเครือข่ายและบริการไปในเมื่อไม่นานมานี้ ซิมการ์ดดังกล่าวนั้นคือ iSIM คือซิมการ์ดที่มีไว้ใช้บริการอินเทอร์เน็ทเท่านั้น โทรเข้าโทรออกไม่ได้ และมีการใช้งานที่แตกต่างจากระบบเติมเงินมือถือทั่วไป ซึ่งจะเป็นอย่างไร วันนี้รีวิวของผมจะได้นำมาเล่าให้ฟังกันพร้อมกับมาดูกันว่ารูปร่างหน้าตาของ iSIM นี้จเป็นอย่างไรไปพร้อมๆกันครับ
…เครือข่าย Truemove-H จริงๆแล้วนั้นถ้านับกันตามระบบ มันคือเครือข่ายคนละเครือข่ายกับ Truemove ปกติ ที่ให้บริการระบบ 2G GSM แต่ในทางปฏิบัติ Truemove-H นั้นจะมีระบบและการใช้งานเช่นเดียวกับ Truemove ปกติ ซึ่งนั้นหมายความว่าหากอยู่นอกพื้นที่ให้บริการ 3G ใน Truemove H นั้นระบบจะทำการ Roaming เข้ากับเครือข่าย EDGE(GSM) ของทาง Truemove ได้ในทันที
…
…Truemove-H นั้นเป็นผลพวงจากการที่ทางกลุ่มทรูได้เข้าไปซื้อกิจการของ Hutch (Hutchison CAT Wireless Multimedia) ซึ่งเดิม Hutch ถือสิทธิการทำตลาดเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระบบ CDMA2000 1x และ EV-do ในย่านความถี่ 850MHz ซึ่งระบบ CDMA เดิมนั้นก็เรียกได้ว่าเป็นระบบที่เกือบๆจะเป็น 3G ได้อย่างเต็มตัว
…ซึ่ง CDMA นั้นเป็นเทคโนโลยี 3G ของทางฝั่งมาตรฐานตระกูล 3GPP2 และในขณะนี้ทางทรูมูฟและ CAT telecom ก็ได้กำลังเปลี่ยนระบบ CDMA ให้กลับมาเป็นมาตรฐาน 3G แบบ UMTS HSPA+ ซึ่งจะเป็นมาตรฐานตระกูล 3GPP ปกติที่เป็นสายเดียวกับระบบ GSM เดิมที่เราใช้กัน เป็นระบบที่มีซิมการ์ด และมีการขายเครื่องเปล่าใช้งานกันอย่างแพร่หลายครับ
…โดยในเบื้องต้นในขณะที่ผมได้เขียนรีวิวนี้ เรามีเครือข่าย 3G UMTS (HSPA+) หรือที่ทางทรูเรียกว่า 3G+ ความเร็วสูงสุด 42Mbps ภายใต้การให้บริการของ CAT และ Truemove-H กระจายอยู่ 16 จังหวัดทั่วประเทศไทย และครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครแทบจะทุกพื้นที่แล้ว และในอนาคตก็จะมีการขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยโดยใช้พื้นที่เดิมที่เป็นสถานที่ตั้งสถานีฐานของเครือข่าย CAT CDMA เดิม
…iSIM เป็นแพคเกจซิมการ์ดสำหรับใช้งานอินเตอร์เน็ทโดยเฉพาะ ไม่สามารถใช้งานโทรออกได้ ซึ่งที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า iSIM นั้นพุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มผู้ใช้ Aircard และ Tablet ที่ส่วนใหญ่เครื่องเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานบริการ Voice (โทรเข้าออก) ได้
…ซึ่งแน่นอนครับว่า iSIM นั้นก็เป็นคล้ายๆกับซิมการ์ดมือถือทั่วไป มีหมายเลขประจำตัว เพียงแค่ไม่มีบริการโทรเข้าออกหรือแม้กระทั่ง SMS หรือ MMS โดยที่ iSIM นั้นจะเป็นซิมการ์ดที่มีระบบการจ่ายค่าบริการด้วยการเติมปริมาณการใช้งาน Data (เป็นMb) ได้ผ่านทางเว็บไซต์ ทั้งนี้ iSIM มีราคาขาย 169 บาท โดยในการซื้อครั้งแรกสามารถใช้งานได้เป็นจำนวน 150mb
…การล็อคอินเข้าตรวจสอบยอดการใช้งานทำได้ผ่านทางเว็บ www.truemove-h.com/isim และเติมปริมาณการใช้งานได้ครั้งละ 90, 150, 300 บาท ด้วยอัตตราปริมาณข้อมูลที่ใช้งานได้ตามภาพเลยครับ ซึ่งการเติมปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ททำได้สามช่องทาง คือผ่านทางบัตรเครดิต (Visa และ Mastercard) หรือจะเป็นทางบัญชี TrueMoney หรือจะใช้บัตร TrueMoney ก็ได้เช่นกัน การเติมปริมาณการใช้งานดาต้าหนึ่งครั้ง จะมีอายุการใช้งาน 6เดือน ซึ่งจะไม่เหมือนการเติมเงินโทรศัพท์ทั่วไป ที่จะมีระยะเวลาที่แปรผันไปตามจำนวนเงินที่เราเติมเข้าไป
จ่าย 300 บาท สามารถใช้งานได้เวลานานถึง 6 เดือน และได้ปริมาณดาต้าถึง 500MB ถือว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างโอเคเลยทีเดียวสำหรับ 3G+ ความเร็วระดับนี้ ท่านผู้อ่านว่าไหมล่ะครับ ?
นอกจากนี้ในหน้าเว็บก็ยังมี Data Calculator เอาไว้ให้ได้ประมาณการใช้งานของเราให้พอกับเงินที่เราจะจ่ายใช้งานได้อีกด้วยครับซึ่งสามารถทำได้ผ่านลิงค์ นี้ http://www.truemove-h.com/calculator.aspx
…ว่ากันถึงเรื่องการใช้งาน ซิมการ์ด iSIM Truemove H ตัวที่ผมได้มานั้นเป็นซิมการ์ดเวอร์ชั่นแบบเต็มใบ โดยที่หากจะนำไปใช้งานกับของจากทางฝั่ง Apple อย่าง iPad และ iPhone 4 ก็จะต้องซื้อเวอร์ชั่นที่เป็นแบบ Micro Simcard โดยจะไม่มีแบบที่เป็นซิมการ์ดชนิดที่หักออกให้เป็น MicroSim ได้
…การใช้งานนั้นสามารถนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ที่สนับสนุนเครือข่าย 3G (UMTS) ในย่าน 850MHz อย่างทุกวันนี้ที่พอจะมีใช้กันก็คงหนีไม่พ้นตระกูล iPad iPhone4 หรือทางฝั่งแอนดรอยจะมี Galaxy S2 ซึ่งที่ผมกล่าวมานั้นเป็นแฮนด์เซ็ตที่สนับสนุน 3G ได้ถึง 4 ย่านความถี่ คือ 850 900 1900 และ 2100MHz ได้เลยทีเดียว ซึ่ง iSIM นั้นดูว่าจะเหมาะสำหรับการใช้งานบนเครื่องจำพวก Aircard และ Tablet มากเสียกว่าที่จะนำไปใช้กับโทรศัพท์มือถือ
…ซึ่งเรื่องความถี่ทุกวันนี้ผมเข้าใจว่าน่าจะมีหลายท่านสับสนกันอยู่พอสมควร ผมจึงขอสรุปไว้ตรงนี้เลยครับว่า เวลาดูสเป็คมือถือหรืออุปกรณ์แทบเบล็ตต่างๆ ให้ดูตรงที่เขาเขียนว่า “UMTS” หรือ “W-CDMA” ให้เข้าใจว่าความถี่ที่บอกมาต่อจากการบอกสรรพคุณดังที่ผมกล่าวมาข้างต้น นี่แหละครับคือความถี่ที่จะเอาไว้ใช้งาน 3G โดยของ Truemove-H นั้นจะใช้เป็น 850MHz
ในส่วนของคู่มือการใช้งานผมพบว่าคำแนะนำในการตั้งค่าอินเทอร์เน็ทของ Truemove-H ทำมาเข้าใจง่าย และชัดเจนมากที่สุดแล้วครับ เพราะผมเคยซื้อ netsim ของทาง AIS มาลองใช้งานได้อยู่พักหนึ่ง คำอธิบายในการเซ็ตค่า APN ต่างๆก็มีมาให้ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไรนัก
…มีคำแนะนำในการเซ็ตค่าอุปกรณ์ทั้งทางฝั่ง Android และ iOS รวมไปถึงแอร์การ์ดของทาง True เอง โดยการตั้งค่า APN name ให้ใส่เป็น internet และใส่ username กับ password ว่า true
…ถึงแม้ว่า iSIM จะถูกวางตำแหน่งตัวเองไว้ให้เป็นซิมสำหรับการใช้งานดาต้าอย่างเดียว ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานในอุปกรณ์จำพวก Tablet Aircard และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก แต่ในการทดสอบของเรานั้นจะผ่านโทรศัพท์ Samsung Galaxy S2 รุ่นล่าสุด ที่สนับสนุนระบบ 3G+ หรือเรียกตามมาตรฐานโปรโตคอลของมันคือ HSPA+ ที่ความเร็ว 21Mbps โดย HSPA+ ของ Galaxy S2 นั้นจะแบ่งเป็น HSDPA+ (ดาวโหลด) ได้ที่ความเร็ว 21Mbps และ HSUPA+ (Upload) สูงสุดที่ 5.76Mbps ซึ่งเจ้า Galaxy S2 นี้น่าจะถือได้ว่าเป็น 3G handset ที่สนับสนุนความเร็วมากที่สุดเท่าที่จะมีขายในตลาดอยู่แล้วครับ (HSPA เดิมสนับสนุนที่ 7.2mbps)
…ในขณะที่ทางทรูเองก็บอกไว้ว่า 3G+ หรือ HSPA+ ของตนนั้นสนับสนุนความเร็วสูงสุดโดยทฤษฎีถึง 42Mbps ซึ่งผมคิดว่ายังไม่น่าจะมี handset รุ่นใดสนับสนุนความเร็วระดับนั้นได้ครับ
ซึ่งนั้นหมายความว่าโทรศัพท์เครื่องนี้ก็จะไม่สามารถใช้โทรเข้าโทรออกได้เลยนั้นเอง อาจจะดูผิดวัตถุประสงค์ของซิมไปนิดหนึ่ง แต่นี่เป็นแฮนด์เซ็ตที่สนับสนุน HSPA+ เท่าที่ทางทีมงานพอจะหามาใช้งานได้
…เมื่อเสียบซิมการ์ดใส่โทรศัพท์ แน่นอนว่าใช้โทรเข้าออกไม่ได้ แต่สามารถใช้งานบริการ data ได้ตามปกติเมื่อเซ็ตค่า APN name ตามคู่มือ โดยเมื่อมีการใช้งานข้อมูลวิ่งเข้าวิ่งออก สัญลักษณ์แสดงเครือค่ายด้านบนก็จะแสดงตัวอักษร H+ สื่อถึงว่ามันมีการทำงานอยู่ที่ความเร็วระดับ HSPA+ อยู่นั้นเองครับ
…การทดสอบนั้นผมได้ทำการทดสอบความเร็วในพื้นที่แถบใจกลางเมือง ทั้งพื้นที่ภายในอาคาร มาบุญครอง สยามพารากอน และนอกอาคารบริเวณสยามสแควร์ ด้วย App ของเว็บไซต์ speedtest.net ด้วยเซิฟเวอร์ Bangkok
HSPA+ Truemove-H ทดสอบที่สยามสแควร์ บริเวณลานจอดรถ (คลิกเพื่อดูไฟล์ HTML จากโปรแกรมทดสอบ)
Test Date: Nov 4, 2011 6:34:44 pm
Connection Type: Hspa
Server: Bangkok
Download: 4962 kbps
Upload: 122 kbps
Ping: 37 ms
External IP: 180.214.217.206
Internal IP: 10.46.153.132
Latitude: 13.74601
Longitude: 100.53260
A detailed image for this result can be found here:
HSPA+Truemove-H ทดสอบที่ห้างสยามพารากอน บริเวณเซาท์ล็อบบี้
Connection Type: Umts
Server: Bangkok
Download: 4120 kbps
Upload: 863 kbps
Ping: 66 ms
External IP: 180.214.219.111
Internal IP: 10.46.106.37
Latitude: 13.74551
Longitude: 100.53569
A detailed image for this result can be found here:
HSPA+ Truemove-H ทดสอบที่ห้างมาบุญครอง บริเวณใกล้ลานจอดรถชั้น 2
Connection Type: Hspa
Server: Bangkok
Download: 1.04 Mbps
Upload: 0.79 Mbps
Ping: 95 ms
External IP: 180.214.219.4
Internal IP: 10.46.60.64
Latitude: 13.74628
Longitude: 100.53127
A detailed image for this result can be found here:
…ในการทดสอบนั้นจะเห็นได้ว่าภาพรวมแล้วทำออกมาได้ดีเลยทีเดียวครับ ทั้งภายนอกและภายในอาคารใหญ่อย่างห้างสยามพารากอน จะมีปัญหาก็แต่ที่ห้างมาบุญครอง ที่ผมมีความรู้สึกว่าทั้งๆที่สัญญาณก็เต็ม 4-5 ขีดดี แต่ใช้งานได้ความเร็วที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นผลมาจากร้านค้าภายในร้านมาบุญครองอาจจะมีการเปิดใช้งานกันอยู่ด้วยจำนวนหนึ่งหรือเปล่าไม่แน่ใจ
…ซึ่งนอกจากการทดสอบบนเครือข่ายแบบ HSPA+ ของ Truemove H แล้ว ผมก็จึงขอยกเอาการทดสอบเปรียบเทียบกับเครือข่ายที่เป็น HSPA (7.2mbps) ธรรมดา ของ TOT ที่มีให้บริการเป็นเจ้าแรกๆของเมืองไทย ซึ่งผมเองได้ไปเปิดเบอร์ใช้งานอยู่มานานแล้ว ให้ได้ชมกันด้วยครับ โดยการทดสอบผมใช้ Galaxy S2 ในการทดสอบเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าในหน้าจอโทรศัพท์นั้นจะแสดงสัญลักษณ์ H ธรรมดา ไม่มี + ครับ
…ซึ่งโดยเบื้องต้นผมพบว่าพื้นที่ครอบคลุม (ความแรงของสัญญาณ) ในพื้นที่ละแวกเดียวกัน TOT ยังคงเป็นรองในเรื่องของความเข้มสัญญาณในพื้นที่ใกล้ๆกันพอสมควร (เห็นได้จากรูปด้านบนครับ)
HSPA (TOT3G) ทดสอบที่สยามสแควร์ บริเวณลานจอดรถ (คลิกเพื่อดูไฟล์ HTML จากโปรแกรมทดสอบ)
Test Date: Nov 4, 2011 6:49:30 pm
Connection Type: Hspa
Server: Bangkok
Download: 961 kbps
Upload: 856 kbps
Ping: 101 ms
External IP: 180.210.216.74
Internal IP: 10.219.224.180
Latitude: 13.74525
Longitude: 100.53190
A detailed image for this result can be found here:
HSPA (TOT3G) ทดสอบที่ห้างสยามพารากอน บริเวณเซาท์ล็อบบี้
Test Date: Nov 4, 2011 5:38:42 pm
Connection Type: Hsdpa
Server: Bangkok
Download: 242 kbps
Upload: 1643 kbps
Ping: 76 ms
External IP: 180.210.216.74
Internal IP: 10.219.4.52
Latitude: 13.74594
Longitude: 100.53345
A detailed image for this result can be found here:
HSPA (TOT3G) ทดสอบที่ห้างมาบุญครอง บริเวณใกล้ลานจอดรถชั้น 2
Connection Type: Hsdpa
Server: Bangkok
Download: 0.47 Mbps
Upload: 0.29 Mbps
Ping: 100 ms
External IP: 180.210.216.74
Internal IP: 10.219.4.52
Latitude: 13.74577
Longitude: 100.53112
A detailed image for this result can be found here:
…การทดสอบนั้นก็น่าจะพอแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเครือข่าย HSPA+ ได้พอสมควรนะครับ แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผมอยากจะย้ำไว้เสมอว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ทมือถือพวกนี้นั้นความเร็วจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ท่านใช้งาน ว่ามีคนเข้ามาร่วมกันแชร์ความเร็วมากน้อยแค่ไหน อย่างพื้นที่ในแถบใจกลางเมืองผมก็เชื่อว่าคงมีความหนาแน่นมากพอสมควร และการทดสอบเพียงครั้งเดียวก็คงจะไม่สามารถตัดสินอะไรได้ทั้งหมด เพราะอาจจะขึ้นอยู่กับจังหวะคนใช้งานโดยรอบๆและระดับสัญญาณ หรือปัจจัยอื่นๆด้วยครับ สำหรับวันนี้ก็คงต้องจบไว้เพียงเท่านี้ สวัสดี …
.
.
.
.