Review : Lenovo Ideapad Z470
Share | Tweet |
Lenovo Ideapad Y470
…นับเป็นอีกช่วงหนึ่งของการปรับเปลี่ยนไลน์อัพของโน๊ตบุ๊กในแทบจะทุกระดับของค่ายใหญ่อีกค่ายอย่าง Lenovo ครับ ช่วงนี้ก็เป็นฤดูกาลของ Ideapad x70 ซึ่งในวันนี้ก็จะเป็น Z470 ซึ่ง Z series ก็จะเป็นโน๊ตบุ๊กที่เน้นการใช้งานทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน กับ multimedia เล็กๆน้อยๆ ส่วน 4 นั้นก็จะหมายถึงเป็นจอขนาด 14 นิ้ว 70 คือชื่อรุ่น Z470 นั้นก็จะเป็นโน๊ตบุ๊กระดับ mainstreme-value ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ภายในที่ครบรอบด้านพอที่จะเอาไว้ให้ใช้งานในชีวิตประจำวันของมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง หรือไม่ว่าจะเป็นนึกศึกษามหาวิทยาลัยก็ย่อมได้ครับ
Processor | Intel Core i5 2410M |
Chipset | Intel HM65 |
Memory | 4GB DDR3 |
Graphics Adapter | NVIDIA GeForce GT520M (Optimus Intel HD Switchable) |
Display | 14.0″ 1366×768 |
Harddisk | 640GB 5400RPM |
Optical Drive | DVD-RW |
Network | Broadcom 802.11n |
Connection Port | cardreader,USB 2.0×3, VGA,HDMI, RJ45, eSATA |
Battery | 48Wh |
Weight | 2.2Kg |
OS Bundled | N/A |
..รายละเอียดทางเทคนิคของเครื่องตามภาพที่จับมาจากโปรแกรม AIDA64 ก็ถือว่าเป็นธรรมดาๆที่เราจะพบได้ในโน๊ตบุ๊กกลุ่ม mainstreme value ไล่ตั้งแต่ซีพียู Core i5 2410M ที่มีขนาด L3 cache 3mb ถือเป็นขนาด L3 ระดับเริ่มต้นของตระกูล core i ในรุ่นนี้ เมมโมรี 4GB และการ์ดจอชิปแยกเป็น GT520 จาก NVIDIA และใช้ชิปควบคุมไวเรสจาก Broadcomm รองรับ wireless N (IEEE802.11N) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานของโน๊ตบุ๊กทุกวันนี้
บอดี้ของ Y470 นั้นจริงๆแล้วมีให้เลือกหลายเฉดสีเอาใจวัยรุ่นกันเลยทีเดียวครับ ในรุ่นสีฟ้าที่ผมได้รับมาทดสอบนั้นจะมีลวดลาย texture ที่ฝังอยู่ในเนื้อตัวถังเมื่อเจอแสงสะท้อนก็จะเห็นได้แบบในรูปนี้แหละครับ
ดีไซน์ออกแบบมาให้ดูง่ายๆสบายๆ เน้นลวดลายที่โดดเด่นเอาเสียมากกว่า
เมื่อผมลองยกฝาเปิดขึ้นมาก็พบว่า ตัวเครื่องทั้งหมดจับดูแล้วก็แข็งแรงมั่นคงดี แต่รอยต่อของขอบพลาสติก โดยเฉพาะตรงขอบจอ และขอบที่รองมือ ยังเก็บมาได้ไม่ค่อยเรียบร้อยนักครับ
คีย์บอร์ดน่าจะเป็นจุดเด่นของเครื่องนี้เลยก็ว่าได้ ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบคีย์บอร์ดของ Lenovo ในช่วงหลังๆมานี่ ที่มีการเอาดีไซน์ในแบบที่ Thinkpad เป็น คือปุ่มเว้าลงไปหาตัวเครื่อง ทำให้สัมผัสพิมพ์ได้แม่นยำขึ้น แต่ความหนักแน่นของคีย์ แน่นอนว่าสู้ Thinkpad ไม่ได้อยู่แล้วครับ แต่ก็ถือว่าทำได้ดีในระดับราคาของมัน
เลย์เอาท์ต่างๆนั้นก็วางมาให้ใช้งานได้ค่อนข้างง่าย ปุ่มกดแล้วก็เต็มนิ้วเต็มมือดี ไม่ต้องอาศัยความคุ้นชินมากนักก็ใช้งานได้คล่องแคล่วเหมือนคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ทั่วไป เพียงแค่ว่าจะไม่มี numpad มาให้เท่านั้นเองเพราะเป็นเครื่องไซส์ 14 นิ้วแบบนี้
ทัชแพด สัมผัสแรกนั้นผมคิดว่าว่องไวพอใช้ได้ แต่ความแม่นยำยังมีไม่มากนัก เหมาะสำหรับไว่้ใช้แก้ขัดเวลาเมาส์หายเมาส์พังมากกว่า ควรจะมีเมาส์ติดตัวไว้ใช้งานจะสะดวกมากกว่า
.
พอร์ตเชื่อมต่อด้านซ้ายมือนี้จะมีพอร์ตเชื่อมต่อจอแสดงผลทั้ง HDMI และ VGA รวมไปถึงพอร์ตแลน RJ45 , USB2.0 และ eSATA
มาอีกด้านนึงก็จะพบกับ USB2.0 อีกสองพอร์ต
ด้านหน้าเครื่องจะเป็นตำแหน่งของ cardreader ที่สามารถอ่านการ์ดตระกูล SD/MMC ได้ รวมไปถึง สวิชสีเงินๆ จะเป็นสวิชสำหรับสลับการทำงานของการ์ดจอ NVIDIA กับการ์ดจอภายในซีพียูของ Intel ซึ่งหากสลับไปที่ตำแหน่งที่มีไฟขึ้น ก็จะสามารถใช้การ์ด NVIDIA ได้ หรืออินเทลก็ได้ ตามแต่โปรแกรมจะมีภาระงานทางด้าน 3D มากแค่ไหน แต่ถ้าสลับไปที่โหมดประหยัดพลังงาน เครื่องก็จะ force การทำงานให้ไปตกอยู่ที่ตัวประมวลผลกราฟฟิคในตัวซีพียูอินเทลอย่างเดียว
เปิดออกมาง่ายๆกันแบบนี้ ไม่ต้องคิดอะไรให้มากความอีก ตัวระบายความร้อน ดูแล้วก็น่าไว้ใจใช้ได้ครับ ถึงแม้จะเป็นกราฟฟิคชิปรุ่นเล็กอย่าง GT520 Lenovo เองก็ยังใส่ใจที่จะใส่ฮีทไปป์มาให้อีกเส้นหนึ่งสำหรับตจัวกราฟฟิคชิปโดยเฉพาะ
แบตเตอร์รี่ขนาด 48 Wh ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆพอรับได้ ต้องดูผลทดสอบกันอีกทีครับ
น้ำหนักผมชั่งได้ 2.35 กิโลกรัม
บวกเอาสายชาร์จ จะอยู่ที่ 2.79 กิโลกรัม
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
WinRAR
คะแนนเหมือนก๊อบเลขมาวาง แต่จริงๆก็เทสใหม่ทุกรอบ กับ Core i5 ที่มี L3 3MB แบบนี้
- Cinebench R10
คะแนนแบบนี้ก็เรียกได้ว่าเห็นกันชินหูชินตาไปแล้วนะครับ เปิดย้อนดูรีวิวก่อนๆหน้านี้ สำหรับซีพียูและการ์ดจอคล้ายๆกัน ก็จะได้คะแนนในระดับนี้
Ciebench R11.5
โน๊ตบุ๊กราคาสองหมื่นต้นๆ ทำคะแนนแบบนี้ ผมว่าไม่ต้องเรียกหาความแรงอะไรจากไหนอีกแล้ว มันพอใช้งานได้สบายๆแล้ว !
Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด ปรับไปใช้การ์ดจอภายในซีพียูอินเทล และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/lenovoz470/b/27_6_2011_1/Report.html
จากผล การทดสอบ 148 นาที หรือ 2 ชั่วโมง กับอีก 28 นาที ถือว่ารีดพลังของแบตเตอร์รี่ขนาดแค่ 48Wh มาใช้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้วครับ
AIDA64 Benchmark
PCmark 05
PCMark ระดับ 7 พันแต้ม ถือได้ว่าใช้งานกับโปรแกรมทุกวันนี้ได้ลื่นไหลไม่มีปัญหาอะไรแล้วครับ
3Dmark06
คะแนน 3Dmark ก็ออกมาไม่ขี้เหร่เลย แต่ที่เห็นสูงๆแบบนี้ถ้าเอาไปเทียบกับพวกเครื่องจอ 15 Full HD ก็ต้องระวังนะครับเพราะความละเอียดมันปรับสุดได้แค่ 1280×768 ซึ่งไม่ใช่ค่า default ของ 3dmark06
.
.
.
.เรียกได้ว่าเป็นเครื่องระดับ mainstreme ที่คุ้มค่ามากอีกรุ่นหนึ่งเลดยทีเดียว สำหรับขนาด 14 นิ้ว ในรุ่น Z470 ตัวนี้ ทั้งการออกแบบที่มาแบบพอดีๆ สเป็คก็เรียกได้ว่าครอบคลุมการใช้งานทั่วไป รวมไปถึงการเล่นเกมและดูภาพยนตร์ในระดับ HD ได้อย่างดี ในราคาที่ไม่แรงมากนัก เท่าที่ทราบมาราคาอยู่ที่ 21900 บาท อาจจะมี + - นิดหน่อยครับ
…จะมีข้อสังเกตก็เพียงแค่เรื่องของความเรียบร้อยของตัวเครื่อง ถ้าใครเป็นพวกชอบจับผิดช่างจับผิด ก็อาจจะอยู่กับ Z470 อย่างไม่มีความสุขได้ กับขอบจอและขอบตัวเครื่องที่เป้นรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนที่บางเครื่องอาจจะมีเก็บมาไม่เรียบร้อยบ้าง ซึ่งจาการทดสอบใช้งานจริงก็ไม่พบปัญหาในเชิงเทคนิคหรือในการใช้งานจริงแต่อย่างใดครับ
.
ขอขอบคุณ Lenovo ประเทศไทย
fgsdfgsdD