Review : Lenovo Ideapad Z475

, / บทความโดย: Northbridge , 06/10/2011 00:07, 9,463 views / view in EnglishEN
«»
Share

1317745949DSC 1256 Review : Lenovo Ideapad Z475

Lenovo Ideapad Z475

หลังจากที่ทีมงาน Vmodtech ท่านอื่นๆ ได้ทดสอบประสิทธิภาพของ APU ใหม่จาก AMD ในนาม AMD A series เวอร์ชั่นแบบเดสก์ทอพไปแล้ว วันนี้ก็น่าจะได้ถึงคราวที่ผมจะนำเอาโน๊ตบุ๊กที่ใช้ AMD A series APU มาทดสอบให้ได้ชมกัน ซึ่งไม่ต้องสงสัยอะไรมากจนเกินไปครับ เพราะว่าโน๊ตบุ๊กที่เราจะนำมาให้ได้ชมกันในวันนี้ มันคือโมเดล Z series จอ 14 นิ้วจากทาง Lenovo บอดี้เหมือนกันกับ Z470 หยั่งกับแกะ แต่ว่าภายในนั้นมีการนำเอา AMD A series มาใช้ และแปะป้ายราคาขายที่ถูกกว่า Z470 อยู่พอสมควร

Processor AMD A6-3400M with Radeon graphics
Chipset AMD Hudson-2
Memory 4GB DDR3-1333MHZ
Graphics Adapter AMD Radeon HD6520G + 6470M
Display 14″ 1366×768
Harddisk 500GB 5400RPM SATAII
Optical Drive DVD-RW
Network IEEE802.11N
Connection Port cardreader MS/SD/MMC,USB 2.0×3, VGA,HDMI, RJ45
Battery 5.16Ah
Weight 2.3kg
OS Bundled N/A

evin Review : Lenovo Ideapad Z475

..Ideapad Z475 นั้นถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊กในระดับ Mainstreme กลางๆ เน้นการใช้งานแบบรอบๆด้าน ไม่ได้มีประสิทธิภาพสุดกู่มากนัก ซึ่งก็เรียกได้ว่าตรงกับความต้องการ หรือเป้าหมายของทาง AMD ที่ได้วางผลิตภัณฑ์ AMD A series APU ของตนเองเอาไว้ในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเช่นกันครับ โดยจะเน้นกลุ่มเครื่องโน๊ตบุ๊กฟูลไซส์ที่มีราคาอยู่ราว 15000 ไปจนถึง 30000 บาท รายละเอียดส่วนปลีกย่อยต่างๆนอกจากตัวระบบโดยรวมที่เป็น AMD APU แล้ว ก็ยังคงคล้ายคลึงกับ Z470 อยู่ครับ ซึ่งเราจะได้มาชมกันอีกครั้งหนึ่งในบทความวันนี้

8 Review : Lenovo Ideapad Z475

เครื่องขนาด 14 นิ้ว ผมเคยเขียนไว้หลายครั้งแล้วว่ามันจะเป็น perfect deal กับนักศึกษาหอพัก ตื่นเช้าเล่นเฟสบุ๊ก กลางวันแบกเครื่องไปทำงานที่มหาลัย และตกเย็นก็ยกเครื่องกลับห้องมาใช้ดูหนังดูละครรอบดึก ขนาดเครื่องมันไม่ใหญ่พอที่จะเอาไว้ใช้งานในห้องโถงของบ้าน แต่ก็ไม่เล็กจนเกินไปที่จะเอาไว้ใช้แทนพีซีเครื่องหลักสำหรับคนที่ยังอยากได้เครื่องที่พอจะถือไปไหนมาไหนได้บ้าง

9 Review : Lenovo Ideapad Z475

7 Review : Lenovo Ideapad Z475

ว่ากันด้วยตัวเครื่องภายนอก มองปุ้บก็น่าจะบอกได้เลยว่านี่คื Z series จาก Lenovo ดีไซน์ที่ดูแล้วผู้ใหญ่ถือก็ดูเป็นผู้ใหญ่ เด็กถือก็ดูแล้วเฟรชชี่ดี แอบแฟงลวดลายสะท้อนแสงอยู่ภายในพื้นผิวของฝาครอบจอด้านนอก และการลบเหลี่ยมมุมที่ผมมองปุ้บ ก็พอจะเดาได้ว่านี่แหละ Lenovo Ideapad

2 Review : Lenovo Ideapad Z475

กลิ่นของ Lenovo รุ่นก่อนๆก็โชยมาทันทีเมื่อเปิดฝาพับจอออกมา

1 Review : Lenovo Ideapad Z475

ดีไซน์คีย์บอร์ดชิคเคล็ตที่มี ปุ่มเว้าลงที่เราคุ้นเคยตั้งแต่ Thinkpad จนมาถึงวันนี้ใน Ideapad ก็ยังคงสามารถใช้งานได้ดี ปุ่มทุกปุ่มถูกเรียงกันให้สามารถพิมพ์ได้อย่างไม่มีสะดุด ใช้งานได้สะดวกสบายเลยทีเดียวสำหรับเครื่องขนาดนี้

12 Review : Lenovo Ideapad Z475

ทัชแพดนั้นมีลักษณะสีที่ดูกลมกลืนไปกับตัวเครื่อง แต่ให้สัมผัสที่สากๆนิดๆ พอให้ได้รู้ว่าสัมผัสลงบนพื้นทัชแพดอยู่ ความแม่นยำนั้นผมคิดว่ายังไม่ค่อยดีเท่าไร แต่ความไวนั้นถือว่าเอามาใช้งานแก้ขัดระหว่างไม่มีเมาส์ใช้ได้ดีเลยทีเดียว

10 Review : Lenovo Ideapad Z475

.

————————————————–

dsc 1244 Review : Lenovo Ideapad Z475

เอาล่ะมาถึงพอร์ตเชื่อมต่อ ด้านซ้ายมือก็จะพบกับพอร์ต VGA, RJ45, HDMI, eSATA, และ USB2.0 อีกหนึ่งพอร์ต

dsc 1245 Review : Lenovo Ideapad Z475

ส่วนอีกด้านหนึ่งก็จะเป็นที่ของ Optical Drive ที่เป็น DVD-RW และ USB 2.0 อีกสองพอร์ต รวมไปถึง Audio in/out

5 Review : Lenovo Ideapad Z475

ด้านใต้เครื่อง ทำออกมาให้ง่ายต่อการถอดอุปกรณ์ภายในทั้งเมมโมรี ฮาร์ดไดร์ฟ ซีพียู และการ์ดไวเรส แต่สำหรับการถอดซีพียูอาจจะต้องวุ่นวายกับระบบระบายความร้อนเล็กน้อย ซึ่งผมไม่แนะนำให้ทำเองครับถ้าไม่มีประสบการณ์

4 Review : Lenovo Ideapad Z475

แบตเตอร์รี่ขนาด 48Wh เรียกได้ว่าถ้าเป็นโน๊ตบุ๊กไซส์นี้แบตขนาดนี้ ก็สมน้ำสมเนื้อกันดีอยู่ แต่ไม่ถือว่าใหญ่มากเท่าไรครับ

6 Review : Lenovo Ideapad Z475

น้ำหนักรวมแบต 2.3 กิโลกรัม

3 Review : Lenovo Ideapad Z475

2.8 กิโลกรัม เมื่อชั่งรวมกับชุดอะแดปเตอร์

————————————————–

Performance

- รายละเอียดเครื่อง

cpuz Review : Lenovo Ideapad Z475

AMD A series นั้นจะมีอยู่ด้วยกันสามรุ่นหลักๆคือ A4 (dualcore) A6 และ A8 แบบ Quad-core แน่นอนว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของ A series นั้นก็คือกลุ่ม mainstreme ที่มองหาความคุ้มค่าเป็นหลัก ไม่ใช่ผู้ที่ใฝ่หาพลังการประมวลผลสูงสุด แต่สิ่งที่ AMD มอบให้ผู้ใช้คือความสมดุลระหว่างความสามารถของตัวโปรเซสเซอร์และกราฟฟิค

turbocore Review : Lenovo Ideapad Z475

เทคโนโลยี Turbocore ที่จะคอยช่วยปรับความเร็วให้เหมาะสมกับระดับความร้อนและ workload ในภาพนั้นจะแสดงถึงการใช้งานซีพียูเพียงแค่ Thread เดียว ในโปรแกรม Cinebench ซึ่งซีพียูก็จะทำการปรับความเร็วชดเชยให้อัตโนมัติ เพราะยังใช้งานไม่ถึงระดับ TDP ของมัน

ขุมพลัง AMD A6-3400 APU ใน Lenovo Z475 นั้นคือ APU รุ่น A6 1.4-2.3Ghz ประกอบไปด้วยโปรเซสเซอร์ที่มีโครงสร้างคล้ายๆกับ Phenom II ที่มี Level 2 cache ขนาด 4MB (1×4) ผนวกเทคโนโลยี Turbocore พร้อมกับกราฟฟิคภายในตัว HD6520G ซึ่งจะมี Radeon core (Shaders) ถึง 320units และเมมโมรีแบนด์วิดท์ขนาด 64+64bit ทำงานที่ Core clock 400MHz ซึ่งสามารถจับคู่กับกราฟฟิคแบบแยกเพื่อทำ Crossfire เพิ่มประสิทธิภาพราวๆ30-50% ได้ แต่ผมเชื่อว่าเครื่องที่ผมทดสอบนี้ไดร์เวอร์น่าจะยังไม่สมบูรณ์ดีนัก

Super PI 1M

pi1m Review : Lenovo Ideapad Z475

ดูจากเวลาที่ทำได้แล้ว ยังถือว่าห่างไกลกับ Sandy-Bridge พอสมควร ซึ่งชาว AMD ก็คงจะเข้าใจกันดีอยู่แล้วครับ

Cinebench R10

cb10 Review : Lenovo Ideapad Z475

Ciebench R11.5

cb11 Review : Lenovo Ideapad Z475

แต่แง้มมาดูคะแนนของ Cinebench ทั้งสองเวอร์ชั่น ถือว่าไม่ขี้่เหร่เลยทีเดียว โดยเฉพาะคะแนนในส่วนของกราฟฟิค ยิ่งถ้านับว่านี่คือโน๊ตบุ๊กที่ราคาไม่เกินสองหมื่นบาท กับระบบกราฟฟิคแนวๆอินติเกรตกลายๆแล้วละก็ ถือว่าดีกว่าอินเทลอยู่พอสมควรเลยทีเดียว

————————————————–

AIDA64 Benchmark

CACHE & MEMORY BENCHMARK

ev01 Review : Lenovo Ideapad Z475

CrystalDisk Benchmark

disk Review : Lenovo Ideapad Z475

Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน

power Review : Lenovo Ideapad Z475

ใน ซอฟท์แวร์ AMD Vision Engine Control center (หรือ Catalyst เก่า) นั้นก็จะมีเมนูให้ทำการปรับความเร็วซีพียูได้ด้วย ซึ่งผมก็ได้ทำการปรับให้เข้ากับโมเดลทดสอบของผมที่ผมได้ทำมาตลอดในการทดสอบ โน๊ตบุ๊ก คือการปรับความเร็วให้เหลือ 50% ของควาเร็วฐาน ในขณะรันบนแบตเตอร์รี่และทดสอบแบบ Full load

การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด (50%) และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง

Discharge Review : Lenovo Ideapad Z475

http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/lenovoz475/b/21_9_2011_1/Report.html

เวลาที่ได้เมื่อกะประมาณเอาจากอัตตราการเปลี่ยนแปลง น่าจะได้ว่า ใช้ได้ประมาณ 150นาที หรือ 2 ชั่วโมง 30 นาที ถือได้ว่าไม่เลวเลยทีเดียวครับสำหรับแบตเตอร์รี่ขนาดเพียง 48Wh

————————————————–

PCmark 05

pcm05 Review : Lenovo Ideapad Z475

PCmark คะแนนออกมาเห็นแล้วโล่งใจครับว่าซีพียูจากฝั่ง AMD ก็ทำผลงานออกมาได้ค่อนข้างโอเคเลยทีเดียว

PCmark Vantage

pcmvt Review : Lenovo Ideapad Z475

มาดูของเล่นใหม่ของผมแต่อาจจะเก่าสำหรับสาย hardcore ทั้งหลายกันบ้างครับ สำหรับ PCmark Vantage ก็ถือว่าทำคะแนนออกมาอยู่ในระดับที่สามารถนำไปใช้งานเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหลักได้สบายๆ

3Dmark06

06 Review : Lenovo Ideapad Z475

คะแนน 3Dmark ออกมาก็ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆล่างๆ ซึ่งดูแล้วรู้สึกเหมือนกับว่า ถ้าเอาไว้ใช้งานรับชมคอนเทนท์แบบ HD ทั่วๆไปก็ถือว่าโอเค แต่ถ้าเล่นเกมก็น่าจะทำได้ดีกับเกมออนไลน์ และเกมสมัยใหม่ได้ในระดับหนึ่งครับ

.

.


กับราคาแค่ราวๆ 18000 เท่านั้น ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นโน๊ตบุ๊กสำหรับคอเอนเตอร์เทนงบน้อย หรือคนที่ต้องการขุมพลังที่แปลกแยกแตกต่างไปจากชาวบ้านทั่วๆไปที่หันไปทางไหนก็จะเจอแต่อินเทลกันแล้ว ประสิทธิภาพผมบอกตรงๆว่ามันไม่ขี้เหร่ และไม่เลวร้ายอย่างที่ใครๆกลัวกัน แต่ไม่ได้แรงหลุดโลกเช่นกัน สิ่งที่คุณจะได้คือ ความสมดุลระหว่างโลกกราฟฟิค กับโลกแห่งพลังการประมวลผลภายในตัวโปรเซสเซอร์ นอกจากนี้ความสามารถในการรีดพลังงานทุกๆวัตต์มาใช้งานได้อย่างคุ้มค่า ก็ถือเป็นจุดเด่นของ AMD APU ใน Z475 ตัวนี้ครับ

.

.

ขอขอบคุณ Lenovo



fgsdfgsdD

«ก่อนหน้า 1 2 3 4 5 แสดงทั้งหมด ถัดไป»

ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ Click!!!
Bookmark บทความ : Zickr Kudd Duocore Techkr aJigg Oncake Lefthit Meetgamer Siamcollective TagToKnow Dunweb Digza
«»