Review : Lenovo Thinkpad X100e
Share | Tweet |
Lenovo Thinkpad X100e
…สำหรับ วันนี้ก็จะเป็นคิวของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กจากทาง Lenovo ในตระกูล Thinkpad อันเลื่องชื่อมาตั้งแต่สมัยที่ยังขายภายใต้ร่มโพธิ์ของแบรนด์ IBM อยู่นัันเองครับ ซึ่งถึงแม้ว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์แบรนด์ IBM นั้นดูเหมือนจะกลายเป็นตำนานบทหนึ่งไปแล้ว แต่ว่าก็เปรียบเสมือน ตำนานที่ยังคงจับต้องได้ ดังผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของทาง IBM ที่ขณะนี้ได้ถูกนำมาขายภายใต้แบรนด์ของ Lenovo แล้วนั้นเอง หนึ่งในนั้นก็คือ Thinkpad ซึ่งในบทความนี้เราจะพาท่านผู้อ่านไปพบกับ Thinkpad X series รุ่นสุดท้องล่าสุด ที่ออกมาเพื่อที่จะมาเขย่าตลาดกลุ่มโน๊ตบุ๊กสำหรับงานธุรกิจที่เน้นความบางเบาและขนาดที่สามารถพกพาได้สะดวก อีกทั้งยังมีราคาที่ไม่สูงจนเกินไปนัก แต่ยังคงประสิทธิภาพและฟีเจอร์ต่างๆในแบบฉบับของ Thinkpad รุ่นอื่นๆอยู่ด้วยนั้นเอง
Processor | AMD Athlon neo MV-40 |
Chipset | AMD M780G |
Memory | 2gb DDR2 667mhz |
Graphics Adapter | ATi Radeon HD3200 (Intregrate AMD 780G) |
Display | 11.6″ 1366×768 |
Harddisk | 320gb SATA2 |
Optical Drive | N/A |
Network | IEEE 802.11 A/B/G/N |
Connection Port | cardreader SD/MMC, USBx3, VGA, RJ45 |
Battery | 5200mAh |
Weight | 1.5kg |
OS | Windows 7 Professional |
บอดี้โดย ภาพรวมก็ยังคงทำมาจากวัสดุผสม สีดำด้านอนุรักษ์นิยมตามสไตลื Thinkpad ครับ
ขนาดกำลัง ดี ไม่หนาจนเกินไป งานประกอบแน่นหนามากตามสไตล์ Thinkpad ตรงนี้ถ้าได้ลองสัมผัสเครือ่งจริงจะรู้ว่า พอจับเครื่องบีบในมือ แล้วจับเครื่องดู จะพอเข้าใจเองครับ
ดีไซน์โดย ทั่วๆไปแล้ว ก็เหมือนๆกับ Thinkpad X series รุ่นแพงๆตัวอื่นไม่มีผิดเลยครับ
บานพับ จริงๆแล้วโดยทางกลไกมันสามารถกางได้ถึง 180 องศา เพราะเป็นบานพับแบบทรงกระบอกแบบที่โน๊ตบุ๊กแพงๆเขาใช้กันนั้นแหละครับ แต่ว่าที่กางได้แค่นี้ก็เพราะว่ามันติดก้อนแบตเตอร์รี่ที่มีส่วนยื่นมาด้าน หลังเครื่องนั้นเอง
คีย์บอร์ด เซาะร่องตามสไตลื Thinkpad สมัยใหม่ๆ และแน่นอนครับ เป็นคีย์บอร์ดกันน้ำด้วย การวางเลย์เอาท์นั้นก็ทำได้ดีอยู่แล้ว ถ้าหากใครที่เคยสัมผัส X series รุ่นแพงๆกว่า ก็ขอบอกได้เลยครับว่า ความรู้สึกนั้นแทบไม่ต่างกันเลย
…ทัช แพดและคอนโทรลสติก ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Thinkpad มานาน ตรงนี้จะสังเกตว่า จะมีปุ่มสำหรับกดคลิกเมาส์มาให้ถึงสี่ปุ่ม และปุ่้ม scroll อีกหนึ่งปุ่ม การใช้่งานนั้น ผมเข้าใจว่าทางผู้ออกแบบเขาคงจะออกแบบมาให้ใช้งานคอนโทรลสติกเป็นหลัก เพราะถ้าหากจะใช้ touchpad จริงๆแล้วล่ะก็ จะพบปัญหาว่า เราจะรู้สึกเหมือนไม่มีที่วางข้อมือเลยครับ เพราะทัชแพดมันถูกถอยร่นลงมามากเกินไป ส่วนปุ่มคลิกเมาส์ชุดบน (แถบสีแดง) นั้นก็ถูกออกแบบมาให้ใช้นิ้วหัวแม่โป้งกด ขณะที่ใช้งานคอนโทรลสติกอยู่นั้นเอง ความแม่นยำที่ได้จากทัชแพดก็อยู่ในเกณฑ์ดี (แต่ยังไม่น่าประทับใจนัก) ถ้าจะให้สะดวกก็คือใช้คอนโทรลสติกจะดีกว่าครับ
พอร์ต เชื่อมต่อด้านซ้ายมือ ก็จะมี USB ให้สองพอร์ต สายแลน และช่องเสียบหูฟังเพียงอย่างเดียว
ด้านขวา มือเป็นตำแหน่งของ SD/MMC Cardreader และ USB อีกพอร์ตหนึ่ง รวมไปถึงรูสำหรับคล้อง Kensington lock ด้วย
ยังไม่จบ ครับ ด้านหลังนอกจากจะเป็นที่อยู้สำหรับก้อนแบตเตอร์รี่ที่ยื่นออกมาแล้ว ยังมีพอร์ต VGA มาให้ด้วย และช่องสำหรับเสียบไฟชาร์จแบต ก็อยู่ด้านหลังนี้เช่นกัน
ฝาครอบ ด้านล่าง ก็มาในรูปแบบง่ายๆ แผ่นใหญ่ๆแผ่นเดียวจบ และลำโพงก็อยู่ด้านใต้เครื่องด้วยเช่นกัน
ไขควงแฉก ธรรมดาก็ไขออกได้ทั้งเครื่องครับ
เปิดออกมา ก็ค้นพบว่า เอ๊ะ มีสลอตใส่ซิมการ์ดด้วย ตรงนี้เท่าที่ทราบข้อมูลมาคือรองรับเครือข่าย 3G เรียบร้อยแล้วครับ ในเมืองนอก Thinkpad บางรุ่นจะถูกขายพร้อมกับแพคเกจอินเตอร์เน็ท 3G ด้วยเลยก็มีเช่นกัน แต่สำหรับประเทศไทย ก็คงยังต้องตามมีตามเกิดกันเหมือนเคย ซึ่งการใช้งานอินเตอร์เน็ทในเครื่อง Thinkpad สมัยนี้ สามารถใช้ได้จากส่วนของโปรแกรมจัดการ Wireless ของตัวมันเองครับ
แบตเตอรืร ี่ ขนาด 5200 มิลลิแอมป์
1.5 กิโลกรัม รวมแบตฯ
1.83 กิโลกรัม รวมสายชาร์จ
มุมมองของ จอในแต่ละข้าง ผมคิดว่าค่อนข้างดีกว่าโน๊ตบุ๊กตลาดหลายๆเครื่องเลยทีเดียวครับ ถึงแม้สีสันจะไม่จัดมากนัก เพราะไม่ได้เกิดมาเพื่อเน้นงานบันเทิงอยู่แล้ว
Software and Other Features
เริ่มจาก เดสก์ทอพ เราจะเห็นบริเวณ System Tray มีไอคอนแปลกๆอยู่ครับ นั้นเป็นเพราะตัวแสดงสถานะของโปรแกรมจัดการ Wireless และ โปรแกรมจัดการพลังงานของ Thinkpad นั้นเอง
ตัวจัดการ Wireless ใช้งานง่าย และแยกประเภทการเชื่อมต่อให้สามารถเรียกใช้ได้ในหน้าต่างเดียวกัน
Power manager
ระบบ Power Plan ของตัวจัดการพลังงานนั้นก็สามารถปรับค่าได้สะดวก และละเอียดมากๆครับ รวมไปถึงสามารถดูสถานะของแบตเตอร์รี่ได้ด้วยว่าเสื่อมไปแล้วมากน้อยแค่ไหน
HDD Protection
และที่ดู เหมือนจะขาดไม่ได้สำหรับโน๊ตบุ๊กสมัยนี้ก็คือระบบ HDD Protection ครับ ที่จะทำงานร่วมกับ Accelero meter ภายใน คอยตรวจจับการเคลื่อนไหวของเครื่อง หากเกิดแรงสะเทือนที่มากเกิน hdd ก็จะถูกหยุดทำงานชั่วขณะนั้นเอง
Performance
- รายละเอียดจาก CPUZ
…ดูเหมือนว่า CPUZ จะไม่ค่อยรู้จัก X100e สักเท่าไหร่
- Super PI 1m
ถ้าคิดซะ ว่า X100e เป็น netbook เครื่องหนึ่ง ก็ต้องบอกได้เลยครับว่า เร็วกว่า Atom มาาาาก สำหรับการคำณวนค่า PI ในระดับทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง
Win RAR Benchmark
โปรแกรม นี้อาจจะสู้ Intel ไม่ได้ เพราะทางโน้นเขามี HT ซึ่งจะจำลองซีพียูคอร์เดี่ยวให้เป็นคอร์คู่ แต่ Athlon neo นั้นเป็นซีพียู single core แท้ๆเลย ความเร็วก็อาจจะไม่ค่อยพุ่งเท่าไหร่
- Cinebench R10
Cinebench R10 ก็เช่นกัน กว่าจะเทสเสร็จ ก็รอกันเหงือกแห้งครับสำหรับ CPU Test แต่ Open GL นั้นกลับพบว่าคะแนนที่ได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว สืบเนื่องมาจากกราฟฟิคบนชิป AMD780G นั้นมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียวครับ
Batterry Eater (100-5) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/thinkpad_x100e/b/17_5_2010_1/Report.html
2 ชั่วโมง 7 นาที กับการรัน Full load ตลอดเวลาในโหมด presentation แต่ปรับความเร็วซีพียูให้เท่ากับโหมด Maximum batterry life
Sisoft Sandra
PCmark 05
คะแนน สบายๆสไตล์ Single Core
3Dmark06
3Dmark 06 ทำคะแนนออกมาได้น่าสนใจพอสมควรครับ จากพลังของชิป AMD 780G
.
.
…หาก ดูจากประสิทธิภาพแล้ว ผมเชื่อว่าหลายๆท่านก็คงจะรู้สึกเฉยๆ แต่ก็ต้องเข้าใจครับว่า X100e นั้นเป็น Thinkpad X Series (เป็นตระกูลที่เน้นเรื่องของการพกพา) ที่มีราคาย่อมเยาว์มากที่สุด ขนาดแทบจะเล็กที่สุด ซึ่งเมื่อพิจารณาจากราคาที่เคาะขายกันที่ราว ๆ17xxx-18xxx แล้วล่ะก็ บอกได้เลยครับว่า จ่ายเงินประมาณนี้ แต่ได้โน๊ตบุ๊กที่ทำงานได้เหมือนกับ netbook ทั่วๆไป แต่สาระสำคัญอยู่ที่เนื้องานคุณภาพในแบบของ Thinkpad ไหนยังจะฟีเจอร์เพื่องานระดับมืออาชีพ และงานธุรกิจอีกหลายอย่าง คุ้มไม่คุ้มอย่างไร ผมก็คิดไม่ค่อยออกแล้วล่ะครับ คนซื้อเท่านั้นแหละครับที่น่าจะตัดสินได้ดีที่สุด
.
.
ขอขอบคุณ
Lenovo