Review : Samsung R439 Notebook
Share | Tweet |
Samsung R439
…ซัมซุง ณ ชั่วโมงนี้ เรียกได้เติบโตในวงการ Consumer Notebook บ้านเราได้อย่างรวดเร็วร้อนแรงจริงๆครับ โดยเฉพาะในกลุ่มโน๊ตบุ๊ก Mainstreme ค่อนไปทางระดับ Value แบบนี้ ซึ่งในวันนี้ผมก็มีโน๊ตบุ๊กระดับ Mainstreme ขนาดจอ 14 นิ้ว เสป็คครอบจักรวาล จากซัมซุงอีกรุ่นหนึ่งมาให้ได้ชมกัน นั้นก็คือ R439 นั้นเองครับ
…โดยในท้องตลาดตอนนี้ R439 นั้นจะมีซีรี่ยส์ย่อยๆ หลายรุ่นมากๆครับ โดยจุดแตกต่างกันของแต่ละซีรี่ยส์ย่อยโดยหลักๆก็จะคือซีพียู และกราฟฟิคชิป แต่โดยพื้นฐานแล้ว บอดี้ กับโครงสร้างหลักๆหลายๆส่วน จะเหมือนกันแน่นอน คือเป็นโน๊ตบุ๊กขนาด 14 นิ้วที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้ทำงานได้รอบๆด้าน ซึ่งเราจะมาดูเสป็คกัน ด้านล่างนี้ครับ
Processor | Intel Core i5 540M |
Chipset | Intel HM55 |
Memory | 2GB DDR3-1066MHZ |
Graphics Adapter | ATI Mobility Radeon HD545v |
Display | 14″ (1366×768) |
Harddisk | 500gb 5400rpm SATA-II |
Optical Drive | DVD-RW |
Network | Broadcom IEEE 802.11B/G/N |
Connection Port | cardreader SD, USBx3 VGA, RJ45, HDMI |
Battery | 44Wh |
Weight | 2.18kg |
OS Bundled | DOS |
เสป็คทั้งหมดนั้นก็ได้ถูกระบุไว้ด้านบนแล้วนะครับ คร่าวๆก็คือเสป็คแบบโน๊ตบุ๊กตลาดๆทั่วไปเลยที่จะมาพร้อมกับซีพียูระดับกลางๆ และกราฟฟิคการ์ดระดับกลางๆ อย่าง Core i5 540 และ ATI Radeon HD545 ซึ่งโดยภาพรวมนั้นก็รองรับการใช้งานที่ครบถ้วนรอบด้าน ทั้งงานบันเทิงหรือแม้กระทั่งงาน content creation ต่างๆได้
บอดี้เป็นพลาสติกคุณภาพดี เฉกเช่นกันที่เราจะพบได้ในโน๊ตบุ๊กยี่ห้อนี้แทบทุกรุ่นครับ บอดี้ผิวสีเงินผิวมันเงาวาว ให้ความรู้สึกเรียบร้อยหรูหราดี
ดีไซน์ก็ไม่ได้ฉีกแนวจากโน๊ตบุ๊กซัมซุงรุ่นอื่นๆมากนักครับ อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันไปบ้่าง ความบางก็ยังไม่ได้จัดว่าบางจัดนัก เพราะว่าเป็นโน๊ตบุ๊กอเนกประสงค์กับซีพียูระดับกลางๆนั้นเอง
แต่สิ่งที่แตกต่างจากรุ่นประหยัดอย่าง R408 ที่ผมเพิ่งได้รีวิวไปเมื่อต้นสัปดาห์ก็คือภายในครับที่ดูดีมีสง่าราศีกว่ากันมาก
คีย์บอร์ดที่มีการจัดวางปุ่มมาที่ผมใช้งานแล้วรู้สึกว่าจะเอนๆเบียดไปทางซ้ายเล็กน้อยๆ แต่ไม่ได้สร้างปัญหาในการใช้งานจนกระทั่งทำให้พิมพ์ผิดไปตลอด โดยรวมๆก็ถือว่าโอเคครับ น้ำหนักปุ่มก็มาในแนวนุ่มลึก แต่ก็ยังคงมีจังหวะที่สั้นคล้ายๆโน๊ตบุ๊กทั่วไป แต่ให้ความมั่นคงที่ดีมากๆครับ คีย์บอร์ดไม่มีโก่งยุบหรือหยุ่นตัวลงไปขณะที่พิมพ์แบบรัวๆ
บริเวณที่วางข้อมือก็มีสีเดียวกับบอดี้ภายนอกครับ ต่างจากรุ่นราคาประหยัดของค่ายนี้ที่ใช้พื้นผิวพลาสติกสากๆ ดูดีมีราคาขึ้นมามากเลยทีเดียว
ทัชแพดนั้นก็ต้องบอกว่าให้ความแม่นยำที่อยู่ในระดับค่อนข้างดีเลยทีเดียวครับ เมื่อเทียบกับรุ่นประหยัดของค่าย(อีกแล้ว) ซึ่งคุณภาพตรงนี้ผมก็บอกได้เลยว่า ตามราคาจริงๆไม่ต้องสืบให้มากความ ส่วนของปุ่มกดนั้น ถึงแม้จะให้ความรู้สึกที่ไม่ได้แน่นหนึบอะไรมากนัก ปุ่มกดแล้วมีเสียงดัง แก๊ก ๆ ทั่วๆไป แต่ว่าก็ให้น้ำหนักที่ค่อนข้างดีครับ
พอร์ตเชื่อมต่อด้านซ้ายมือก็จะมีพอร์ตสำหรับสายแลนด้านซ้ายมือสุด (RJ45) ไล่มาเป็น HDMI และถัดมาอีกเป็น USB อีกสองพอร์ตด้วยกันครับ
ส่วนด้านขวามือก็มี USB มาให้อีกพอร์ต ตามสไตล์โน๊ตบุ๊กค่ายนี้
การ์ดรีดเดอร์แบบ SD (HC) ติดตั้งไว้ด้านหน้า แบบงุ้มลงไปด้านใต้เครื่องนิดหนึ่ง อาจจะต้องคลำๆหากันบ้าง
ด้านใต้เครื่องนั้นจะสังเกตได้ว่ารูระบายอากาศจะไม่ค่อยเยอะ เพราะว่ารูระบายอากาศด้านข้างเครื่องนั้นจะทำหน้าที่ดูดเข้า (ด้านขวาในรูป) และรูด้านหลังเครื่อง จะทำหน้าที่ปล่อยลมร้อนจากฮีทไปป์ออกไปจากเครื่องนั้นเองครับ ซึ่งน่าจะเป็นผลดีกับคนที่ชอบใช้งานโน๊ตบุ๊กวางบนตักบ่อยๆ
แบตเตอร์รี่ขนาด 44Wh ขนาดแบบนี้เรียกว่ามาตรฐานๆครับ ไม่ถือว่าสูงมากหรือต่ำจนเกินไป
ภายในสามารถถอดเปิดฝาออกมาเปลี่ยน HDD , Ram และเห็นฮีทไปป์ที่คลุมตัวซีพียูอยู่เนืองๆครับ
น้ำหนักรวมแบต 2.18 กิโลกรัม
และน้ำหนักรวมสายชาร์จแล้วอยู่ที่ 2.52 กิโลกรัม ซึ่งก็ถือว่าเอาไว้ใส่กระเป๋าเดินทางได้กำลังสบายๆ ไม่หนัก แต่ก็ไม่เบามากนักครับ
Performance
- รายละเอียดจาก CPUZ
เสป็คนั้นมาในแบบพื้นฐานๆมากๆตามที่ได้บอกไปข้างต้นครับ ซึ่งเราจะมาดูกันว่า มันจะแสดงศักยภาพได้แค่ไหน
- Super PI 1m
เปิด Super PI สั่งคำนวณ 1m ทำเวลาได้ 16.2 วินาที ซึ่งโน๊ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู 540 แบบเครื่องนี้หลายเครื่องก็ทำเวลาได้แบบนี้ครับ
- Cinebench R10
Cinebench R10 ก็ทำคะแนนออกมาได้ในเกณฑ์ปกติที่โน๊ตบุ๊กระดับนี้จะทำได้กัน คะแนนกราฟฟิค(Open GL) ก็ทำออกมาได้ในระดับที่น่าพอใจ ดีกว่ากราฟฟิคแบบออนชิปของอินเทลอยู่หลายขุมเลยทีเดียว
ส่วนเวอร์ชั่นใหม่นี่ก็ไม่น้อยหน้าค่ายอื่นๆครับ ในระดับนี้ ก็ถือได้ว่าทำคะแนนออกมาได้ดีครับ
Batterry Eater (100-40%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/samsungr439/b/18_1_2011_1/Report.html
ทดสอบออกมาแบบนี้ก็หมายความว่าน่าจะสามารถใช้งานจริงๆได้ราวๆเกือบ 2 ชั่วโมงครับ ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติสำหรับโน๊ตบุ๊กระดับกลางๆที่มีแบตเตอร์รี่ขนาดประมาณ 44Wh แบบนี้
Sisoft Sandra
PCmark 05
3Dmark06
คะแนนระดับนี้ ใช้งานในระดับเล่นเกมพื้นฐานทั่วๆไป หรือจะไปใช้งาน Content creation ตัดต่อวีดีโอ เบาๆได้อย่างสบายๆครับ
.
.
…บทสรุปของ R439 นั้นก็ต้องขอพูดเรื่องราคาก่อนเลยครับว่า สำหรับรุ่นที่ผมได้รับมาทดสอบนี้นั้น ราคาอยู่ที่ราว 22000-23000 บาท เท่านั้นเองครับ ซึ่งส่วนตัวผมมีความเห็นว่ามันค่อนข้างจะถูกกว่าโน๊ตบุ๊กสเป็คใกล้เคียงกันในตลาดอยู่พอสมควร ประสิทธิภาพที่ทำได้ของโน๊ตบุ๊กในระดับนี้ก็คงไม่ต้องต่อความยาวสาวความยืดให้มากเรื่องว่า มันสามารถตอบสนองการใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม รวมไปถึงใช้งานเล่นเกมที่ไม่ใช้ทรัพยากรณ์โหดร้ายมากนัก หรือจะใช้งานตัดต่อวีดีโอเบาๆเล็กๆได้สบายๆอย่างไม่หงุดหงิดอารมณ์จนเกินไปแน่นอนครับ
…ดีไซน์ของ R439 นั้นก็เป็นที่กล่าวขานกันในหมู่เพื่อนฝูง ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่ว่า มันเป็นโน๊ตบุ๊กที่ออกแบบมาได้เรียบๆ แต่มีสไตล์อีกรุ่นหนึ่ง (ถึงแม้มันจะแอบไปเหมือนกับโน๊ตบุ๊กซัมซุงอีกหลายๆรุ่น) การออกแบบ และวางพอร์ตต่างๆก็ทำมาค่อนข้างลงตัว รวมทั้งพอร์ตต่างๆที่ว่า ก็มีมาให้ใช้งานแบบครบๆ เท่าที่คนใช้คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะต้องการนั้นแหละครับ
สำหรับวันนีก็ต้องขอลาไปก่อน สวัสดี …
.
.
ขอขอบคุณ Samsung