Review : Sony VAIO F series 16″ & 3D Vision supported !
Share | Tweet |
Sony VAIO F
…หลังจากที่ได้รับชมรีวิวของเครื่องแนวบางเบาพกพาสะดวกจากโซนี่ไวโอ้กันไปแล้ว 1 เครื่อง วันนี้ผมก็มีมาให้ชมต่อกันอีกหนึ่งเครื่องครับ ซึ่งไม่ธรรมดาเลย กับ VAIO F series ซึ่งเป็นไวโอ้ที่เน้นการใช้งานทางด้านความบันเทิงเป็นหลัก ขนาดจอ 16 นิ้ว ซีพียู Core i7 และกราฟฟิคจาก NVIDIA พร้อมรองรับการชมภาพยนตร์ และใช้งานคอนเทนท์แบบ 3D ผ่านแว่นสามมิติของทางโซนี่และเทคโนโลยีจอภาพพิเศษสำหรับระบบ 3Dโดยเฉพาะจากโซนี่เช่นเดียวกัน ซึ่งฮาร์ดแวร์ทั้งหมดนี้ จะถูกสนับสนุนจากกราฟฟิคชิปจาก NVIDIA ในรุ่น GT540M ที่รองรับเทคโนโลยี NVIDIA 3D Vision ด้วยนั้นเอง
Processor | Intel Core i7 2820QM |
Chipset | Intel HM65 |
Memory | 4GB DDR3-1333MHZ |
Graphics Adapter | NVIDIA GeForce GT540M |
Display | 16″ (1920×1080) |
Harddisk | 640gb 7200rpm SATA-II |
Optical Drive | Blu-Ray (BD-RW) |
Network | Atheros (IEEE 802.11N) |
Connection Port | cardreader, USB3.0 x2, USB2.0 x1, VGA, RJ45, HDMI |
Battery | 54Wh |
Weight | 3.14Kg |
OS Bundled | Windows 7 Home premium |
…VAIO F นั้นเรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊กเพื่อการใช้งานทางด้านความบันเทิงอย่างแท้จริงครับ ตั้งแต่หน้าจอขนาดใหญ่ถึง 16 นิ้ว ความละเอียดระดับ Full HD 1080P บนโน๊ตบุ๊ก ซึ่งมักจะหาไม่ได้ง่ายๆกันนักในท้องตลาด ซีพียู Core i7 2820QM เจเนอร์เรชั่น 2 พร้อมกับกราฟฟิคจาก NVIDIA พร้อมรองรับการใช้งานเทคโนโลยี 3D ทั้งการรับชมภาพยนตร์สามมิติจากแผ่น Blu-Ray หรือจะเล่นเกมแบบสามมิติ ก็สามารถทำได้ กับแว่นตาที่ติดมาให้พร้อมกับตัวเครื่อง ซึ่งเดี้ยวเราจะมาชมไปพร้อมๆกันครับ ว่าการใช้งาน และความแรง มันจะเป็นอย่างไร
บอดี้ภายนอกนั้นทำออกมาดีไซน์นั้นก็เป็นไปอย่างโน๊ตบุ๊ก Mainstreme ในหลายๆรุ่นที่เคยวางจำหน่ายกันครับ เรียกได้ว่ามันเป็นเอกลักษณ์ของ VAIO ในตอนนี้ไปเลยก็ว่าได้ กับเส้นสายทำนองนี้
…ความหนาอยู่ในเกณฑ์ที่ผมคิดว่าน่าจะพอรับได้ การพกพาอาจจะทำได้ไม่สะดวกด้วยขนาดจอและด้วยวัตถุประสงค์ของตัวเครื่อง แต่ถ้าจะให้พกไปใช้งานจริงก็ทำได้อย่างไม่ลำบากนักครับ ตัวบอดี้นั้นก็มีการเก็บงาน ประกอบชิ้นส่วนต่างๆที่ดีตามสไตล์โซนี่อยู่แล้ว วัสดุที่ใช้ถึงจะเป็นวัสดุโพลีคาร์บอเนต ซึ่งไม่ใช่พลาสติกธรรมดาๆอย่างที่หลายคนอาจจะเข้าใจ โพลีคาร์บอเนตในโน๊ตบุ๊กโซนี่แทบจะทุกรุ่นนั้นเป็นโพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติแข็งแกร่ง ทนทานต่อการกระแทก ซึ่งในอุตสาหกรรมทุกวันนี้โพลีคาร์บอเนตยังถูกนำไปใช้เป็นเครื่องป้องกันกระสุนได้อีกด้วยครับ
เมื่อกางฝาออกมาก็จะพบกับหน้าจอขนาด 16 นิ้ว ที่มีความถี่การทำงานถึง 120Hz ที่ต้องสูงขนาดนี้ก็เพื่อการใช้งานกับเทคโนโลยีสามมิติ ร่วมกับแว่นตาสามมิติแบบไร้สายด้วยนั้นเองครับ ซึ่งผมจะได้อธิบายในภายหลังว่าการใช้งานแว่น และรูปร่างหน้าตาของมันเป็นอย่างไร
สำหรับในส่วนนี้ก็ลองดูแว่นตากันไปคร่าวๆครับว่าโซนี่ ตั้งใจทำแว่นสามมิติตัวนี้กันแค่ไหน ซึ่งในส่วนต่อไปของบทความ ผมจะสาธิตการใช้งานระบบสามมิติในโน๊ตบุ๊กโซนี่เครื่องนี้ให้ได้ชมกัน
..บริเวณส่วนติดต่อกับผู้ใช้นั้นก็ออกแบบมาให้ค่อนข้างเป็นมิตรพอสมควร การใช้งานปุ่มต่างๆก็ไม่ค่อยยุ่งยากอะไรครับ ไล่ตั้งแต่ Media Console ที่มีปุ่มสำหรับควบคุมการเล่นสื่อต่างๆ ที่เป็นปุ่มแบบสัมผัส ใช้งานได้ง่าย ไล่มาจนถึงคีย์บอร์ดสไตล์เครื่องเดสก์ทอพ แบบมี Numpad มาให้ด้วย ซึ่งการจัดวางปุ่มก็จะมีอารมณ์ที่แบบว่า เอียงไปทางซ้ายเล็กน้อย แต่ถ้านั่งพิมพ์และวางมือให้ถูกต้อง ก็จะพบว่า ช่องไฟระหว่างปุ่มนั้น สม่ำเสมอดีมากๆ ไม่มีอาการกดผิดกดถูกเวลาพิมพ์เร็วๆแน่นอน ส่วนน้ำหนักของปุ่ม ก็มีจังหวะการกดที่สั้น น้ำหนักเบาๆ แต่ปุ่มให้ความมั่นคงที่ค่อนข้างดีกว่าหลายๆยี่ห้อครับ
ทัชแพดขนาดกำลังดี ใช้งานสะดวก ไม่ค่อยมีอาการหน่วงๆให้เห็นครับ แต่ว่าในการใช้งานถ้าจะให้ใช้จริงจัง ทัชแพดก็ดูเหมือนว่าจะมีขนาดเล็กไปเมื่อเทียบกับความละเอียดของหน้าจอ คือต้องสาวกันหลายรอบหน่อยกว่าจะไปถึงจุดหมายได้ ซึ่งการแก้ปัญหาก็ไม่ยากครับ แต่ต้องอาศัยความคุ้นเคย คือต้องปรับความเร็วเคอร์เซอร์ในวินโดวส์ขึ้นสักนิดหนึ่ง ถึงจะเรียกได้ว่าใช้งานได้
บริเวณที่พักข้อมือ ก็มีดีไซน์ที่สวยงาม เหมือนเซาะเป็นนูนลอยขึ้นมาจากตัวบอดี้โดยรวมๆ และเซาะร่องลายคำว่า VAIO อย่างสวยงามครับ
…สติกเกอร์แสดงสรรพคุณ สมศักดิ์ศรีมากๆ
พอร์ตเชื่อมต่อทางด้านซ้ายมือนั้นก็จะมีพอร์ตที่ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะต้องต่อมันไว้ตลอดอย่างเช่น DSUB หรือ HDMI ไล่มาเป็น LAN (RJ45) และ USB 3.0 อีกสองพอร์ต ซึ่งผมถือว่าวางตำแหน่งมาใช้งานได้สะดวกครับ เพราะว่าถ้าไปวางไว้ด้านขวา อาจจะติดขวางทางการใช้งานเมาส์ภายนอกได้
ด้านขวาก็เป็นไปตามคาดว่ามี USB 2.0 มาให้ พอร์ตหนึ่ง เหมือนจะจงใจว่าให้ด้านนี้ไว้เสียบเมาส์เท่านั้นเองครับ
ทางด้านหน้า รองรับงานตัดต่อระดับมืออาชีพกับพอร์ต IEEE1394 หรือ Mini Firewire ไล่ไปเป็นสวิชเปิดปิดไวเรส และช่องเสียบเมมโมรีแบบเมมโมรีสติกหลากหลายแบบ
…แบตเตอร์รี่ขนาด 54 Wh ถือว่าขนาดระดับกลางๆ ไม่ได้ใหญ่จนน่าตกใจสำหรับเครื่องไซส์นี้ครับ
ด้านใต้จริงๆแล้วสามารถเปิดฝาออกมาทำการเปลี่ยนเมมโมรี และฮาร์ดดิกส์ได้ ซึ่งก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับการอัพเกรดที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำเองได้
น้ำหนักรวมแบต 3.14 กิโลกรัม ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่เบา สำหรับโน๊ตบุ๊กไซส์จอ 15 นิ้วขึ้นไปแบบนี้
น้ำหนักรวมสายอะแดปเตอร์แล้วก็จะหนักสุทธิ 3.85 กิโลกรัม ถือว่ายังพอที่จะพกพาไปได้ หากไม่ได้โหนรถเมล์แล้วแบกสัมภาระมากๆ
…การใช้งานระบบสามมิติ นั้นก็จะไม่มีอะไรยุ่งยากนักครับ ซึ่งการใช้งานสามมิติที่ว่านั้น ก็จะต้องใช้งานร่วมกับโน๊ตบุ๊กของโซนี่ที่รองรับการใช้งานร่วมกับแว่นสามมิติ ตามภาพด้านบน
ก่อนอื่นจะใช้งาน ก็ต้องกดปุ่มเปิดการใช้งานแว่นสามมิติก่อนครับ ตัวแว่นนั้นจะใช้แหล่งพลังงานจากแบตเตอร์รี่แบบเม็ดกระดุม สามารถเปลี่ยนได้ ซึ่งใช้งานกว่าจะหมด ก็นานพอสมควรแหละครับ ไม่ต้องเป็นห่วงไป
…หลังจากนั้นก็ให้ตรวจสอบว่า เครื่องของเรานั้นถูกตั้งค่ามาให้ใช้งาน Stereoscopic 3D แล้วหรือยัง ใน NVIDIA Control Panel ซึ่งถุ้าหากว่ายัง ก็ให้ทำการ Run Setup Wizard และตัว Control panel ก็จะ enable ให้เองครับ ในกระบวนการทั้งหมดนี้ ตัวซอฟท์แวร์จะทำการค้นหาจับคู่กับตัวแว่นสามมิติโดยอัตโนมัติ ไม่มีขั้นตอนอะไรยุ่งยากครับ แค่ให้ทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ
…ซึ่งการใช้งานสามมิตินั้น ก็จะรองรับกับเกมหลายๆเกม เท่าที่ทาง NVIDIA จะมี Profile มาให้ ซึ่ง profile เหล่านี้จะมีการอัพเดตอยู่เรื่อยๆ แต่ส่วนหลักๆที่ผมคิดว่าคนที่ใช้ VAIO น่าจะได้ใช้กันเลยก็คือการเล่นภาพยนตร์แบบ 3D BluRay ที่ซึ่งฮาร์ดแวร์ของ VAIO F เครืองนี้ ก็รองรับกันอยู่แล้ว ตั้งแต่จอที่รองรับ 3D ไปจนถึงตัวเครื่องที่มีตัวควบคุมแว่นสามมิติแบบไร้สาย พร้อมกับตัวแว่นสามมิติที่ติดมาให้ในกล่อง
…การรับชมภาพยนตร์ BluRay 3D นั้นก็จำเป็นที่จะต้องมีซอฟท์แวร์ที่รองรับด้วยนั้นเอง ซึ่งจากข้อมูลที่ผมมี ตอนนี้ทาง NVIDIA ได้รับรองซอฟท์แวร์อยู่สองตัวจากสองค่ายดัง ก็คือ Corel กับโปรแกรม WinDVD ที่โซนี่แถมมาให้ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว และอีกตัวหนึ่งก็จะเป็นของ CyberLink ครับที่ไม่ได้มีติดมาให้ในเครื่องของโซนี่
…การใช้งานกับเกมสามมิติ เกมฮิตๆดังๆหลายๆเกมก็สามารถใช้งานได้ไม่มีปัญหาครับ ซึ่งก็คงต้องตรวจสอบกับทาง NVIDIA หรือกับในตัวไดร์เวอร์ที่ติดมากับเครื่องอีกทีหนึ่ง และจากการที่ได้ทดลองใช้งาน กับโปรแกรม 3DMark06 ก็พบว่ามันใช้งานได้ด้วยครับ แต่ก็คงไม่สามารถเก็บภาพสามมิติ แบบทะลุจอๆ มาให้คุณผู้อ่านได้ชมกันได้ เพราะภาพแบบนั้น จำเป็นที่จะต้องสวมแว่นตาสามมิติของโซนี่เท่านั้นถึงจะมองเห็นได้ งานนี้ บอกได้คำเดียวเลยครับ ว่าต้องไปลองด้วยตนเอง ถึงจะรู้ซึ้งถึงความมันส์จริงๆ ซึ่งระหว่างการใช้งาน 3D Vision กับเกมกราฟฟิคแบบนี้ อาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในเชิงของ framerate ได้บ้างเล็กน้อยครับ
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
…ขยับมาเป็น Core i7 Quadcore 2820 กันแบบเต็มสตรีม พร้อมทั้งกราฟฟิค NVIDIA GT540 ฮาร์ดดิสก์รอบหมุน 7200RPM เรามาลองชมประสิทธิภาพกันเลยครับ
WinRAR
- Cinebench R10
คะแนนออกมาระดับนี้ เห็นแล้วสะดุ้ง เพราะมันเร็วกว่า desktop ที่บ้านผมอีกครับ
Ciebench R11.5
แรงเกินคำบรรยายจริงๆ งานนี้ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานอะไร ก็เร็วแรงได้ไม่แพ้ PC ตั้งโต๊ะกันเลยทีเดียวครับ
Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/vaiof/b/13_3_2011_1/Report.html
1 ชั่วโมง 38 นาที ถือว่าพอใช้การได้ครับ สำหรับซีพียู จอ และการ์ดจอสุดโหดขนาดนี้ แต่ก็ยังคงทำเวลาได้เฉียดสองชั่วโมง
AIDA64 Benchmark
PCmark 05
คะแนนระดับนี้ สามารถใช้ทำงาน Content creation รวมไปถึงใช้งานทั่วๆไปได้สบายหายห่วง เหมือนๆกับเดสก์ทอพพีซียุคใหม่ได้แน่นอน
3Dmark06
การทดสอบ 3Dmark ตรงนี้ผมได้ทำการปิดการทำงานของระบบ 3D Stereoscopic ไปนะครับ เพราะว่าถ้าหากว่าเปิดไว้ คะแนนก็จะตกจนเอาไปใช้อ้างอิงไม่ได้ ซึ่งก็ถือได้ว่าคะแนนระดับนี้อยู่ในระดับที่สูงพอสมควรเลย
.
.
…VAIO F ก็เป็นโน๊ตบุ๊กเพื่อความบันเทิงที่เรียกได้ว่า มีความสุดขั้วในหลายๆด้านอีกเครื่องหนึ่งครับ ตั้งแต่เทคโนโลยี และฟีเจอร์ ที่ใส่มาให้แน่นเอี้ยด ทั้งจอความละเอียดสูง ขนาด 16 นิ้ว รองรับการรับชมคอนเทนท์แบบสามมิติ กราฟฟิคจาก NVIDIA ที่คอยเป็นหัวใจในการทำงานในการใช้งาน 3D แว่นตาสามมิติ แบบไร้สาย รวมไปถึงซีพียูสุดแรงอย่าง Core i7 2820 ทางด้านการเชื่อมต่อ ก็ไม่น้อยหน้าด้วย USB 3.0 ที่อัดแน่นมาถึงสองพอร์ต รวมไปถึงไดร์ฟ BD-RW ที่ไม่ได้จะหากันง่ายๆในโน๊ตบุ๊ก ณ ชั่วโมงนี้
…การออกแบบก็ทำออกมาได้แนวเรียบๆหรูๆ สบายๆ ไม่หวือหวามาก แต่ก็ยังคงดูดีตามสไตล์โซนี่ เส้นสายหลายๆส่วน ผมรู้สึกคุ้นเคย จับปุ้บ ก็รู้สึกเลยแหละครับ ว่านี่แหละ ไวโอ้ นะ มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่ไวโอ้ ซึ่งตรงนี้ จะถูกใจใครอย่างไร มันก็เป็นรสนิยมของแต่ละคน แต่ส่วนตัวผมก็ค่อนข้างชอบในการออกแบบตรงนี้เหมือนกันครับ
ขอขอบคุณโซนี่ไทย
fgsdfgsd