Review : Sony VAIO T series Ultrabook (SVT14117CHS)
Share | Tweet |
Review : Sony VAIO T series Ultrabook (SVT14117CHS)
…นับตั้งแต่มีการเปิดตัวโปรเซสเซอรื Intel 3rd generation Core i series ก็มี ultrabook จากผู้ผลิตพีซีหลายๆค่ายที่เราคุ้นเคย ทยอยเปิดตัวกันมาอย่างไม่ขาดสาย ทั้ง ultrabook ที่มีขนาดบางเบาไปจนถึง ultrabook ที่เน้นสมรรถนะแต่ยังคงไว้ซึ่งคอนเซ็ปต์ในการใช้งานแบบ on the go ตามสไตล์อัลตราบุค VAIO T series ก็เรียกได้ว่าเป็นอัลตราบุคที่แพ็คเอารูปร่างหน้าตาที่มีรูปลักษณ์แบบเชื่อไม่ทิ้งแถว Notebook ไฮเอนด์อย่าง Vaio Z และมีขนาดที่ไม่ได้เล็กจนเกินไป ตลอดจนมี DVD/Blu-Ray drive ติดมาให้ในรุ่น 14 นิ้วอีกด้วยครับ
Processor | Intel Core i7 3517U 1.9Ghz 4MB L3 cache |
Chipset | Intel HM77 |
Memory | 4GB DDR3-1600MHz |
Graphics Adapter | Intel HD4000 |
Display | 14″ 1366*768px |
Harddisk | 500GB 5400RPM + SSD 32GB |
Optical Drive | DVD-RW |
Network | Atheros AR9485WB (Wireless N 150 2.4GHz) |
Connection Port | USB2.0, USB3.0, HDMI,SD+MS Duo Cardreader |
Battery | UNKNOWN |
Weight | 1.92Kg |
OS Bundled | Windows 8 Home Edition |
…รายละเอียดของเครื่องส่วนใหญ่ก็มาแบบครบครันพอใช้งานได้ดีสำหรับโลกทุกวันนี้ครับ เท่าที่สังเกตเนี่ยคือตัวเครื่องจะหนักไปที่ตัวซีพียูเป็นตัว top อย่าง Core i7 ส่วนของกราฟฟิคก็ยังคงเป็นแบบอินติเกรต Intel HD4000 ตลอดจนเมมโมรี 4GB และฮาร์ดดิสก์ 500GB + SSD 32GB ที่มีไว้สำหรับการทำ cache เพื่อให้สอดรับกับมาตรฐานอัลตราบุคของทาง Intel ในเรื่องของการตอบสนองต่อการใช้งาน ดีวีดีไดร์ฟมีมาให้ แต่น่าเสียดายจุดหนึ่งที่การ์ดไวเรสของ Atheros ตัวนี้ ยังคงเป็นแบบ 2.4GHz ธรรมดาและรองรับที่ความเร็ว Wireless N 150Mbps เท่านั้น
..
…styling โดยรวมนั้นเมื่อมองมุมนี้ ใครที่เคยอ่านรีวิว VAIO Z ตัวล่าสุดที่ผมเคยเขียน ก็น่าจะคุ้นตากันดีครับ ขอบเครื่องและการเล่นเส้นสายของเครื่อง ก็จะประมาณนี้เลย แค่เราจะรู้สึกว่า T series จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า VAIO Z พอสมควร ผมเข้าใจว่าทางโซนี่ พยายามจะวาง T series ให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรอบด้าน และมีฟีเจอร์ของ Ultrabook มาในขนาดที่พอเหมาะ ไม่ได้บางเบามากนัก (แล้วตัด Optical drive และการ์ดจอออก)แบบ VAIO Z ครับ
ตัวเครื่องหากมองกันจริงๆจะพบว่ามันไม่ได้บางมากนัก ตัวบอดี้ที่เป็นฝาแผ่นๆเนี่ยทำจากอะลูมิเนียม เก็บงานมาแบบ brushed chrome แซมด้วยแมกนีเซียมอัลลอยผสมๆกันไปครับ
เส้นสายต่างๆดูแล้วก็ไม่ต่างอะไรไปจาก VAIO ในยุคหลังๆมา ซึ่งผมคิดว่าเป็นแนวทางที่ดี เพราะเราจะเห็นโน๊ตบุ๊กหลายๆค่ายทุกวันนี้พยายามจะลอกเอาแบบของ MacBook/MacBook Air มาเป็นต้นแบบกันเสียทั้งนั้น
…คีย์บอร์ด นั้นจะมีลักษณะบางๆแบนๆ กดแล้วจะให้ความรู้สึกว่าจังหวะการกดค่อนข้างสั้น อาการกดไม่ติดนั้นผมไม่ค่อยพบเสียเท่าไหร่ เลย์เอาท์วางมาได้ค่อนข้างพอดีแล้วครับ ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเบียดกันจนเกินไป แต่จะพบว่าการใช้พื้นที่เครื่องขนาดตั้ง 14 นิ้วแบบนี้ยังถือว่าไม่ค่อยคุ้มค่าเสียเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ดี การใช้งานใช้งานได้สะดวก ก็ถือว่าโอเคมากๆแล้ว
…ทัชแพดมีความเป็นลิเนียร์ (เชิงเส้น) ค่อนข้างดีมาก ไม่มีอาการวืดวาด ความไวของแกนแนวตั้งและแนวนอนก็อยู่ในระดับที่เท่ากันดี ใช้งานมัลติทัชได้สะดวกมากๆ ตัวเครื่องติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8 Home Edition มาให้ ก็พบว่าทัชแพดตัวนี้มีขนาดที่พอที่จะทำให้ใช้งานอินเตอร์เฟสเก๋ๆอย่าง Metro ได้สะดวกมากโดยไม่ต้องพึ่งทัชสกรีนเลยทีเดียวครับ แต่สำหรับโมเดลในบ้านเราหากต้องการจอทัชสกรีน ก็จะมีในรุ่น 13 นิ้วครับ
.
พอร์ตเชื่อมต่อด้านซ้ายมือนั้นจะพบว่ามีรูระบายอากาศ ช่องสำหรับ USB 3.0 พร้อมฟีเจอร์ sleep & charge สามารถใช้ชาร์จไฟให้โทรศัพท์มือถือได้แม้ปิดเครื่อง พอร์ตแลน RJ45 ช่อง HDMI แบบเต็มขนาด และ DSUB แบบเต็มขนาด
ด้านข้างขวานี้จะมีการติดตั้งไดร์ฟ DVD มาให้ ตลอดจนแจ๊กหูฟังและไมโครโฟน USB2.0
ด้านใต้เครื่องก็ดูเรียบง่ายเหมือนๆกับโน๊ตบุ๊กทั่วๆไปครับ สามารถเปิดฝาออกมาทำการติดตั้งอุปกรณ์ภายในได้ค่อนข้างง่าย ทั้งฮาร์ดดิสก์ และแรม ตลอดจนการ์ด Mini PCI-E ต่างๆก็สามารถทำได้เช่นกัน
…การ์ดรีดเดอร์แบบ SD และ MS Pro Duo มาอยู่คู่ๆกันตรงนี้
น้ำหนักรวมแบตเตอร์รี่ราว 1.8 กิโลกรัม
เมื่อรวมสายชาร์จอยู่ที่ 2.1 กิโลกรัม ถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ ค่อนไปทางเบา สำหรับเครื่องขนาด 14 นิ้ว
Performance
- รายละเอียดเครื่อง
รายละเอียดดูกันให้ชัดเจนสำหรับซีพียู Core i7 ในเครื่อง VAIO T series ตัวนี้เป็นรุ่นที่มีรหัสลงท้ายด้วยเลข 7 คือมีการ optimized มาสำหรับ ultrabook โดยเฉพาะ มี base clock ที่ค่อนข้างต่ำที่ 1.9Ghz และสามารถเร่ง turbo boost ได้ถึง 3.0GHz และสังเกตคือจะมี L3 cache อยู่ที่เพียงแค่ 4mb เท่านั้นครับ (core i7 ในแล็ปท๊อปปกติจะมี 6mb)
Super PI 1M
เรามาดู Super PI 1M ก็พบว่าตอกเวลาไปที่ 12.8 วินาที ถือว่าเร็วพอสมควรครับ แต่ Core i7 สำหรับ ultrabook แบบนี้ก็ยังคงสู้ Core i7 เวอร์ชั่นที่อยู่ในโน๊ตบุ๊กปกติไม่ได้อยู่ดี แต่ก็ทำความเร็วได้ดีกว่า Core i5 อยู่ครับ
Ciebench R11.5
คะแนนผลทดสอบ Cinebench ถือว่าทำได้พอสมควร คะแนนซีพียูถึงแม้จะไม่แรงกระฉูดมาก แต่ก็น่าจะพอพึ่งพาได้ครับ
AIDA64 Benchmark
CACHE & MEMORY BENCHMARK
DISK BENCHMARK
ความเร็วฮาร์ดดิสก์อยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้งานได้ครับ Access time ของตัว 500GB นั้นค่อนข้างจะสูงอยู่ที่ระดับ 18ms (ยิ่งต่ำยิ่งดีครับค่านี้) และส่วนของ SSD 32GB ในเครื่องนี้นั้นก็เรียกได้ว่าทำความเร็วการอ่านได้ในระดับกลางๆ (200-300mb/s) ที่เร็วจริงๆที่ผมเคยเห็นสำหรับ SSD นั้นจะอยู่ที่ราว 400 ขึ้นไปครับ
Batterry Eater (100-5%) ทดสอบในโหมดประหยัดพลังงาน
…การทดสอบ ล็อคความเร็วซีพียูในโหมดประหยัดพลังงานให้ได้ความเร็วต่ำที่สุด 50% และ ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry Eater ในโหมด Classic ซึ่งซีพียูและกราฟฟิคจะทำงานเต็ม 100% เวลาที่ได้ สามารถบ่งบอกได้ถึงเวลาที่สามารถนำเครื่องออกไปใช้งานในสถานการณ์จริงได้ ค่อนข้างใกล้เคียง
http://vmodtech.com/main/wp-content/uploads/northbridge/sonyultrabook/b/2_11_2012_1/Report.html
152 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 32 นาที ซึ่งถือว่าทำได้กลางๆค่อนไปทางน้อยครับสำหรับเครื่องที่เราน่าจะคาดหวังการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าแบบ ultrabook แบบนี้ สำหรับการใช้งานจริงผมประเมินให้ว่าน่าจะอยู่ได้ราวๆ 3-4 ชั่วโมง ไม่น่าเกินนี้ครับ
PCMark 05
คะแนน PCMark ก็ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเลยทีเดียวอนึ่งคงเป็นเพราะคะแนนในส่วนของ CPU score และ HDD Score ที่ได้ SSD มาช่วยเป็นสำคัญ
3Dmark06
3Dmark11
คะแนนของ 3Dmark ก็เรียกได้ว่าพอถูไถใช้งานได้ครับ เรียกได้ว่ากำลังส่วนใหญ่มาจากซีพียู i7 เสียทั้งนั้นเลย เท่านี้ก็สามารถใช้เล่นเกมออนไลน์พื้นๆ ตลอดจนเกมเก่าๆช่วงยุคปี 2007-2009 ได้อย่างลื่นไหลแล้วครับ
.
….สมรรถนะ ส่วนใหญ่เท่าที่ทดสอบออกมา อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจมากเลยทีเดียวครับ อย่างที่ได้บอกไปตั้งแต่เริ่มบทความว่า T series เครื่องนี้ค่อนข้างที่จะมีสเป็คที่หนักไปทางตัวซีพียู อุปกรณ์แวดล้อมอื่นๆก็ถือได้ว่าตามมาตรฐานสำหรับ Ultrabook สำหรับทุกวันนี้ มีที่เด่นขึ้นมาก็คงจะเป็นเรื่องของ DVD drive ที่มีติดมาให้ ซึ่งดูๆไปแล้วก็เหมือนเป็นเครื่องที่เน้นการใช้งานที่ครบครัน ในขนาด 14 นิ้ว ทีเรียกได้ว่าเป็นขนาดสำหรับโน๊ตบุ๊คอเนกประสงค์ คือไม่ใหญ่และเล็กจนเกินไปสำหรับการใช้งานเป็นพีซีเครื่องหลักครับ ซึ่งก็ต้องสรุปว่า ใครที่กำลังมองหาเครื่องไว้ใช้งานแบบเกือบจะเป็นเครื่องหลัก สามารถพกพาได้สะดวกพอสมควร มีการตอบสนองที่รวดเร็วแบบ Ultrabook (resume จาก sleep ได้เร็ว) และราคาไม่แพงมากจนเกินไป (สนนราคาที่ 34900 บาท) ก็ลองไปชมตัวจริงแล้วตัดสินใจกันครับ
.
.
.