Review : Tenda N60 Dualband Wireless N600 router
Share | Tweet |
…ช่วงนี้ผมรู้สึกตลกๆตัวเองที่ว่าทำรีวิวอุปกรณ์เนทเวิร์คมาหลายตัวมากๆ บางทีก็รู้สึกว่าได้เขียนอธิบาย ฟีเจอร์อะไรๆที่ซ้ำไปซ้ำมา ก็แหงล่ะครับ ฟีเจอร์ที่เราเห็นๆกัน มันก็เกิดมาจากมาตรฐาน ถ้าอย่างเนทเวิร์คที่เราคุ้นๆกันก็คงจะเป็นมาตรฐานของทางฝั่ง IEEE เอาล่ะวันนี้เรื่องของเราก็คือ “Tenda N60″ เป็นไวเรสเร้าเตอร์ แบบ Dual band ที่ทาง Tenda เรียกมันว่า “Concurrent Dual Band Wireless N600 Gigabit Router” ชื่อยาวมากครับ แปลอธิบายให้ง่ายๆว่า เป็นเร้าเตอร์แบบดูอัลแบนด์ (2.4+5GHz) ความเร็ว 300Mbps พร้อมพอร์ตกิกาบิทอีเธอร์เนท นั้นเองครับ
…เจ้า N60 นี้ทาง Tenda วางตำแหน่งของมันให้เป็นเร้าเตอร์ที่มีไว้ตอบสนองการใช้ชีวิตของผู้คนสมัยใหม่ ที่เน้นบริโภคคอนเทนท์แบบ HD และมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆภายในบ้านเข้ากับระบบแลนไร้สายความเร็วสูง (ผิดกับคราวก่อนที่เราได้เห็นเจ้าเร้าเตอร์ W303R ที่อันนั้นจะเน้นเอาไว้ทำการให้บริการแนว public accesspoint)
…ภายในกล่องของ N60 ก็จะมาพร้อมกับสายแลน CAT6 และอะแดปเตอร์สำหรับจ่ายไฟ DC ให้ตัวเร้าเตอร์ และแผ่นซีดีที่จะนำเข้าสู้ wizard การติดตั้งที่ยังคงอิงการเซ็ตอัพผ่านเว็บเป็นหลัก และคู่มืออย่างละเอียดภายในแผ่นซีดีครับ
รูปทรงก็จะสังเกตได้ว่า มีลักษณะที่ดูทันสมัยขึ้น สีขาวนั้นมีการเคลือบผิวมาให้มีลักษณะมันๆเงาๆเล็กน้อยด้วย
ไฟ LED ยังคงมีมาให้อย่างเต็มที่เช่นเคย
พอร์ตเชื่อมต่อก็จะพบว่ามีพอร์ต WAN มาให้สำหรับเชื่อมต่อกับโมเดม 1พอร์ต และพอร์ต LAN Gigabit อีก 3 และมีพอร์ตสำหรับการติดตั้ง IPTV set top box โดยเฉพาะมาให้อีก 1 พอร์ตครับ นอกจากนี้ในมุมที่ผมไม่ได้ถ่ายมาซึ่งเป็นความผิดพลาดของผมเอง คือจะมี USB port สำหรับการทำ printer sharing หรือ cloud storage (เสียบไดร์ฟแบบ USB) มาให้อีก 1 ช่องด้วย
…นอกจากความสามารถในการทำระบบ cloud ย่อมๆและ IPTV เรื่องของความเร็วนั้น Tenda N60 นั้นรองรับการทำงานกับมาตรฐานของระบบแลนไร้สายอย่าง IEEE802.11N ทั้งย่าน 2.4 และ 5GHz โดยมีสายอากาศทั้งหมด 2 ชุด (ย่านละชุด) ซึ่งก็หมายความว่าเจ้า N60 นี้ไม่มี MIMO นะครับ ซึ่งสายอากาศแต่ละอันที่ติดตั้งให้เห็นเด่นเป็นสง่า แท่งขาวๆนั้นก็จะมี gain อยู่ที่ 5dBi ทั้งสองแท่ง(ไม่สามารถขันออกได้) แต่ละแท่งก็จะทำหน้าที่รับผิดชอบคนละย่านความถี่กันไป (2.4 และ 5) ส่วนความเร็วในการรับส่งข้อมูลนั้นก็รองรับเป็น Wireless N 300Mbps ทั้งสองย่าน รวมๆเราก็จะเรียกมันว่าเป็น “N600″ นั้นเองครับ
…ดังนั้นหมายความว่า เร้าเตอร์ที่เป็น dual band แบบนี้ เวลาเราจะ connect หากอุปกรณ์เนทเวิร์คของเรานั้นเป็น Dualband เหมือนกัน เราก็จะเห็น SSID ของ Accesspoint ทั้งสองชื่อ แต่ถ้าหากอุปกรณ์เรารองรับแค่ย่านความถี่ใดย่านความถี่หนึ่ง ก็จะเห็นเพียง access point เดียวครับ
การตั้งค่าครั้งแรกนั้นก็พอจะเข้าใจได้ง่ายๆว่าเปิดมา ก็ให้เซ็ตค่าที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เนท และเซ็ต Wireless Security ตั้งพวกรหัสผ่านของเครือข่ายไร้สาย
แวะมาดูอินเตอร์เฟสคร่าวๆ ดูแล้วก็อาจจะต้องใช้เวลาทำความเข้าใจเล็กน้อยสำหรับมือใหม่ แต่ก็สามารถดูค่าได้ละเอียดหลายๆอย่าง อย่างเช่นในภาพนี้จะสามารถแสดงการวิ่งของ traffic ในพอร์ต WAN (อินเตอร์เนท) ได้ด้วย
การจำกัดสิทธิ์การเข้าใจก็สามารถทำได้ละเอียดถึงขั้นกรอง MAC Address
สามารถตั้ง User group ของไอพีแต่ละเลขได้ เพื่อทำการ cap ความเร็ว(QOS) หรือจำกัดสิทธิ์การใช้งานก้ได้เช่นกัน
อันนี้จะเป็นการกำหนด QOS หรือกำหนดแบนด์วิทด์ที่ลูกข่ายแต่ละเครื่องจะสามารถใช้งานได้
Virtual server ก็เหมือนเป็นการ forward port นั้นแหละครับ นอกจากนี้ก็ยังจะสามารถทำ DMZ host, uPnP, DDNS ได้อีกด้วย
ส่วนของฟีเจอร์ USB Storage sharing นี้เราสามารถกำหนดสิทธิ์ directory ที่เราแชร์ไว้ให้ได้ว่าอันไหนจะให้แสดง หรือไม่แสดง หรือให้อ่านได้อย่างเดียว หรือจะทั้งอ่านทั้งเขียน
การเข้าถึง USB Storage บนตัวเร้าเตอร์ก็ทำได้ไม่ยากครับ เพียงแค่พิมพ์ \ตามด้วยไอพีของตัวเร้าเตอร์ ใน explorer หรือจะเข้าไปใน workgroup ในส่วนของ network ของ windows explorer ก็จะเจอเช่นกันหากคุณเซ็ตให้มันอยู่ใน workgroup เดียวกัน ส่วนการก๊อปปี้ไฟล์ด้านบนนั้นเป็นการ อัพโหลดจากคอมพิวเตอร์ของผม ขึ้นไปยัง storage ที่แชร์ไว้ซึ่งเป็น SD Cardreader
ส่วนอันนี้เป็นความเร็วที่สามารถดาวโหลดได้ ทั้งหมดนี้ทดสอบด้วย Wireless N 300mbps บนคลื่น 5GHz ครับ
.
.
…เรียกได้ว่าเป็นเร้าเตอร์สำหรับการใช้งานภายในบ้าน หรือสำนักงานขนาดย่อมๆ ที่มีฟีเจอร์มาให้ครบครันมากๆ ทั้งในแง่ของมาตรฐานความเร็ว (Gigabit ethernet + Wireless N 300mbps) ขาดก็แต่เรื่องของ MIMO ที่ดูเหมือนจะถูกละเลยไปบ้าง เพราะกลายเป็นว่าพอพยายามจะใช้เสาภายนอกที่มี gain เยอะๆ ก็กลายเป็นว่าไม่สามารถติดตั้งเสามากๆเพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยี MIMO ได้ ซึ่งนอกจากนี้ก็มีเรื่องน่าเสียดายอีกเรื่องก็ตรงที่เสาที่ว่าติดอยู่ภายนอก ไม่สามารถขันถอดเปลี่ยนได้อีกด้วยครับ
…ผมคิดว่าภายในราคา 3000 บาทนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผลอยู่ครับ ใครที่สนใจเร้าเตอร์ที่มีฟีเจอร์แบบนี้ ความเร็วก็มีให้ใช้งานกันแบบพอดีๆ สมกับยุคปี 2012 Tenda N60 ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งครับ
.
.
ขอขอบคุณ
บริษัท PLENTY COMPUTER
www.plentycomputer.com Tel . 02-312-3644