Review : Toshiba Satellite M500
Share | Tweet |
Toshiba Satellite M500
…ทุกวันนี้ดูเหมือนว่า ตลาดโน๊ตบุ๊กนั้น นอกจากจะมีการเจริญเติบโตที่มากจนน่าใจหาย มีการแข่งขันกันสูง แล้ว ยังจะมีการออกโน๊ตบุกรุ่นใหม่ๆ และมีการซอยรุ่นย่อย ให้มีทางเลือกสำหรับคนที่งบน้อย ลดทอนเสป็คกันอย่างละเอียดยิบกันจริงๆครับ และแน่นอน สำหรับวันนี้ เราก็มีโน๊ตบุ๊กขนาดกลาง ที่มีความแรงในระดับ High performance แต่มีขนาดจอ 14 นิ้ว ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นไซส์ “โน๊ตบุ๊กตลาด” กล่าวคือ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ มักจะมองหาจอขนาดประมาณนี้ ขนาดจะไม่บาง หรือใหญ่จนเกินไป พกพาก็อาจจะไม่สะดวกนัก หากต้องเดินทางโลดโผน แต่ว่าก็สามารถใช้งานได้ดีทั้งแบบตั้งโต๊ะและนอกสถานที่นั้นเอง และนั้นแหละครับ คือ Satellite M500
…
Processor | Intel Core 2 Duo P8800 (2.66Ghz L2 3mb) |
Chipset | Intel PM45 |
Memory | 4GB DDR2 |
Graphics Adapter | ATi Radeon HD4500 series |
Display | 14″ WXGA (1366×768) |
Harddisk | 500gb 5400rpm SATA2 |
Optical Drive | DVD-RW |
Network | Intel WiFi Link 5100 AGN (IEEE802.11 draft N & B/G) |
Connection Port | 4in 1 cardreader, Firewire, eSATA, USBx3 , Express slot, HDMI, VGA, RJ45 |
Battery | 40wh |
Weight | 2.5 kg (Include batterry) |
OS | Windows Vista Home Premium |
บอกได้เลยว่า เสป็คนี้ ลูกเล่นเพรวพราวแน่นอน โดดเด่นด้วยซีพียู P8800 เร็วสุดในตระกูล P8xxx ที่มี L2 3mb นั้นเองครับ ผนวกกับการ์ดจอรุ่นใหม่อย่าง HD4500 จาก ATi รองรับงาน entertain ครบครัน ประกอบกับพอร์ตเชื่อมต่อที่มีมาให้ครบ สำหรับโน๊ตบุกระดับนี้
โปรแกรม CPUZ ยังคงไม่รู้จักซีพียู P8800 และสับสนกับ T9550 อยู่เล็กน้อยครับ แต่เสป็คอย่างอื่น แสดงออกมาได้ถูกต้องทั้งหมด จะสังเกตได้ว่า ใช้แรม DDR2 แน่นอนครับ ท่านดูไม่ผิด และผมก็จะพาไปดูด้วยเลยครับ ว่า DDR2 กับ DDR3 ในโน๊ตบุ๊กนั้น มันแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลยในแง่ของประสิทธิภาพ
ดูกันในเรื่องของรายละเอียดเชิงเทคนิคมากพอแล้ว เรามาดูบอดี้ และดีไซน์โดยรวมกันดีกว่าครับ โดยดีไซน์โดยรวมนั้น วัสดุที่ใช้เป็น “พลาสติก” ที่มีความเงา สวยงามเลยทีเดียว แต่มีความหนาพอสมควร
เปิดฝาออกมา ก็จะยังคงพบวัสดุในลักษณะเดียวกัน รวมไปถึงจอกระจกทั้งบาน ที่ให้ความสว่างที่ดีมาก.
บานพับแข็งแรงดี แต่ขนาดจอนั้นมีความหนาและหนักมาก จึงทำให้ในบางครั้งอาจจะมีอาการสั่นของจอได้
คีย์บอร์ดพลาสติกที่มีความแวววาวอยู่เล็กน้อย สร้างสัมผัสที่หรูหราได้ดีขณะใ้ช้งานเลยทีเดียวครับ ส่วนทัชแพดนั้น จะมีแถบไฟ LED แสดงสถานะอยู่ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ (สามารถปิดและเปิดทัชแพดได้บนปุ่ม) ส่วนทัชแพดนั้น จะเห็นได้ว่ามีลักณะที่กลืนไปกับสีของเครื่อง และลวดลาย แต่ขนาดนั้นเล็กไปนิดหนึ่งครับ
ด้านบนคีย์บอร์ด มี Media Console สามารถเรียกโปรแกรม Windows Media Player และสั่ง play / pause และเลื่อนโวลุ่มได้ครับ ลำโพงที่เห็น เป็นของ harman/kardon คู่บุญ โตชิบ้า มาตั้งแต่ครั้นโบราณกาลเลยทีเดียว เสียงที่ได้ นับได้ว่าใสดีมาก ถ้าเทียบกับโนตบุกที่ใช้ลำโพงโนเนมอื่นๆ
ปุ่มสีเขียวที่อยู่บน Console ตรงนี้ เป็นปุ่มสำหรับเปิดปิด eco mode ของ Toshiba โดยเฉพาะครับ
หลังจากกดปุ่ม eco mode แล้ว โดยค่ามาตรฐาน ตัวโปรแกรม eco utility จะเด้งขึ้นมา พร้อมแสดงสถานะว่า eco mode ได้ถูกเปิดใช้งาน eco utility นั้นเป็นซอฟท์แวร์ที่น่าสนใจเลยทีเดียวครับ จะ plot กราฟ การใช้พลังงาน แบบในภาพด้านบนให้เราตลอด
โดยที่ใน eco mode นั้น จะเป็นเสมือน power plan ตัวหนึ่งที่ฝังลงไปในตัว os เลย เสมือนเป็นโหมดประหยัดพลังงานที่ถูกควบคุมด้วย os อีกต่อหนึ่ง โดยการทำงานก็จะเหมือนโหมดประหยัดพลังงานทั่วๆไปคือมีการ limit ความเร็วซีพียู เพื่อการบริโภคพลังงานที่ต่ำลง แต่ใน eco mode ของโตชิบ้านั้น จะมีการปรับตั้งในส่วนของไฟ LED แสดงสถานะบนปุ่ม console ต่างๆ และ ไฟ LED โลโก้คำว่า satellite ให้ดับลง
ตรงนี้เป็นไฟ LED ใต้โลโกคำว่า Satellite ดูสวยงามดีขณะใช้งานโดยที่ไม่ได้เปิด eco mode ครับ
ด้่านหน้า มีการ์ดรีดเดอร์เปิดปิดระบบ wireless อยู่ด้วย
พอร์ตเชื่อมต่อด้านข้างมีมาให้อย่างครบครัน ตั้งแต่ USB ไปจนถึง แลน และโมเดม โดยที่พอร์ต USB ทุกพอร์ต จะรองรับฟีเจอร์ USB Sleep & Charge ด้วยครับ
USB Sleep & Charge นั้นจะอนุญาติให้ผู้ใช้สามารถเสียบอุปกรณ์จำพวก smart phone หรือเครื่องเล่น mp3 เพื่อทำการชาร์จแบตเตอร์รี่ ในขณะที่เครื่องปิด หรือ อยู่ในโหมด sleep ได้ โดยที่ไม่ต้องมีการเสียบชาร์จไฟจาก AC adpater
ด้านขวามี USB และ eSATA combo port ที่สามารถเสียบสาย USB ใช้งานได้เช่นกัน รวมไปถึง HDMI และ DSUB นอกจากนี้ยังจะมี Express slot มาให้อีกด้วย
ด้านใต้เครือง
ฝาสามารถเปิดเพื่อทำการอัพเกรดทั้ง เมมโมรี และ HDD รวมไปถึง Wireless card ด้วย โดยฮาร์ดดิสก์ และตัวเครื่องนั้นมีระบบ HDD Protection ของ Toshiba โดยเฉพาะ ทำงานร่วมกับซอฟท์แวร์และเซ้นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือน
ซอฟท์แวร์นั้นสามารถปรับระดับความไวต่อการสั่นสะเทือนได้ครับ โดยเมื่อระบบตรวจจับการสั่นสะเทือนที่มากเกินไป ระบบจะนำ หัวอ่านของ HDD ไปอยู่ในโซนที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการขูดขีดระหว่างหัวอ่านและจานแม่เหล็กในตัว HDD ครับ โดยโปรแกรมจะมี 3D viewer สำหรับดูสถานะของ HDD และที่เด็ดไปกว่านั้นคือ 3Dviewer จะแสดงองศาของการเอียงในจาน HDD เวลาที่เรายก หรือเคลื่อนย้ายเครื่อง ในรูปนั้นคือ ผมจับเครื่องเอียงไปทางด้านซ้ายอยู่ ระบบก็จะตรวจพบว่ามีการยกและเอียงเครื่อง แสดงออกมาเป็นภาพสามมิติ ดังภาพด้านบน
แบตเตอร์รี่ขนาด 40 Wh หรือประมาณ 4400มิลลิแอมป์ชั่วโมง
น้ำหนักรวมแบตเตอร์รี่ 2.59 กิโลกรัม
น้ำหนักรวมสาย AC adapter 3.06 กิโลกรัม
ทดสอบจอในแต่ละมุมมอง
Super PI 1m
20 วิ ความเร็วระดับนี้ จี้ก้น T9400 มาติดๆ
Cinebench R10
.
HDTune Benchmark (Disk Read performance)
Win RAR
จะเห็นได้ว่า ระบบที่ใช้ DDR2 ในโน๊ตบุก ในการประมวลผลบางแบบ ก็สามารถทำผลงานออกมาได้ดีกว่า ระบบ ที่ใช้ DDR3 เสียอีกครับ ถ้าดูกันดีดีแล้ว เราจะทราบได้เลยว่าโปรแกรม WinRAR นั้น เน้นในเรื่องของ latency ของเมมโมรีเป็นหลักซึ่งในจุดนี้ DDR2 จะมี latency ที่ต่ำกว่า เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วครับ
Battery Time
ทดสอบด้วยโปรแกรม Batterry eater ด้วย Eco mode
1 ชั่วโมง 40 นาที (จากแบตเตอร์รี่ 95% เหลือ 5%)
คลิกเพื่อดูหน้า HTML ของ benchmark ตัวนี้
นับได้ว่าทำได้ระดับปานกลางครับ สำหรับแบตเตอร์รี่ความจุระดับนี้ กับเสป็คที่มีการ์ดจอที่มีพลังให้ใช้อย่างเหลือเฟือแบบนี้
Synthetic Benchmark
Sisoft Sandra 2009
PCmark05
คะแนน PCmark ดูเหมือนว่าจะไม่อิงกับกราฟฟิคการ์ดมากสักเท่าไหร่ โน๊ตบุ๊กในกลุ่มเดียวกัน คะแนนจะเกาะกลุ่มกันมาก
3Dmark06
คะแนนจะเริ่มต่างกันชัดเจนครับ HD4500 จาก ATi นั้น สามารถทำคะแนนได้ปานกลาง เมื่อเทียบกับกราฟฟิครุ่นที่สูงกว่า ก็จะแตกต่างกันชัดเจน แต่ไม่มากนัก
.
Toshiba Satellite M500 นั้นเป็นโน๊ตบุกตลาดเครืองหนึ่งที่มีความน่าสนใจ และเอกลักษณ์หลายอย่างในตัวเอง ถึงแม้บอดี้จะไม่ได้ถึกทน เป็นพิเศษ แต่ก็มีลูกเล่นมาให้ได้ใช้งานกันมากมาย มีเดียคอนโซลที่สวยงาม รวมไปถึงไฟ LED ตามจุดต่างๆ ทำให้มันดูมีราคาขึ้นมามาก ฟีเจอร์เ็ด็ดๆที่ใช้งานได้จริงอย่าง HDD protection , USB Sleep & Charge และ Eco mode ที่สามารถพลอตกราฟการใช้พลังงานได้ ส่วน ความแรงก็ถือได้ว่า อยู่ในระดับที่เกาะกลุ่มกับเพื่อนร่วมตระกูลที่ใช้ซีพียูในกลุ่ม P8xxx ไปได้อย่างดี การที่เครื่องนั้นเป็นเมมโมรีแบบ DDR2 ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพ ลดหย่อนลงไปได้เลย (จะเร็วกว่าในบางกรณีด้วยซ้ำ)
สำหรับข้อเสียในบางจุด ก็จะมีทัชแพดที่มีขนาดเล็กเกินไปสำหรับโน๊ตบุกระดับนี้ รวมไปถึงจอที่มีความหนามากเป็นพิเศษ จนทำให้บางทีการเปิดปิดฝาพับนั้น สร้างความไม่มั่นใจได้ ตัวเครื่องก็จัดได้ว่าหนา แต่ถ้าเทียบกับคู่แข่งในระดับเดียวกันแล้ว ก็ถือได้ว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้อยู่ และบอดี้ เป็นรอยได้ง่าย
สนนราคาล่าสุดจากเว็บ notebookspec นั้น M500 ถูกตั้งราคาไว้ที่ 44900 บาท จะคุ้มหรือไม่ ก็ต้องลองตัดสินใจ และไปทดลองใช้งานได้ตามร้านโน๊ตบุ๊กแล้วล่ะครับ
สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ
.
ขอขอบคุณ
Toshiba ประเทศไทย