Review : Tuniq Tower 120 Extreme
Share | Tweet |
…สวัสดีครับ วันนี้ก็พบกันอีกครั้ง กับบทรีวิว ในวันนี้ ก็คงจะแปลกใจที่ผมหันกลับมาจับอุปกรณ์จำพวก hardware component อีกครั้ง และในวันนี้ ผมก็มาพร้อมกับฮีทซิงค์ / ฮีทไปป์ รุ่นใหม่ล่า มาแรง ที่เพิ่งจะเริ่มนำเข้ามาขายในเมืองไทยกันได้ไม่นานดีนักครับ นั้นก็คือ Tuniq Tower 120 Extreme ซึ่งจะเรียกได้ว่า เ็ป็นรุ่นน้อง ผู้สืบทอดตำนานความเย็น ที่เคยเกือบพิชิตเจ้าแห่งความเย็นในศึก King of Heatpipe สมัยบทความในหน้าเว็บแบบเก่าอยู่ ถ้าใครยังจำกันได้ Tuniq ณ ชั่วโมงนั้น ถือได้ว่าเป็นฮีทซิงค์ที่แทบที่จะมีประสิทธิภาพ ต่อราคา ดูดีที่สุด และในวันนี้ Tuniq ก็ได้มีผู้สืบทอด ความดีความงามที่ว่า ในอดีต เรียกได้ว่ามีการ Refresh ไลน์ผลิตภัณฑ์กันใหม่ จนออกมาเป็น Tuniq Tower 120 Extreme ในวันนี้นั้นเองครับ
…ตัวฮีทซิงค์ คงยังเน้นลวดลายโค้งมนสไตล์เปลวไฟ เหมือนที่เคยเป็นในรุ่นเก่าครับ แต่ในรุ่นนี้ เพิ่มลวดลายและลูกเล่นบริเวณฟินระบายความร้อนมากยิ่งขึ้น
…ตัวซิงค์นั้นเป็นแบบฮีทไปป์ 5 เส้น หักเป็นรูปตัว U ลักษณะทรงก็เป็นแบบ Tower ตามชื่อรุ่นเลยครับ ส่วนฟินระบายความร้อน ทำมาจากอะลูมิเนียม เนื้องานค่อนข้างเนี้ยบ ใช้ได้เลยทีเดียว
…ลักษณะการติดตั้งพัดลม ยังคงเป็นแบบเดิมครับ คือ สอดไส้พัดลมไว้ตรงกลาง เหมือนแยมสตรอเบอร์รี่ ( :P ) พัดลมนั้นเป็นขนาด 120 มิลลิเมตร สอดไว้ตรงกลางครับ ซึ่งข้อเสียของการดีไซน์แบบนี้ก็คือ เราจะไม่สามารถอัพเกรดพัดลมให้หนาขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ดี เจ้า Tuniq Tower 120 ตัวนี้ ก็ยังคงสามารถถอดเปลี่ยนพัดลมได้เช่นเคยตามแบบที่รุ่นเก่าเคยทำได้
ฮีทไปป์ 5 ท่อ ขดกันเป็นรูปตัว U
…ฐานนั้น ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Heatpipe Direct Touch ช่วยทำให้ตัวฮีทไปป์ สัมผัสกับแหล่งกำเหนิดความร้อนโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านตัวนำอื่นๆ
อีกมุมหนึ่ง ดูโดดเด่นเป็นสง่า ราวกับตึกระฟ้าเลยทีเดียว
ตัวพัดลมสามารถถอดเปลี่ยนได้ (กรอบพัดลมสีดำ)
…ของแถมที่แถมมาให้ เรียกได้ว่าไม่ขี้เหนียวเลยครับ เพราะว่าแถมชุดล็อคมาทั้ง LGA775 / 1366 ที่ใช้ร่วมกันได้ รวมไปถึงชุดล็อคสำหรับ AMD ก็ใส่ได้ตั้งแต่ AM2 AM2+ AM3 หรือใครยังชอบเล่นซีพียูยุคเก่าอย่างซอกเก็ต 939/754 ก็ยังสามารถนำซิงค์นี้ไปใช้งานได้ครับ และนอกจากนี้ ยังมีชุด VR ปรับรอบ สำหรับติดบนพาแนลหลังเคสแถมมาให้อีกด้วย ยังครับ ยังไม่หมด ภายในซองของชุดน็อต LGA775 ยังคงมีซิลิโคน TX3 ติดมาให้ใช้งานกันด้วย งานนี้ เรียกได้ว่า ซื้อ Tuniq Tower 120 Extreme เพียงแค่กล่องเดียว ก็เดินกลับบ้าน สบายกระเป๋าไปได้เลยครับ
ระบบที่ใช้
- Intel Core i7 920 Rev. “D0″ Set 200×20 (4.0 Ghz) V core 1.39
- Memory Run at DDR3 1200 CL 7
- Mobo Asus Maximus Extreme II (Intel X58)
- VGA : ATi Radeon X1650
- PSU : DELUX 800 watt
การทดสอบ - ทดสอบบนซิสเต็มดังกล่าว ข้างบน ทำให้ Full load ด้วยโปรแกรม Prime 95 ในโหมด Blend 8 Threads เป็นเวลา 10 นาที โดยประมาณ โดยในฮีทซิงค์ที่ไม่มีพัดลมแถมมาให้ จะใช้พัดลม Thermaltake Thunderblade 120mm ความเร็วรอบ 2000rpm โดยการทดสอบทั้งหมด ทำภายในห้องปิด เปิดเครื่องปรับอากาศตั้งไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส
บรรยากาศในการทดสอบ
Tuniq Tower 120 Extreme (Bundle fan)
Tuniq Tower 120 Extreme (Thunderblade fan)
Thermalright TrueBlack 120 (Thunderblade fan)
กราฟทุกกราฟ สามารถคลิกเพื่อดู Screen shot เต็มได้ทุกกราฟ
สรุปผลการทดสอบ
…สำหรับ Tuniq Tower 120 Extreme ยังคงเอกลักษณ์ของ Tuniq ตั้งแต่ครั้งวันวาน ที่เราได้เคยทดสอบกันไว้ ไม่จางหายครับ คือในเรื่องของราคา ขณะนี้ ณ ร้านเจได ราคาหน้าเว็บอยู่ที่ 1,850 บาท นับได้ว่า ถูกกว่าฮีทซิงค์ที่เราได้เคยทดสอบแล้วว่า แทบจะ มีประสิทธิภาพดีที่สุดในตลาดอย่าง U120 extreme หรือ Trueblack (โครงสร้างเหมือนกัน) ที่เรา set ไว้ให้เป็นฐานสำหรับการทดสอบฮีทซิงค์ โดยที่ประสิทธิภาพนั้น จัดได้ว่า อยู่ในระดับ ที่ไม่ได้ทิ้งห่างกันสักเท่าไรเลยครับ ถ้าจะพูดกันอย่างไม่เกรงใจใครก็คือ มัน น่าใช้งานมากครับ เมื่อดูจากราคา และรูปทรงของมัน
…ข้อดีของ Tuniq นั้น อยู่ที่ของแถมที่มีมาให้ครบ สามารถนำไปใช้งานได้กับซีพียูแทบทุกรุ่นที่เป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ พัดลมถึงจะแถมและติดตั้งมาให้เรียบร้อย แต่ก็ยังสามารถถอดเปลี่ยนไปใช้งานพัดลมที่มีรอบสูงกว่าได้ เนื้องานที่จัดได้ว่าสวยงามเลยทีเดียว หากพูดถึงซิงค์ในราคาระดับนี้
…มีข้อดี ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียเลยนะครับ ข้อเสียของ Tuniq Tower 120 แน่นอนก็คือ ติดตั้งยากครับ เพราะต้องทำการถอดเมนบอร์ดออกมาติดตั้ง back plate และทำการร้อยเกลียวลงไปในรูของเมนบอร์ดเสียก่อน รวมไปถึงการออกแบบที่วางให้พัดลมอยู่กึ่งกลางของตัวฟินระบายความร้อน จึงทำให้ไม่สามารถขยับขยายไปเล่นพัดลมที่มีความหนามากๆได้
.
สำหรับวันนี้ ก็ต้องลาไปก่อน สวัสดีครับ
.
ขอขอบคุณ ร้านเจได สำหรับสินค้าสำหรับการทดสอบ